เกาะ “ผีทัก” ณ.ชุมพร

“เกาะพิทักษ์” หรือที่เพี้ยนมาจากชื่อ “เกาะผีทัก” คือเกาะเล็กๆขนาดเดินรอบภายใน 60 นาที อยู่ใกล้ชายฝั่งมาก นั่งเรือหางยาวของชาวบ้านไปเพียงคนละ 30 บาท ด้วยระยะเวลาไม่เกิน 15 นาที เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวท้องครก ตำบลบางน้ำจืด อำหลังหลังสวน จังหวัดชุมพร อยู่ในชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ห่างจากชายฝั่ง 1 กิโลเมตร  แต่เดิม เกาะพิทักษ์ มีชื่อเรียกว่า เกาะผีทัก เนื่องจากสมัยก่อนมีชาวประมงออกเรือหาปลามาถึงบริเวณ เกาะพิทักษ์ พอมองขึ้นไปบนฝั่งบน เกาะก็พบเงาคนกำลังกวักมือเรียก แต่พอเข้าไปใกล้ ๆ เกาะกลับไม่พบใคร ทำให้ชาวประมงพากันเรียก เกาะแห่งนี้ว่า เกาะผีทัก จวบจนเริ่มมีชาวบ้านขึ้นไปอาศัยอยู่บนเกาะ จึงมีทำการเปลี่ยนชื่อจาก เกาะผีทัก เป็น เกาะพิทักษ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล (https://www.chppao.go.th/travel/detail/7) Beach Lover พาเดินชมเกาะพิทักษ์ในหลากหลายมุม โดยทางทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นโซนที่คลื่นลมสงบกว่า เนื่องจากหันเข้าฝั่งแผ่นดิน มีการสร้างบ้านเรือน รีสอร์ท ร้านอาหาร ยื่นลงมาในทะเลในลักษณะของอาคารไม้โดยมีบางส่วนของอาคารอยู่บนชายหาดซึ่งส่วนมากเป็นทรายทั้งหมด พบไม้ชายเลนประปรายในบางพื้นที่ เมื่อเดินผ่านทางเดินคอนกรีตขนาดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ จะพบหาดทรายกระเปาะเล็กและแนวโขดหินกระจายอยู่เต็มพื้นที่ […]

Beachlover

April 30, 2024

สำรวจการเปลี่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั่งหลังการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 27 เมษายน 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งอยู่ในระบบหาดบ้านแหลมศอก (T1D009) เพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั่งหลังการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น โดยสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ครอบคลุมระยะทางไม้ไผ่ประมาณ 3,200 เมตร พื้นที่ประมาณ 180 ไร่ ผลจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บริเวณหลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น มีพรรณไม้ป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง และแสมทะเล ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะนำข้อมูลดังกล่าว มาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงหลังดำเนินโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ต่อไป

Beachlover

April 29, 2024

กำแพงกันคลื่นหน้ารีสอร์ท สิชล นครศรีธรรมราช

Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจหาดแถบสิชล จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงหลังมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในหลายพื้นที่ หนึ่งพื้นที่ที่น่านำมาเล่าสู่กันฟังคือชายหาดด้านหน้าวิลล่า คานี รีสอร์ท ซึ่งอยู่ระหว่างหาดบ้านเราะและหาดบ้านตะเคียนดำ  ผู้ประกอบการเล่าให้เราฟังว่า ในอดีตก่อนหน้านี้ ชายหาดอยู่ไกลออกไปพอควร แต่ตอนริเริ่มเข้ามาซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ทก็ได้มีการรังวัดใหม่พร้อมหักโฉนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นได้เห็นว่าพื้นที่ทางทิศเหนือได้มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จึงได้เริ่มสร้างบ้าง เนื่องจากกลัวว่าพื้นที่รีสอร์ทอาจถูกกัดเซาะเนื่องจากไม่มีกำแพง แต่หลังจากการสร้าง พบว่ากำแพงช่วยได้ในระดับหนึ่งแต่เกิดคลื่นสะท้อนและคลื่นกระเซ็นข้ามกำแพง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ด้านบนและด้านหน้ากำแพง ภาพถ่ายเมื่อ: มีนาคม 2567

Beachlover

April 26, 2024

ศาลปกครองยกฟ้อง คดีคัดค้านการสร้างกำแพงชายหาด Katoku เกาะ Amami จ.Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น

อ่านข่าวฉบับภาษาญี่ปุ่นได้จาก: https://www3.nhk.or.jp/lnews/kagoshima/20240424/5050026677.html ภาพประกอบโดย: Beach Lover เมื่อ พ.ย.2566 วันที่ 24 เมษายน 2567 ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องกรณีที่ชาวบ้าน 10 คน ยื่นเรื่องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ยุติการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ป้องกันชายหาด Katoku ที่ใช้งบประมาณกว่า 340 ล้านเยน โดยระบุว่าจะเป็นการทำลายทรัพยากรชายหาดที่มีคุณค่า เนื่องจากหาดนี้อยู่ติดกับเขตที่ถูก Unesco ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ในอดีต ศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องกรณีนี้ไปแล้ว 1 รอบ แต่ชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นอุทธรณ์พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องชายหาดแห่งนี้หลายครั้ง รวมถึงสำรวจข้อมูล beach profile นำส่งต่อศาลเพื่อแสดงให้เห็นว่าชายหาดแห่งนี้ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น เนื่องจากไม่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรง การกัดเซาะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากพายุรุนแรงเมื่อ 10 ปีก่อน และไม่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีกเลย จากเสียงคัดค้านจากผู้คนที่ต้องการปกป้องธรรมชาติ ทางจังหวัดจึงลดขนาดของเขื่อนลงจาก 530 เมตร เหลือเพียง 180 เมตร เมื่อ 6 ปีก่อน และเมื่อสองปีก่อน มีการนำรถขุด เครื่องจักรหนัก และวัสดุก่อสร้างมาวางไว้ที่ชายฝั่ง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากชาวบ้านต่อต้านจนถึงปัจจุบัน ในคำตัดสินของศาลชั้นสองเมื่อวันที่ 24 […]

Beachlover

April 25, 2024

สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

Beachlover

March 13, 2024

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

Beachlover

March 13, 2024

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

Beachlover

March 7, 2024

ชายหาดหลังรื้อ “โกงกางเทียม”

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการวางโกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแถบเขาหลักใกล้หาดทางทองไปหลายครั้งแล้ว ติดตาม Clip พาเดินชมได้จาก Youtube (1) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) หาดนางทอง เขาหลัก พังงา และ (2) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) ณ หาดนางทอง จ พังงา และ (3) รากโกงกางเทียม เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ หาดนางทอง และงานเขียนในโพสเก่าๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก Search icon ฤดู High season ของทะเลแถบอันดามันในปี 2567 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าโกงกางเทียมที่เคยวางอยู่หน้าชายหาดแห่งนี้มายาวนานมากกว่า 1 ปี หายไปหมดแล้ว จากการสอบถามผู้ดูแลรีสอร์ทแห่งนี้ได้ความว่า เจ้าของรีสอร์ทขอให้ผู้ที่นำมาทดลองวางรื้อออกให้หมดเนื่องจากไม่ได้ผล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ เสียหายและหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยติดตั้ง ทั้งยังส่งผลเสียเป็นทัศนะที่ไม่น่ามอง จากนั้น รีสอร์ทก็นำทรายมาเติมโดยใช้เวลา 3 คืน ดำเนินการช่วง 20:00-22:00 […]

Beachlover

February 29, 2024

วัดถ้ำโพงพางหลังมรสุม

Beach Lover ขอพาชมภาพของชายหาดหน้าวัดถ้ำโพงพาง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าถนนเลียบทะเลเสียหายไปบางส่วน และมีเสาไม้ปักอยู่บนชายหาด เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จังหวัดชุมพร ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะเเนวชายฝั่งในรูปแบบเชิงอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้สิ่งก่อสร้างถูกกัดเซาะ เมื่อ มิ.ย.2565 (https://siamrath.co.th/n/354051) และได้มีการปักเพิ่มเติมเรื่อยๆตามกำลังและความร่วมมือร่วมใจของทั้งหน่วยงานและประชาชน (https://www.4forcenews.com/239008/) อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาการกัดเซาะถึงบางส่วนของถนนเลียบชายหาดของทางวัด ทั้งบริเวณที่มีการปักไม้และบริเวณที่ไม่มีการปักไม้

Beachlover

February 16, 2024

แปลงปลูกต้นไม้ชายหาด อุทยานปราณบุรี

“ป่าชายหาด” คือ พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกันป่าดิบแล้งตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ชายหาดเป็นกรวดทรายและโขดหินเป็นแนวกว้าง เช่น ตามเกาะต่างๆในทะเลของไทย ทั้งบริเวณในเขตอ่าวไทยและอันดามัน ดินค่อนข้างเค็มเนื่องจากมีไอเค็มจากฝั่งทะเลพัดเขาถึง สภาพป่าจะผิดแผกไปจากป่าพรุ ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ความชุ่มชื้นและปุ๋ยอินทรีย์ในดินมีน้อยมาก สังคมพืชโดยถือเอาความสูงเป็นเกณ์แบ่งได้ 3 ชั้น พันธุ์ไม้หลัก มีสนทะเล กระทิงหรือสารภีทะเล และหูกวางเป็นหลัก “ป่าชายหาด” นับเป็นป่าสังคมหนึ่งของป่าดิบ มีปริมาณฝนระหว่าง 1,500-4,000 มม/ปี และพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เมตร ปริมาณพื้นที่ของป่าชนิดนี้ยังไม่อาจประเมินได้ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าประเภทอื่นในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมได้จาก วารสารราชบัณฑิต) แนวคิดการปลูกป่าชายหาดเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เนินทรายชายฝั่ง เพื่อเป็นปราการทางธรรมชาติป้องกันคลื่นลมนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นในระยะหลังๆที่สังคมเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Eco-friendly มากขึ้น มีการเริ่มตระหนักว่า ความสมบูรณ์ของป่าชายหาดอาจทดแทนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอย่างกำแพงกันคลื่นได้ ตัวอย่างเช่นโครงการ การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ปลูกป่าชายหาดเสริมความมั่นคง ป่าปลายแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช Beach Lover ขอพาชมแปลงปลูกป่าชายหาด ณ วนอุทยานปราณบุรี หรือ […]

Beachlover

January 31, 2024
1 2 81