ชุมชนชายฝั่งท่าซักเห็นชอบ ให้ปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นสร้างผืนป่า

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมประชุมในการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการซ่อม สร้าง เสริม การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ความยาวแนวไม้ไผ่ ๒,๓๐๐ เมตร โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการฯ ประมาน ๖๐ คน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นให้ดำเนินการตามรูปแบบที่กรม ทช. นำเสนอ เพื่อเป็นการป้องการกัดเซาะชายฝั่งและควรฟื้นฟูป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่ต่อไป

Beachlover

December 18, 2021

ติดตามการสะสมตัวของตะกอนทรายด้านหลัง แนวรั้วไม้คลองวาฬ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตามการสะสมตัวของปริมาณตะกอนทรายด้านหลังแนวรั้วดักตะกอนทราย (Sand fence) ในช่วงมรสมุตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ชายฝั่ง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่ารั้วดักตะกอนทรายแบบ wind break ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ บางตำแหน่งเริ่มมีการสะสมตัวของตะกอนทราย และพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมแล้ว ส่วนพื้นที่หาดคลองวาฬ บ้านหว้าโทน ต.คลองวาฬ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ประกอบกับคลื่น ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้บริเวณนี้เกิดร่องรอยของการกัดเซาะเล็กน้อยขึ้นด้านหลังรั้วดักตะกอนทราย แต่ในภาพรวมแล้วรั้วไม้บริเวณยังสามารถช่วยชะลอและลดความรุนแรงของคลื่นที่จะเข้ากระทบกับฝั่งได้ และยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่งด้านทิศเหนือได้

Beachlover

December 15, 2021

พาชมหาดขั้นบันไดแห่งบ้านเพ ระยอง

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ณ ชายหาดบ้านเพไปแล้วติดตามได้จากโพสเก่าๆ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่น-หาดสวนสน-ระยอง/ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับมาที่หาดบ้านเพอีกรอบในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดพร้อมการปรับภูมิทัศน์ตลอดแนวกว่า 500 เมตร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว พบว่าสภาพกำแพงยังใหม่และอยู่ในสภาพดี พบว่าด้านหน้ากำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดนี้ ไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับภาพในโพสเก่าๆที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอไปเมื่อปีที่แล้ว (2563) จะพบว่ากำแพงกันคลื่นนี้ได้วางทับลงไปบนชายหาด จึงไม่น่าแปลกใจว่าชายหาดที่มีอยู่อย่างจำกัดและค่อนข้างสั้นอยู่แล้วจะหายไปทั้งหมด

Beachlover

December 13, 2021

ผลกระทบของกำแพงกันคลื่นหาดสะพลี

Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจกำแพงกันคลื่นยาว 75 เมตร หลังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 78 ณ ชายหาดสะพลี จ.ชุมพร พบว่าลาด Slope ด้านหน้ากำแพงหลุดออกไปแล้วทั้งหมด หลงเหลือเพียงโครงสร้างหลักที่เป็นแบบตั้งตรง ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า ยามคลื่นแรง นักเรียนไม่สามารถเรียนได้เนื่องจากคลื่นปะทะกำแพงอย่างรุนแรงและซัดข้ามเข้ามาด้านในอาคาร นอกจากนั้นยังพบว่า ชายหาดด้านทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านอาหารได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นของโรงเรียน จนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันพื้นที่ตนเอง รวมถึงใช้กระสอบทรายป้องกันแบบชั่วคราวในบางฤดูกาลร่วมด้วย

Beachlover

December 7, 2021

ติดตามสภาพชายฝั่ง อ.หลังสวน ชุมพร

ชายฝั่งทะเล อ.หลังสวน จ.ชุมพร มีความยาวประมาณ 35.35 กิโลเมตร มีตำบลติดชายฝั่งทั้งหมด 4 ตำบลได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.ปากน้ำ ต.บางมะพร้าว และ ต.นาพญา โดย ในปี 2564 นี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการป้องกันชายฝั่งจำนวน 4 โครงการ ใน 4 ตำบลชายฝั่งของ อ.หลังสวน (ค้นอ่านประกาศประชุมรับฟังความคิดเห็นได้จาก Search icon) ระยะทางรวม 6.14 กิโลเมตร หรือ คิดเป็น 17.4% ของความยาวชายฝั่งใน อ.หลังสวน โดยทั้ง 4 โครงการได้แก่ 1.ชายทะเลบ้านบางมั่น ต.นาพญา ความยาว 2,000 เมตร 2.ชายฝั่งบ้านหนองทองดี 1 ถึงบ้านจมูกโพรง ต.บางมะพร้าว ความยาว 2,520 เมตร 3.ชายฝั่งเลียบ ถ.ทางหลวงชนบท ด้านเหนือสำนักสงฆ์เขาไทรทอง ต.บางน้ำจืด […]

Beachlover

December 6, 2021

กลุ่มประมงพื้นบ้านดอนสัก ร่วมเรียนรู้ระบบ ติดตามชายหาดโดยชุมชน

ที่มา: https://www.facebook.com/LaetaLaeTai/ กลุ่มประมงพื้นบ้านอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี สำรวจการกัดเซาะชายฝั่งช่วงฤดูมรสุม เพื่อบันทึกข้อมูลการติดตามชายหาดโดยชุมชน หวังใช้เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาชายหาดร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ. วันอาทิตย์ที่ผ่านมา (7 พ.ย.2564) กลุ่มประมงพื้นบ้านจาก 3 ตำบล ในอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี รวม 30 คน ร่วมเรียนรู้ข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่ง และแนวทางการแก้ปัญหา ณ โรงเรียนวัดนทีวัฒนาราม ต.ชลคราม อ.ดอนสัก เพื่อทำความเข้าใจสภาพปัญหาพื้นที่ จากการแลกเปลี่ยนข้อมูล พบว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของ อ.ดอนสัก เริ่มต้นตั้งแต่มีนโยบายสัมปทานป่าชายเลน และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ช่วง พ.ศ.2530 ทำให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่ายเลน แปรสภาพเป็นบ่อเพาะเลี้ยงกุ้ง จนมาถึงยุทธศาสตร์ด้านการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและขนส่งน้ำมันทางทะเลระหว่างแผ่นดินใหญ่ กับ อ.เกาะสมุย อ.เกาะพงัน ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งมาจนปัจจุบัน. จากนั้น ได้รวมกลุ่มกันทำการสำรวจพื้นที่ชายหาดบริเวณชายหาดบ้านพอด ต.ชลคราม ซึ่งใกล้กับพื้นที่กำแพงกันคลื่นแบบเรียงหิน รวมระยะทาง 1,800 เมตร จากคลองตั้ว ถึง The Tamarind รีสอร์ท มีเป้าหมายในการก่อสร้างเพื่อป้องกันชุมชน และพื้นที่จอดเรือของชุมชนบ้านพอด ปัจจุบันการกัดเซาะชายฝั่งนั้นเกิดขึ้นบริเวณด้านท้ายของกำเเพงกันคลื่นตั้งเเต่ […]

Beachlover

November 11, 2021

ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ระบุชัดชายหาดชุมพรไม่มีพื้นที่กัดเซาะรุนแรง

ที่มา: https://news1live.com จากกรณีที่มีกลุ่มนักอนุรักษ์คนรักอ่าวชุมพร และชาวบ้านออกมาคัดค้านกรมโยธาธิการและผังเมือง ก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตป้องกันตลิ่งกัดเซาะชายฝั่งริมทะเล ความยาว 630 เมตร ด้วยงบประมาณ 80 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 700 วัน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 ตุลาคม 2565 บนพื้นที่หาดทรายรี ต.หาดทรายรี อ.เมือง จ.ชุมพร ไม่มีการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งจะส่งผลเสียระยะยาว เนื่องจากจุดก่อสร้างดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ และเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์เนื่องจากมีพระตำหนักที่ประทับพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย หรือหมอพร และเป็นแหล่งเรียนรู้ยาสมุนไพรตำรับหมอพร และเป็นสถานที่สวรรคตของพระองค์ ปัจจุบันได้มีการสร้างพระบรมรูปของพลเรือเอกเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดศักดิ์ มีประชาชนจากทั่วสารทิศมากราบไหว้สักการะอย่างไม่ขาดสาย ความคืบหน้ากรณีดังกล่าว นายธนเทพ กมศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้านสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร กล่าวว่าหลังจากที่กลุ่มอนุรักษ์คนรักอ่าวชุมพร และ แกนนำชาวบ้านในพื้นที่ยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และล่าสุดตนได้มีหนังสือ ที่พิเศษ 1/2564 ลงวันที่ 3 พ.ย.2564 ถึงประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล […]

Beachlover

November 8, 2021

8 เดือนผ่านไป กับ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” @ หน้าสตน

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดบ้านหน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ไปแล้วในเดือน ก.พ.2564 ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดกัดเพราะรัฐสร้าง-หน้าสตน/ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดพื้นที่นี้อีกครั้งในเดือน ต.ค.2564 พบว่า จะงอยของกำแพงหินที่เป็นเหตุให้พื้นที่ทางทิศเหนือเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงนั้นถูกรื้ออกไป และเกิดกำแพงหินเรียงแนวใหม่กระเถิบประชิดชายฝั่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมยาวต่อเนื่องไปทางทิศเหนือจากตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างเดิม ด้วยวัสดุและรูปแบบหินเรียงตามเดิม สิ้นสุดปลายกำแพงหินเรียงนี้ พบการกัดเซาะกินลึกเข้ามาในพื้นที่เอกชน โดยชาวบ้านต้องนำกระสอบใส่ทรายช่วยเหลือตัวเองไปพลางในช่วงมรสุม แม้ว่าจะเป็นพื้นที่เล็กๆที่ได้รับผลกระทบจากแนวกำแพงกันคลื่นของรัฐ แต่ได้ฉายภาพใหญ่ของผลกระทบทั้งหมดให้เห็นอย่างชัดเจนมากว่า เมื่อเกิดกำแพงกันคลื่นเพื่อป้องกันชายฝั่งขึ้นที่ใด ที่สุดปลายโครงสร้างก็จะส่งต่อผลกระทบต่อเนื่องแบบโดมิโน่ไปเรื่อยๆ โดยรัฐก็จะใช้วิธีการซ้ำแบบเดิมเพื่อป้องกันชายฝั่งส่วนถัดไปอย่างต่อเนื่อง และเมื่อส่วนถัดไปสร้างเสร็จก็จะส่งต่อผลกระทบชิ่งต่อพื้นที่ใกล้เคียงถัดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยวงจรนี้จะเป็นภาพวนซ้ำไปซ้ำมาไม่รู้จักจบสิ้นตราบเท่าที่รัฐยังคงแก้ปัญหาแบบเดิมเหมือนอย่างอดีตต่อเนื่องมายังปัจจุบัน และไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้

Beachlover

November 1, 2021

Elastocoast คืออะไร

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (Two-component polyurethane) โดยหินกรวดนี้จะถูกน้ำยาเคลือบเหมือนมี Film บางๆของโพรียูรีเทนมาหุ้ม เมื่อน้ำยานี้แข็งตัว Film บางๆที่เคลือบหินกรวดจะเป็นตัวยึดให้หินทุกก้อนติดกันเฉพาะส่วนที่ contact กัน ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างก้อนกรวดนี้ ส่งผลให้โครงสร้างที่ถูกเททับด้วย Elastocoast มีความพรุนน้ำสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการการรับแรงปะทะและสลายพลังงานคลื่น มีการประยุกต์ใช้ Elastocoast เป็นหนึ่งในวัสดุรูปแบบใหม่เพื่องานป้องกันริมตลิ่งแม่น้ำและชายฝั่ง โดยได้ถูกทดสอบครั้งแรกเมื่อปี 2004-2007 แถบ North-Sea islands ทางตอนเหนือของประเทศเยอรมัน หลังจากนั้นได้ถูกวิจัยและทดสอบใน 2 พื้นที่ Pilot area ในประเทศเนเธอร์แลนด์ในเมื่อปี 2007 ข้อมูลจากกองวิศวกรรม กรมเจ้าท่า ระบุว่า Elastocoast คือวัสดุคอมโพสิตที่มีความยืดหยุ่นซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกันการ กัดเซาะแนวชายหาดโดยเฉพาะ ประกอบด้วยก้อนกรวดผสมกับโพลียูรีเทนซับน้ำที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ ทำให้วัสดุมีลักษณะเหมือนหินที่มีโครงสร้างแบบเซลล์เปิด ผลิตโดยการนำของเหลวสองชนิดที่ทำจากโพลียูรีเทนสังเคราะห์มาผสมกันในพื้นที่ หน้างานแล้วจึงใส่ก้อนกรวดลงไป คุณสมบัติด้านความยืดหยุ่นจะช่วยปกป้องแนวกำแพงหินจากแรงกระแทกของน้ำได้ เนื่องจากช่องว่างระหว่างก้อนหินจะคอยดูดซับพลังงานเอาไว้ ขณะที่หากใช้คอนกรีตหรือยางมะตอยที่มีพื้นผิวแข็งและทึบตันจะถูกพังทลาย โดย แรงกระแทกจากคลื่นได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ก้อนหินที่มีขนาดต่างๆ มาปูทับกันให้ได้ความหนาต่างๆ ตามต้องการ โดยมีภาพประกอบงานก่อสร้าง […]

Beachlover

November 1, 2021

เครือข่ายฯกัดเซาะชายฝั่งปัตตานี เรียกร้องให้รัฐบาลเเก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL วันนี้ 29 ตุลาคม 2564 องค์กรนักศึกษา เยาวชน เเละภาคประชาชน ในจังหวัดปัตตานี 23 องค์การ ในนามเครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เเละตัวเเทนสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร ในจังหวัดปัตตานี ผ่านไปยังนายกรัฐมนตรี โดยมี 8 ข้อเรียกร้องสำคัญ 1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง 2. ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3.รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไป อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุม 4. รัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นคืนและเกิดความสมดุล […]

Beachlover

October 30, 2021
1 12 13 14 29