“ส่อง” งบประมาณปี 2567 ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ของกรมเจ้าท่า

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ งบประมาณปี 2567 https://beachlover.net/budget-2567/ ครั้งนี้ของเจาะเพิ่มเติมเฉพาะของกรมเจ้าท่า โดยได้รวมเอางบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ (Sand bypassing) เข้าไว้ด้วยกัน พบว่าในปีงบประมาณ 2567 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ไว้เป็น 5 งานหลัก ใน 37 โครงการ รวมงบประมาณที่ขอเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 (รวมงบผูกพัน) ทั้งสิ้น 1,684.83 ล้านบาท ดังนี้ (1) งานศึกษาออกแบบ จำนวน 3 โครงการ […]

Beachlover

January 12, 2024

ด่วน! เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2567

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ เมื่อเดือน ธ.ค.2566 ร่างงบประมาณประจำปี 2567 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) เพื่องานศึกษาออกแบบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ใน 3 กรมหลัก คือ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 795,900,000 บาท (795.9 ล้านบาท) ใน 51 โครงการ  ทั้งนี้ มิได้รวมงบประมาณของกรมเจ้าท่าเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ […]

Beachlover

January 4, 2024

กำแพงกันคลื่น ท่าบอน ยังสบายดี?

ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปลายเดือนธันวาคม 2566 Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่เคยมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ไปเมื่อหลายปีก่อน โดยในช่วงสองปีมานี้ ชาวบ้านบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นนี้อย่างหนัก ทั้งๆที่การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นควรจะส่งผลดีต่อพื้นที่ด้านหลังกำแพง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนชาวบ้านต้องส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับเหลียวหลังดูซากปรักหักพังที่เกิดจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นที่สร้างต่อเนื่องเป็นแนวยาวในชุมชน เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแนวดิ่ง จะสะท้อนออกไปนอกชายฝั่งโดยจะกวาดเอาทรายบนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปด้วย ในขณะที่คลื่นอีกส่วนหนึ่งจะยกตัวสูงขึ้นแล้วกระโจนข้ามสันกำแพง ปะทะกับพื้นที่ด้านหลัง เกิดน้ำท่วมพื้นที่ด้านใน แรงที่คลื่นตกกระทบบนพื้นทรายหลังจากข้ามสันกำแพงกันคลื่นมาแล้วยังส่งผลให้เนินทรายด้านหลังเกิดความเสียหาย ทรายไหลตามน้ำ เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงอย่างรุนแรง จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นและควรจะรู้สึกอุ่นใจจากโครงสร้างนี้ ต้องนำกระสอบทราย ไม้ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆมาวางเพื่อป้องกันบ้านตนเอง นอกจากนี้แล้วแรงปะทะและการกระเซ็นข้ามของคลื่นส่งผลให้เกิดไอเค็มกระจายไปไกล ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย กรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สร้างกำแพงหินเรียงอีกชั้นหนึ่งมาครอบทับกำแพงแนวดิ่งนี้ไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ตลอดทั้งแนวชายฝั่งที่เกิดผลกระทบ น่าติดตามต่อไปว่า ผลกระทบนี้ยังดำรงอยู่ไปนานแค่ไหน และกรมเจ้าท่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ชมคลิป VDO เพิ่มเติมได้จาก https://youtu.be/p_dw3mu94vU?si=mpCH6OFguiQyOuqk

Beachlover

January 3, 2024

ความเสียหายของชายหาดด้านท้ายกำแพงกันคลื่น เขารูปช้าง สงขลา

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของกำแพงกันคลื่นบริเวณบ่ออิฐ-แกะแต้ว จ.สงขลา ไปแล้วหลายรอบ ติดตามได้จากโพสเก่าๆเช่น https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื/ รอบนี้ Beach Lover ได้ลงสำรวจในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังค่อนข้างแรง (25 ธันวาคม 2566) พบว่าชายหาดทางทิศเหนือ (ท้ายน้ำ) ส่วนที่ติดกับกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่านั้นถูกกัดเซาะไปมากกว่าในอดีตมาก ตามภาพที่ Beach Lover ได้ติดตามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปลายปี 2566 ดังภาพ ในส่วนของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่นั้นพบว่ายังมีสภาพดี มีเพียงคลื่นที่กระโจนข้ามสันกำแพง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ด้านหลังนั้นทำได้ยากในช่วงฤดูกาลนี้

Beachlover

December 31, 2023

หาดนราทัศน์หายไปไหน? กลับมารึยัง?

Beach Lover ได้เคยนำเสนองานวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณหาดนราทัศน์ไปแล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆ (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-หาดนราท/) Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามบริเวณหาดนราทัศน์อีกครั้งในเดือนตุลาคม 2566 ครั้งนี้ชวนเดินสำรวจ “กำแพงกันคลื่น” ด้านหลังของ “เขื่อนกันคลื่น (Breakwater)” ตัวที่ 7 และ 8 ทางทิศเหนือของหาดนราทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง แต่ดูเหมือนว่าหินที่นำมาก่อสร้างนั้นคัดขนาดมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ รวมถึงมาตรฐานงานก่อสร้างด้วย จึงพบความเสียหายบนสันกำแพงเกือบตลอดทั้งแนว พื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้นมีบ้านเรือนประชาชนน้อยมาก พบร่องรอยการท่วมถึงของน้ำทะเลในอดีต และมีถนนดินเส้นเล็กๆวิ่งเลียบกับแนวกำแพงกันคลื่นไปยังปากคลอง อันที่จริงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นทั้ง 8 ตัวที่วางอยู่นอกชายฝั่งด้านหน้ากำแพงกันคลื่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยทั่วไปจะสามารถป้องกันพื้นที่ด้านหลังโครงสร้างให้ปลอดภัยได้ แต่จะเกิดผลกระทบในพื้นที่ถัดไปและพื้นที่ระหว่างช่องเปิดของโครงสร้าง (https://beachlover.net/โครงสร้างชายฝั่งทะเล-เข/) แต่ในกรณีนี้ เพราะเหตุใดชายหาดด้านหลังจึงหายไปทั้งหมดในอัตราที่น่าตกใจ คือถูกกัดเซาะหายไปถึง 140 เมตรในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา จนเป็นสาเหตุให้ต้องสร้างกำแพงกันคลื่นด้านหลังอีกชั้นหนึ่ง … ควรตั้งคำถามไปที่ใครดี?!?

Beachlover

October 31, 2023

นศ.วัย 16 ปี จมทะเลหาดแสงจันทร์ ร่างติดซอกหินของเขื่อนกันคลื่น

ที่มา: https://www.fm91bkk.com/newsarticle เมื่อเวลา 11:00 น.ของวันที่ 3 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างพรกุศลระยอง และทีมค้นหาใต้น้ำ ก็คนพบร่างของ นางสาวเพชรดา นักเรียนหญิง ชั้น ปวช. ปี 1 อายุประมาณ 15-16 ปี ของวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง ที่ถูกคลื่นซัดจมหายไปในทะเล ขณะลงเล่นน้ำกับเพื่อนรวม 4 คน ที่บริเวณชายหาดแสงจันทร์ ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองจังหวัดระยอง เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ โดยพบร่างของผู้สูญหาย ติดอยู่กับซอกหินของเขื่อนกันคลื่น เจ้าหน้าที่ต้องใช้อุปกรณ์ยกหินออกก่อน จึงสามารถนำร่างขึ้นฝั่งได้ ท่ามกลางความเสียใจของญาติ ๆ ที่มาเฝ้ารอสังเกตการณ์ค้นหา ตั้งแต่เมื่อคืน จนถึงเช้าวันนี้ โดยเมื่อช่วงเช้าญาติผู้เสียชีวิตได้ทำการจุดธูป 7 ดอกไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขอให้พบร่างของน้อง ต่อมาไม่นานเจ้าหน้าที่กู้ภัยก็พบว่าร่างของน้อง ติดอยู่ที่บริเวณซอกหินของเขื่อนกันคลื่น โดยพบว่าตามร่างกายมีบาดแผลฉีกขาด ตามบริเวณใบหน้า และร่างกายเต็มไปด้วยรอยขีดข่วนคาดว่าจะถูกคลื่นซัดกระแทกกับโขดหินในทะเล อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) ได้ที่ https://beachlover.net/breakwater/

Beachlover

September 3, 2023

Elastocoast กับกำแพงกันคลื่น

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (Two-component polyurethane) โดยหินกรวดนี้จะถูกน้ำยาเคลือบเหมือนมี Film บางๆของโพรียูรีเทนมาหุ้ม เมื่อน้ำยานี้แข็งตัว Film บางๆที่เคลือบหินกรวดจะเป็นตัวยึดให้หินทุกก้อนติดกันเฉพาะส่วนที่ contact กัน ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างก้อนกรวดนี้ ส่งผลให้โครงสร้างที่ถูกเททับด้วย Elastocoast มีความพรุนน้ำสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการการรับแรงปะทะและสลายพลังงานคลื่น Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Elastocoast ไปแล้ว ติดตามได้จาก https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/ วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท พบว่า มีการใช้ Elastocoast กับพื้นที่ด้านในส่วนถัดจากโครงสร้างหลัก หรือ กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงตลอดทั้งแนว โดยมีระดับอยู่ใกล้เคียงกับสันของกำแพงกันคลื่นพอดี โดยพบว่าพื้นที่ด้านในส่วนถัดจาก Elastocoast เข้ามามีการปูทับด้วยคอนกรีตบล็อคเพื่อเป็นทางเดินเท้า จากการสำรวจพบเศษหินขนาดเล็กที่หลุดล่อนออกจากการเคลือบประสานด้วยน้ำยาอยู่บ้าง โดยยังไม่พบความเสียหายในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆที่ใช้ Elastocoast เหมือนกัน อาจเกิดจากการที่พื้นที่อื่นๆได้ใช้ […]

Beachlover

July 7, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 12 เทพา สะกอม

เช้าวันรุ่นขึ้นกระบะสองประตูมาบีบแตรรออยู่หน้าบ้านน้ำฝน พร้อมคำทักทายแบบอิสลาม “อัสซะลามุอะลัยกุม” (https://th.wikipedia.org/wiki/อัสซะลามุอะลัยกุม) น้ำฝนแนะนำเม็ดทรายให้รู้จักหยก นักศึกษาปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม ม.อ. “หวัดดีค่ะพี่หยก ขอบคุณพี่มากๆเลย ถ้าไม่ได้พี่พวกเราต้องตัวดำก้นพังกันแน่ๆ”  “พี่ทำงานเกี่ยวกับต้นน้ำบนเขา อยากรู้ว่าที่ปลายน้ำที่ออกทะเลมันเป็นยังไง ดีเหมือนกันแหล่ะ ได้เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง” ระหว่างทางหาดใหญ่-เทพา ทั้ง 3 คนได้ถกปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างสนุกถูกคอ รู้ตัวอีกทีหยกก็พารถมาจอดที่สันทรายขนาดใหญ่กว้างสุดลูกหูลูกตา มีพืชปกคลุมสันทรายนี้อย่างประปราย “โห! กว้างกว่าที่ส่องจาก Google เยอะเลย” เม็ดทรายตื่นเต้นกับภาพชายหาดสุดลูกหูลูกตาเบื้องหน้า ทั้งสามกึ่งวิ่งกึ่งเดินจากถนนดินที่จอดรถไปยังชายหาด ระหว่างทางต้องฝ่าดงหญ้าลูกลมที่มีหนามแหลมคม ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นที่ขึ้นอยู่บริเวณหาดทรายแห่งนี้มาเนิ่นนานแล้ว (https://www.dmcr.go.th/detailAll/23795/nws/141) “เหนื่อยไม่เบาเลยนะเนี่ย ทำไมหาดตรงนี้มันถึงกว้างขนาดนี้อ่ะ” น้ำฝนถามอย่างประหลาดใจ แม้จะเป็นคนสงขลาแต่ไม่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือนหาดแถบนี้เลย” “นี่ตกลงใครเป็นคนสงขลากันแน่ แกไม่รู้เลยรึว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่” เม็ดทรายหยอกเพื่อนแรงๆ “เออเน่อะ แต่ไม่เคยมา และถึงมาก็ไม่มีความรู้เรื่องอะไรแบบนี้เลยอ่ะ” น้ำฝนซึ่งไม่มีความรู้มากนักเรื่องชายหาด แต่สนอกสนใจด้านสิ่งแวดล้อมตอบเพื่อน “เห็นกองหินไกลๆตรงโน้นไหม ยาวๆออกไปในทะเลน่ะ เค้าเรียกกันว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือ Jetty” (https://beachlover.net/jetty/) “ยาวมากเลยนะ ลองวัดระยะดูมันมากกว่าครึ่งโลอีก” หยกผู้มีทักษะการค้นข้อมูลมากกว่าน้องๆตามประสานักศึกษาปริญญาโทพูดพลางเอาหน้าจอ Smartphone ที่เปิด Application Google Earth […]

Beachlover

December 13, 2022

กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้

หากนำบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ กรุณาอ้างอิงลิขสิทธิ์บทความจาก www.beachlover.net ด้วย : ขอขอบคุณ เมื่อชายหาดประสบปัญหาการกัดเซาะ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมักคิดถึงการใช้มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการป้องกันก่อนเป็นลำดับแรกๆ สืบเนื่องมาจากหลักคิดที่ว่าการจะหลีกเลี่ยงปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ คือการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นขนาดใหญ่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อมิให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง  หลักคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเมื่อใดที่เราตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาดโดยใช้โครงสร้างป้องกัน เท่ากับว่าเรากำลังแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งเสียสมดุลและในบางครั้งอาจเกิดขึ้นแบบถาวรโดยมิอาจเรียกกลับคืนสมดุลเดิมได้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมสามารถป้องกันได้เฉพาะพื้นที่ด้านในที่เราต้องการป้องกันเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆโครงสร้างพื้นที่ถัดไปจะถูกโครงสร้างนี้แทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติและเสียสมดุลไปในที่สุด ดังจะเห็นว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากโครงสร้างป้องกันมักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บางครั้งรุนแรงมากกว่าการกัดเซาะตามธรรมชาติเสียอีก หากเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง และทรงคุณค่าไม่ว่าจะด้านอะไรที่ประชาชนเล็งเห็นว่ามีความสำคัญ หากพิจารณาแล้ว การปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะส่งผลให้พื้นที่นั้นค่อยๆถูกทะเลกัดกลืนหายไป และเมื่อพิจารณาแนวทางเลือกอื่นๆที่ไม่ใช้โครงสร้างแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ในกรณีนี้ การใช้โครงสร้างป้องกันอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากต้องการรักษาพื้นที่นั้นไว้ให้คงอยู่ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน “ทางรอด” นั้น ก็คงจะ “รอด” ได้จริงตามที่รัฐต้องการ หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางรอดนั้นอาจเป็นการสร้างโครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรมที่มั่นคงถาวร แต่หากการเกิดขึ้นของโครงการนั้นไร้ซึ่งความจำเป็น รวมถึงไม่แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้านต่อผู้มีส่วนได้ส่วนแสียแล้ว “ทางรอด” ที่ว่านี้ อาจกลับกลายเป็น “ทางตัน” และนำพาสารพัดปัญหาแก่รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างที่ได้เห็นกันในหลายๆตัวอย่างที่เกิดการฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชน […]

Beachlover

December 1, 2022
1 2 9