กำแพงกันคลื่น Tropical Beach

Beach Lover  ขอพาชม กำแพงกันคลื่นริมชายหาด Tropical ย่าน Teluk Bahang ชายหาดทางทิศเหนือของเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย หาดที่ไม่ค่อยมีผู้มาเยือนสักเท่าไหร่ อาจเนื่องจากเป็นหาดเล็กๆที่ไม่ค่อยสวยและเป็นทางผ่านไปยังหาดเลื่องชื่อ Batu Ferringhi

Beachlover

September 18, 2023

Elastocoast กับกำแพงกันคลื่น

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (Two-component polyurethane) โดยหินกรวดนี้จะถูกน้ำยาเคลือบเหมือนมี Film บางๆของโพรียูรีเทนมาหุ้ม เมื่อน้ำยานี้แข็งตัว Film บางๆที่เคลือบหินกรวดจะเป็นตัวยึดให้หินทุกก้อนติดกันเฉพาะส่วนที่ contact กัน ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างก้อนกรวดนี้ ส่งผลให้โครงสร้างที่ถูกเททับด้วย Elastocoast มีความพรุนน้ำสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการการรับแรงปะทะและสลายพลังงานคลื่น Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Elastocoast ไปแล้ว ติดตามได้จาก https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/ วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท พบว่า มีการใช้ Elastocoast กับพื้นที่ด้านในส่วนถัดจากโครงสร้างหลัก หรือ กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงตลอดทั้งแนว โดยมีระดับอยู่ใกล้เคียงกับสันของกำแพงกันคลื่นพอดี โดยพบว่าพื้นที่ด้านในส่วนถัดจาก Elastocoast เข้ามามีการปูทับด้วยคอนกรีตบล็อคเพื่อเป็นทางเดินเท้า จากการสำรวจพบเศษหินขนาดเล็กที่หลุดล่อนออกจากการเคลือบประสานด้วยน้ำยาอยู่บ้าง โดยยังไม่พบความเสียหายในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆที่ใช้ Elastocoast เหมือนกัน อาจเกิดจากการที่พื้นที่อื่นๆได้ใช้ […]

Beachlover

July 7, 2023

สิ้นชื่ออ่าวดงตาล?

Beach Lover เคยพาสำรวจอ่าวดงตาลในช่วงสองปีที่ผ่านมาหลายครั้ง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/อ่าวดงตาล-ถูกขลิบ/และ https://beachlover.net/รื้อกำแพง-อ่าวดงตาล/ และ https://beachlover.net/ดงตาล-กับ-ชายหาดที่หายไป/ โดยในเวลานั้นพื้นที่หาดดงตาลทางทิศตะวันออกติดกับหัวเขายังคงเป็นหาดทรายธรรมชาติ และถูกเปิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้แบบจำกัดเวลา มาวันนี้ ขอพอสำรวจอ่าวดงตาลอีกครั้ง โดยพบว่าโครงสร้างที่กล่าวถึงในโพสก่อนหน้าแล้วเสร็จไปบางส่วนแล้ว และพบว่าทางทิศตะวันตกของอ่าว มีกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงพร้อมการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านบนซึ่งเป็นโครงการที่เสร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนั้นยังพบ งานปรับปรุงกำแพงกันคลื่นเดิมที่มีลักษณะเป็นแนวดิ่งโดยการนำหินมาถมด้านหน้าเพื่อลดแรงปะทะและสะท้อนกลับของคลื่น เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ อ่าวดงตาลระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตรนี้ จะถูกขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนว เมื่อนั้น “อ่าวดงตาล” ชายหาดเลื่องชื่อสำหรับกีฬาทางน้ำคงเหลือเพียงตำนานหรือไม่ รอติดตามอย่างใจเย็น

Beachlover

July 5, 2023

ราชกิจจานุเบกษา “กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA ” มีผลบังคับใช้ทันที

ที่มา: https://www.komchadluek.net/quality-life/environment/550610 เว็บไซต์ “ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2566  โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48  แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้

Beachlover

June 8, 2023

รากโกงกางเทียม (อีกรอบ) ณ หาดนางทอง

เมื่อปลายปีก่อน Beach Lover ได้เคยพาสำรวจโครงการรากโกงกางเทียมเพื่อป้องกันชายฝั่ง ณ หาดนางทอง เขาหลักไปแล้ว ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ระเนระนาด-หาดนางทอง-เขาหลัก/ ครั้งนี้ขอพาชมซากที่ยังหลงเหลืออยู่ของรากโกงกางเทียมกันอีกซักรอบในช่วงต้นฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ สภาพโดยรวมแทบจะไม่เหลือรากโกงกางเทียมที่ทำจากยางให้เห็นแล้ว เกือบทั้งหมดหลุดออกจากฐาน มีบางส่วนจมอยู่ใต้ทราย นอกจากนั้นยังพบว่าตัวฐานที่เป็นเสาสำหรับยึดรากโกงกางเทียมเอนไปมาและไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ติดตั้งไว้เดิม นอกจากนั้นยังพบว่ามีรอยแตกร้าวในแนวดิ่งเหมือนกันทุกต้น คาดว่าเกิดจากแรงปะทะของคลื่น ชม VDO clip การเดินสำรวจได้ที่ https://youtu.be/9zTpKvD0q88 บริเวณโดยรอบยังพบซากของฐานและรากโกงกางเทียมกระจายเป็นหย่อมๆ คาดว่าอาจถูกคลื่นซัดหลุดออกจากตำแหน่งติดตั้ง และมีการเก็บซากมากองไว้รวมกัน นอกจากนั้นยังพบว่า พื้นที่รอบๆโครงสร้างนี้ยังคงต้องใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบเดิมเหมือนก่อนที่จะมีโครงการนี้เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกันต่อไป ภาพทั้งหมดถ่ายเมื่อ 23 พ.ค.2566

Beachlover

May 30, 2023

พาชมงานป้องกันชายฝั่งหาด Ferringhi, Penang, Malaysia

Beach Lover ได้เคยพาชมการก่อสร้างกำแพงกระสอบทรายป้องกันชายหาด Ferringhi รัฐ Penang ประเทศ Malaysia ไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2565 ซึ่งในขณะนั้นกำลังก่อสร้าง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่น-ณ-หาด-batu-ferringhi-ปีนัง/https://beachlover.net/งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่น-ณ-หาด-batu-ferringhi-ปีนัง/ ช่วงต้นปี 2566 Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปเยือนหาดแห่งนี้อีกครั้ง โดยครั้งนี้กำแพงกระสอบได้สร้างเสร็จแล้ว นับว่าเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในรูปแบบที่ค่อนข้างแปลกประหลาด ไม่แน่ใจว่าใช้หลักคิดใดในการออกแบบกำแพงกระสอบแนวดิ่งขนาดใหญ่นี้ (YouTube: https://youtu.be/Y7kDT8MoZLY ) กำแพงที่ว่านี้ สร้างแล้วเสร็จในช่วงที่เกาะปีนังปลอดมรสุม เราจึงยังไม่เห็นประสิทธิภาพและผลกระทบของกำแพงนี้ที่มีต่อชายหาดด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลัง แต่จากภาพเชิงประจักษ์ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ชายหาดอย่างมาก รวมถึงทัศนียภาพที่สูญเสียไปอย่างไม่มีวันกลับด้วย Beach Lover จะกลับมาพื้นที่นี้อีกครั้งในช่วงหลังฤดูมรสุม แล้วเราจะได้เห็นกันว่ากำแพงกระสอบทรายขนาดใหญ่นี้ มีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหน

Beachlover

April 11, 2023

หาดแม่รำพึง ยังสบายดี?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ (https://beachlover.net/ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ-ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า-79-ล้าน/) ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง-ประจวบคีรีขันธ์-๙๖๖-เมตร-บนคำถาม/) […]

Beachlover

January 4, 2023

ร้อยเมตรสุดท้ายของชายหาด

พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในตําบลสามร้อยยอด อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดส่วนสุดท้ายที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลก ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี ตลอดระยะทางประมาณ 4,530 เมตร ก่อนถึงชายหาดส่วนสุดท้ายนี้ ไม่หลงเหลือสภาพชายหาดธรรมชาติแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ดําเนินการก่อสร้างโดยสํานักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทางทิศใต้ของพื้นที่หาดผืนสุดท้ายนี้ คือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และมีการใช้ประโยชน์เป็นชุมชนประมงด้านในคลอง น่าแปลกใจว่า เหตุใดตอนก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลกเป็นระยะทางกว่า 4.53 กิโลเมตร ในปี 2555 จึงได้เว้นช่วงชายหาดผืนสุดท้ายนี้ไว้ประมาณ 120 เมตร เหตุใดจึงไม่ได้ออกแบบก่อสร้างให้จรดโครงสร้างปากร่องน้ำ นับเป็นโครงการที่น่าตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 พบว่า มีกองหินขนาดเล็กวางระเกะระกะบนบางส่วนของชายหาด แต่ยังไม่พบร่องรอยคลื่นกัดเซาะจนถนนได้รับความเสียหาย โดยถนนเส้นนี้วิ่งมาจรดปากคลองเท่านั้น ไม่ได้เป็นเส้นทางหลักเพื่อวิ่งเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นแต่อย่างใด ในปี 2565 ท้องถิ่นได้ทำเรื่องร้องขอโครงสร้างป้องกันพื้นที่ชายหาดผืนสุดท้ายนี้ต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง คาดเดาได้ว่า กรมจะใช้วิธีคิดแบบเดิมๆคือป้องกันไปเสียให้จบๆ เพราะเหลืออีกแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าเราจะได้กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงในรูปแบบเดิมกับที่มีอยู่แล้วกว่า 4.53 กิโลเมตร หากกรมฯปรับเปลี่ยนมุมมองในการมองปัญหาใหม่ อาจคิดได้ว่า เหลือเพียงแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้นที่เป็นหาดทรายธรรมชาติผืนสุดท้ายของชายหาดที่ยาว 4.65 […]

Beachlover

January 3, 2023

พบโกงกางเทียม บน หาดทราย

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งชนิดหนึ่งที่เรียกขานกันว่า “ซีออส C-Aoss หรือ โกงกางเทียม” (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) ไปบ้างแล้วในโพสเก่าๆ ติดตามได้จาก หาดนางทอง เขาหลัก พังงา Youtube https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg ระเนระนาด @ หาดนางทอง (https://beachlover.net/ระเนระนาด-หาดนางทอง-เขาหลัก/) Beach Lover ได้ลงสำรวจภาคสนาม (21 ธันวาคม 2565) และพบว่ามีความพยายามใช้โครงสร้างนี้เพื่อป้องกันชายหาด ณ หาดสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากการเดินเท้าสำรวจไม่พบป้ายระบุว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ รายละเอียดของโครงสร้าง รวมถึงงบประมาณที่ใช้ พบว่า ตัวแท่งเสาหลักที่ทำจากเนื้อไม้ผสมพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง(High Density Polyethylene : HDPE) หรือตัวต้นโกงกางเทียมได้ถูกปักลงบนหาดทรายแล้วจำนวน 4 และ 6 แถว โดยใช้รถเจาะที่จอดอยู่บริเวณใกล้เคียง ส่วนตัวรากไม้เทียมที่มีส่วนผสมของยางพาราธรรมชาติร้อยละ 35 ของส่วนผสมทั้งหมด ยังไม่ถูกประกอบเข้ากับเสาหลัก พบว่าวางใส่ถุงกระสอบขนาดใหญ่อยู่บนชายหาดด้านหลังแท่งเสาหลัก เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆพบว่ามีกลิ่นคล้ายยางรถยนต์ชัดเจนมากจากรากไม้เทียมนี้ ทางทิศใต้ของบริเวณที่คาดว่าเป็นพื้นที่ก่อสร้างนี้มีลักษณะเป็นหาดทรายยาว โดยยังไม่พบโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และยังไม่พบหลักฐานของการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ส่วนทางทิศเหนือของพื้นที่ก่อสร้างนี้เป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่ สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองระยะทางประมาณ 1.5 […]

Beachlover

January 1, 2023

ชมหาดขั้นบันไดสีเขียวมรกต

Beach Lover ได้พาติดตามโครงการกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได บริเวณชายหาดชะอำใต้มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ค้นหาได้จาก Search Icon มุมขวาบน ครั้งนี้ขอพาชมโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดส่วนท้ายสุด ด้านทิศใต้ของชายหาดขะอำใต้ ที่ยังเหลือเก็บงานพื้นผิวขั้นบันไดอีกเล็กน้อย (ภาพเมื่อ 22ธันวาคม2565) พบว่า ด้านหน้ากำแพงไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่เลย และพบว่ามีสาหร่ายสีเขียวขึ้นตามขั้นบันไดส่วนที่ใกล้กับระดับน้ำตามรูป

Beachlover

December 24, 2022
1 2 3 24