สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

Beachlover

March 13, 2024

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

Beachlover

March 13, 2024

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

Beachlover

March 7, 2024

ชายหาดหลังรื้อ “โกงกางเทียม”

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการวางโกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแถบเขาหลักใกล้หาดทางทองไปหลายครั้งแล้ว ติดตาม Clip พาเดินชมได้จาก Youtube (1) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) หาดนางทอง เขาหลัก พังงา และ (2) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) ณ หาดนางทอง จ พังงา และ (3) รากโกงกางเทียม เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ หาดนางทอง และงานเขียนในโพสเก่าๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก Search icon ฤดู High season ของทะเลแถบอันดามันในปี 2567 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าโกงกางเทียมที่เคยวางอยู่หน้าชายหาดแห่งนี้มายาวนานมากกว่า 1 ปี หายไปหมดแล้ว จากการสอบถามผู้ดูแลรีสอร์ทแห่งนี้ได้ความว่า เจ้าของรีสอร์ทขอให้ผู้ที่นำมาทดลองวางรื้อออกให้หมดเนื่องจากไม่ได้ผล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ เสียหายและหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยติดตั้ง ทั้งยังส่งผลเสียเป็นทัศนะที่ไม่น่ามอง จากนั้น รีสอร์ทก็นำทรายมาเติมโดยใช้เวลา 3 คืน ดำเนินการช่วง 20:00-22:00 […]

Beachlover

February 29, 2024

วัดถ้ำโพงพางหลังมรสุม

Beach Lover ขอพาชมภาพของชายหาดหน้าวัดถ้ำโพงพาง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าถนนเลียบทะเลเสียหายไปบางส่วน และมีเสาไม้ปักอยู่บนชายหาด เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จังหวัดชุมพร ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะเเนวชายฝั่งในรูปแบบเชิงอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้สิ่งก่อสร้างถูกกัดเซาะ เมื่อ มิ.ย.2565 (https://siamrath.co.th/n/354051) และได้มีการปักเพิ่มเติมเรื่อยๆตามกำลังและความร่วมมือร่วมใจของทั้งหน่วยงานและประชาชน (https://www.4forcenews.com/239008/) อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาการกัดเซาะถึงบางส่วนของถนนเลียบชายหาดของทางวัด ทั้งบริเวณที่มีการปักไม้และบริเวณที่ไม่มีการปักไม้

Beachlover

February 16, 2024

แปลงปลูกต้นไม้ชายหาด อุทยานปราณบุรี

“ป่าชายหาด” คือ พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกันป่าดิบแล้งตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ชายหาดเป็นกรวดทรายและโขดหินเป็นแนวกว้าง เช่น ตามเกาะต่างๆในทะเลของไทย ทั้งบริเวณในเขตอ่าวไทยและอันดามัน ดินค่อนข้างเค็มเนื่องจากมีไอเค็มจากฝั่งทะเลพัดเขาถึง สภาพป่าจะผิดแผกไปจากป่าพรุ ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ความชุ่มชื้นและปุ๋ยอินทรีย์ในดินมีน้อยมาก สังคมพืชโดยถือเอาความสูงเป็นเกณ์แบ่งได้ 3 ชั้น พันธุ์ไม้หลัก มีสนทะเล กระทิงหรือสารภีทะเล และหูกวางเป็นหลัก “ป่าชายหาด” นับเป็นป่าสังคมหนึ่งของป่าดิบ มีปริมาณฝนระหว่าง 1,500-4,000 มม/ปี และพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เมตร ปริมาณพื้นที่ของป่าชนิดนี้ยังไม่อาจประเมินได้ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าประเภทอื่นในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมได้จาก วารสารราชบัณฑิต) แนวคิดการปลูกป่าชายหาดเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เนินทรายชายฝั่ง เพื่อเป็นปราการทางธรรมชาติป้องกันคลื่นลมนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นในระยะหลังๆที่สังคมเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Eco-friendly มากขึ้น มีการเริ่มตระหนักว่า ความสมบูรณ์ของป่าชายหาดอาจทดแทนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอย่างกำแพงกันคลื่นได้ ตัวอย่างเช่นโครงการ การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ปลูกป่าชายหาดเสริมความมั่นคง ป่าปลายแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช Beach Lover ขอพาชมแปลงปลูกป่าชายหาด ณ วนอุทยานปราณบุรี หรือ […]

Beachlover

January 31, 2024

ชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง Hulhumale, Maldives

เกาะ Hulhumale ประเทศ Maldives เป็นเกาะที่เชื่อมต่อกับสนามบินนานาชาติหลักของประเทศ Maldives จะเรียกว่าอยู่บนเกาะเดียวกันก็ว่าได้ พื้นที่บริเวณนี้อดีตเป็นทะเล มีการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เนื่องจากเมืองหลวง Male ซึ่งตั้งอยู่อีกเกาะหนึ่งใกล้ๆกันนั้นแออัดเต็มที พูดได้เลยว่า Maldives เนรมิตเกาะและเมืองนี้ขึ้นมาใหม่จากการถมทรายซึ่งมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเลของประเทศนี้ โดยการถมทะเลสร้างเมืองนี้แบ่งออกเป็น 2 Phase เชื่อมต่อกันด้วยสะพานข้าม ชายหาดบนเกาะนี้แม้ไม่สวยงามเมื่อเทียบกับหาดบนเกาะอื่นๆของ Maldives (ยกเว้นเมืองหลวงที่ไม่มีชายหาด) แต่ก็อาจงดงามมากกว่าชายหาดที่ชื่อว่าสวยที่สุดของหลายๆประเทศ ในโพสนี้ขอพาไปชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง สำหรับชายหาดบนเกาะ Hulhumale Phase 1 แม้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งจะพบได้น้อยมากบนเกาะแห่งนี้ แต่มีรูปแบบที่น่าสนใจที่ควรนำมาเล่าสู่กันฟัง รูปแบบอาจเรียกว่าเป็นกำแพงกันคลื่นแบบคอนกรีต เพียงแต่วัสดุและการจัดวางค่อนข้างประหลาดกว่าที่อื่นๆ โดยพบคล้ายๆคอนกรีตที่บรรจุอยู่ในถุง แล้วนำมาวางแบบค่อนข้างแบนราบล้อไปตามความลาดของชายหาดบนแผ่นใยสังเคราะห์ มีความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 15 องศา โดยพบความเสียหายบางตำแหน่งของกำแพง ที่น่าแปลกคือไม่พบถุงที่ควรจะห่อหุ้มคอนกรีตนี้อยู่บนชายหาดเลย สภาพของวัสดุที่พบนั้นคล้ายก้อนหินมาก ไม่แน่ใจว่าสร้างด้วยวิธีการไหนอย่างไร Beach Lover ยังพบโครงสร้างลักษณะคล้ายกันนี้บนเกาะอื่นของ Maldives ด้วยเช่นกัน ติดตามได้จากโพสถัดๆไป

Beachlover

January 22, 2024

สำรวจสัณฐานชายหาด แหลมพันวา

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS วันที่ 21 มกราคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 950 เมตร กำหนดแนวสำรวจสัณฐานชายหาด รวม 13 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า พื้นที่สำรวจมีความลาดชันชายหาดประมาณ 0.06 – 8.52 องศา มีความกว้างของหาด ประมาณ 10 – 13 เมตร เมื่อนำผลการสำรวจครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบว่า บริเวณพื้นที่แหลมพันวาตะวันออกมีตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 197.48 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด ความกว้างของหาด […]

Beachlover

January 22, 2024

กำแพงกันคลื่น หาดn้องศาลา เกาะพะงัน

หาดท้องศาลาบนเกาะพะงัน เป็นชายหาดที่อยู่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่มาจากดอนสัก และเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูแรกสู่เกาะพะงันก็ว่าได้ บริเวณนี้คลื่นลมค่อนข้างรุนแรงในบางฤดูกาลเหมาะแก่การเล่นกีฬาทางน้ำหลายประเภท เช่น Kitesurf, Windsurf และ เรือใบ บริเวณหาดท้องศาลามีที่พักจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นที่พักค่อนข้างเก่า เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนมากที่พักมีหน้าหาดค่อนข้างกว้าง มีบางรีสอร์ทเท่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะสร้างประชิดทะเลมากๆจนทำให้ต้องป้องกันพื้นที่ของตนเองด้วยกำแพงกันคลื่น Beach Lover พาชมกำแพงกันคลื่นบริเวณรีสอร์ทแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดท้องศาลา ดูจากสภาพกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งแล้วเข้าใจว่าสร้างโดยเจ้าของที่ดินบริเวณนี้เพื่อป้องกันที่ดินหน้าหาดของตนเอง แต่ด้วยลักษณะของกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ส่งผลให้คลื่นที่วิ่งปะทะกับกำแพงสะท้อนกลับแล้วนำทรายด้านหน้ากำแพงหดหายไปจนหมด พบว่าแม้ยามน้ำขึ้นไม่เต็มที่พื้นที่บริเวณนี้ก็แทบจะไม่มีด้านหน้าชายหาดเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างๆรีสอร์ทที่ยังไม่ได้สร้างกำแพงกันคลื่น ซึ่งพบว่ายังคงมีชายหาดหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นจากการเดินสำรวจยังพบอีกว่าพื้นที่ด้านบนหรือด้านหลังของกำแพงกันคลื่นมีร่องรอยความเสียหายจากคลื่นที่กระเซ็นและกระโดดข้ามทำให้ดินทรายด้านหลังกำแพงกันคลื่นหลุดล่อนจนส่งผลให้เป็นหลุมบ่อจำนวนมาก โดยยังพบอีกว่ามีการนำถุงทรายมาวางและมีตะแกรงเหล็กวางครอบด้านหน้าเพื่อป้องกันบ้านพักในรีสอร์ทจำนวนหนึ่งหลังที่อยู่โซนหน้าทะเล นับเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าของที่ดินอย่างมาก เพราะการสร้างกำแพงกันคลื่นไม่เคยก่อให้เกิดผลดีกับชายหาดไหนเลย ซ้ำร้ายจะทำให้ชายหาดหน้ารีสอร์ทของตนนั้นหายไปจนหมดสิ้น โดยไม่มีทางที่จะกลับมาได้อีก ทำให้มูลค่าชายหาดด้านหน้ากำแพงนั้นลดลง ความสวยงามของชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทก็ลดลง ต่อไปถ้าลูกค้าพูดกันปากต่อปากว่ารีสอร์ทนี้ไม่มีชายหาดแล้ว ก็จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เข้ามาใช้บริการรีสอร์ทแห่งนี้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาดท้องศาลาเป็นบริเวณที่มีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากมาย ลูกค้าสามารถเลือกรีสอร์ทอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ที่มีชายหาดที่สวยงามกว่า เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า (ภาพเมื่อ ธันวาคม 2566)

Beachlover

January 18, 2024
1 2 81