ร้อยเมตรสุดท้ายของชายหาด

พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในตําบลสามร้อยยอด อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดส่วนสุดท้ายที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลก ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี ตลอดระยะทางประมาณ 4,530 เมตร ก่อนถึงชายหาดส่วนสุดท้ายนี้ ไม่หลงเหลือสภาพชายหาดธรรมชาติแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ดําเนินการก่อสร้างโดยสํานักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทางทิศใต้ของพื้นที่หาดผืนสุดท้ายนี้ คือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และมีการใช้ประโยชน์เป็นชุมชนประมงด้านในคลอง น่าแปลกใจว่า เหตุใดตอนก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลกเป็นระยะทางกว่า 4.53 กิโลเมตร ในปี 2555 จึงได้เว้นช่วงชายหาดผืนสุดท้ายนี้ไว้ประมาณ 120 เมตร เหตุใดจึงไม่ได้ออกแบบก่อสร้างให้จรดโครงสร้างปากร่องน้ำ นับเป็นโครงการที่น่าตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 พบว่า มีกองหินขนาดเล็กวางระเกะระกะบนบางส่วนของชายหาด แต่ยังไม่พบร่องรอยคลื่นกัดเซาะจนถนนได้รับความเสียหาย โดยถนนเส้นนี้วิ่งมาจรดปากคลองเท่านั้น ไม่ได้เป็นเส้นทางหลักเพื่อวิ่งเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นแต่อย่างใด ในปี 2565 ท้องถิ่นได้ทำเรื่องร้องขอโครงสร้างป้องกันพื้นที่ชายหาดผืนสุดท้ายนี้ต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง คาดเดาได้ว่า กรมจะใช้วิธีคิดแบบเดิมๆคือป้องกันไปเสียให้จบๆ เพราะเหลืออีกแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าเราจะได้กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงในรูปแบบเดิมกับที่มีอยู่แล้วกว่า 4.53 กิโลเมตร หากกรมฯปรับเปลี่ยนมุมมองในการมองปัญหาใหม่ อาจคิดได้ว่า เหลือเพียงแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้นที่เป็นหาดทรายธรรมชาติผืนสุดท้ายของชายหาดที่ยาว 4.65 […]

Beachlover

January 3, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 12 เทพา สะกอม

เช้าวันรุ่นขึ้นกระบะสองประตูมาบีบแตรรออยู่หน้าบ้านน้ำฝน พร้อมคำทักทายแบบอิสลาม “อัสซะลามุอะลัยกุม” (https://th.wikipedia.org/wiki/อัสซะลามุอะลัยกุม) น้ำฝนแนะนำเม็ดทรายให้รู้จักหยก นักศึกษาปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม ม.อ. “หวัดดีค่ะพี่หยก ขอบคุณพี่มากๆเลย ถ้าไม่ได้พี่พวกเราต้องตัวดำก้นพังกันแน่ๆ”  “พี่ทำงานเกี่ยวกับต้นน้ำบนเขา อยากรู้ว่าที่ปลายน้ำที่ออกทะเลมันเป็นยังไง ดีเหมือนกันแหล่ะ ได้เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง” ระหว่างทางหาดใหญ่-เทพา ทั้ง 3 คนได้ถกปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างสนุกถูกคอ รู้ตัวอีกทีหยกก็พารถมาจอดที่สันทรายขนาดใหญ่กว้างสุดลูกหูลูกตา มีพืชปกคลุมสันทรายนี้อย่างประปราย “โห! กว้างกว่าที่ส่องจาก Google เยอะเลย” เม็ดทรายตื่นเต้นกับภาพชายหาดสุดลูกหูลูกตาเบื้องหน้า ทั้งสามกึ่งวิ่งกึ่งเดินจากถนนดินที่จอดรถไปยังชายหาด ระหว่างทางต้องฝ่าดงหญ้าลูกลมที่มีหนามแหลมคม ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นที่ขึ้นอยู่บริเวณหาดทรายแห่งนี้มาเนิ่นนานแล้ว (https://www.dmcr.go.th/detailAll/23795/nws/141) “เหนื่อยไม่เบาเลยนะเนี่ย ทำไมหาดตรงนี้มันถึงกว้างขนาดนี้อ่ะ” น้ำฝนถามอย่างประหลาดใจ แม้จะเป็นคนสงขลาแต่ไม่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือนหาดแถบนี้เลย” “นี่ตกลงใครเป็นคนสงขลากันแน่ แกไม่รู้เลยรึว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่” เม็ดทรายหยอกเพื่อนแรงๆ “เออเน่อะ แต่ไม่เคยมา และถึงมาก็ไม่มีความรู้เรื่องอะไรแบบนี้เลยอ่ะ” น้ำฝนซึ่งไม่มีความรู้มากนักเรื่องชายหาด แต่สนอกสนใจด้านสิ่งแวดล้อมตอบเพื่อน “เห็นกองหินไกลๆตรงโน้นไหม ยาวๆออกไปในทะเลน่ะ เค้าเรียกกันว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือ Jetty” (https://beachlover.net/jetty/) “ยาวมากเลยนะ ลองวัดระยะดูมันมากกว่าครึ่งโลอีก” หยกผู้มีทักษะการค้นข้อมูลมากกว่าน้องๆตามประสานักศึกษาปริญญาโทพูดพลางเอาหน้าจอ Smartphone ที่เปิด Application Google Earth […]

Beachlover

December 13, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 7 ถนนเลียบฝั่งปานาเระ

“อ้าว! นี่พี่ก็ขับตาม Google map มานะ ทำไมมันไม่มีทางไปต่อแล้วหล่ะ” รุ่นพี่งุนงงกับถนนที่สิ้นสุดตรงนี้ ทั้งที่ยังปรากฏเส้นทางให้ไปต่อได้ถึงแหลมตาชีใน Google map “เอ…ยังไงกันหล่ะเนี่ย ของหนูก็ยังมีเส้นทางอยู่ในพี่” ดาด้าพูดพลางโชว์หน้าจอระบบนำทางของตัวเอง “ของเราก็เหมือนกับด้าเลย” เม็ดทรายสนับสนุนข้อมูลต่อทันที แท้จริงแล้ว ถนนเส้นที่ทั้งสามคนกำลังงุนงงอยู่นั้น ในอดีตเป็นถนนที่วิ่งเลียบทะเลจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชี แต่หลังจากงานก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำปานาเระแล้วเสร็จ ก็ส่งผลกระทบให้ชายหาดแถบนี้ รวมถึงถนนเส้นนี้ถูกกัดเซาะจนขาดไปในที่สุด (https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/) “มันส่งผลกระทบรุนแรงมากขนาดนี้เลยรึ แบบนี้คุ้มกันไหมกับการตัดสินใจสร้างน่ะ” รุ่นพี่แสดงทัศนะของตัวเองทันทีที่ทั้งสามคนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการหาข้อมูลผ่าน Website  “นั่นแหล่ะ พี่ว่าไหมว่าเค้าจะต้องสร้างอะไรตรงนี้ต่อไปแน่ๆ ยิ่งมันกัดเซาะแบบถนนหายไปแบบนี้ ยิ่งต้องสร้างถนนใหม่ หรือหาอะไรมาป้องกันแน่นอนเลย” เม็ดทรายพูดพลางเดินถ่าย vdo clip ไปพลาง  “นี่ถ้าเค้าไม่ตัดถนนเลียบทะเลมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเน้อะ มันน่าจะมีกฎหมายเรื่องระยะถอยร่น อะไรประมาณนี้อยู่นะ พอจำได้บ้างตอนอาจารย์ยกตัวอย่างในวิชากฏหมายสิ่งแวดล้อมอ่ะ” ว่าที่นักกฏหมายอย่างดาด้าพูดพลางก้มหน้าก้มตาค้นข้อมูลบางอย่างผ่าน website  (https://beachlover.net/วิชาการ-ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล/) “เข้าใจแล้ว ถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างถาวรมันจะต้องถอยร่นเข้ามาจากแนวน้ำทะเล 12 เมตร แต่ถ้าเป็นถนนมันยังไม่มีกฎหมายที่บังคับเรื่องนี้” ดาด้าสรุปข้อมูลในเอกสารที่เธอค้นเจอจากหน้าจอให้ทุกคนฟัง (https://beachlover.net/กฎกระทรวง-เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง/) “แบบนี้นี่เอง พี่เห็นถนนริมเลแถวบ้านพี่นี่ตัดประชิดทะเลมากๆเลย พอช่วงมรสุมทีนึงนะ อบต. ก็ต้องหางบมาซ่อมถนนเกือบทุกปีเลย” รุ่นพี่นึกภาพถนนริมชายหาดหลายแห่งของนราธิวาสได้  “คราวนี้พวกเราจะเอายังไงต่อดีหล่ะ” “ตะกี้เราผ่านทางเข้าเล็กๆทางซ้ายมือมา […]

Beachlover

November 1, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 6 อ่าวมะนาว-หาดนราทัศน์

“โห! พี่ไม่ได้มานานเท่าไหร่จำไม่ค่อยได้ละ หาดกว้างกว่าเดิมเยอะมาก” รุ่นพี่ทาบภาพที่เห็นตรงหน้ากับความทรงจำของอ่าวมะนาวเมื่อครั้งอดีต  “อืม..สวยเน้อะ” เม็ดทรายเอ่ยพลางเปิด Google Earth เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของชายหาดอ่าวมะนาวและหาดนราทัศน์  “สำหรับคนเมืองนราอ่ะนะ ถ้าคิดถึงทะเลก็จะมีที่นี่กับที่หาดนราทัศน์ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งเท่านั้นแหล่ะ มันใกล้เมืองที่สุดละ ตอนสมัยเรียนมัธยมในเมือง โรงเรียนพี่เค้าก็จะพานักเรียนมาทำกิจกรรมเรื่องสิ่งแวดล้อมกันที่นี่แหล่ะ”  “เมื่อกี้พี่บอกว่า หาดมันกว้างมากขึ้นใช่ไหม ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน พี่พอจำได้ไหม” เม็ดทรายถามพลางละสายตาจาก Google earth  “อืม..ไม่รู้สิ จำไม่ได้ และก็ไม่ได้มานานมากแล้วหล่ะ มันสำคัญยังไงหรอ” รุ่นพี่พยายามนึก และก็ถามกลับแบบงงๆ “พี่พาไปฝั่งหาดนราทัศน์หน่อยสิ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะ” เม็ดทรายพูดพร้อมกระโดดขึ้นรถอย่างฉับไว รถมาจอดหลังกองหินกองหนึ่งจากหลายๆกองที่วางตัวอยู่นอกฝั่งบริเวณชายหาดนราทัศน์ เมื่อหันหน้าออกทะเลและมองไปทางขวามือจะพบโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา (Jetty)(https://beachlover.net/jetty/) ส่วนกองหินที่รุ่นพี่พารถมาจอดด้านหลังนั้นก็คือเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) (https://beachlover.net/breakwater/) โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา ซึ่งเขื่อนที่ปากร่องน้ำนี้เองที่ส่งผลให้หาดนราทัศน์ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันอีกฝั่งหนึ่งของหาด ซึ่งก็คืออ่าวมะนาวนั้นมีทรายมาทับถมจนชายหาดขยายกว้างขึ้น “อ้อ…มิน่าหล่ะ หาดตรงอ่าวมะนาวมันถึงกว้างขึ้นมากขนาดนี้” รุ่นพี่ถึงบางอ้อ จากคำอธิบายของเม็ดทราย “แล้วตรงนี้ทำไมหาดมันเว้าๆแหว่งๆแบบนี้หล่ะ จำได้ลางๆว่าตอนมาทำกิจกรรมกับโรงเรียนชายหาดมันยาวๆเป็นแนวเดียวกันไปนะ” (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-นราทัศน์/) “ตามหลักฟิสิกส์เลยพี่ คลื่นมันเลี้ยวเบนหลังกองหินนั่น ด้านหลังเป็นจุดอับคลื่น ตะกอนก็ตกกลายเป็นสันทรายยื่นออกไปแบบนี้ เราเรียกตรงที่เรายืนอยู่นี่ว่า Tombolo เวลาน้ำขึ้นมันอาจจะจมอยู่ใต้น้ำก็ได้ พอดีเรามาตอนน้ำลงพอดี […]

Beachlover

October 25, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 5 เกาะยาว

“ว้าวๆๆๆๆ ไม่เคยคิดเลยนะว่าตากใบจะมีหาดสวยแบบนี้”    เม็ดทรายกล่าวพร้อมการกระโดดโลดเต้นทันทีที่ก้าวลงจากรถ หาดเกาะยาวตั้งอยู่บนคาบสมุทรตากใบ ห่างจากปากน้ำโกลกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายเกาะรูปร่างยาววางตัวขนานไปกับแนวชายฝั่ง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เกาะ สามารถเข้าออกทางรถผ่านถนนที่มีเพียงเส้นเดียวที่วิ่งเลาะจากปากน้ำโกลกเลียบชายฝั่งไปถึงเกาะยาว หากเดินเท้าหรือรถมอเตอร์ไซด์ก็สามารถข้ามแม่น้ำตากใบผ่านสะพานความยาวประมาณ 310 เมตร จากตัวเมืองตากใบมายังเกาะยาวได้เลย โดยไม่ต้องขับรถอ้อมให้เสียเวลา “นี่ๆ ไอ้กองหินนี้มันวางไว้ทำไมอ่ะ ดูสิ วางเป็นแท่งๆยื่นออกไปตั้งหลายกองแหน่ะ” รุ่นพี่ถาม “อ้อ ไอ้กองหินยื่นๆที่พี่เห็นมันเรียกว่า รอดักทราย หรือชื่อทางเทคนิคคือ Groin เค้าสร้างตลอดแนว 20 กว่ากิโลเลยนะพี่ ตั้งแต่จุดที่เราไปที่และตรงปากน้ำโกลกอ่ะพี่ จำได้ป่ะ ที่หนูชี้ให้ดู อันนั้นคือรอดักทรายตัวแรกของคาบสมุทรตากใบ” “เออ ชื่อมันแปลกดีนะ รอดักทราย มันรอที่จะดักทรายหรือไง 555”  ทั้งคู่เดินไปที่ชายหาดแล้วกระโดดไปมาบนกองหินที่นำมาวางเป็นรอดักทรายพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมของเม็ดทราย “หนูก็คิดแบบเดียวกับพี่เลยนะ ตอนที่ได้ยินอาจารย์พูดชื่อนี้ครั้งแรกตอนที่เรียนเรื่องโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทะเลน่ะ  แล้วอาจารย์ก็บอกว่า ใช่ มันคือโครงสร้างที่ รอคอยการมาถึงของทรายแล้วดักเอาไว้ตามชื่อเป๊ะเลย ชื่อมันตามหน้าที่ของมันเลยอ่ะ หนูจำได้ดีตั้งแต่ตอนนั้น”  “อาจารย์เธอนี่อธิบายได้ชัดเจนมากเลยนะ ว่าแต่มันสร้างไว้ทำไมอ่ะ” “ที่เราไปดู jetty ที่ปากน้ำโกลกอ่ะ ทางทิศเหนือของมันก็คือที่ที่เรายืนกันอยู่ด้วย มันถูกกัดเซาะก็เพราะการก่อสร้าง jetty […]

Beachlover

October 18, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 4 ปากน้ำโกลก

“มันกว้างน้อยกว่าที่คิดไว้แฮ่ะ” เม็ดทรายพูดขึ้นทันทีที่ได้เห็นปากแม่น้ำโกลกเป็นครั้งแรกในชีวิต  “นี่เองรึ หาดแรกของไทยที่เม็ดทรายเปลี่ยนสัญชาติ” รุ่นพี่พูดพลางนั่งคุกเข่าจับเม็ดทรายขึ้นมาใส่มือแล้วพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ด้วยแบคกราวการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ แม้จะหันหลังให้องค์ความรู้นี้แล้วไปประกอบกิจการส่วนตัว คลังความรู้ในหัวเท่าที่พอจะจำได้บอกเค้าว่า ส่วนประกอบหลักของทรายบนหาดนี้มาจากแม่น้ำ “มันมี Quartz ต่ำอ่ะ น่าจะมาจากบกเป็นหลักนะ” เม็ดทรายยืนดื่มด่ำบนหาดทรายเม็ดแรกนี้ไปนานเท่าไหร่ไม่รู้ จนมีเสียงจากรุ่นพี่ชักชวนให้เดินไปดูกองหินขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำ “เดินไปจนสุดเลยนะ ไหวไหม”  “สบายมาก นำไปเลย” เม็ดทรายพูดพลางลุกขึ้นเดินตามรุ่นพี่ ตาต้องก้มมองทางเดินตลอดเวลาเพราะทุกก้าวย่างบนกองหินต้องเดินอย่างระวัง เพราะอาจหกล้มได้ง่ายหากเลือกเหยียบบนก้อนหินที่ไม่มั่นคง หรือก้าวหล่นลงไปในซอกระหว่างก้อนหิน  “มันเรียกว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือภาษาเชิงเทคนิคเค้าเรียกว่า Jetty นะพี่ (https://beachlover.net/jetty/) มันสร้างไว้ให้เรือเข้าออกอย่างสะดวก ตะกอนทรายไม่ไปอุดปากร่องน้ำ” เม็ดทรายรื้อฟื้นความรู้สมัยเรียนตอนปีสามมาอธิบายรุ่นพี่ “แล้วทำไมไม่ขุดลอกเอาหล่ะ ถ้าตะกอนมาปิดร่องน้ำก็น่าจะขุดเพื่อเปิดปากร่อง” รุ่นพี่ถาม “ก็หน่วยงานเค้าบอกมันไม่ยั่งยืนอ่ะพี่ มันต้องกลับมาขุดบ่อยๆเค้าว่าเปลืองงบประมาณ มันยังช่วยให้น้ำถูกระบายลงทะเลได้สะดวกขึ้นด้วยนะ เวลาน้ำฝนตกลงในพื้นที่มากๆ ถ้าปากทะเลเปิดตลอดเวลา น้ำก็จะได้ไหลลงทะเลได้สะดวก” ทั้งสองคนถกกันตามปกติของคนที่เคยเคลื่อนไหวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาเหมือนกัน ถัดจากจุดนี้ไปทางใต้ประมาณ 500 เมตร ฝั่งตรงข้ามของกองหินที่ทั้งคู่พากันกระโดดเล่นไปมาอย่างสนุกสนานคือดินแดนของประเทศมาเลเซีย จริงๆแล้วอีกหน้าที่หนึ่งของ Jetty ปากแม่น้ำโกลกที่เม็ดทรายอธิบายรุ่นพี่ไปบ้างแล้ว ก็คือการตรึงแนวขอบเขตดินแดนของทั้งสองประเทศให้อยู่กับที่  ไม่เคลื่อนไปมาตามการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายตามธรรมชาติ“ไปต่อกันเถอะ อยากเห็นหาดทางโน้นแล้วว่าจะเป็นไง”  เม็ดทรายพูดพลางชี้ไปทางทิศเหนือที่มองไกลๆเหมือนมีอะไรยื่นออกมาจากชายหาด รุ่นพี่ขับรถบนถนนที่ขรุขระและไม่มีการเทพื้นผิวใดๆเลาะชายหาดไปทางทิศเหนือ  ไปยังหมู่บ้านเล็กๆที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรตากใบที่มีชื่อว่า […]

Beachlover

October 11, 2022

วิชาการ: แนวคิดเพื่อจัดการปากร่องน้ำ

การเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งทะเลในลักษณะขนานโดยไหลเลียบไปกับชายฝั่ง และตะกอนจากแผ่นดินที่ไหลลงไปรวมไปในแม่น้ำที่ไหลออกชายฝั่งทะเล ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนสะสมจนปากแม่น้ำที่ไหลลงทะเลปิดในบางฤดูกาล หากปากร่องน้ำใดมีการเข้าออกของเรือ จะส่งผลให้ไม่สามารถนำเรือเข้าออกได้ในบางช่วงเวลา ในอดีตชาวบ้านรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่ใช้ประโยชน์ช่วยกันขุดเปิดปากร่องน้ำกันเองบ้าง  หรือร้องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้วิธีการขุดปากร่องน้ำเพื่อบรรเทาปัญหานี้บ้าง เมื่อมีการพัฒนาเมืองและพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้มีการเข้าออกของเรือที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และกินระยะน้ำลึกมากกว่าในอดีต หน่วยงานที่รับผิดชอบ (กรมเจ้าท่า) เริ่มหันมาใช้วิธีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการออกแบบให้ปลายสุดของเขื่อนกันคลื่นอยู่บริเวณร่องน้ำลึก ส่งผลให้ตะกอนที่ไหลออกไปนอกฝั่งมีโอกาสที่จะกลับมาปิดปากร่องน้ำได้ลดน้อยลง ทั้งยังป้องกันไม่ให้ตะกอนที่ไหลเลียบชายฝั่งมาปิดปากร่องน้ำด้วย โดยมากเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ยื่นยาวลงไปในทะเล ซึ่งถือเป็นโครงสร้างที่แทรกแซงกระบวนการทางชายฝั่งทะเลอย่างหนักด้วยขนาดที่ใหญ่และยาว พบว่าแม้จะมีโครงสร้างนี้แล้วยังจำ เป็นต้องขุดลอกร่องน้ำร่วมด้วย เนื่องจากนานวันเข้าตะกอนมีโอกาสไหลล้นข้ามโครงสร้างที่ดักตะกอนไว้มาปิดปากร่องน้ำเช่นเดิม นั่นหมายความว่าโครงสร้างนี้ชะลอระยะเวลาการขุดลอกออกไปเท่านั้น โครงสร้างนี้ไม่ถือว่าเป็นโครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง แต่การเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำมักนำมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างนี้ยื่นยาวออกไปนอกชายฝั่งจนถึงระยะน้ำลึกจึงเป็นการกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่ง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกัดเซาะทางด้านท้ายน้ำหรือส่วนถัดไปของชายหาดตามทิศทางที่ตะกอนเคลื่อนที่ ส่งผลให้พื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง และตามมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอื่นๆต่อเนื่องไปอีก Beach Lover เห็นทั้งความจำเป็น ความเดือดร้อนของผู้ใช้ปากร่องน้ำ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ จึงมีแนวคิดเพื่อจัดการปากร่องน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลดังต่อไปนี้ (1) กำหนดให้การขุดลอกปากร่องน้ำทุกแห่งนำตะกอนที่ได้จากปากร่อง ที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นตะกอนที่คุณสมบัติใกล้เคียงกับพื้นที่ชายฝั่งปากร่องน้ำที่ถูกกัดเซาะ  ไปถมในพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนั้น หากดำเนินการได้จะทำให้ตะกอนไม่ถูกทิ้งให้เสียประโยชน์  บรรเทาผลกระทบด้านท้ายน้ำ และได้แผ่นดินกลับคืนมาบางส่วน (2) ควรกำหนดให้มาตราการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ สำหรับร่องน้ำที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เป็นมาตรการประจำที่ต้องดำเนินการทุกปากแม่น้ำตามรอบวนซ้ำที่ได้ศึกษาไว้  โดยถ่ายเทจากฝั่งของปากร่องน้ำที่เกิดการทับถมไปอีกฝั่งที่ถูกกัดเซาะ ซึ่งจะบรรเทาความเสียหายได้บางส่วน ดีกว่าการสร้างโครงสร้างป้องกันต่อไปเรื่อยและเกิดการกัดเซาะต่อไปอย่างต่อเนื่อง (3) ให้อำนาจและงบประมาณกับท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณในการลงทุนเครื่องจักรสำหรับใช้ในการขุดลอกปากร่องน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ (รถขุดแขนยาวและโป๊ะลอยน้ำพร้อมขายึดในภาพราคารวมประมาณ 6 ล้านบาท) เพื่อบรรเทาปัญหาตะกอนปิดปากร่องน้ำได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง (4) หากจำเป็นต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ ควรรวบรวมความจำเป็นของเรือที่สัญจรในปากร่องในใกล้กันมารวมจอดในที่เดียวกัน เพื่อลดจำนวนโครงสร้างและเป็นการจำกัดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด

Beachlover

April 8, 2022

คดีประวัติศาสตร์ใกล้ยุติแล้ว

คดีประวัติศาสตร์ที่ว่านี้คือ “คดีหาดสะกอม” ซึ่งนับว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์คดีแรกที่ประชาชนลุกขึ้นมาใช้อำนาจฟ้องรัฐในความผิดที่เกี่ยวข้องกับชายหาด โดยมีการฟ้องร้องเมื่อมกราคมปี 2551 และศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อกรกฎาคมปี 2554 โดยศาลปกครองสูงสุดได้นั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเมื่อกันยายน 2564 อ่านเรื่องราวของคดีหาดสะกอมเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/คดีสะกอม-จ-สงขลา/ และ https://beachlover.net/นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก-ตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุด-กรณีเขื่อนกันคลื่นหาดสะกอม/ และ https://beachlover.net/14-ปีผ่านไป-กับสันทรายโบราณบ้านโคกสัก/ รวมถึง E-Book คดีชายหาดจาก https://beachlover.net/การฟ้องคดีปกครอง/ มาวันนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันที่ 26 มกราคม 2565 หากนับตั้งแต่วันฟ้องคดีจวบจนถึงวันพิพากษาคดี นับว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์นี้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมนานถึง 14 ปีเต็ม คดีประวัติศาสตร์นี้จะจบลงอย่างไร Beach Lover จะนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังหลังการพิพากษา โปรดติดตาม

Beachlover

January 19, 2022
1 2