อ่าวปัตตานีตื้นและอาจจะปิดตาย ?

จากข้อมูลในเพจ ตะโละปาตานี- Teluk Patani :อ่าวปัตตานี ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 ที่ได้กล่าวถึงโครงการสะพานข้ามอ่าวปัตตานีโดยเชื่อมระหว่าง เมืองปัตตานี และ แหลมตาชี ตำบลแหลมโพธิ์ เพื่อสร้างโอกาสแนวใหม่ของสังคมเศรษฐกิจ ของจังหวัดปัตตานี และชายแดนใต้ โดยได้มีการสอบถามความเห็นเบื้องต้นของโครงการนี้ภายใต้โจทย์ 1. อ่าวปัตตานีตื้นเขินทุกปี เฉลี่ยปีละ 1 ซม ความลึกเฉลี่ยของอ่าว ประมาณ 1.25 – 2 ซม บริเวณ กลางอ่าวและก้นอ่าว ยกเว้นปากอ่าวตรง ปลายแหลม เฉลี่ย 3- 5 เมตร แต่ขุดลอกทุกปี ๆละ 70-90 ล้านบาท 2. ชาวประมงมีการพึ่งพาอ่าว ด้วยการทำประมงน้อยลง และมีการพึ่งพาอ่าวเชิงท่องเที่ยวมากขึ้น ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา 3. คนตำบลแหลมโพธิ์ มีฐานะยากจน และอัตราดร้อปเอาท์ จากระบบการศึกษาของเด็กนักเรียน ในลำดับต้นๆ ของจังหวัดปัตาานี 4. มีสถานที่ท่องเที่ยว […]

Beachlover

September 13, 2024

ด่วน! เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2567

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ เมื่อเดือน ธ.ค.2566 ร่างงบประมาณประจำปี 2567 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) เพื่องานศึกษาออกแบบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ใน 3 กรมหลัก คือ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 795,900,000 บาท (795.9 ล้านบาท) ใน 51 โครงการ  ทั้งนี้ มิได้รวมงบประมาณของกรมเจ้าท่าเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ […]

Beachlover

January 4, 2024

งานวางกระสอบบนชายหาด ยะหริ่ง

Beach Lover ได้มีโอกาสเดินสำรวจชายหาดช่วงปลายเดือนตุลาคมต่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 แถวๆตำแหน่งที่เคยเป็นแนวถนนเลียบชายหาดที่ตัดตรงยาวตั้งแต่ปานาเระถึงตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พบงานวางกระสอบทรายขนาดใหญ่ (Big bag) บนชายหาด ระยะทางประมาณ 100 เมตร ด้านหลังแนววางกระสอบเป็นรีสอร์ทและร้านอาหาร (ตากาดัม บีช รีสอร์ท) บ้านเรือนประปราย และที่ดินว่างที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ เนื่องจากไม่ปรากฏป้ายโครงการ จึงไม่แน่ใจว่าเอกชนหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการ จากการเดินสำรวจพบว่า มีการวางกระสอบขนาดใหญ่เป็นสามแนว โดยการขุดทรายบนชายหาดให้เป็นหลุมขนานกับแนวชายหาดเพื่อวางกระสอบ แล้วนำทรายที่ขุดจากหลุมนั้นมาใส่กระสอบอีกทีหนึ่งแล้ววางกลับลงไปตามแนวหลุมที่ขุด จากนั้นคาดเดาได้ว่าจะนำทรายบนชายหาดด้านหน้ามากลบกระสอบอีกชั้นหนึ่ง จากการตรวจสอบในเบื้องต้นบนว่า แนวที่วางกระสอบนั้นไม่พ้นระยะน้ำขึ้นน้ำลง หมายความว่ายามน้ำขึ้นคลื่นอาจซัดขึ้นมาถึงแนวกระสอบได้ น่าติดตามต่อไปว่า กระสอบนี้จะอยู่ไปได้นานขนาดไหน และจะส่งต่อผลกระทบไปยังชายหาดข้างเคียงหรือไม่ ดู VDO Clip เดินสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ Youtube: https://youtu.be/PU8ZyU1i2ac?si=YA-P4GHDtIaYT-ag

Beachlover

December 29, 2023

พาสำรวจตะกอนทรายชายหาดปัตตานี

ตะกอนบนชายฝั่งแต่ละแห่งมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไปตามบริบทของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ แรงกระทำจากภายนอกอย่างคลื่น ลม กระแสน้ำ ตลอดจนแหล่งกำเนิดของตะกอน แม้กระทั่งบนพื้นที่เดียวกันแต่ต่างช่วงเวลากัน ตะกอนชายฝั่งก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยที่ว่ามานี้ ชายหาด จ.ปัตตานี มีระยะทางกว่า 140 กิโลเมตร ส่วนมากเป็นหาดทรายทั้งหมดมีโคลนปะปนบ้างบริเวณปากร่องน้ำและปากอ่าวปัตตานี Beach Lover ได้มีโอกาสลงสำรวจชายหาด จ.ปัตตานี ในหลายพื้นที่ ขอนำภาพทรายของแต่ละชายหาดมานำเสนอให้ได้ชมกันว่าแม้จะเป็นหาดทรายที่อยู่ใกล้เคียงในจังหวัดเดียวกัน ก็พบว่ามีคุณลักษณะที่แตกต่างกันทั้งขนาดและสี

Beachlover

November 1, 2023

กัดเซาะชายหาดบ้านบูดี แหลมตาชี ปัตตานี

ชายหาดบ้านบูดี ตั้งอยู่บนแหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องกับหาดตะโละกาโปร์ เป็นแหลมที่กั้นอ่าวปัตตานี (ทะเลใน) และอ่าวไทย (ทะเลนอก) เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย โดยปลายแหลมจะงอกเพิ่มขึ้นทุกปี บริเวณด้านในของแหลมฝั่งที่หันหน้าเข้าหาแผ่นดินใหญ่ ใกล้ๆกับหาดบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนมากมาย เช่น บ้านดาโต๊ะ บ้านตะโละสะมิแล ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก และมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลากะพง หอยแครง หอยแมลงภู่ เป็นต้น และบริเวณด้านนอกของแหลมฝั่งที่หันหน้าออกทะเลกว้าง มีที่พักเอกชนให้บริการหลายแห่ง (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/แหลมตาชี-หรือ-แหลมโพธิ์) Beach Lover ได้เคยพาไปสำรวจชายหาดบริเวณแหลมตาชีมาแล้วหลายครั้ง อ่านเพิ่มเติมได้จากการ Icon search ด้านมุมขวาบนของเวบนี้ แล้วค้นหาคำว่า “แหลมตาชี” ล่าสุด Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน 2566 พบว่ามีการพัฒนาพื้นที่ริมชายหาดไปเป็นรีสอร์ทมากขึ้นกว่าเดิม ยังพบอีกว่ามีรีสอร์ทหลายแห่งกำลังก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดให้บริการในเร็ววันนี้ โดยสังเกตเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินริมชายหาดจากภาพถ่ายดาวเทียมปี 2557-2565 ตามภาพด้านบน จากการเดินเท้าสำรวจพื้นที่ในกรอบสีแดงของรูปด้านบน พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงความพยายามในการป้องกันชายฝั่งหลายรูปแบบ ดัง Clip VDO นี้ https://youtu.be/RNgObpA4bJg พบว่าถนนริมชายฝั่ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าสร้างมาแล้วนานเท่าไหร่พังเสียหายและไม่สามารถสัญจรได้ สังเกตจากแนวถนนเดิมแล้วพบว่าถนนเส้นนี้ตัดประชิดกับชายหาดมากๆและยังไม่พ้นจากระยะอิทธิพลของคลื่นและน้ำทะเล […]

Beachlover

July 2, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 10 ปลายแหลมตาชี

“นี่มันยาวมากเลยนะ เดินจนเหนื่อยละยังไม่ถึงที” รุ่นพี่เริ่มบ่นปนหอบ หลังเดินไปตามทางคอนกรีตเล็กๆเชื่อมระหว่างที่จอดรถไปยังปลายแหลม “จริงๆคนที่นี่เค้าเรียกแถวนี้ว่าแหลมโพธิ์กันนะพี่ เพราะแต่ก่อนมีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่เยอะเลย” คนท้องถิ่นอย่างดาด้าเริ่มเล่าที่มาของชื่อแหลมตาชีในอดีต “คนที่อาศัยอยู่แหลมโพธิ์นี้เมื่อก่อนบ้านอยู่ที่กรือแซะอาชีพหลักคือประมง พอล่องเรือมาหาปลาแถวนี้แล้วเกิดพายุ กลับบ้านไม่ได้ เลยสร้างกระท่อมหลังเล็กๆ เพื่อพักรอคลื่นลมสงบ ต่อมาชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ ก็มาสร้างที่พักเพิ่มมากขึ้นจนถึงตอนนี้ก็มีสภาพอย่างที่เห็น การเดินทางสมัยก่อนค่อนข้างลำบาก ไม่มีถนนและไฟ ต้องใช้เรือเป็นหลัก คนทั่วไปเลยไม่ค่อยรู้จักแหลมโพธิ์ ตอนนี้การเดินทางสะดวกทำให้แหลมโพธิ์เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น” ดาด้าเล่าต่อด้วยความภาคภูมิใจกับความรู้ในท้องถิ่นของตนเอง แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี ณ ที่แห่งนี้ตะกอนทรายที่เดินทางเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่ปากแม่น้ำโกลกจะเคลื่อนที่มาสะสม เติมเต็มให้แหลมตาชีงอกยื่นยาวออกไปเรื่อยๆ โดยฝั่งซ้ายหรือทิศใต้ของปลายแหลมเป็นป่าชายเลนในอ่าวปัตตานี ส่วนฝั่งขวาหรือทิศเหนือเป็นป่าชายหาดและทะเลฝั่งอ่าวไทย (https://beachlover.net/เม็ดทรายสุดท้ายที่ปลายแหลมตาชี/) “ปลายแหลมมันยื่นยาวขึ้นเกือบทุกปี รูปทรงของสันทรายที่ปลายแหลมก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางธรรมชาติตลอด ตรงปลายสุดนี้เป็นสันทรายขนาดใหญ่มากๆ กว้างกว่า 180 เมตรได้ ยื่นยาวออกไปจากแนวป่าสนประมาณ 320 เมตร” เม็ดทรายเริ่มเล่าความรู้ที่ตัวเองค้นเจอผ่าน Smartphone บ้าง “นี่ๆ ดูตรงโน้นสิ มันมีสันทรายเล็กๆตรงปลายแหลม น่าจะเดินข้ามไปได้นะ ไปกันไหม” รุ่นพี่ชี้ชวนน้องๆให้เดินข้ามไปยังสันทรายปลายแหลมที่ตอนนี้พอจะเดินลุยน้ำข้ามไปได้เนื่องจากเป็นช่วงน้ำลงพอดี นักวิชาการบางสำนักชี้ว่า ปลายแหลมนี้กำลังค่อยๆโค้งเข้าไปปิดปากอ่าวปัตตานีในอนาคต ในขณะที่บางสำนักชี้ว่า โอกาสเกิดแบบนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้น้อยตราบเท่าที่ยังมีน้ำไหลออกจากปากแม่น้ำปัตตานี “บ้านพี่ที่นรามันไม่มีแหลมทรายสวยๆแบบนี้เลย เท่าที่รู้ก็มีที่นี่กับที่ตะลุมพุก ไว้พอทรายไปตะลุมพุกอย่าลืมถ่ายรูปส่งมาให้ดูบ้างนะ น่าจะสวยเหมือนกัน” รุ่นพี่พูดพลางภาวนาอยู่ในใจว่า […]

Beachlover

November 29, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 9 หาดตะโล๊ะสะมิแล

หาดตะโล๊ะสะมิแล ตั้งอยู่บนแหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ จ.ปัตตานี ในอดีตเป็นพื้นที่ค่อนข้างรกร้างว่างเปล่า มีบ้านเรือนกระจัดกระจายนับได้ไม่เกิน 10 หลังคาเรือนริมชายหาดแห่งนี้ ตลอดแนวประมาณ 3 กิโลเมตร (https://beachlover.net/ตะโล๊ะสะมิแล-เคยหายไป/) ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในภาคใต้ที่ต่อเนื่องยาวนานมาเกือบ 20 ปี ส่งผลให้พื้นที่นี้ยังถูกพัฒนาไปไม่มาก แต่ในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีรีสอร์ทเข้ามาปลูกสร้างริมชายหาดมากมาย ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ทที่ราคาไม่สูงมากนัก และมักจะรองรับลูกค้าเป็นครอบครัวหรือกลุ่มใหญ่ “ชาปัตตานีนี่อร่อยสมชื่อจริงๆ” เม็ดทรายดูดชาฟอดใหญ่ในแก้วซึ่งเหลือชาสีส้มเข้มเพียงก้นแก้วเท่านั้น “ชาทางใต้ก็แบบนี้ทั้งนั้น ที่บ้านพี่แกก็บอกว่าอร่อยเหมือนกันใช่ไหมหล่ะ” รุ่นพี่ท้าวความตอนพาเม็ดทรายไปกินโรตีและชาชักในตลาดริมแม่น้ำบางนรา “กาแฟพี่แก้วนี้ก็อร่อยมากเลยหล่ะ” “นี่ๆๆตรงนั้นมันเคยมีกองหินยาวๆยื่นออกไปด้วยนะทราย ปีที่แล้วเรายังเห็นมันอยู่เลย หายไปไหนแล้วไม่รู้” ดาด้าชี้ชวนให้อีกสองคนละสายตาจากชาเย็นและกาแฟเย็นไปยังชายหาดที่อยู่ตรงหน้าร้านกาแฟที่ทั้งสามคนแวะเติมพลัง “เราพอจำได้ว่ามันมีประมาณ 3 กองเลยนะ ยื่นยาวๆตรงหน้าหาดตรงนี้อ่ะ” “อืม…มันน่าจะทิ้งร่องรอยอะไรไว้บ้างนะ ไม่น่าจะหายไปง่ายๆแบบนี้” เม็ดทรายพูดพลางกวาดมือและเท้าไปมาบนพื้นทราย “เราก็ว่านะ หินก้อนใหญ่ออก หนักจะตาย” ดาด้าพูดพลางช่วยเพื่อนคุ้ยทรายหน้าหาดตามประสานักกฎมายที่ต้องการหลักฐานเพื่อยืนยัน “มันใช่อันนี้ไหมด้า” รุ่นพี่ตะโกนมาจากอีกฟากที่ห่างไปสัก 20 เมตรได้ “มันมี 3 กองใช่ไหม นี่คงเป็นหนึ่งในนั้น อีก 2 กองหาไม่เจอ” “นี่ไง มันอยู่ใต้ทางเดิน” เม็ดทรายพูดพลางวิ่งเข้าใส่กองหินที่บัดนี้ถูกปิดทับด้านบนด้วยแผ่นไม้ที่ร้านกาแฟนำมาปิดไว้เป็นทางเดินเพื่อใช้ถ่ายรูปริมทะเล ในที่สุดทั้ง 3 […]

Beachlover

November 15, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 8 หาดตะโละกาโปร์

รุ่นพี่จอดรถริมชายหาดสาธารณะที่มีผู้คนค่อนข้างบางตาเนื่องจากเป็นช่วงสายๆของวันธรรมดา นี่คือหาดตะโละกาโปร์ หาดท่องเที่ยวของ จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ทางไปแหลมตาชี ขับรถจากตัวเมืองปัตตานีประมาณครึ่งชั่วโมง (https://www.pattanicity.go.th/travel/detail/38/data.html) “หาดมันไม่ได้สวยอะไรมากมายเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ แต่คนแถบนี้เค้าหาหาดสาธารณะริมทะเลใกล้ๆเมืองแบบนี้ได้ยาก ช่วงเย็นๆหรือวันหยุดนะ คนเพียบเลย ก็มาปูเสื่อซื้ออะไรมากินกันแบบง่ายๆ” ดาด้า พาทั้งสองคนเดินเลียบชายหาดไปเรื่อยๆ พร้อมเล่าบริบทการใช้ประโยชน์ของหาดแห่งนี้ไปพร้อมกัน (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/หาดตะโละกาโปร์) “อืม สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรมากมายเวลาเที่ยว แค่มีพื้นที่โล่งๆให้หายใจเต็มๆปอด ซื้ออะไรมากินเองราคาสบายกระเป๋า อยากนั่งตรงไหนก็ได้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโต๊ะเก้าอี้ มีห้องน้ำบริการ แค่นี้ก็พอแล้วนะพี่ว่า” รุ่นพี่พูดพลางสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด “ด้า ตรงไกลๆโน้นคืออะไรน่ะ ที่เราเห็นหาดมันโค้งๆน่ะ” เม็ดทรายถามเพื่อนพลางก้มดูรายละเอียดพื้นที่ผ่าน Google Earth “ชื่ออย่างเป็นทางการคือแหลมตาชี ชาวบ้านที่นี่มักเรียกกันว่า แหลมโพธิ์ เป็นที่ที่เราชอบมากเลยหล่ะ ทรายต้องชอบแน่ๆ แต่ก่อนไปถึงปลายแหลมเราจะพาแวะที่ร้านกาแฟริมหาดก่อน อยากกินอะไรเย็นๆแล้ว ดีไหมพี่” “ได้เลยจ้า ตามสบาย ดีเหมือนกัน อยากเติมคาเฟอีนแก้วที่สองของวัน”

Beachlover

November 8, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 7 ถนนเลียบฝั่งปานาเระ

“อ้าว! นี่พี่ก็ขับตาม Google map มานะ ทำไมมันไม่มีทางไปต่อแล้วหล่ะ” รุ่นพี่งุนงงกับถนนที่สิ้นสุดตรงนี้ ทั้งที่ยังปรากฏเส้นทางให้ไปต่อได้ถึงแหลมตาชีใน Google map “เอ…ยังไงกันหล่ะเนี่ย ของหนูก็ยังมีเส้นทางอยู่ในพี่” ดาด้าพูดพลางโชว์หน้าจอระบบนำทางของตัวเอง “ของเราก็เหมือนกับด้าเลย” เม็ดทรายสนับสนุนข้อมูลต่อทันที แท้จริงแล้ว ถนนเส้นที่ทั้งสามคนกำลังงุนงงอยู่นั้น ในอดีตเป็นถนนที่วิ่งเลียบทะเลจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชี แต่หลังจากงานก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำปานาเระแล้วเสร็จ ก็ส่งผลกระทบให้ชายหาดแถบนี้ รวมถึงถนนเส้นนี้ถูกกัดเซาะจนขาดไปในที่สุด (https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/) “มันส่งผลกระทบรุนแรงมากขนาดนี้เลยรึ แบบนี้คุ้มกันไหมกับการตัดสินใจสร้างน่ะ” รุ่นพี่แสดงทัศนะของตัวเองทันทีที่ทั้งสามคนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการหาข้อมูลผ่าน Website  “นั่นแหล่ะ พี่ว่าไหมว่าเค้าจะต้องสร้างอะไรตรงนี้ต่อไปแน่ๆ ยิ่งมันกัดเซาะแบบถนนหายไปแบบนี้ ยิ่งต้องสร้างถนนใหม่ หรือหาอะไรมาป้องกันแน่นอนเลย” เม็ดทรายพูดพลางเดินถ่าย vdo clip ไปพลาง  “นี่ถ้าเค้าไม่ตัดถนนเลียบทะเลมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเน้อะ มันน่าจะมีกฎหมายเรื่องระยะถอยร่น อะไรประมาณนี้อยู่นะ พอจำได้บ้างตอนอาจารย์ยกตัวอย่างในวิชากฏหมายสิ่งแวดล้อมอ่ะ” ว่าที่นักกฏหมายอย่างดาด้าพูดพลางก้มหน้าก้มตาค้นข้อมูลบางอย่างผ่าน website  (https://beachlover.net/วิชาการ-ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล/) “เข้าใจแล้ว ถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างถาวรมันจะต้องถอยร่นเข้ามาจากแนวน้ำทะเล 12 เมตร แต่ถ้าเป็นถนนมันยังไม่มีกฎหมายที่บังคับเรื่องนี้” ดาด้าสรุปข้อมูลในเอกสารที่เธอค้นเจอจากหน้าจอให้ทุกคนฟัง (https://beachlover.net/กฎกระทรวง-เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง/) “แบบนี้นี่เอง พี่เห็นถนนริมเลแถวบ้านพี่นี่ตัดประชิดทะเลมากๆเลย พอช่วงมรสุมทีนึงนะ อบต. ก็ต้องหางบมาซ่อมถนนเกือบทุกปีเลย” รุ่นพี่นึกภาพถนนริมชายหาดหลายแห่งของนราธิวาสได้  “คราวนี้พวกเราจะเอายังไงต่อดีหล่ะ” “ตะกี้เราผ่านทางเข้าเล็กๆทางซ้ายมือมา […]

Beachlover

November 1, 2022

กรมโยธาธิการฯ จัดเวทีรับฟังชายฝั่งทะเลปะเสยะวอ

ที่มา: https://www.facebook.com/profile.php?id=100070314642518 วันนี้ (10 ตุลาคม 2565) กรมโยธาธิการฯ ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ภายใต้งานออกเเบบเเละศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 4 ในเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน มีประชาชนในพื้นที่ เเละนักวิชาการ เข้าร่วมเวที เเละให้ข้อห่วงกังวลต่อโครงการดังกล่าวว่า หากดำเนินการเลือกมาตรการไม่ถูกต้อง เหมาะสมอาจกระทบต่อชายฝั่งทะเลได้ในระยะยาว ในเวทีดังกล่าวนั้น เป็นการรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 จะมีการจัดเวทีในครั้งต่อไป ในขณะที่พื้นที่เกาะสมุยก็มีการศึกษาในลักษณะเดียวกันเช่นกัน ต้องติดตามดูว่ากรมโยธาฯจะดำเนินการอย่างไรกับพื้นที่ชายหาดปะเสยะวอต่อไป

Beachlover

October 11, 2022
1 2 5