ข่าว
see more…
สถานการณ์ชายฝั่งทะเล
กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน? (ภาคต่อ)
Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ วันนี้ขอพาชมอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา บริเวณชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Beach Lover ได้เคยนำเสนอภาพและเรื่องราวของพื้นที่นี้ โดย ณ เวลานั้น ยังมิได้ทำการปักรั้วไม้ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง แสดงภาพเปรียบเทียบดังรูป เมื่อเดินสำรวจตลอดระยะทาง 268 เมตร พบว่าไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น โดยปักเป็นแนวยาวห่างฝั่งประมาณ 5-6 เมตร พร้อมการปักตั้งฉากจากแนวไม้ยื่นออกไปประมาณ 1 เมตร นับว่าเป็นลักษณะของการปักรั้วไม้ที่แปลกไปจากงานเดิมที่กรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่งเคยดำเนินการไว้ในพื้นที่อื่นๆ […]
กำแพงไม้ ท่าศาลา นครฯ
BeachLover ขอพาชมชายหาดทางทิศเหนือของปากคลองกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้นำไม้มาปักไว้เพื่อบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วเสร็จไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สภาพพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นชายหาดกว้างยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปากคลองกลายจนถึงปากดวด จนเมื่อเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองกลายแล้วเสร็จก็ส่งผลให้พื้นที่นี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงได้ทำการนำไม้มาปักโดยใช้ชื่อเรียกว่า “รั้วดักทราย” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยโครงการนี้เป็นการปักไม้เป็นระยะทางตามแนวชายฝั่งยาวประมาณ 500 เมตร แต่ในป้ายประชาสัมพันธ์นั้นกลับระบุระยะทางเป็น 3,000 เมตร ดำเนินการโดยบริษัทวิสุทธิคอนซัลแตนท์จำกัด ด้วยงบประมาณ 2.89 ล้านบาท จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ารั้วไม้นี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี ตลอดระยะทางตามแนวชายฝั่งทั้งโครงการนั้นไม่มีช่องว่างเปิดให้เดินลงชายหาดได้เลย หากต้องการเดินจากฝั่งลงไปที่ชายทะเลจำเป็นต้องขึ้นลงโดยผ่านร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมหาด หรือไม่ก็เดินเข้าได้เฉพาะตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดโครงการปักไม้เท่านั้น หากจำปีนข้ามก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะไม้ที่ปักนั้นแน่นและสูงพอสมควร สำหรับงานติดตั้งรั้วไม้ในพื้นที่นี้ มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการดังต่อไปนี้ ระยะทางปักไม้ตามที่ปรากฏจริงนั้นไม่เท่ากับระยะทางที่ระบุไว้ในป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น จนอาจเรียกโครงสร้างนี้ได้ว่าเป็นกำแพงไม้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกับพื้นที่ถัดไปหรือไม่ อย่างไร ไม่มีช่องเปิดเพื่อลงชายหาดเลยตลอดแนวโครงการ การปักลักษณะนี้ เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกพิสูจน์แล้วในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าได้ผลดี หรือไม่ อย่างไร น่าติดตามต่อไปว่า งานปักรั้วไม้ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้น มีประสิทธิภาพตามที่คาดไว้หรือไม่ และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างไร
ตาข่ายลดการกัดเซาะ Derosion lattice แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย
Derosion lattice เป็นเทคโนโลยีจากประเทศไต้หวันเพื่อลดทอนพลังงานคลื่นพร้อมทั้งดักทรายที่มาพร้อมคลื่นไว้บริเวณใกล้ชายฝั่ง สร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงแข็งแรงทนทาน เมื่อใช้งานจะวาง Derosion lattice ไว้ใต้น้ำในเขตน้ำตื้นใกล้ชายหาด (www.reshore.tech) Derosion lattice แตกต่างจากการเติมทรายชายหาดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำซ้ำทุกๆสองสามปี ทรายที่มาทับถมจาก Derosion lattice จะไม่ถูกกัดเซาะออกไปอีก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทรายทับถมบนสิ่งมีชีวิตหรือปะการังใต้ทะเลด้วย (www.reshore.tech) หลักการของ Derosion lattice คือการลดทอนพลังงานคลื่นจากแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือน (friction and vibration) ทำให้ตะกอนที่มากับคลื่นสามารถตกทับถมบนชายหาดได้ ซึ่งแตกต่างจากเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง หรือ รอดักทราย ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งข้างเคียงได้ (www.reshore.tech) สำหรับประเทศไทยมีการทดลองใช้ Derosion lattice บริเวณตำแหน่งสิ้นสุดปลายกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่า ณ ชายหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา เป็นแห่งแรก และแห่งเดียว โดยทำการติดตั้งมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ด้วยความร่วมมือของบริษัท Thai Wring Syatems จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมเจ้าท่า จากการสำรวจภาคสนามพบว่า Derosion lattice ที่ถูกวางในพื้นที่นี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับฐานของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าพอดี […]
พาชมเกาะลิดี เกาะเล็กๆใกล้ฝั่งละงู
ลิดี เป็นภาษามลายูแปลว่า “ไม้เรียว” เกาะลิดีอันที่จริงแล้วประกอบด้วยสองเกาะ คือ ลิดีใหญ่ และ ลิดีเล็ก เกาะลิดีใหญ่นั้นเป็นเกาะสัมปทานรังนกของบริษัท Scotch รังนก ส่วนเกาะลิดีเล็กเป็นเขตอุทยานและเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยาน เกาะลิดี อยู่ห่างจากที่ทำการแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กม. และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กม. เนื้อที่ประมาณ 10 ตร.กม. มีหาดทรายขาว เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเล่นน้ำทะเล ปัจจุบันเกาะลิดีมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีบ้านพัก และบริเวณที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว (http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=4648) เมื่อขึ้นฝั่งบนเกาะลิดีเล็ก จะพบสะพานคอนกรีตที่ใช้เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างท่าเทียบเรือกับชายหาดอีกด้านหนึ่งของเกาะที่เป็นที่ตั้งของอุทยานฯ ริมทางเดินจะพบโขดหินรูปร่างแปลกตา และชายหาดเล็กๆ เมื่อสุดปลายทางเดินระยะทางประมาณ 260 เมตร จะพบชายหาดด้านหน้าอุทยาน เป็นหาดทรายขาวความยาวประมาณ 230 เมตร วางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตก ความกว้างประมาณ 15 เมตร ทรายขนาดไม่ละเอียดนัก และพบว่ามีความขาวมากกว่าทรายบนชายหาดฝั่งปากบารา เมื่อเดินถัดเข้าไปบริเวณด้านหลังที่ทำการอุทยานจะพบชายหาดขนาดเล็กระหว่างโขดหิดอีกหนึ่งหาด ความยาวประมาณ 75 เมตร ชายหาดทั้งสองแห่งนี้ หากเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว หรือเปิดให้มีการพักค้างและทำกิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาเหมือนปกติก่อนช่วง COVID-19 […]
พาชมกำแพงกันคลื่น ณ หาดแม่น้ำ เกาะสมุย
หาดแม่น้ำเป็นหาดท่องเที่ยวบนเกาะสมุยที่พบกำแพงกันคลื่นเกือบตลอดทั้งแนว ท้องถิ่น ชาวบ้าน และผู้ประกอบกิจการริมทะเล บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ชายหาดด้านหน้ากำแพงค่อยๆหดหายไปและลดระดับต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นประเด็นที่น่าติดตามต่อไปว่า ผู้ประกอบการในพื้นที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ในเมื่อชายหาดลดระดับต่ำลงและถูกกัดเซาะเพิ่มเติมเพราะกำแพงกันคลื่นที่ถูกสร้างไว้โดยเจ้าของที่ดินเกือบตลอดทั้งแนวชายหาด
ข้อสังเกต 11 ประการ ต่อโครงการกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง บางสะพาน
Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ […]
เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2566
ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณขาวคาดแดง โดยสำนักงบประมาณปี 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ เมื่อเดือน พ.ค.2565 ร่างงบประมาณประจำปี 2566 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.2565-ก.ย.2566) เพื่องานศึกษา งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่งใน 3 กรมหลัก รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 1,779.900 ล้านบาท ใน 79 โครงการ ใน 79 โครงการนี้ แบ่งออกเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจำนวน 55 โครงการ โดยถือเป็นสัดส่วนมากที่สุดคือ 65% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาคือกรมเจ้าท่าจำนวน 13 โครงการ นับเป็น […]
พาสำรวจผลกระทบจาก Jetty บนเกาะสมุย
Beach Lover พาสำรวจพื้นที่ริมทะเลภายในโรงพยาบาลเกาะสมุยที่ถูกกัดเซาะ โดยพบว่าถนนด้านหลังโรงพยาบาลส่วนที่ติดกับปากคลองถูกกัดเซาะจนสามารถสัญจรได้เพียง 1 เลน และมีร่องรอยการกัดเซาะตามภาพ ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เมื่อวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ปี 2011-2021 (พ.ศ.2554-2564) พบว่า ถนนเส้นนี้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายของปี 2018 (พ.ศ.2561) โดยพบว่ายังไม่ปรากฏร่องรอยการกัดเซาะจนถึงถนนตามภาพในปี 2020 (พ.ศ.2563) จนเมื่อมีการสร้าง jetty หรือ เขื่อนกันทรายและคลื่นทางทิศเหนือของปากร่องน้ำลิปะใหญ่ความยาวประมาณ 68 เมตร ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าสร้างขึ้นโดยหน่วยงานใด และสร้างขึ้นเมื่อใด แต่พบว่าได้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายเดือนเมษายนของปี 2021 (พ.ศ.2564) หลังจากนั้นจึงเริ่มพบว่าถนนฝั่งประชิดทะเลถูกกัดเซาะไปบางส่วน ส่วนทางด้านทิศเหนือของ jetty นั้นพบการทับถมของตะกอนทรายด้านหน้ากำแพง (เส้นประสีม่วง) ตามภาพถ่ายปี 2021 (พ.ศ.2564) Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2565 พบว่าผิวถนนบางส่วนที่ปรากฏในภาพด้านบนถูกรื้อออกแล้ว เหลือเพียงชั้นทรายด้านล่างและเศษวัสดุ โดยพบว่ามีการนำแท่งปูน ก้อนหิน รั้วไม้สนและไม้ไผ่ พร้อมทั้ง Geotextile มาขึงเพื่อป้องกันชายฝั่งไปพลางก่อน ส่วนทางทิศใต้ถัดจาก Jetty และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนี้ มีการสร้างกำแพงแนวดิ่งเพื่อป้องกันชายฝั่งไปจนสิ้นสุดพื้นที่ของโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด และโดยหน่วยงานใด […]
“รั้วไม้ชายหาด” วัดท่าไทร ยังสบายดี ?
Beach Lover เคยพาชม รั้วไม้ ณ ชายหาดหน้าวัดท่าไทรไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ การปักไม้ในพื้นที่นี้นับเป็นพื้นที่แรกๆที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) รับมาปฏิบัติเอง หลังจากที่ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ได้ดำเนินการเองไปบ้างแล้วก่อนหน้านั้น งบประมาณที่ทางกรมฯใช้ในพื้นที่นี้คือ 495,000 บาท สำหรับระยะทาง 594 เมตร หรืออาจกล่าวได้ว่า งบประมาณที่ใช้เพื่อการปักไม้คือ 833 บาทต่อเมตร Beach Lover ได้ไล่เรียงภาพถ่ายในมุมเดิมๆ โดยมีตำแหน่งอ้างอิงเดิมให้ได้ชมกันอีกครั้งตั้งแต่ กันยายน 2563 จนถึง พฤษภาคม 2565 ตามภาพ พบว่า การเว้าโค้งด้านทิศเหนือส่วนถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันในแต่ละภาพ สิ่งที่แตกต่างพบเพียงการทับถมของทรายที่เข้ามาตกสะสมตามฤดูกาลเท่านั้น โดยพบว่าภาพในเดือนธันวาคม ซึ่งช่วงปลอดมรสุมทรายเข้ามาทับถมจนเกือบมิดปลายไม้และมีระดับเกือบเสมอกับสันทรายชายหาดด้านใน และหลังจากนั้นทรายส่วนนี้ก็ถูกคลื่นซัดหายไปตามฤดูกาลเหมือนเดิม โดยปรากฏลักษณะของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลนี้ในรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งแนวปักไม้เกือบ 600 เมตร จากการเดินสำรวจตลอดแนวเกือบ 600 เมตร พบว่าพื้นที่ทิศเหนือสุดของแนวปักไม้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดที่มีความแตกต่างจากพื้นที่ที่มีการปักไม้แต่อย่างใด ซึ่งเหมือนกับที่ Beach Lover เคยสำรวจและแสดงความเห็นไว้ในการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อสองปีก่อน https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]
หาดแหลมสิงห์ หาดลึกลับเข้าถึงยาก
Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนาม ณ จ.ภูเก็ต ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูกาลท่องเที่ยวพอดี ก่อนที่ภูเก็ตและจังหวัดอื่นๆทางฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ทะเลช่วงนี้จะใสและมีสีสวย ชายหาดกว้าง คลื่นลมสงบ และมีนักเที่ยวท่องจำนวนมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ซึ่งกลับมาท่องเที่ยวที่ภูเก็ตอีกครั้งหลังจาก COVID-19 แม้จะฟื้นกลับมาเพียงครึ่งเดียว ไม่มากมายเหมือนเดิม แต่ก็เพียงพอให้บาง sector ประคองธุรกิจต่อไปได้ หาดแหลมสิงห์เป็นชายหาดที่เข้าถึงได้ยาก ต้องเดินเท้าหรือนั่งเรือเข้าไปเท่านั้น ซึ่งทางเดินเท้าเข้าไปนั้นไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องเดินลัดเลาะไปตามโขดหิน ซอกหลืบของหน้าผาหิน โดยทางเดินเกือบตลอดเส้นทางนั้นรายล้อมไปด้วยต้นไม้ที่ร่มรื่น และทิวทัศน์อันสวยงามของทะเลตัดกับโขดหิน มีร้านค้าขายอาหารและเครื่องดื่มหนึ่งร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ดึงดูดลูกค้าที่กำลังอ่อนแรงจากการเดินเท้าได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 20 นาทีจากถนนด้านบน ก็จะมาถึงหาดแหลมสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดกระเปาะที่มีความยาวชายหาดตลอดแนวประมาณ 270 เมตร ความกว้างชายหาดเฉลี่ยประมาณ 33 เมตร มีขนาดของเม็ดทรายเฉลี่ย 0.26 มิลลิเมตร และมีความลาดชันชายหาด 6.7 องศา (ข้อมูลจากการสำรวจจริงในเดือนเมษายน 2565) พบผู้ประกอบการร่มเตียงและเครื่องดื่มเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งรายเท่านั้น และพบว่าป่าชายหาด พืชปกคลุมชายหาดด้านในยังคงสมบูรณ์ ปราศจากการแทรกแซงใดๆ ในหลายประเทศเส้นทางเดินเท้าริมทะเล (Ocean trail) ที่มีความสวยงามเช่นนี้ มักถูกโปรโมตให้เป็นเส้นทางที่เป็น […]
see more…
สถานการณ์ชายฝั่งทะเล
กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน? (ภาคต่อ)
Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ วันนี้ขอพาชมอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา บริเวณชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Beach Lover ได้เคยนำเสนอภาพและเรื่องราวของพื้นที่นี้ โดย ณ เวลานั้น ยังมิได้ทำการปักรั้วไม้ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง แสดงภาพเปรียบเทียบดังรูป เมื่อเดินสำรวจตลอดระยะทาง 268 เมตร พบว่าไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น โดยปักเป็นแนวยาวห่างฝั่งประมาณ 5-6 เมตร พร้อมการปักตั้งฉากจากแนวไม้ยื่นออกไปประมาณ 1 เมตร นับว่าเป็นลักษณะของการปักรั้วไม้ที่แปลกไปจากงานเดิมที่กรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่งเคยดำเนินการไว้ในพื้นที่อื่นๆ […]
กำแพงไม้ ท่าศาลา นครฯ
BeachLover ขอพาชมชายหาดทางทิศเหนือของปากคลองกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้นำไม้มาปักไว้เพื่อบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วเสร็จไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สภาพพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นชายหาดกว้างยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปากคลองกลายจนถึงปากดวด จนเมื่อเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองกลายแล้วเสร็จก็ส่งผลให้พื้นที่นี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงได้ทำการนำไม้มาปักโดยใช้ชื่อเรียกว่า “รั้วดักทราย” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยโครงการนี้เป็นการปักไม้เป็นระยะทางตามแนวชายฝั่งยาวประมาณ 500 เมตร แต่ในป้ายประชาสัมพันธ์นั้นกลับระบุระยะทางเป็น 3,000 เมตร ดำเนินการโดยบริษัทวิสุทธิคอนซัลแตนท์จำกัด ด้วยงบประมาณ 2.89 ล้านบาท จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ารั้วไม้นี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี ตลอดระยะทางตามแนวชายฝั่งทั้งโครงการนั้นไม่มีช่องว่างเปิดให้เดินลงชายหาดได้เลย หากต้องการเดินจากฝั่งลงไปที่ชายทะเลจำเป็นต้องขึ้นลงโดยผ่านร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมหาด หรือไม่ก็เดินเข้าได้เฉพาะตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดโครงการปักไม้เท่านั้น หากจำปีนข้ามก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะไม้ที่ปักนั้นแน่นและสูงพอสมควร สำหรับงานติดตั้งรั้วไม้ในพื้นที่นี้ มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการดังต่อไปนี้ ระยะทางปักไม้ตามที่ปรากฏจริงนั้นไม่เท่ากับระยะทางที่ระบุไว้ในป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น จนอาจเรียกโครงสร้างนี้ได้ว่าเป็นกำแพงไม้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกับพื้นที่ถัดไปหรือไม่ อย่างไร ไม่มีช่องเปิดเพื่อลงชายหาดเลยตลอดแนวโครงการ การปักลักษณะนี้ เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกพิสูจน์แล้วในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าได้ผลดี หรือไม่ อย่างไร น่าติดตามต่อไปว่า งานปักรั้วไม้ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้น มีประสิทธิภาพตามที่คาดไว้หรือไม่ และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างไร
ตาข่ายลดการกัดเซาะ Derosion lattice แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย
Derosion lattice เป็นเทคโนโลยีจากประเทศไต้หวันเพื่อลดทอนพลังงานคลื่นพร้อมทั้งดักทรายที่มาพร้อมคลื่นไว้บริเวณใกล้ชายฝั่ง สร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงแข็งแรงทนทาน เมื่อใช้งานจะวาง Derosion lattice ไว้ใต้น้ำในเขตน้ำตื้นใกล้ชายหาด (www.reshore.tech) Derosion lattice แตกต่างจากการเติมทรายชายหาดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำซ้ำทุกๆสองสามปี ทรายที่มาทับถมจาก Derosion lattice จะไม่ถูกกัดเซาะออกไปอีก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทรายทับถมบนสิ่งมีชีวิตหรือปะการังใต้ทะเลด้วย (www.reshore.tech) หลักการของ Derosion lattice คือการลดทอนพลังงานคลื่นจากแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือน (friction and vibration) ทำให้ตะกอนที่มากับคลื่นสามารถตกทับถมบนชายหาดได้ ซึ่งแตกต่างจากเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง หรือ รอดักทราย ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งข้างเคียงได้ (www.reshore.tech) สำหรับประเทศไทยมีการทดลองใช้ Derosion lattice บริเวณตำแหน่งสิ้นสุดปลายกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่า ณ ชายหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา เป็นแห่งแรก และแห่งเดียว โดยทำการติดตั้งมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ด้วยความร่วมมือของบริษัท Thai Wring Syatems จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมเจ้าท่า จากการสำรวจภาคสนามพบว่า Derosion lattice ที่ถูกวางในพื้นที่นี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับฐานของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าพอดี […]
พาชมเกาะลิดี เกาะเล็กๆใกล้ฝั่งละงู
ลิดี เป็นภาษามลายูแปลว่า “ไม้เรียว” เกาะลิดีอันที่จริงแล้วประกอบด้วยสองเกาะ คือ ลิดีใหญ่ และ ลิดีเล็ก เกาะลิดีใหญ่นั้นเป็นเกาะสัมปทานรังนกของบริษัท Scotch รังนก ส่วนเกาะลิดีเล็กเป็นเขตอุทยานและเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยาน เกาะลิดี อยู่ห่างจากที่ทำการแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กม. และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กม. เนื้อที่ประมาณ 10 ตร.กม. มีหาดทรายขาว เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเล่นน้ำทะเล ปัจจุบันเกาะลิดีมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีบ้านพัก และบริเวณที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว (http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=4648) เมื่อขึ้นฝั่งบนเกาะลิดีเล็ก จะพบสะพานคอนกรีตที่ใช้เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างท่าเทียบเรือกับชายหาดอีกด้านหนึ่งของเกาะที่เป็นที่ตั้งของอุทยานฯ ริมทางเดินจะพบโขดหินรูปร่างแปลกตา และชายหาดเล็กๆ เมื่อสุดปลายทางเดินระยะทางประมาณ 260 เมตร จะพบชายหาดด้านหน้าอุทยาน เป็นหาดทรายขาวความยาวประมาณ 230 เมตร วางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตก ความกว้างประมาณ 15 เมตร ทรายขนาดไม่ละเอียดนัก และพบว่ามีความขาวมากกว่าทรายบนชายหาดฝั่งปากบารา เมื่อเดินถัดเข้าไปบริเวณด้านหลังที่ทำการอุทยานจะพบชายหาดขนาดเล็กระหว่างโขดหิดอีกหนึ่งหาด ความยาวประมาณ 75 เมตร ชายหาดทั้งสองแห่งนี้ หากเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว หรือเปิดให้มีการพักค้างและทำกิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาเหมือนปกติก่อนช่วง COVID-19 […]
พาชมกำแพงกันคลื่น ณ หาดแม่น้ำ เกาะสมุย
หาดแม่น้ำเป็นหาดท่องเที่ยวบนเกาะสมุยที่พบกำแพงกันคลื่นเกือบตลอดทั้งแนว ท้องถิ่น ชาวบ้าน และผู้ประกอบกิจการริมทะเล บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ชายหาดด้านหน้ากำแพงค่อยๆหดหายไปและลดระดับต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นประเด็นที่น่าติดตามต่อไปว่า ผู้ประกอบการในพื้นที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ในเมื่อชายหาดลดระดับต่ำลงและถูกกัดเซาะเพิ่มเติมเพราะกำแพงกันคลื่นที่ถูกสร้างไว้โดยเจ้าของที่ดินเกือบตลอดทั้งแนวชายหาด
ข้อสังเกต 11 ประการ ต่อโครงการกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง บางสะพาน
Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ […]
เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2566
ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณขาวคาดแดง โดยสำนักงบประมาณปี 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ เมื่อเดือน พ.ค.2565 ร่างงบประมาณประจำปี 2566 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.2565-ก.ย.2566) เพื่องานศึกษา งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่งใน 3 กรมหลัก รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 1,779.900 ล้านบาท ใน 79 โครงการ ใน 79 โครงการนี้ แบ่งออกเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจำนวน 55 โครงการ โดยถือเป็นสัดส่วนมากที่สุดคือ 65% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาคือกรมเจ้าท่าจำนวน 13 โครงการ นับเป็น […]
พาสำรวจผลกระทบจาก Jetty บนเกาะสมุย
Beach Lover พาสำรวจพื้นที่ริมทะเลภายในโรงพยาบาลเกาะสมุยที่ถูกกัดเซาะ โดยพบว่าถนนด้านหลังโรงพยาบาลส่วนที่ติดกับปากคลองถูกกัดเซาะจนสามารถสัญจรได้เพียง 1 เลน และมีร่องรอยการกัดเซาะตามภาพ ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เมื่อวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ปี 2011-2021 (พ.ศ.2554-2564) พบว่า ถนนเส้นนี้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายของปี 2018 (พ.ศ.2561) โดยพบว่ายังไม่ปรากฏร่องรอยการกัดเซาะจนถึงถนนตามภาพในปี 2020 (พ.ศ.2563) จนเมื่อมีการสร้าง jetty หรือ เขื่อนกันทรายและคลื่นทางทิศเหนือของปากร่องน้ำลิปะใหญ่ความยาวประมาณ 68 เมตร ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าสร้างขึ้นโดยหน่วยงานใด และสร้างขึ้นเมื่อใด แต่พบว่าได้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายเดือนเมษายนของปี 2021 (พ.ศ.2564) หลังจากนั้นจึงเริ่มพบว่าถนนฝั่งประชิดทะเลถูกกัดเซาะไปบางส่วน ส่วนทางด้านทิศเหนือของ jetty นั้นพบการทับถมของตะกอนทรายด้านหน้ากำแพง (เส้นประสีม่วง) ตามภาพถ่ายปี 2021 (พ.ศ.2564) Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2565 พบว่าผิวถนนบางส่วนที่ปรากฏในภาพด้านบนถูกรื้อออกแล้ว เหลือเพียงชั้นทรายด้านล่างและเศษวัสดุ โดยพบว่ามีการนำแท่งปูน ก้อนหิน รั้วไม้สนและไม้ไผ่ พร้อมทั้ง Geotextile มาขึงเพื่อป้องกันชายฝั่งไปพลางก่อน ส่วนทางทิศใต้ถัดจาก Jetty และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนี้ มีการสร้างกำแพงแนวดิ่งเพื่อป้องกันชายฝั่งไปจนสิ้นสุดพื้นที่ของโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด และโดยหน่วยงานใด […]
“รั้วไม้ชายหาด” วัดท่าไทร ยังสบายดี ?
Beach Lover เคยพาชม รั้วไม้ ณ ชายหาดหน้าวัดท่าไทรไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ การปักไม้ในพื้นที่นี้นับเป็นพื้นที่แรกๆที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) รับมาปฏิบัติเอง หลังจากที่ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ได้ดำเนินการเองไปบ้างแล้วก่อนหน้านั้น งบประมาณที่ทางกรมฯใช้ในพื้นที่นี้คือ 495,000 บาท สำหรับระยะทาง 594 เมตร หรืออาจกล่าวได้ว่า งบประมาณที่ใช้เพื่อการปักไม้คือ 833 บาทต่อเมตร Beach Lover ได้ไล่เรียงภาพถ่ายในมุมเดิมๆ โดยมีตำแหน่งอ้างอิงเดิมให้ได้ชมกันอีกครั้งตั้งแต่ กันยายน 2563 จนถึง พฤษภาคม 2565 ตามภาพ พบว่า การเว้าโค้งด้านทิศเหนือส่วนถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันในแต่ละภาพ สิ่งที่แตกต่างพบเพียงการทับถมของทรายที่เข้ามาตกสะสมตามฤดูกาลเท่านั้น โดยพบว่าภาพในเดือนธันวาคม ซึ่งช่วงปลอดมรสุมทรายเข้ามาทับถมจนเกือบมิดปลายไม้และมีระดับเกือบเสมอกับสันทรายชายหาดด้านใน และหลังจากนั้นทรายส่วนนี้ก็ถูกคลื่นซัดหายไปตามฤดูกาลเหมือนเดิม โดยปรากฏลักษณะของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลนี้ในรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งแนวปักไม้เกือบ 600 เมตร จากการเดินสำรวจตลอดแนวเกือบ 600 เมตร พบว่าพื้นที่ทิศเหนือสุดของแนวปักไม้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดที่มีความแตกต่างจากพื้นที่ที่มีการปักไม้แต่อย่างใด ซึ่งเหมือนกับที่ Beach Lover เคยสำรวจและแสดงความเห็นไว้ในการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อสองปีก่อน https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]
หาดแหลมสิงห์ หาดลึกลับเข้าถึงยาก
Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนาม ณ จ.ภูเก็ต ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูกาลท่องเที่ยวพอดี ก่อนที่ภูเก็ตและจังหวัดอื่นๆทางฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ทะเลช่วงนี้จะใสและมีสีสวย ชายหาดกว้าง คลื่นลมสงบ และมีนักเที่ยวท่องจำนวนมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ซึ่งกลับมาท่องเที่ยวที่ภูเก็ตอีกครั้งหลังจาก COVID-19 แม้จะฟื้นกลับมาเพียงครึ่งเดียว ไม่มากมายเหมือนเดิม แต่ก็เพียงพอให้บาง sector ประคองธุรกิจต่อไปได้ หาดแหลมสิงห์เป็นชายหาดที่เข้าถึงได้ยาก ต้องเดินเท้าหรือนั่งเรือเข้าไปเท่านั้น ซึ่งทางเดินเท้าเข้าไปนั้นไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องเดินลัดเลาะไปตามโขดหิน ซอกหลืบของหน้าผาหิน โดยทางเดินเกือบตลอดเส้นทางนั้นรายล้อมไปด้วยต้นไม้ที่ร่มรื่น และทิวทัศน์อันสวยงามของทะเลตัดกับโขดหิน มีร้านค้าขายอาหารและเครื่องดื่มหนึ่งร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ดึงดูดลูกค้าที่กำลังอ่อนแรงจากการเดินเท้าได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 20 นาทีจากถนนด้านบน ก็จะมาถึงหาดแหลมสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดกระเปาะที่มีความยาวชายหาดตลอดแนวประมาณ 270 เมตร ความกว้างชายหาดเฉลี่ยประมาณ 33 เมตร มีขนาดของเม็ดทรายเฉลี่ย 0.26 มิลลิเมตร และมีความลาดชันชายหาด 6.7 องศา (ข้อมูลจากการสำรวจจริงในเดือนเมษายน 2565) พบผู้ประกอบการร่มเตียงและเครื่องดื่มเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งรายเท่านั้น และพบว่าป่าชายหาด พืชปกคลุมชายหาดด้านในยังคงสมบูรณ์ ปราศจากการแทรกแซงใดๆ ในหลายประเทศเส้นทางเดินเท้าริมทะเล (Ocean trail) ที่มีความสวยงามเช่นนี้ มักถูกโปรโมตให้เป็นเส้นทางที่เป็น […]