การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 13 บ้านสวนกง

ทันที่ที่หัวรถเลี้ยวเข้าสู่อาณาเขตของบ้านสวนกง เม็ดทรายตะลึงกับสันทรายชายฝั่งทะเลขนาดมหึมาที่ถูกปกคลุมด้วยต้นสน และป่าหาดชาย “ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย สันทรายแบบนี้”  “คนที่นี่เค้าบอกว่าเป็นสันทรายโบราณอายุมากกว่า 6,000 ปีเชียวนา (https://www.facebook.com/lynstheshanghaicafe/videos/567000467580231/) สวยไหมหล่ะ ชั้นกับพี่หยกเคยมาใช้พื้นที่ตรงนี้จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์บ่อยๆ บรรยากาศมันได้มากๆ” น้ำฝนเล่าพร้อมชี้มือไม้ไปตามตำแหน่งต่างๆบนสันทรายที่เธอเคยมาใช้พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมใต้ทิวสน “นอกจากสวยแล้วมันยังมีคุณค่าอื่นด้วยนะ สันทรายเนี่ย” เม็ดทรายยังไม่ทันอธิบายความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาให้เพื่อนฟังก็มีเด็กสาววัยรุ่นวิ่งตรงมาหาทั้งสามคนที่ยืนอยู่บนตำแหน่งสูงสุดของสันทรายโบราณ “พี่หยก พี่ฝน หวัดดีค่ะ” นั่นคือน้องย๊ะ หรือเจ้าย๊ะที่น้ำฝนกล่าวถึง ลูกสาวชาวประมง เกิดและโตที่นี่ ย๊ะเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลากหลายกิจกรรม รวมถึงเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากความที่เป็นลูกทะเล และมีบ้านริมทะเล ย๊ะจึงอินกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ ย๊ะพาทุกคนเดินเล่นไปบนสันทราย และเดินเลาะริมชายหาดไปดูเรือประมงพื้นบ้านของครอบครัวเธอ พลางอัพเดทประเด็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆกับทั้งสามคน  “ไว้พี่ทรายมาหาย๊ะอีกนะ เมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ จะได้พาออกเลไปดำน้ำฟังเสียงปลา” ย๊ะเชิญชวนเม็ดทรายหลังทั้งสองคนได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวของทะเลจะนะ และเม็ดทรายได้ประหลาดใจกับทักษะพิเศษในการฟังเสียงปลาของย๊ะที่ถูกถ่ายทอดทางสายเลือดมาจากพ่อของเธอ  “ไว้พี่ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมละ ว่า ดูหลำ นี่เค้าฝึกกันยังไง” (https://www.facebook.com/watch/?v=2791732367767865) เม็ดทรายพูดพลางก้าวขึ้นรถพร้อมคนอื่นๆ และอำลาบ้านสวนกงพร้อมคำถามในหัวมากมายว่า ที่แห่งนี้รึที่จะมีการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมและท่าเทียบเรือน้ำลึก (https://beachlover.net/สันทราย-สวนกง-ท่าเรือ/ ) (https://properea.com/port-of-songkhla-10-05-2019-10-05-2019/) แล้วสันทรายโบราณ รวมถึงทรัพยากรในทะเลที่อุดมสมบูรณ์จะเปลี่ยนแปลงไปยังไง มันจำเป็นขนาดไหนกัน รถเคลื่อนผ่านสันทรายที่ทอดยาวหลายกิโลเมตรจากบ้านสวนกงเรื่อยมาทางทิศเหนือ ทิวสนบนสันทรายค่อยๆห่างออกและเลือนหายไป ต่างกับเครื่องหมายคำถามมากมายในหัวเม็ดทรายตอนนี้ ที่ยังคงแจ่มชัดและยังไม่จางหายไป

Beachlover

December 20, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 12 เทพา สะกอม

เช้าวันรุ่นขึ้นกระบะสองประตูมาบีบแตรรออยู่หน้าบ้านน้ำฝน พร้อมคำทักทายแบบอิสลาม “อัสซะลามุอะลัยกุม” (https://th.wikipedia.org/wiki/อัสซะลามุอะลัยกุม) น้ำฝนแนะนำเม็ดทรายให้รู้จักหยก นักศึกษาปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม ม.อ. “หวัดดีค่ะพี่หยก ขอบคุณพี่มากๆเลย ถ้าไม่ได้พี่พวกเราต้องตัวดำก้นพังกันแน่ๆ”  “พี่ทำงานเกี่ยวกับต้นน้ำบนเขา อยากรู้ว่าที่ปลายน้ำที่ออกทะเลมันเป็นยังไง ดีเหมือนกันแหล่ะ ได้เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง” ระหว่างทางหาดใหญ่-เทพา ทั้ง 3 คนได้ถกปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างสนุกถูกคอ รู้ตัวอีกทีหยกก็พารถมาจอดที่สันทรายขนาดใหญ่กว้างสุดลูกหูลูกตา มีพืชปกคลุมสันทรายนี้อย่างประปราย “โห! กว้างกว่าที่ส่องจาก Google เยอะเลย” เม็ดทรายตื่นเต้นกับภาพชายหาดสุดลูกหูลูกตาเบื้องหน้า ทั้งสามกึ่งวิ่งกึ่งเดินจากถนนดินที่จอดรถไปยังชายหาด ระหว่างทางต้องฝ่าดงหญ้าลูกลมที่มีหนามแหลมคม ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นที่ขึ้นอยู่บริเวณหาดทรายแห่งนี้มาเนิ่นนานแล้ว (https://www.dmcr.go.th/detailAll/23795/nws/141) “เหนื่อยไม่เบาเลยนะเนี่ย ทำไมหาดตรงนี้มันถึงกว้างขนาดนี้อ่ะ” น้ำฝนถามอย่างประหลาดใจ แม้จะเป็นคนสงขลาแต่ไม่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือนหาดแถบนี้เลย” “นี่ตกลงใครเป็นคนสงขลากันแน่ แกไม่รู้เลยรึว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่” เม็ดทรายหยอกเพื่อนแรงๆ “เออเน่อะ แต่ไม่เคยมา และถึงมาก็ไม่มีความรู้เรื่องอะไรแบบนี้เลยอ่ะ” น้ำฝนซึ่งไม่มีความรู้มากนักเรื่องชายหาด แต่สนอกสนใจด้านสิ่งแวดล้อมตอบเพื่อน “เห็นกองหินไกลๆตรงโน้นไหม ยาวๆออกไปในทะเลน่ะ เค้าเรียกกันว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือ Jetty” (https://beachlover.net/jetty/) “ยาวมากเลยนะ ลองวัดระยะดูมันมากกว่าครึ่งโลอีก” หยกผู้มีทักษะการค้นข้อมูลมากกว่าน้องๆตามประสานักศึกษาปริญญาโทพูดพลางเอาหน้าจอ Smartphone ที่เปิด Application Google Earth […]

Beachlover

December 13, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 11 หาดใหญ่

เม็ดทรายไม่ได้รู้ตัวเลยว่ารถตู้ได้พาเธอเดินทางข้ามจากปัตตานีมายังสงขลาเรียบร้อยแล้ว ด้วยสองข้างทางที่เหมือนๆกันหมด บนถนนหมายเลข 43 ที่วิ่งระหว่างปัตตานี-สงขลา ทะเลแรกของสงขลาที่เธอได้ชะเง้อมองผ่านกระจกรถตู้จากที่นั่งด้านขวาคือ หาดทางทิศเหนือของปากร่องน้ำเทพา อ.เทพา เพราะถนนสายหลักที่รถตู้วิ่งนั้นตัดประชิดชายหาดมากๆ เธอจึงได้เห็นภาพชายหาดแถบเทพาแบบเต็มอิ่มยาวๆ “โห! น้ำทะเลสีสวยจัง สวยกว่าที่คิดเยอะเลย” เม็ดทรายพึมพำในใจ ด้วยภาพของชายหาดสงขลาที่เธอเคยได้ฟังจากอาจารย์ของเธอสมัยเรียนตอนปี 3 นั้น ไม่ค่อยมีทะเลหรือหาดแถวไหนที่สวยสะดุดตาสักเท่าไหร่ ครั้นได้เห็นน้ำทะเลสีฟ้าเข้มตัดกับท้องฟ้าสีใส และป่าชายหาดสีเขียวริมทะเลแบบนี้ จึงเป็นภาพที่เกินจินตนาการในหัวไปไม่น้อย ทันทีที่รถตู้จอดที่ตลาดเกษตร ปลายทางของรถตู้เส้นทางปัตตานี-หาดใหญ่ เด็กสาวท่าทางทะมัดทะแมงวิ่งปรี่เข้ามาประชิดตัวรถ “มาจนได้ ดีใจชะมัด” นั่นคือน้ำฝน เพื่อนที่เพิ่งเรียนจบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) หมาดๆในเวลาใกล้เคียงกับเม็ดทราย น้ำฝนกับเม็ดทรายเคยร่วมกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ด้วยกันที่บางแสนเมื่อสองปีก่อน จากนั้นก็ติดต่อกันอยู่เสมอ “ต้องเริ่มจากไก่ทอดหาดใหญ่ ใบเหลียงผัดไข่ ปิดท้ายด้วยร้านน้ำชาตอนค่ำ” น้ำฝนเล่าแผนการพาไปชิมของเธอให้เม็ดทรายฟังตามประสาเจ้าถิ่นทันทีที่กระโดดขึ้นมอเตอร์ไซค์ พาหนะคู่กายเด็ก ม.อ.  “นี่ๆ สนใจแต่เรื่องกินไม่เปลี่ยนเลยนะแก จะไม่ถามสักหน่อยหรือว่า เรามีแผนการอะไรยังไงที่สงขลาเนี่ย” เม็ดทรายแซวขณะที่กระโดดขึ้นซ้อนท้ายและกอดเอวน้ำฝนจนแน่นตามประสาเด็ก กทม ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์บนถนนสายใหญ่ๆแบบนี้  “เออ นั่นดิ ไม่รู้หล่ะ ไปเติมพลังให้ท้องอิ่มก่อน กินไปคุยไปก็ได้นิ” จากนั้นน้ำฝนก็บิดอย่างรวดเร็วมายังร้านน้ำชาเจ้าประจำของเด็ก ม.อ. ที่ร้านน้ำชา เม็ดทรายกางแผนที่ที่พกติดตัวมาให้เพื่อนดูพร้อมชี้โน่นนี่ในแผนที่พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด […]

Beachlover

December 6, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 10 ปลายแหลมตาชี

“นี่มันยาวมากเลยนะ เดินจนเหนื่อยละยังไม่ถึงที” รุ่นพี่เริ่มบ่นปนหอบ หลังเดินไปตามทางคอนกรีตเล็กๆเชื่อมระหว่างที่จอดรถไปยังปลายแหลม “จริงๆคนที่นี่เค้าเรียกแถวนี้ว่าแหลมโพธิ์กันนะพี่ เพราะแต่ก่อนมีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่เยอะเลย” คนท้องถิ่นอย่างดาด้าเริ่มเล่าที่มาของชื่อแหลมตาชีในอดีต “คนที่อาศัยอยู่แหลมโพธิ์นี้เมื่อก่อนบ้านอยู่ที่กรือแซะอาชีพหลักคือประมง พอล่องเรือมาหาปลาแถวนี้แล้วเกิดพายุ กลับบ้านไม่ได้ เลยสร้างกระท่อมหลังเล็กๆ เพื่อพักรอคลื่นลมสงบ ต่อมาชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ ก็มาสร้างที่พักเพิ่มมากขึ้นจนถึงตอนนี้ก็มีสภาพอย่างที่เห็น การเดินทางสมัยก่อนค่อนข้างลำบาก ไม่มีถนนและไฟ ต้องใช้เรือเป็นหลัก คนทั่วไปเลยไม่ค่อยรู้จักแหลมโพธิ์ ตอนนี้การเดินทางสะดวกทำให้แหลมโพธิ์เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น” ดาด้าเล่าต่อด้วยความภาคภูมิใจกับความรู้ในท้องถิ่นของตนเอง แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี ณ ที่แห่งนี้ตะกอนทรายที่เดินทางเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่ปากแม่น้ำโกลกจะเคลื่อนที่มาสะสม เติมเต็มให้แหลมตาชีงอกยื่นยาวออกไปเรื่อยๆ โดยฝั่งซ้ายหรือทิศใต้ของปลายแหลมเป็นป่าชายเลนในอ่าวปัตตานี ส่วนฝั่งขวาหรือทิศเหนือเป็นป่าชายหาดและทะเลฝั่งอ่าวไทย (https://beachlover.net/เม็ดทรายสุดท้ายที่ปลายแหลมตาชี/) “ปลายแหลมมันยื่นยาวขึ้นเกือบทุกปี รูปทรงของสันทรายที่ปลายแหลมก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางธรรมชาติตลอด ตรงปลายสุดนี้เป็นสันทรายขนาดใหญ่มากๆ กว้างกว่า 180 เมตรได้ ยื่นยาวออกไปจากแนวป่าสนประมาณ 320 เมตร” เม็ดทรายเริ่มเล่าความรู้ที่ตัวเองค้นเจอผ่าน Smartphone บ้าง “นี่ๆ ดูตรงโน้นสิ มันมีสันทรายเล็กๆตรงปลายแหลม น่าจะเดินข้ามไปได้นะ ไปกันไหม” รุ่นพี่ชี้ชวนน้องๆให้เดินข้ามไปยังสันทรายปลายแหลมที่ตอนนี้พอจะเดินลุยน้ำข้ามไปได้เนื่องจากเป็นช่วงน้ำลงพอดี นักวิชาการบางสำนักชี้ว่า ปลายแหลมนี้กำลังค่อยๆโค้งเข้าไปปิดปากอ่าวปัตตานีในอนาคต ในขณะที่บางสำนักชี้ว่า โอกาสเกิดแบบนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้น้อยตราบเท่าที่ยังมีน้ำไหลออกจากปากแม่น้ำปัตตานี “บ้านพี่ที่นรามันไม่มีแหลมทรายสวยๆแบบนี้เลย เท่าที่รู้ก็มีที่นี่กับที่ตะลุมพุก ไว้พอทรายไปตะลุมพุกอย่าลืมถ่ายรูปส่งมาให้ดูบ้างนะ น่าจะสวยเหมือนกัน” รุ่นพี่พูดพลางภาวนาอยู่ในใจว่า […]

Beachlover

November 29, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 9 หาดตะโล๊ะสะมิแล

หาดตะโล๊ะสะมิแล ตั้งอยู่บนแหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ จ.ปัตตานี ในอดีตเป็นพื้นที่ค่อนข้างรกร้างว่างเปล่า มีบ้านเรือนกระจัดกระจายนับได้ไม่เกิน 10 หลังคาเรือนริมชายหาดแห่งนี้ ตลอดแนวประมาณ 3 กิโลเมตร (https://beachlover.net/ตะโล๊ะสะมิแล-เคยหายไป/) ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในภาคใต้ที่ต่อเนื่องยาวนานมาเกือบ 20 ปี ส่งผลให้พื้นที่นี้ยังถูกพัฒนาไปไม่มาก แต่ในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีรีสอร์ทเข้ามาปลูกสร้างริมชายหาดมากมาย ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ทที่ราคาไม่สูงมากนัก และมักจะรองรับลูกค้าเป็นครอบครัวหรือกลุ่มใหญ่ “ชาปัตตานีนี่อร่อยสมชื่อจริงๆ” เม็ดทรายดูดชาฟอดใหญ่ในแก้วซึ่งเหลือชาสีส้มเข้มเพียงก้นแก้วเท่านั้น “ชาทางใต้ก็แบบนี้ทั้งนั้น ที่บ้านพี่แกก็บอกว่าอร่อยเหมือนกันใช่ไหมหล่ะ” รุ่นพี่ท้าวความตอนพาเม็ดทรายไปกินโรตีและชาชักในตลาดริมแม่น้ำบางนรา “กาแฟพี่แก้วนี้ก็อร่อยมากเลยหล่ะ” “นี่ๆๆตรงนั้นมันเคยมีกองหินยาวๆยื่นออกไปด้วยนะทราย ปีที่แล้วเรายังเห็นมันอยู่เลย หายไปไหนแล้วไม่รู้” ดาด้าชี้ชวนให้อีกสองคนละสายตาจากชาเย็นและกาแฟเย็นไปยังชายหาดที่อยู่ตรงหน้าร้านกาแฟที่ทั้งสามคนแวะเติมพลัง “เราพอจำได้ว่ามันมีประมาณ 3 กองเลยนะ ยื่นยาวๆตรงหน้าหาดตรงนี้อ่ะ” “อืม…มันน่าจะทิ้งร่องรอยอะไรไว้บ้างนะ ไม่น่าจะหายไปง่ายๆแบบนี้” เม็ดทรายพูดพลางกวาดมือและเท้าไปมาบนพื้นทราย “เราก็ว่านะ หินก้อนใหญ่ออก หนักจะตาย” ดาด้าพูดพลางช่วยเพื่อนคุ้ยทรายหน้าหาดตามประสานักกฎมายที่ต้องการหลักฐานเพื่อยืนยัน “มันใช่อันนี้ไหมด้า” รุ่นพี่ตะโกนมาจากอีกฟากที่ห่างไปสัก 20 เมตรได้ “มันมี 3 กองใช่ไหม นี่คงเป็นหนึ่งในนั้น อีก 2 กองหาไม่เจอ” “นี่ไง มันอยู่ใต้ทางเดิน” เม็ดทรายพูดพลางวิ่งเข้าใส่กองหินที่บัดนี้ถูกปิดทับด้านบนด้วยแผ่นไม้ที่ร้านกาแฟนำมาปิดไว้เป็นทางเดินเพื่อใช้ถ่ายรูปริมทะเล ในที่สุดทั้ง 3 […]

Beachlover

November 15, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 8 หาดตะโละกาโปร์

รุ่นพี่จอดรถริมชายหาดสาธารณะที่มีผู้คนค่อนข้างบางตาเนื่องจากเป็นช่วงสายๆของวันธรรมดา นี่คือหาดตะโละกาโปร์ หาดท่องเที่ยวของ จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ทางไปแหลมตาชี ขับรถจากตัวเมืองปัตตานีประมาณครึ่งชั่วโมง (https://www.pattanicity.go.th/travel/detail/38/data.html) “หาดมันไม่ได้สวยอะไรมากมายเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ แต่คนแถบนี้เค้าหาหาดสาธารณะริมทะเลใกล้ๆเมืองแบบนี้ได้ยาก ช่วงเย็นๆหรือวันหยุดนะ คนเพียบเลย ก็มาปูเสื่อซื้ออะไรมากินกันแบบง่ายๆ” ดาด้า พาทั้งสองคนเดินเลียบชายหาดไปเรื่อยๆ พร้อมเล่าบริบทการใช้ประโยชน์ของหาดแห่งนี้ไปพร้อมกัน (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/หาดตะโละกาโปร์) “อืม สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรมากมายเวลาเที่ยว แค่มีพื้นที่โล่งๆให้หายใจเต็มๆปอด ซื้ออะไรมากินเองราคาสบายกระเป๋า อยากนั่งตรงไหนก็ได้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโต๊ะเก้าอี้ มีห้องน้ำบริการ แค่นี้ก็พอแล้วนะพี่ว่า” รุ่นพี่พูดพลางสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด “ด้า ตรงไกลๆโน้นคืออะไรน่ะ ที่เราเห็นหาดมันโค้งๆน่ะ” เม็ดทรายถามเพื่อนพลางก้มดูรายละเอียดพื้นที่ผ่าน Google Earth “ชื่ออย่างเป็นทางการคือแหลมตาชี ชาวบ้านที่นี่มักเรียกกันว่า แหลมโพธิ์ เป็นที่ที่เราชอบมากเลยหล่ะ ทรายต้องชอบแน่ๆ แต่ก่อนไปถึงปลายแหลมเราจะพาแวะที่ร้านกาแฟริมหาดก่อน อยากกินอะไรเย็นๆแล้ว ดีไหมพี่” “ได้เลยจ้า ตามสบาย ดีเหมือนกัน อยากเติมคาเฟอีนแก้วที่สองของวัน”

Beachlover

November 8, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 7 ถนนเลียบฝั่งปานาเระ

“อ้าว! นี่พี่ก็ขับตาม Google map มานะ ทำไมมันไม่มีทางไปต่อแล้วหล่ะ” รุ่นพี่งุนงงกับถนนที่สิ้นสุดตรงนี้ ทั้งที่ยังปรากฏเส้นทางให้ไปต่อได้ถึงแหลมตาชีใน Google map “เอ…ยังไงกันหล่ะเนี่ย ของหนูก็ยังมีเส้นทางอยู่ในพี่” ดาด้าพูดพลางโชว์หน้าจอระบบนำทางของตัวเอง “ของเราก็เหมือนกับด้าเลย” เม็ดทรายสนับสนุนข้อมูลต่อทันที แท้จริงแล้ว ถนนเส้นที่ทั้งสามคนกำลังงุนงงอยู่นั้น ในอดีตเป็นถนนที่วิ่งเลียบทะเลจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชี แต่หลังจากงานก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำปานาเระแล้วเสร็จ ก็ส่งผลกระทบให้ชายหาดแถบนี้ รวมถึงถนนเส้นนี้ถูกกัดเซาะจนขาดไปในที่สุด (https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/) “มันส่งผลกระทบรุนแรงมากขนาดนี้เลยรึ แบบนี้คุ้มกันไหมกับการตัดสินใจสร้างน่ะ” รุ่นพี่แสดงทัศนะของตัวเองทันทีที่ทั้งสามคนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการหาข้อมูลผ่าน Website  “นั่นแหล่ะ พี่ว่าไหมว่าเค้าจะต้องสร้างอะไรตรงนี้ต่อไปแน่ๆ ยิ่งมันกัดเซาะแบบถนนหายไปแบบนี้ ยิ่งต้องสร้างถนนใหม่ หรือหาอะไรมาป้องกันแน่นอนเลย” เม็ดทรายพูดพลางเดินถ่าย vdo clip ไปพลาง  “นี่ถ้าเค้าไม่ตัดถนนเลียบทะเลมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเน้อะ มันน่าจะมีกฎหมายเรื่องระยะถอยร่น อะไรประมาณนี้อยู่นะ พอจำได้บ้างตอนอาจารย์ยกตัวอย่างในวิชากฏหมายสิ่งแวดล้อมอ่ะ” ว่าที่นักกฏหมายอย่างดาด้าพูดพลางก้มหน้าก้มตาค้นข้อมูลบางอย่างผ่าน website  (https://beachlover.net/วิชาการ-ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล/) “เข้าใจแล้ว ถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างถาวรมันจะต้องถอยร่นเข้ามาจากแนวน้ำทะเล 12 เมตร แต่ถ้าเป็นถนนมันยังไม่มีกฎหมายที่บังคับเรื่องนี้” ดาด้าสรุปข้อมูลในเอกสารที่เธอค้นเจอจากหน้าจอให้ทุกคนฟัง (https://beachlover.net/กฎกระทรวง-เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง/) “แบบนี้นี่เอง พี่เห็นถนนริมเลแถวบ้านพี่นี่ตัดประชิดทะเลมากๆเลย พอช่วงมรสุมทีนึงนะ อบต. ก็ต้องหางบมาซ่อมถนนเกือบทุกปีเลย” รุ่นพี่นึกภาพถนนริมชายหาดหลายแห่งของนราธิวาสได้  “คราวนี้พวกเราจะเอายังไงต่อดีหล่ะ” “ตะกี้เราผ่านทางเข้าเล็กๆทางซ้ายมือมา […]

Beachlover

November 1, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 6 อ่าวมะนาว-หาดนราทัศน์

“โห! พี่ไม่ได้มานานเท่าไหร่จำไม่ค่อยได้ละ หาดกว้างกว่าเดิมเยอะมาก” รุ่นพี่ทาบภาพที่เห็นตรงหน้ากับความทรงจำของอ่าวมะนาวเมื่อครั้งอดีต  “อืม..สวยเน้อะ” เม็ดทรายเอ่ยพลางเปิด Google Earth เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของชายหาดอ่าวมะนาวและหาดนราทัศน์  “สำหรับคนเมืองนราอ่ะนะ ถ้าคิดถึงทะเลก็จะมีที่นี่กับที่หาดนราทัศน์ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งเท่านั้นแหล่ะ มันใกล้เมืองที่สุดละ ตอนสมัยเรียนมัธยมในเมือง โรงเรียนพี่เค้าก็จะพานักเรียนมาทำกิจกรรมเรื่องสิ่งแวดล้อมกันที่นี่แหล่ะ”  “เมื่อกี้พี่บอกว่า หาดมันกว้างมากขึ้นใช่ไหม ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน พี่พอจำได้ไหม” เม็ดทรายถามพลางละสายตาจาก Google earth  “อืม..ไม่รู้สิ จำไม่ได้ และก็ไม่ได้มานานมากแล้วหล่ะ มันสำคัญยังไงหรอ” รุ่นพี่พยายามนึก และก็ถามกลับแบบงงๆ “พี่พาไปฝั่งหาดนราทัศน์หน่อยสิ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะ” เม็ดทรายพูดพร้อมกระโดดขึ้นรถอย่างฉับไว รถมาจอดหลังกองหินกองหนึ่งจากหลายๆกองที่วางตัวอยู่นอกฝั่งบริเวณชายหาดนราทัศน์ เมื่อหันหน้าออกทะเลและมองไปทางขวามือจะพบโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา (Jetty)(https://beachlover.net/jetty/) ส่วนกองหินที่รุ่นพี่พารถมาจอดด้านหลังนั้นก็คือเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) (https://beachlover.net/breakwater/) โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา ซึ่งเขื่อนที่ปากร่องน้ำนี้เองที่ส่งผลให้หาดนราทัศน์ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันอีกฝั่งหนึ่งของหาด ซึ่งก็คืออ่าวมะนาวนั้นมีทรายมาทับถมจนชายหาดขยายกว้างขึ้น “อ้อ…มิน่าหล่ะ หาดตรงอ่าวมะนาวมันถึงกว้างขึ้นมากขนาดนี้” รุ่นพี่ถึงบางอ้อ จากคำอธิบายของเม็ดทราย “แล้วตรงนี้ทำไมหาดมันเว้าๆแหว่งๆแบบนี้หล่ะ จำได้ลางๆว่าตอนมาทำกิจกรรมกับโรงเรียนชายหาดมันยาวๆเป็นแนวเดียวกันไปนะ” (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-นราทัศน์/) “ตามหลักฟิสิกส์เลยพี่ คลื่นมันเลี้ยวเบนหลังกองหินนั่น ด้านหลังเป็นจุดอับคลื่น ตะกอนก็ตกกลายเป็นสันทรายยื่นออกไปแบบนี้ เราเรียกตรงที่เรายืนอยู่นี่ว่า Tombolo เวลาน้ำขึ้นมันอาจจะจมอยู่ใต้น้ำก็ได้ พอดีเรามาตอนน้ำลงพอดี […]

Beachlover

October 25, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 5 เกาะยาว

“ว้าวๆๆๆๆ ไม่เคยคิดเลยนะว่าตากใบจะมีหาดสวยแบบนี้”    เม็ดทรายกล่าวพร้อมการกระโดดโลดเต้นทันทีที่ก้าวลงจากรถ หาดเกาะยาวตั้งอยู่บนคาบสมุทรตากใบ ห่างจากปากน้ำโกลกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายเกาะรูปร่างยาววางตัวขนานไปกับแนวชายฝั่ง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เกาะ สามารถเข้าออกทางรถผ่านถนนที่มีเพียงเส้นเดียวที่วิ่งเลาะจากปากน้ำโกลกเลียบชายฝั่งไปถึงเกาะยาว หากเดินเท้าหรือรถมอเตอร์ไซด์ก็สามารถข้ามแม่น้ำตากใบผ่านสะพานความยาวประมาณ 310 เมตร จากตัวเมืองตากใบมายังเกาะยาวได้เลย โดยไม่ต้องขับรถอ้อมให้เสียเวลา “นี่ๆ ไอ้กองหินนี้มันวางไว้ทำไมอ่ะ ดูสิ วางเป็นแท่งๆยื่นออกไปตั้งหลายกองแหน่ะ” รุ่นพี่ถาม “อ้อ ไอ้กองหินยื่นๆที่พี่เห็นมันเรียกว่า รอดักทราย หรือชื่อทางเทคนิคคือ Groin เค้าสร้างตลอดแนว 20 กว่ากิโลเลยนะพี่ ตั้งแต่จุดที่เราไปที่และตรงปากน้ำโกลกอ่ะพี่ จำได้ป่ะ ที่หนูชี้ให้ดู อันนั้นคือรอดักทรายตัวแรกของคาบสมุทรตากใบ” “เออ ชื่อมันแปลกดีนะ รอดักทราย มันรอที่จะดักทรายหรือไง 555”  ทั้งคู่เดินไปที่ชายหาดแล้วกระโดดไปมาบนกองหินที่นำมาวางเป็นรอดักทรายพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมของเม็ดทราย “หนูก็คิดแบบเดียวกับพี่เลยนะ ตอนที่ได้ยินอาจารย์พูดชื่อนี้ครั้งแรกตอนที่เรียนเรื่องโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทะเลน่ะ  แล้วอาจารย์ก็บอกว่า ใช่ มันคือโครงสร้างที่ รอคอยการมาถึงของทรายแล้วดักเอาไว้ตามชื่อเป๊ะเลย ชื่อมันตามหน้าที่ของมันเลยอ่ะ หนูจำได้ดีตั้งแต่ตอนนั้น”  “อาจารย์เธอนี่อธิบายได้ชัดเจนมากเลยนะ ว่าแต่มันสร้างไว้ทำไมอ่ะ” “ที่เราไปดู jetty ที่ปากน้ำโกลกอ่ะ ทางทิศเหนือของมันก็คือที่ที่เรายืนกันอยู่ด้วย มันถูกกัดเซาะก็เพราะการก่อสร้าง jetty […]

Beachlover

October 18, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 4 ปากน้ำโกลก

“มันกว้างน้อยกว่าที่คิดไว้แฮ่ะ” เม็ดทรายพูดขึ้นทันทีที่ได้เห็นปากแม่น้ำโกลกเป็นครั้งแรกในชีวิต  “นี่เองรึ หาดแรกของไทยที่เม็ดทรายเปลี่ยนสัญชาติ” รุ่นพี่พูดพลางนั่งคุกเข่าจับเม็ดทรายขึ้นมาใส่มือแล้วพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ด้วยแบคกราวการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ แม้จะหันหลังให้องค์ความรู้นี้แล้วไปประกอบกิจการส่วนตัว คลังความรู้ในหัวเท่าที่พอจะจำได้บอกเค้าว่า ส่วนประกอบหลักของทรายบนหาดนี้มาจากแม่น้ำ “มันมี Quartz ต่ำอ่ะ น่าจะมาจากบกเป็นหลักนะ” เม็ดทรายยืนดื่มด่ำบนหาดทรายเม็ดแรกนี้ไปนานเท่าไหร่ไม่รู้ จนมีเสียงจากรุ่นพี่ชักชวนให้เดินไปดูกองหินขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำ “เดินไปจนสุดเลยนะ ไหวไหม”  “สบายมาก นำไปเลย” เม็ดทรายพูดพลางลุกขึ้นเดินตามรุ่นพี่ ตาต้องก้มมองทางเดินตลอดเวลาเพราะทุกก้าวย่างบนกองหินต้องเดินอย่างระวัง เพราะอาจหกล้มได้ง่ายหากเลือกเหยียบบนก้อนหินที่ไม่มั่นคง หรือก้าวหล่นลงไปในซอกระหว่างก้อนหิน  “มันเรียกว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือภาษาเชิงเทคนิคเค้าเรียกว่า Jetty นะพี่ (https://beachlover.net/jetty/) มันสร้างไว้ให้เรือเข้าออกอย่างสะดวก ตะกอนทรายไม่ไปอุดปากร่องน้ำ” เม็ดทรายรื้อฟื้นความรู้สมัยเรียนตอนปีสามมาอธิบายรุ่นพี่ “แล้วทำไมไม่ขุดลอกเอาหล่ะ ถ้าตะกอนมาปิดร่องน้ำก็น่าจะขุดเพื่อเปิดปากร่อง” รุ่นพี่ถาม “ก็หน่วยงานเค้าบอกมันไม่ยั่งยืนอ่ะพี่ มันต้องกลับมาขุดบ่อยๆเค้าว่าเปลืองงบประมาณ มันยังช่วยให้น้ำถูกระบายลงทะเลได้สะดวกขึ้นด้วยนะ เวลาน้ำฝนตกลงในพื้นที่มากๆ ถ้าปากทะเลเปิดตลอดเวลา น้ำก็จะได้ไหลลงทะเลได้สะดวก” ทั้งสองคนถกกันตามปกติของคนที่เคยเคลื่อนไหวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาเหมือนกัน ถัดจากจุดนี้ไปทางใต้ประมาณ 500 เมตร ฝั่งตรงข้ามของกองหินที่ทั้งคู่พากันกระโดดเล่นไปมาอย่างสนุกสนานคือดินแดนของประเทศมาเลเซีย จริงๆแล้วอีกหน้าที่หนึ่งของ Jetty ปากแม่น้ำโกลกที่เม็ดทรายอธิบายรุ่นพี่ไปบ้างแล้ว ก็คือการตรึงแนวขอบเขตดินแดนของทั้งสองประเทศให้อยู่กับที่  ไม่เคลื่อนไปมาตามการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายตามธรรมชาติ“ไปต่อกันเถอะ อยากเห็นหาดทางโน้นแล้วว่าจะเป็นไง”  เม็ดทรายพูดพลางชี้ไปทางทิศเหนือที่มองไกลๆเหมือนมีอะไรยื่นออกมาจากชายหาด รุ่นพี่ขับรถบนถนนที่ขรุขระและไม่มีการเทพื้นผิวใดๆเลาะชายหาดไปทางทิศเหนือ  ไปยังหมู่บ้านเล็กๆที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรตากใบที่มีชื่อว่า […]

Beachlover

October 11, 2022
1 2