เปิด 5 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดในปี 2566

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชายหาดทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งข่าว สถานการณ์ และข้อมูลทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปี 2562 รวมถึงคลิป VDO ที่น่าสนใจผ่านทาง Youtube: Coastal Research Group (https://www.youtube.com/channel/UC1TN-_GH8ZOu2qjTlh_9CSQ) มาตั้งแต่ปี 2561 ในวันแรกของการเริ่มต้นปี 2567 Beach Lover ขอประมวล 5 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดในรอบปี 2566 ตามนี้ อันดับที่ 1 ปากแม่น้ำ (https://beachlover.net/ปากแม่น้ำ-estuary/) อันดับที่ 2 การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (https://beachlover.net/การแบ่งเขตการใช้ประโยช/) อันดับที่ 3 กำแพงกันคลื่น…ไปต่อหรือพอแค่นี้ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรื/) อันดับที่ 4 นิยามของแนวชายฝั่งทะเล (https://beachlover.net/นิยามของแนวชายฝั่งทะเล/) อันดับที่ 5 เทียบชัดๆ…หาดขั้นบันไดกับหาดทราย (https://beachlover.net/เทียบชัดๆ-หาดขั้นบันได/) น่าสนใจว่า อันดับที่ 1-4 นั้นอยู่ในหมวด “วิชาการ” ทั้งหมด ส่วนลำดับที่ 5 […]

Beachlover

January 1, 2024

หาดริ้นเกาะพะงัน ในยามสงบ

Beach Lover เคยพาชมสภาพหาดริ้นในเช้าหลัง Full moon party ไปแล้ว เมื่อปีก่อนติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดริ้น-หลัง-full-moon-party/ กลับมาเกาะพะงันอีกรอบในครั้งนี้ Beach Lover ขอพาชมความสวยงามของหาดริ้นอีกครั้งในยามที่ชายหาดยังไร้ผู้คน ไร้นักดื่ม ไร้นักเที่ยว หาดริ้นนับเป็นชายหาดแห่งเดียวของเกาะพะงันที่ตั้งอยู่บนจะงอยทางทิศใต้ของเกาะ การเข้าถึงหาดแม้ถนนจะมีสภาพค่อนข้างดีแต่มีความลาดชันและความคดเคี้ยวสูง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากใครเพิ่งหัดขับรถมอเตอร์ไซค์ใหม่ๆหรือยังไม่มีประสบการณ์การขับขี่มากพอควรหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้ แม้ในยามปกติที่ไม่มีปาร์ตี้ พบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำคนงานและรถมาทำความสะอาดชายหาดอยู่เป็นประจำ หากมองหาดริ้นจากทางทิศใต้ของชายหาดในยามที่เงียบสงบอย่างวันนี้ แทบนึกภาพไม่ออกเลยว่าในวันงาน Full moon party ที่จัดขึ้นในทุกๆวันขึ้น 15 ค่ำของแต่ละเดือน ค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวงที่ผู้คนล้นชายหาด และบางส่วนล้นลงไปในทะเล ชายหาดนี้จะมีสภาพอย่างไร (ภาพเมื่อ: ธันวาคม 2566)

Beachlover

January 1, 2024

ความเสียหายของชายหาดด้านท้ายกำแพงกันคลื่น เขารูปช้าง สงขลา

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของกำแพงกันคลื่นบริเวณบ่ออิฐ-แกะแต้ว จ.สงขลา ไปแล้วหลายรอบ ติดตามได้จากโพสเก่าๆเช่น https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื/ รอบนี้ Beach Lover ได้ลงสำรวจในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังค่อนข้างแรง (25 ธันวาคม 2566) พบว่าชายหาดทางทิศเหนือ (ท้ายน้ำ) ส่วนที่ติดกับกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่านั้นถูกกัดเซาะไปมากกว่าในอดีตมาก ตามภาพที่ Beach Lover ได้ติดตามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปลายปี 2566 ดังภาพ ในส่วนของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่นั้นพบว่ายังมีสภาพดี มีเพียงคลื่นที่กระโจนข้ามสันกำแพง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ด้านหลังนั้นทำได้ยากในช่วงฤดูกาลนี้

Beachlover

December 31, 2023

หาดอ่าวนาง ช่วงปลอดมรสุม

อ่าวนาง นับเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆของ จ.กระบี่ ผู้มาเยือนมักแวะมาชมความงดงามของชายหาดอ่าวนาง ก่อนข้ามไปยังเกาะต่างๆที่อยู่นอกชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามพระอาทิตย์ตก (Sunset) หาดอ่าวนางทางทิศเหนือ พบโครงสร้างเกเบียนเพื่อป้องกันชายฝั่ง ส่งผลให้ชายหาดด้านหน้ามีสภาพค่อนข้างชัน สั้น และลึก ซึ่งแตกต่างจากหาดทางทิศใต้ที่ยังไม่มีโครงสร้างป้องกัน นักท่องเที่ยวมักนั่งนอนบนชายหาดทางทิศใต้ที่ไม่มีโครงสร้างป้องกันมากกว่า เนื่องจากชายหาดกว้างกว่า และยังพอมีต้นไม้ให้ร่มเงา

Beachlover

December 29, 2023

ตรวจสอบก้อนน้ำมันชายหาด ต.จะทิ้งพระ จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบพื้นที่กรณีแจ้งมีก้อนน้ำมันขึ้นบริเวณชายหาด ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง สำรวจพื้นที่ชายหาดบ้านจะทิ้งพระ หมู่ 6 และหมู่ 7 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สำรวจพื้นที่พบก้อนน้ำมัน (Tar ball) เป็นแนวยาวขึ้นตามแนวรอยคลื่นตรงแนวน้ำขึ้นสูงสุด ตลอดแนวชายหาดระยะ 2 กิโลเมตร ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้นไม่พบวัตถุที่ลอยน้ำ ไม่พบน้ำมันและไขมันลอยน้ำ บริเวณผิวหน้าน้ำ ค่าความเค็มอยู่ในช่วง 27.8-28 ppt ความเป็นกรด-ด่าง 7.0-7.5 อุณหภูมิน้ำทะเล 27.8-28 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนละลาย 6.9- 7.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล ส่งวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการต่อไป

Beachlover

December 29, 2023

งานวางกระสอบบนชายหาด ยะหริ่ง

Beach Lover ได้มีโอกาสเดินสำรวจชายหาดช่วงปลายเดือนตุลาคมต่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 แถวๆตำแหน่งที่เคยเป็นแนวถนนเลียบชายหาดที่ตัดตรงยาวตั้งแต่ปานาเระถึงตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พบงานวางกระสอบทรายขนาดใหญ่ (Big bag) บนชายหาด ระยะทางประมาณ 100 เมตร ด้านหลังแนววางกระสอบเป็นรีสอร์ทและร้านอาหาร (ตากาดัม บีช รีสอร์ท) บ้านเรือนประปราย และที่ดินว่างที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ เนื่องจากไม่ปรากฏป้ายโครงการ จึงไม่แน่ใจว่าเอกชนหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการ จากการเดินสำรวจพบว่า มีการวางกระสอบขนาดใหญ่เป็นสามแนว โดยการขุดทรายบนชายหาดให้เป็นหลุมขนานกับแนวชายหาดเพื่อวางกระสอบ แล้วนำทรายที่ขุดจากหลุมนั้นมาใส่กระสอบอีกทีหนึ่งแล้ววางกลับลงไปตามแนวหลุมที่ขุด จากนั้นคาดเดาได้ว่าจะนำทรายบนชายหาดด้านหน้ามากลบกระสอบอีกชั้นหนึ่ง จากการตรวจสอบในเบื้องต้นบนว่า แนวที่วางกระสอบนั้นไม่พ้นระยะน้ำขึ้นน้ำลง หมายความว่ายามน้ำขึ้นคลื่นอาจซัดขึ้นมาถึงแนวกระสอบได้ น่าติดตามต่อไปว่า กระสอบนี้จะอยู่ไปได้นานขนาดไหน และจะส่งต่อผลกระทบไปยังชายหาดข้างเคียงหรือไม่ ดู VDO Clip เดินสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ Youtube: https://youtu.be/PU8ZyU1i2ac?si=YA-P4GHDtIaYT-ag

Beachlover

December 29, 2023

ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นฟ้องหมิ่นชาวสงขลา คาดปมแชร์โพสต์-วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด

ที่มา: https://prachatai.com/journal/2023/12/107389 เพจเฟซบุ๊ก ‘Beach for life’ แจ้งมีประชาชนจากสงขลา ถูกนักวิชาการย่านศรีราชา ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่น ฟ้องหมิ่นประมาทอาญา และ พ.ร.บ.คอมฯ คาดปมแชร์โพสต์วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่น ด้านผู้ถูกฟ้องเผยพร้อมสู้คดีถึงที่สุด 26 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก “Beach for life” โพสต์ข้อความวันนี้ (26 ธ.ค.) แจ้งว่า วานนี้ (25 ธ.ค.) มีประชาชน อ.เทพา จ.สงขลา ถูกกล่าวหา ดำเนินคดีอาญา ข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ที่ สภ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เบื้องต้น ทางเพจฯ คาดว่าสาเหตุมาจากการแชร์โพสต์โซเชียล และวิจารณ์ผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด ทั้งนี้ ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นนักวิชาการดังย่านศรีราชา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นริมชายหาดหลายโครงการ สำหรับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ […]

Beachlover

December 29, 2023

ชุมชนชายฝั่ง กับความพยายามป้องกันตัวเอง ณ หาดใจกลางเมืองหลวง Dili, Timor Leste

Dili เป็นเมืองหลวงของประเทศ Timor Leste ประเทศที่ผ่านการต่อสู้เพื่ออิสระภาพมาอย่างยาวนาน และเพิ่งสงบลงเมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง Dili ไม่ได้มีการจัดการชุมชนประมงชายฝั่งอย่างเป็นเรื่องเป็นราว กล่าวคือเราจะพบเป็นเรือประมงท้องถิ่นขนาดเล็กจอดเรียงรายกันตลอดแนว ไม่ได้มีการจัดการเป็นท่าเรือประมงหรือท่าจอดแบบรวมกลุ่มประมงเหมือนที่เรามักพบเห็นในหลายประเทศ รวมถึงหลายพื้นที่ในประเทศไทย ชุมชนประมงที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้อยู่ใจกลางเมืองหลวง ห่างจากสนามบินหลักไม่ถึง 2 กิโลเมตร สภาพบ้านเรือนปลูกสร้างแบบไม่ถาวร ฝาผนังและหลังคา มักทำจากสังกะสี ดูจากสภาพภายนอกไม่น่าจะอาศัยอยู่ได้อย่างสะดวกสบายนัก  หน้าบ้านที่ติดกับทะเลพบเห็นการวางยางรถยนต์ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้ กระสอบขนาดใหญ่ที่บ้านเราใช้ใส่พวกสารเคมีในภาคอุตสาหกรรม พบเศษวัสดุก่อสร้างบ้างประปราย  เหล่านี้คาดว่าเป็นความพยายามป้องกันตนเองจากคลื่นที่เข้ามาปะทะตัวบ้านที่ตั้งอยู่ประชิดทะเลค่อนข้างมาก ยามน้ำขึ้นพบว่าปลายคลื่นวิ่งเข้าไปเกือบถึงตัวบ้านเลย ในส่วนของเรือประมงพื้นบ้านที่มีขนาดเล็กมากๆ ชาวบ้านลากเข้ามาเกยฝั่งในระยะที่พ้นจากระดับน้ำและคลื่น ที่อาจทำให้เรือเสียหายได้ ดู Clip สำรวจเพิ่มเติมได้จาก Youtube: Coastal Research Group. https://youtu.be/W0yOwg2uT9s?si=vGoniYz4F176sFmJ

Beachlover

December 27, 2023

สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต วันที่ 18-21 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ออกสำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต คิดเป็นพื้นที่ 2.34 ตร.กม จากการสำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน โดยมีหญ้าใบมะกรูด (Halophila) เป็นหญ้าชนิดเด่น บริเวณรอยกิน ที่พบมีทั้งรอยเก่าและรอยใหม่ สังเกตจากการขึ้นปกคลุมทดแทนของหญ้าทะเล ได้ดำเนินการสุ่มวัดขนาดความกว้างและความยาวของรอยกิน จำนวน 20 รอย พบว่า รอยกินมีความกว้าง 13 – 15 เซนติเมตร ขนาดความยาวของรอยกินเฉลี่ย 8 เมตร จึงได้ทำการบันทึกเพื่อนำไปประเมินขนาดและประชากรของพะยูนต่อไป และจากการสำรวจพบเต่าทะเล ชนิดเต่าตนุจำนวน 10 ตัว อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

Beachlover

December 23, 2023
1 2 3 4 81