กำแพงกันคลื่น กับ EIA

ท่ามกลางกระแสการร้องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำเอาโครงสร้างป้องกันชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นกลับเข้าไปอยู่ในประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในรายการของโครงสร้างชายฝั่งทะเลที่จำเป็นต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนพิจารณาใช้โครงสร้างนี้เพื่อป้องกันชายฝั่ง ตามข่าวได้จาก https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL และ https://www.facebook.com/greensouthfoundation รวมถึงองค์กรและสื่อด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ Beach Lover ซึ่งเป็น Website ที่ให้องค์ความรู้และถ่ายทอดข้อมูลสถานการณ์ชายฝั่งทะเลมาตลอดกว่า 4 ปี ขอชวนผู้ติดตามอ่านบทความกึ่งวิชาการได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรื-2/ หรือเข้าไปในหมวด “วิชาการ” และค้นหาบทความชื่อ “กำแพงกันคลื่น…ไปต่อหรือพอแค่นี้”

Beachlover

December 1, 2022

กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้

หากนำบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ กรุณาอ้างอิงลิขสิทธิ์บทความจาก www.beachlover.net ด้วย : ขอขอบคุณ เมื่อชายหาดประสบปัญหาการกัดเซาะ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมักคิดถึงการใช้มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการป้องกันก่อนเป็นลำดับแรกๆ สืบเนื่องมาจากหลักคิดที่ว่าการจะหลีกเลี่ยงปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ คือการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นขนาดใหญ่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อมิให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง  หลักคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเมื่อใดที่เราตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาดโดยใช้โครงสร้างป้องกัน เท่ากับว่าเรากำลังแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งเสียสมดุลและในบางครั้งอาจเกิดขึ้นแบบถาวรโดยมิอาจเรียกกลับคืนสมดุลเดิมได้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมสามารถป้องกันได้เฉพาะพื้นที่ด้านในที่เราต้องการป้องกันเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆโครงสร้างพื้นที่ถัดไปจะถูกโครงสร้างนี้แทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติและเสียสมดุลไปในที่สุด ดังจะเห็นว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากโครงสร้างป้องกันมักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บางครั้งรุนแรงมากกว่าการกัดเซาะตามธรรมชาติเสียอีก หากเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง และทรงคุณค่าไม่ว่าจะด้านอะไรที่ประชาชนเล็งเห็นว่ามีความสำคัญ หากพิจารณาแล้ว การปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะส่งผลให้พื้นที่นั้นค่อยๆถูกทะเลกัดกลืนหายไป และเมื่อพิจารณาแนวทางเลือกอื่นๆที่ไม่ใช้โครงสร้างแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ในกรณีนี้ การใช้โครงสร้างป้องกันอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากต้องการรักษาพื้นที่นั้นไว้ให้คงอยู่ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน “ทางรอด” นั้น ก็คงจะ “รอด” ได้จริงตามที่รัฐต้องการ หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางรอดนั้นอาจเป็นการสร้างโครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรมที่มั่นคงถาวร แต่หากการเกิดขึ้นของโครงการนั้นไร้ซึ่งความจำเป็น รวมถึงไม่แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้านต่อผู้มีส่วนได้ส่วนแสียแล้ว “ทางรอด” ที่ว่านี้ อาจกลับกลายเป็น “ทางตัน” และนำพาสารพัดปัญหาแก่รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างที่ได้เห็นกันในหลายๆตัวอย่างที่เกิดการฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชน […]

Beachlover

December 1, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 10 ปลายแหลมตาชี

“นี่มันยาวมากเลยนะ เดินจนเหนื่อยละยังไม่ถึงที” รุ่นพี่เริ่มบ่นปนหอบ หลังเดินไปตามทางคอนกรีตเล็กๆเชื่อมระหว่างที่จอดรถไปยังปลายแหลม “จริงๆคนที่นี่เค้าเรียกแถวนี้ว่าแหลมโพธิ์กันนะพี่ เพราะแต่ก่อนมีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่เยอะเลย” คนท้องถิ่นอย่างดาด้าเริ่มเล่าที่มาของชื่อแหลมตาชีในอดีต “คนที่อาศัยอยู่แหลมโพธิ์นี้เมื่อก่อนบ้านอยู่ที่กรือแซะอาชีพหลักคือประมง พอล่องเรือมาหาปลาแถวนี้แล้วเกิดพายุ กลับบ้านไม่ได้ เลยสร้างกระท่อมหลังเล็กๆ เพื่อพักรอคลื่นลมสงบ ต่อมาชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ ก็มาสร้างที่พักเพิ่มมากขึ้นจนถึงตอนนี้ก็มีสภาพอย่างที่เห็น การเดินทางสมัยก่อนค่อนข้างลำบาก ไม่มีถนนและไฟ ต้องใช้เรือเป็นหลัก คนทั่วไปเลยไม่ค่อยรู้จักแหลมโพธิ์ ตอนนี้การเดินทางสะดวกทำให้แหลมโพธิ์เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น” ดาด้าเล่าต่อด้วยความภาคภูมิใจกับความรู้ในท้องถิ่นของตนเอง แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี ณ ที่แห่งนี้ตะกอนทรายที่เดินทางเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่ปากแม่น้ำโกลกจะเคลื่อนที่มาสะสม เติมเต็มให้แหลมตาชีงอกยื่นยาวออกไปเรื่อยๆ โดยฝั่งซ้ายหรือทิศใต้ของปลายแหลมเป็นป่าชายเลนในอ่าวปัตตานี ส่วนฝั่งขวาหรือทิศเหนือเป็นป่าชายหาดและทะเลฝั่งอ่าวไทย (https://beachlover.net/เม็ดทรายสุดท้ายที่ปลายแหลมตาชี/) “ปลายแหลมมันยื่นยาวขึ้นเกือบทุกปี รูปทรงของสันทรายที่ปลายแหลมก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางธรรมชาติตลอด ตรงปลายสุดนี้เป็นสันทรายขนาดใหญ่มากๆ กว้างกว่า 180 เมตรได้ ยื่นยาวออกไปจากแนวป่าสนประมาณ 320 เมตร” เม็ดทรายเริ่มเล่าความรู้ที่ตัวเองค้นเจอผ่าน Smartphone บ้าง “นี่ๆ ดูตรงโน้นสิ มันมีสันทรายเล็กๆตรงปลายแหลม น่าจะเดินข้ามไปได้นะ ไปกันไหม” รุ่นพี่ชี้ชวนน้องๆให้เดินข้ามไปยังสันทรายปลายแหลมที่ตอนนี้พอจะเดินลุยน้ำข้ามไปได้เนื่องจากเป็นช่วงน้ำลงพอดี นักวิชาการบางสำนักชี้ว่า ปลายแหลมนี้กำลังค่อยๆโค้งเข้าไปปิดปากอ่าวปัตตานีในอนาคต ในขณะที่บางสำนักชี้ว่า โอกาสเกิดแบบนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้น้อยตราบเท่าที่ยังมีน้ำไหลออกจากปากแม่น้ำปัตตานี “บ้านพี่ที่นรามันไม่มีแหลมทรายสวยๆแบบนี้เลย เท่าที่รู้ก็มีที่นี่กับที่ตะลุมพุก ไว้พอทรายไปตะลุมพุกอย่าลืมถ่ายรูปส่งมาให้ดูบ้างนะ น่าจะสวยเหมือนกัน” รุ่นพี่พูดพลางภาวนาอยู่ในใจว่า […]

Beachlover

November 29, 2022

ระเนระนาด @ หาดนางทอง เขาหลัก

หาดนางทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามแปลกตาจนถูกยกให้เป็นอันซีนพังงา เนื่องจากชายหาดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากชายหาดอื่น ๆ เนื่องจากผืนทรายบนชายหาดนางทองเป็นสีดำละเอียด ที่พบไม่กี่แห่งในโลก ยามเมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดก็จะมองเห็นหาดทรายสีดำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เป็นที่กล่าวขานถึงความแปลกของหาดทรายที่นี่และขนานนามว่า “หาดทรายสีดำ” สำหรับทรายสีดำดังกล่าว คือ “แร่ดีบุก” ที่มีอยู่มากในบริเวณนี้ยาวไปตลอดแนวชายหาดของอำเภอตะกั่วป่า ซึ่งในอดีตอำเภอแห่งนี้ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ริมชายฝั่งสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดพังงาว่า “แร่หมื่นล้าน” ในอดีตหาดทรายแห่งนี้จะมีคลื่นซัดแร่ดีบุกขึ้นมาชาวบ้านจะตักมากองรวมกันก่อนจะนำใส่รางและล้างน้ำเพื่อแยกเอาทรายทะเลที่มีน้ำหนักเบากว่าออกให้เหลือเพียงแต่สีดำ ก่อนจะนำไปแยกเอาแร่ดีบุกออกมาขายอีกที หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ จังหวัดพังงาก็เริ่มเข้าสู่ยุคท่องเที่ยว แต่คลื่นทะเลตามธรรมชาติก็ยังคงซัดเอาแร่ขึ้นบนชายหาดดังกล่าวอยู่เป็นระยะ และดึงกลับลงไปในทะเล สลับกันไปมาอยู่เรื่อย ๆ จนกลายเป็นหาดทรายสีดำ อันซีนพังงากับธรรมชาติแปลกตาที่มีเพียงจุดเดียว (https://mgronline.com/travel/detail/9630000104903) Beach Lover ได้เคยพาสำรวจหาดนางทองมาแล้วในอดีตช่วงพายุโนอึลซัดเข้าชายฝั่งอันดามันเมื่อ กันยายน 2563 ในเวลานั้น หาดนางทองและบริเวณใกล้เคียงมีลักษณะดังภาพ วันนี้ (24 พ.ย.2565) Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดด้านหลังประภาคารเขาหลัก หนึ่งในสถานที่ดึงดูดผู้คนมายังชายหาดนางทอง โดยเดินเท้าสำรวจชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทแห่งหนึ่งระยะทางประมาณ 100 เมตร (คลิปเดินสำรวจ https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg) พบสภาพชายหาดที่ประกอบด้วยกระสอบทรายเล็กและใหญ่ พร้อมโครงสร้างรากไม้ป่าชายเลนเทียมที่ทำจากไม้ประกอบพลาสติกและยางพารา (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) คาดว่าได้นำมาวางไว้เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่จากสภาพที่เห็นพบว่าถูกคลื่นซัดจนพังระเนระนาด พื้นที่ด้านหน้ารีสอร์ทที่มีการวางโครงสร้างป้องกันแห่งนี้ เป็นชายหาดส่วนที่ติดต่อกับอีกรีสอร์ทหนึ่งทางทิศใต้ที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง (Vertical […]

Beachlover

November 27, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 9 หาดตะโล๊ะสะมิแล

หาดตะโล๊ะสะมิแล ตั้งอยู่บนแหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ จ.ปัตตานี ในอดีตเป็นพื้นที่ค่อนข้างรกร้างว่างเปล่า มีบ้านเรือนกระจัดกระจายนับได้ไม่เกิน 10 หลังคาเรือนริมชายหาดแห่งนี้ ตลอดแนวประมาณ 3 กิโลเมตร (https://beachlover.net/ตะโล๊ะสะมิแล-เคยหายไป/) ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในภาคใต้ที่ต่อเนื่องยาวนานมาเกือบ 20 ปี ส่งผลให้พื้นที่นี้ยังถูกพัฒนาไปไม่มาก แต่ในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีรีสอร์ทเข้ามาปลูกสร้างริมชายหาดมากมาย ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ทที่ราคาไม่สูงมากนัก และมักจะรองรับลูกค้าเป็นครอบครัวหรือกลุ่มใหญ่ “ชาปัตตานีนี่อร่อยสมชื่อจริงๆ” เม็ดทรายดูดชาฟอดใหญ่ในแก้วซึ่งเหลือชาสีส้มเข้มเพียงก้นแก้วเท่านั้น “ชาทางใต้ก็แบบนี้ทั้งนั้น ที่บ้านพี่แกก็บอกว่าอร่อยเหมือนกันใช่ไหมหล่ะ” รุ่นพี่ท้าวความตอนพาเม็ดทรายไปกินโรตีและชาชักในตลาดริมแม่น้ำบางนรา “กาแฟพี่แก้วนี้ก็อร่อยมากเลยหล่ะ” “นี่ๆๆตรงนั้นมันเคยมีกองหินยาวๆยื่นออกไปด้วยนะทราย ปีที่แล้วเรายังเห็นมันอยู่เลย หายไปไหนแล้วไม่รู้” ดาด้าชี้ชวนให้อีกสองคนละสายตาจากชาเย็นและกาแฟเย็นไปยังชายหาดที่อยู่ตรงหน้าร้านกาแฟที่ทั้งสามคนแวะเติมพลัง “เราพอจำได้ว่ามันมีประมาณ 3 กองเลยนะ ยื่นยาวๆตรงหน้าหาดตรงนี้อ่ะ” “อืม…มันน่าจะทิ้งร่องรอยอะไรไว้บ้างนะ ไม่น่าจะหายไปง่ายๆแบบนี้” เม็ดทรายพูดพลางกวาดมือและเท้าไปมาบนพื้นทราย “เราก็ว่านะ หินก้อนใหญ่ออก หนักจะตาย” ดาด้าพูดพลางช่วยเพื่อนคุ้ยทรายหน้าหาดตามประสานักกฎมายที่ต้องการหลักฐานเพื่อยืนยัน “มันใช่อันนี้ไหมด้า” รุ่นพี่ตะโกนมาจากอีกฟากที่ห่างไปสัก 20 เมตรได้ “มันมี 3 กองใช่ไหม นี่คงเป็นหนึ่งในนั้น อีก 2 กองหาไม่เจอ” “นี่ไง มันอยู่ใต้ทางเดิน” เม็ดทรายพูดพลางวิ่งเข้าใส่กองหินที่บัดนี้ถูกปิดทับด้านบนด้วยแผ่นไม้ที่ร้านกาแฟนำมาปิดไว้เป็นทางเดินเพื่อใช้ถ่ายรูปริมทะเล ในที่สุดทั้ง 3 […]

Beachlover

November 15, 2022

โฉลกหลำ กำลังจะมีกำแพง !?

อ่าวโฉลกหลำ เป็นชายหาดด้านทิศเหนือของเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอ่าวโค้งคล้ายครึ่งวงกลม มีท่าเทียบเรือประมงอยู่บริเวณเกือบๆกลางอ่าวยื่นออกไปยาวประมาณ 80 เมตรจากฝั่ง ในอดีต อ่าวโฉลกหลำเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บนเกาะพะงันมาอย่างยาวนาน อาชีพ หลัก คือ การทำประมง เมื่อออกเรือหาปลาหรือได้ สัตว์น้ำมาก็จะทำการแปรรูปหรือถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินในครัวเรือน และส่วนที่เหลือก็จะจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้สู่ครอบครัว (https://th.tripadvisor.com) เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับการมาถึงของธุรกิจท่องเที่ยว อ่าวโฉลกหลำบางส่วนโดยเฉพาะโซนหน้าทะเลกลายเป็นที่ต้องของรีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ในเดือนมกราคม ปี 2560 ตัวแทนท้องถิ่นได้ยื่นเอกสารไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อขอให้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องน้ำทะเลกัดเซาะ หลังจากนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาออกแบบเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะทาง 400 เมตร ปัจจุบันงานศึกษาออกแบบและงานรับความคิดเห็นประชาชนจำนวน 2 ครั้งได้เสร็จสิ้นลงแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการขอตั้งงบประมาณเพื่อก่อสร้าง คาดว่าน่าจะใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 40 ล้านบาท (คำนวณจากค่าเฉลี่ยต่อเมตรของงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในอดีต https://beachlover.net/งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่น-2554-2565-โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง/) Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจภาคสนามในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูมรสุมของทะเลแถบนี้ เฉพาะส่วนของพื้นที่โครงการที่วางแผนจะก่อสร้าง ตลอดแนวพบชายหาดทรายขาวละเอียด พบร่องรอยการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งด้วยกระสอบทรายขนาดเล็กประปราย พบกำแพงริมทะเลสร้างโดยเอกชนที่มีที่ดินประชิดหาด และไม่พบร่องรอยของชายหาดที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง นอกจากนั้นยังพบว่าเจ้าของบ้านที่ไม่มีกำแพงกันที่ดินของตนเองริมทะเล ได้ทำการปลูกแบบเรือนแบบยกใต้ถุนสูง คาดว่าเพื่อให้น้ำทะเลลอดเข้าไปใต้ถุนบ้าน […]

Beachlover

November 11, 2022

ลงมือแล้ว! กำแพงกันคลื่นหาดปากน้ำปราณ

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศเหนือใกล้กับปากน้ำปราณที่ดำเนินการโดยงบประมาณจังหวัดเมื่อปี 2557 ระยะทางยาว 190 เมตร เกิดความเสียหายอย่างหนัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-ปากน้ำปราณ-เสียหาย/) รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วย จากนั้นเทศบาลตำบลปากน้ำปราณจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองในปี 2561 หลังจากนั้นกรมฯจึงริเริ่มโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล […]

Beachlover

November 9, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 8 หาดตะโละกาโปร์

รุ่นพี่จอดรถริมชายหาดสาธารณะที่มีผู้คนค่อนข้างบางตาเนื่องจากเป็นช่วงสายๆของวันธรรมดา นี่คือหาดตะโละกาโปร์ หาดท่องเที่ยวของ จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ทางไปแหลมตาชี ขับรถจากตัวเมืองปัตตานีประมาณครึ่งชั่วโมง (https://www.pattanicity.go.th/travel/detail/38/data.html) “หาดมันไม่ได้สวยอะไรมากมายเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ แต่คนแถบนี้เค้าหาหาดสาธารณะริมทะเลใกล้ๆเมืองแบบนี้ได้ยาก ช่วงเย็นๆหรือวันหยุดนะ คนเพียบเลย ก็มาปูเสื่อซื้ออะไรมากินกันแบบง่ายๆ” ดาด้า พาทั้งสองคนเดินเลียบชายหาดไปเรื่อยๆ พร้อมเล่าบริบทการใช้ประโยชน์ของหาดแห่งนี้ไปพร้อมกัน (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/หาดตะโละกาโปร์) “อืม สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรมากมายเวลาเที่ยว แค่มีพื้นที่โล่งๆให้หายใจเต็มๆปอด ซื้ออะไรมากินเองราคาสบายกระเป๋า อยากนั่งตรงไหนก็ได้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโต๊ะเก้าอี้ มีห้องน้ำบริการ แค่นี้ก็พอแล้วนะพี่ว่า” รุ่นพี่พูดพลางสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด “ด้า ตรงไกลๆโน้นคืออะไรน่ะ ที่เราเห็นหาดมันโค้งๆน่ะ” เม็ดทรายถามเพื่อนพลางก้มดูรายละเอียดพื้นที่ผ่าน Google Earth “ชื่ออย่างเป็นทางการคือแหลมตาชี ชาวบ้านที่นี่มักเรียกกันว่า แหลมโพธิ์ เป็นที่ที่เราชอบมากเลยหล่ะ ทรายต้องชอบแน่ๆ แต่ก่อนไปถึงปลายแหลมเราจะพาแวะที่ร้านกาแฟริมหาดก่อน อยากกินอะไรเย็นๆแล้ว ดีไหมพี่” “ได้เลยจ้า ตามสบาย ดีเหมือนกัน อยากเติมคาเฟอีนแก้วที่สองของวัน”

Beachlover

November 8, 2022

หาดม่วงงาม เตรียมรับมรสุมแล้ว

ชายหาดม่วงงาม หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีประชากรกว่า 3,000 คน มีที่อยู่อาศัยตั้งเรียงรายประชิดชายฝั่งตลอดทั้งแนว ส่งผลให้ยามฤดูมรสุม พื้นที่ริมทะเลแถบนี้มักได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าชายหาดหมู่อื่นๆของม่วงงาม Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 2 พ.ย.2565 พบมีการวางกระสอบทรายขนาดเล็กเพื่อรับมือแล้วในบางตำแหน่ง แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงต้นมรสุมที่ยังไม่ส่งผลรุนแรงก็ตาม ฤดูมรสุมที่ชายหาดแถบนี้ได้รับผลกระทบคือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมของทุกปี เรื่อยไปถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือในบางปีอาจยาวนานกว่านั้น ลมทะเลจะแรงและพัดยาวนานกว่าฤดูอื่น ส่งผลให้คลื่นมีความสูงมากขึ้น ยิ่งรวมกับระดับน้ำทะเลในช่วงมรสุมที่จะยกตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาอื่นๆด้วยแล้ว ยิ่งทำให้คลื่นยกตัวเข้าปะทะบ้านเรือนริมชายฝั่งและส่งผลเสียหายกว่าฤดูกาลปกติ เทศบาลเมืองม่วงงามได้ดำเนินการป้องกันชายฝั่งแถบนี้ โดยแจกถุงกระสอบขนาดเล็กให้ชาวบ้านได้นำทรายใส่กระสอบมาวางด้านหน้าชายหาดเพื่อป้องกันในยามมรสุม โดยดำเนินการแบบชั่วคราวเฉพาะยามจำเป็น อย่างไรก็ตามชาวบ้านเล่าให้ Beach Lover ฟังว่า ทรายที่นำมาใส่กระสอบก็คือทรายที่อยู่บนหาดบริเวณเดียวกันนี้เอง รวมถึงไม่ได้รื้อถอนกระสอบที่เคยวางไว้ในฤดูมรสุมก่อนหน้านี้ออกไปแต่อย่างใด เนื่องจากกระสอบถูกทรายกลบไปแล้วบ้าง ฉีกขาดไปแล้วบ้าง ไม่ก็หลุดออกไปจากที่ตั้งลงทะเลไปบ้าง ด้วยวิถีชีวิตของประชาชนบริเวณนี้กว่า 80% เกี่ยวข้องกับการประมง จำเป็นต้องมีพื้นที่หน้าชายหาดเพื่อการจอดเรือ หากพื้นที่ชายหาดด้านหน้าหดหายไป หรือถูกแทนที่ด้วยกำแพงหิน กำแพงคอนกรีต จะยิ่งส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน จากการที่ Beach Lover ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามหมู่ 3 มาในระดับหนึ่ง พบว่าการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นี้เป็นแบบ “กัดเซาะชั่วคราว” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบชั่วคราว […]

Beachlover

November 6, 2022

คนสมุยคัดค้านกำแพงกันคลื่น

ที่มา: https://www.thairath.co.th ชาวบ้านริมชายหาดและผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะสมุยเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนัก กรณีกรมโยธาธิการและผังเมืองจะทำโครงการฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่หาดแม่น้ำและหาดบางมะขาม ซึ่งน่าจะเป็นโครงการนำร่องก่อนขยายไปยังหาดอื่นๆ โดยได้เปิดรับฟังความเห็น ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียไปเมื่อวันที่ 27 ก.ย. และ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีของกรมโยธาฯบ่งบอกชัดเจนว่าจะทำ กำแพงหรือเขื่อนคอนกรีต ซึ่งเป็นโครงสร้างแข็ง ถึงขนาดจ้างบริษัทเอกชนมาสำรวจออกแบบไว้แล้ว ชาวบ้านจึงส่งตัวแทนในนาม กลุ่มรักษ์หาดเกาะสมุยไปยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมโยธาฯเพื่อขอให้ยุติโครงการดังกล่าว สาเหตุที่ชาวบ้านคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่นบนชายหาดเนื่องจากชายหาดเกาะสมุยมีลักษณะ เป็นอ่าวที่มีแหลมโอบล้อมอยู่ทั้ง 2 ด้าน และ มีคันแนวปะการังตลอดแนวชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นตามธรรมชาติอยู่แล้ว ต่างกับ ชายหาดที่ทอดยาวบนแผ่นดินใหญ่ ที่มีการกัดเซาะค่อนข้างมาก และการสร้างกำแพงกันคลื่นยังเป็นสาเหตุให้หาดทรายหาย เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านข้างปลายเขื่อนไปเรื่อยๆ (ส่วนใหญ่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวจึงไม่มีใครออกมาเรียกร้องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) ด้วยสภาพภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ชาวบ้านบนเกาะสมุยจึงไม่ต้องการให้เอาฐานความคิดจากหาดทรายแผ่นดินใหญ่ไปใช้กับหาดทรายตามเกาะแก่ง และด้วยลักษณะทางภูมิอากาศของเกาะสมุย มีอิทธิพลของลมที่พัดเข้าหาเกาะตลอดทั้งปี มีทั้งหมด 8 ทิศ ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้ (ลมตะเภา) ลมใต้ (ลมสลาตัน) ลมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมพัดยา) ลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงเหนือ (ลมพัดหลวง) ลมเหนือ (ลมว่าว) และลมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมอุตรา) ลมทั้ง 8 […]

Beachlover

November 6, 2022
1 2 3 74