ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล (Digital Shoreline Analysis System, DSAS) 

ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล (Digital Shoreline Analysis System, DSAS) เป็นเครื่องมือหนึ่งในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcGIS) มีขั้นตอนการทำงาน ดังภาพที่ 1 ถูกพัฒนาโดยหน่วยสำรวจธรณีวิทยาประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ใช้คำนวณทางสถิติของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในหลายช่วงระยะเวลา โดยข้อมูลที่นำเข้าคือ แนวชายฝั่ง (Shoreline) และเส้นอ้างอิง (Baseline) เพื่อสร้างเส้นแบ่งระยะที่ตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง (Transect) โดยโปรแกรมจะสร้างเส้น Transect ตามที่ผู้ใช้กำหนดระยะที่ต้องการไว้ และจะทำการคำนวณค่าสถิติต่างๆของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งให้ ยกตัวอย่างเช่น  – Shoreline Change Envelope (SCE) คือ ระยะทางระหว่างแนวชายฝั่งเส้นในสุดกับเส้นนอกสุด ดังภาพที่ 2 – Net Shoreline Movement (NSM) คือ ระยะทางสุทธิระหว่างแนวชายฝั่งปีที่เก่าที่สุดและแนวชายฝั่งปีที่ใหม่ที่สุด ดังภาพที่ 2 – End Point Rate (EPR) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง โดยคำนวณจากค่า NSM หารด้วยระยะเวลาระหว่างปีที่เก่าที่สุดและปีที่ใหม่ที่สุด ดังภาพที่ 2 การศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย เจนจิรา ได้ประยุกต์ใช้สาระสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล (เจนจิรา, 2560) บริเวณตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา […]

Beachlover

January 13, 2024

พายุซัดฝั่ง (Storm surge) คืออะไร?

พายุซัดฝั่ง (Storm surge) คือปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อนในวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วนไม่แจ่มใสสภาพอากาศเลวร้าย พื้นที่ชายฝั่งจะมีแรงกดอากาศยกระดับน้ำทะเลให้สูงกว่าปกติกลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดจากทะเลเข้าหาชายฝั่งอย่างรวดเร็ว (https://www.nhc.noaa.gov/surge/) พายุซัดฝั่งเป็นคลื่นที่เกิดบริเวณพื้นผิวโลกมีความชื้นสูงและมีมวลอากาศอุ่น ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดลมพัดเข้ามาหย่อมความกดอากาศต่ำ และเกิดการหมุนตัว เข้าหาจุดศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยในซีกโลกเหนือหรือบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรจะมีการหมุนตัวในทิศทวนเข็มนาฬิกา แต่หากเกิดในซีกโลกใต้หรือบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา พายุซัดฝั่งจะดันน้ำให้มีระดับสูงจนสร้างความเสียหายต่อชีวิตอาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ดังรูปที่ 1 โดยระดับน้ำที่ยกตัวสูงขึ้นนี้เกิดจากแรงขับจากความกดอากาศ (Pressure driven storm surge) และลม (Wind driven storm surge) ทะเลโดยรอบจะมีลักษณะราบเรียบเท่ากันหมดในบริเวณพายุ แต่ตรงใจกลางพายุหรือที่เรียกว่าตาพายุจะมีระดับน้ำที่สูงกว่าปกติ ผลจากพายุซัดฝั่งจะทำให้ระดับน้ำชายฝั่งเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติแต่เป็นเพียงช่วงเวลาไม่นานแล้วจะกลับสู่สภาพเดิม รูปที่ 2 แสดงระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดจนเข้าท่วมชุมชนในช่วงที่เกิดพายุปาบึกซัดฝั่งที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเดือนมกราคม 2562 โดยมีลักษณะของการเคลื่อนที่ของตาพายุ ดังรูปที่ 3

Beachlover

January 6, 2024

คลื่นแตกตัวแบบไหนบ้าง?

เราสามารถจำแนกการแตกตัวของคลื่นทะเลได้เป็นสี่ลักษณะ (ในบางตำราอาจแยกเป็นสามลักษณะโดยรวบเอา collapsingและ surging ไว้ด้วยกัน) แตกต่างกันตามคุณลักษณะของคลื่นและสัณฐานชายฝั่ง (A) Spilling: คลื่นที่มีความชันน้อย เมื่อเข้าสู่ชายหาดที่มีความลาดชันน้อยๆ จะเกิดการแตกที่ยอดเป็นฟองและต่อเนื่องลงมาที่ด้านหน้าของคลื่นจนกระทั่งคลื่นนั้นสลายไป (B) Plunging: เมื่อความชันของคลื่นและชายหาดเพิ่มขึ้น คลื่นจะสูงขึ้นและยอดจะโค้งไปด้านหน้าและโผลงมาทำให้หน้าคลื่นเป็นรูปโค้งเว้า (C) Collapsing: เป็นส่วนผสมของการแตกตัวของคลื่น แบบ B และ D โดยสันของคลื่นจะไม่แตกตัวเต็มที่ แต่ยังมีการม้วนโค้งไปด้านหน้า พร้อมทั้งเกิดการแตกตัวที่ฐานคลื่นบางส่วน (D) Surging: เมื่อความชันของคลื่นและชายหาดมีค่ามาก คลื่นจะยกตัวสูงมากขึ้นเช่นเดียวกับการโผ แต่ที่ฐานคลื่นจะซุกเข้าหาพื้นหาดจนคลื่นสลายไป

Beachlover

January 4, 2024

กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้

หากนำบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ กรุณาอ้างอิงลิขสิทธิ์บทความจาก www.beachlover.net ด้วย : ขอขอบคุณ เมื่อชายหาดประสบปัญหาการกัดเซาะ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมักคิดถึงการใช้มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการป้องกันก่อนเป็นลำดับแรกๆ สืบเนื่องมาจากหลักคิดที่ว่าการจะหลีกเลี่ยงปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ คือการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นขนาดใหญ่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อมิให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง  หลักคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเมื่อใดที่เราตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาดโดยใช้โครงสร้างป้องกัน เท่ากับว่าเรากำลังแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งเสียสมดุลและในบางครั้งอาจเกิดขึ้นแบบถาวรโดยมิอาจเรียกกลับคืนสมดุลเดิมได้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมสามารถป้องกันได้เฉพาะพื้นที่ด้านในที่เราต้องการป้องกันเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆโครงสร้างพื้นที่ถัดไปจะถูกโครงสร้างนี้แทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติและเสียสมดุลไปในที่สุด ดังจะเห็นว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากโครงสร้างป้องกันมักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บางครั้งรุนแรงมากกว่าการกัดเซาะตามธรรมชาติเสียอีก หากเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง และทรงคุณค่าไม่ว่าจะด้านอะไรที่ประชาชนเล็งเห็นว่ามีความสำคัญ หากพิจารณาแล้ว การปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะส่งผลให้พื้นที่นั้นค่อยๆถูกทะเลกัดกลืนหายไป และเมื่อพิจารณาแนวทางเลือกอื่นๆที่ไม่ใช้โครงสร้างแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ในกรณีนี้ การใช้โครงสร้างป้องกันอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากต้องการรักษาพื้นที่นั้นไว้ให้คงอยู่ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน “ทางรอด” นั้น ก็คงจะ “รอด” ได้จริงตามที่รัฐต้องการ หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางรอดนั้นอาจเป็นการสร้างโครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรมที่มั่นคงถาวร แต่หากการเกิดขึ้นของโครงการนั้นไร้ซึ่งความจำเป็น รวมถึงไม่แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้านต่อผู้มีส่วนได้ส่วนแสียแล้ว “ทางรอด” ที่ว่านี้ อาจกลับกลายเป็น “ทางตัน” และนำพาสารพัดปัญหาแก่รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างที่ได้เห็นกันในหลายๆตัวอย่างที่เกิดการฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชน […]

Beachlover

December 1, 2022

เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating breakwater) ตอนที่ 1

อ้างอิงบางส่วนจาก: Ploypradub, P. and Ritphring, S., Comparison of Efficiency of Floating Breakwater and Rubble Mound Breakwater, Ladkrabang engineering journal, Vol.36, No.1,pp.1-8, Mar 2019. (In Thai) เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งและเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating Breakwater) เป็นรูปแบบหนึ่งของเขื่อนกันคลื่นที่ใช้เพื่อลดพลังงานของคลื่นที่เข้าปะทะชายฝั่งทะเล ซึ่งในอดีตนิยมใช้เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะมีความแข็งแรงไม่ต้องทำการดูแลรักษามากนัก แต่ทำให้สูญเสียทัศนียภาพ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดการกัดเซาะที่บริเวณเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำสามารถใช้ได้กับพื้นที่ที่ฐานรากไม่แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ มีขนาดไม่ใหญ่ทำให้ไม่สูญเสียทัศนียภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น ไม่เหมาะสำหรับคลื่นขนาดใหญ่ และต้องการการดูแลรักษาสูง Tsinker (2004) ได้รายงานกรอบความคิดของเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำไว้ว่า โดยทั่วไปเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำถูกจำแนกว่าเป็นโครงสร้างที่สะท้อนคลื่นหรือเป็นโครงสร้างที่ทำให้พลังงานของคลื่นลดลง โดยถูกออกแบบเพื่อสะท้อนคลื่น ให้มีเพียงคลื่นที่มีพลังงานน้อยเท่านั้นที่สามารถผ่านเขื่อนกันคลื่นไปได้ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ ได้พบการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ที่มีการป้องกันคลื่นลมและคลื่นที่เกิดจากเรือในงบประมาณที่ไม่สูง และในพื้นที่อ่าวเปิดที่ไม่ได้มีคลื่นที่มีความรุนแรงมากและพื้นที่มีความลึกของน้ำค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในพื้นที่ที่มีฐานรากที่ไม่แข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของน้ำได้รวมถึงการดำรงชีวิตของปลาทำให้ไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำมีขนาดเล็กไม่รบกวนทัศนียภาพ ในช่วงทะเลสงบไม่มีมรสุมไม่จำเป็นต้องมีเขื่อนกันคลื่นก็สามารถรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ จากการศึกษาของ Bruce et al. (1985) ได้แบ่งเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ 1. กล่อง […]

Beachlover

September 11, 2022

หลักการของแบบจำลอง GENESIS

แบบจำลอง GENESIS เป็นแบบจำลองที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิ Kraus (1984) ใช้แบบจำลองในการจำลองเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของชายหาด Oarai ประเทศญี่ปุ่น, Rao (2009) ได้ดำเนินการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและปริมาณการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งซึ่งได้รับผลกระทบจากการสร้าง   ท่าเทียบเรือและเขื่อนกันคลื่น โดยใช้แบบจำลอง GENESIS ในการวิเคราะห์อัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนตามแนวชายฝั่ง โดยประยุกต์ใช้กับหาด Ennore ประเทศอินเดีย และ Lima and Carlos (2019) ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่หาด Praia da Gaivina ประเทศโปรตุเกส ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ในประเทศไทยมีการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายพื้นที่ อาทิ สุวิมล แซ่โง่ว (2537) ใช้แบบจำลอง GENESIS ซึ่งเป็นแบบจำลองเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบบมิติเดียว (One-line model) ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งอันเกิดจากอิทธิพลของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณแหลมตาชี จังหวัดปัตตานี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(2538) ได้ทำการศึกษาลักษณะและปริมาณการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่ง โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง GENESIS กับพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดชลบุรี, วันชัย จันทร์ละเอียด (2548) ได้ใช้แบบจำลอง GENESIS ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งโดยมีการสอบเทียบและสอบทานแบบจำลองโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศในพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณช่วงบ้านตันหยงเปาว์ถึงบ้านบางตาวา จังหวัดปัตตานี จิรวัฒน์ กณะสุต และคณะ (2555) ใช้แบบจำลอง GENESIS ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลบริเวณชายหาดบ้านบางสัก จังหวัดพังงา  และ ชลวัฒน์ ปัญญา และ สมฤทัย ทสะดวก (2562) ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่หาดพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ในการศึกษาการปรับปรุงวิธีการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  แบบจําลอง GENESIS ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่ง แบบจำลองนี้ยังสามารถใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้างบริเวณชายฝั่ง (Coastal structures) และการเสริมทรายบริเวณชายหาด (Beach nourishment) ได้ด้วยข้อมูลที่ใช้นำเข้าในแบบจำลอง ได้แก่ ข้อมูลคลื่นนอกชายฝั่ง ลักษณะ รูปร่างของชายหาด รายละเอียดของโครงสร้างชายฝั่ง การถมทรายบริเวณชายหาด เป็นต้น โดยให้ผลการคำนวณเป็นเส้นชายฝั่งในอนาคต […]

Beachlover

September 3, 2022

ความลาดชันชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจความลาดชันชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร ความลาดชันชายหาดเป็นลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม และความรวดเร็วในการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง เพราะพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความลาดชันสูง แนวชายฝั่งจะกัดเซาะช้ากว่าบริเวณชายฝั่งที่มีความลาดชันต่ำ ตามกฎของ Brunn  แม้ว่ากฎของ Brunn จะใช้ไม่ได้กับพื้นดินทุกประเภท แต่มีประโยชน์ในการให้ข้อมูลเชิงลึกว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีที่ราบลุ่ม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่ง โดยทั่วไปพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำมีโอกาสที่คลื่นขนาดใหญ่สามารถซัดเข้าโจมตีพื้นที่ด้านในฝั่งได้มาก โดยเฉพาะหากเกิดคลื่นพายุรุนแรงในฤดูมรสุม ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่หลังหาด สร้างความเสียหายต่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนพัดพาเอาตะกอนออกสู่ทะเลได้มาก การสำรวจข้อมูลความลาดชันชายหาดในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ เป็นการสำรวจโดยใช้เครื่องวัดความลาดชันแบบพกพา ณ ตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) พบว่าค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ของความลาดชันชายหาดเป็น 6.33 , 13.70 และ 2.20 องศา ตามลำดับ จากการศึกษาที่ผ่านมาสำหรับชายหาดในประเทศไทยพบว่ามีความลาดชันชายหาดเฉลี่ยเท่ากับ 6.60 องศา (Ritphring, et al.,2018) เมื่อนำข้อมูลความลาดชันชายหาด มาพล็อตกราฟแจกแจงความถี่ พบว่า ความลาดชันชายหาดช่วง 5-6 องศา เป็นช่วงที่มีความถี่สูงสุด จำนวน 13 […]

Beachlover

August 23, 2022

พาสำรวจตะกอนชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจตะกอนทรายบนชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ข้อมูลคุณสมบัติของตะกอน ได้จากการนำตัวอย่างทรายจากตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) จำนวน 1.5 กิโลกรัม มาทำการอบแห้งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปร่อนผ่านตะแกรงเพื่อหาขนาดกลางของตะกอน (D50) โดยวิธี Sieve analysis ในห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ตามมาตรฐาน ASTM จากการนำทรายไปร่อนผ่านตะแกรงจะได้ข้อมูลน้ำหนักทรายคงค้างบนตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพล็อตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเม็ดทรายซึ่งเป็น Semi-logarithmic scale และเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของเม็ดทรายที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้เป็นกราฟการกระจายของขนาดเม็ดทรายของแต่ละตำแหน่งสำรวจ แล้วนำมาหาค่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจ จากการสำรวจภาคสนามในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ บริเวณที่เป็นหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Sieve analysis พบว่า ขนาดกลางของตะกอนมีการกระจายตัวดัง Histrogram ด้านล่าง พบว่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจจำนวน 47 ตำแหน่ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.37 มิลลิเมตร มีค่าขนาดกลางของตะกอนใหญ่ที่สุด 2.90 มิลลิเมตร และค่าขนาดกลางของตะกอนเล็กที่สุด 0.13 มิลลิเมตร โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนในพื้นที่ศึกษามีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนชายหาดในประเทศไทยซึ่งมีขนาด 0.33 มิลลิเมตร […]

Beachlover

August 19, 2022

ควรรื้อโครงสร้างริมชายฝั่งทะเลที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด

รื้อโครงสร้างริมชายฝั่งทะเลที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด ทั้งที่อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ข้างเคียงรวมถึงที่ไม่ส่งกระทบใดๆต่อชายหาด สำหรับโครงสร้างชายฝั่งที่หมดสภาพ ซึ่งหมายถึงหมดประสิทธิภาพหรือหมดหน้าที่ในการป้องกันชายฝั่งไปแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงกายภาพ เช่น อาจก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม หรือ เป็นทัศนะที่อุจจาดตาบดบังทัศนียภาพที่สวยงามของชายหาด ในกรณีนี้ควรมีการวิเคราะห์ถึงการรื้อถอนทำลายเพื่อคืนสภาพชายหาดให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ในหลายกรณีการมีอยู่ของโครงสร้างนั้น ได้ก่อให้เกิดบริบทใหม่ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนั้นขึ้นแล้ว เช่น อาจเกิดการทับถมของที่ดินจนเกิดชุมชนใหม่ขึ้น หรือร่องน้ำถูกเปิดตลอดทั้งปีจนชาวบ้านเปลี่ยนขนาดเรือจากเล็กเป็นใหญ่เพื่อการพาณิชย์แทนที่จะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือประมงขนาดเล็กเหมือนในอดีต ดังนั้น หากมีการรื้อถอนทำลายโครงสร้างที่มีอยู่อาจส่งผลกระทบถึงการใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ได้ การสร้างยังต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาออกแบบ การรื้อโครงสร้างก็เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการใดๆ มิฉะนั้นอาจเกิดผลกระทบที่ยากจะคาดเดา

Beachlover

June 30, 2022

ควรระบุนิยามแนวชายฝั่งให้ชัดเจน

ระบุนิยามแนวชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งให้ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจตรงกันทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ แนวชายฝั่งหมายถึงเส้นแบ่งระหว่างน้ำและพื้นแผ่นดิน แต่ในความเป็นจริงแนวชายฝั่งนั้นมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของตะกอน ระดับน้ำทะเล ความลาดชันชายหาด และปัจจัยอื่นๆ การระบุแนวชายฝั่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งและการออกแบบทางวิศวกรรมเช่นโครงการป้องกันชายฝั่ง การวิเคราะห์แนวชายฝั่งจะเลือกใช้นิยามใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ แต่จำเป็นต้องใช้นิยามให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันตลอดการศึกษา เช่น หากใช้นิยามของแนวพืชพรรณถาวรบริเวณชายฝั่ง ก็ต้องทำการลากแนวชายฝั่ง (Digitize) จากแนวพืชพรรณถาวรบริเวณชายฝั่ง ในทุกๆชุดข้อมูลที่ทำการศึกษา มิฉะนั้นจะส่งผลให้การศึกษาเกิดข้อผิดพลาดได้ ในทางปฏิบัติการวิเคราะห์แนวชายฝั่งส่วนใหญ่จะการพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพที่สังเกตเห็นด้วยสายตา ทั้งจากการสำรวจแนวชายฝั่งโดยใช้เครื่อง GPS และจากภาพถ่ายทางอากาศ มากกว่า โดยนิยามที่นิยมใช้ในการแปลความหมายของแนวชายฝั่งคือ แนวสัณฐานชายฝั่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยมากหากใช้นิยามนี้ต้องดำเนินการร่วมกันการสำรวจภาคสนาม  แนวพืชพรรณถาวรบริเวณชายฝั่ง ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของแนวชายหาดที่ได้รับอิทธิพลจากระดับน้ำทะเล  และ Vegetation line ซึ่งสามารถแปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้ร่วมกับการปรับแก้พิกัดเพื่อความถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองนิยามที่นิยมใช้นี้ ในหลายกรณีอาจเป็นตำแหน่งเดียวกันก็ได้  หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแปลข้อมูลแนวชายฝั่งแตกต่างกัน จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันในเชิงข้อเท็จจริงได้ เป็นต้นว่า หน่วยงานหนึ่งอาจวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าชายหาดบริเวณนี้ถูกกัดเซาะ แต่อีกหน่วยงานหนึ่งอาจแย้งว่าไม่ถูกกัดเซาะ เหตุอาจเกิดขึ้นจากการใช้นิยามของแนวชายฝั่งไม่ตรงกันก็เป็นได้ 

Beachlover

June 27, 2022
1 2 6