สำรวจสถานภาพ แนวชายฝั่งหาดรูสะมิแล จ.ปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง ร่วมกับการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อบันทึกภาพมุมสูงโดยรอบพื้นที่แนวชายฝั่งหาดรูสะมิแล ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดโคลน พื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบเขื่อนหินทิ้ง และเขื่อนกำแพงกันทรายและคลื่นปากร่องแม่น้ำปัตตานี พบการชำรุดเล็กน้อยของโครงสร้างดังกล่าวทั้ง ๒ ประเภท และด้านหลังแนวโครงสร้างเป็นลานอเนกประสงค์สาธารณะ สำหรับการท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่

Beachlover

August 17, 2022

ติดตามการดักตะกอน สร้างแนวป่าชายเลนอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ติดตาม ตรวจสอบ ผลการดำเนินงานแนวการปักไม้ไผ่ โครงการซ่อม สร้าง เสริม การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ จ.ปัตตานี ระยะทาง ๘๐๐ เมตร โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อให้ได้ภาพมุมสูง ในพื้นที่ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ผลการสำรวจพบว่า เริ่มมีตะกอนสะสมทั้งด้านหลังและด้านหน้าแนวไม้ไผ่ ซึ่งอาจเป็นผลมากจากตะกอนดินเลนจากปากคลองดีแช และสายคลองขนาดเล็กอื่นๆ ไหลลงสู่อ่าวปัตตานี ซึ่งตะกอนดินเลนส่วนหนึ่งโดนดักด้วยแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น ก่อให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนดินเลน

Beachlover

June 22, 2022

พาสำรวจสถานภาพชายหาดปะนาเระ ทะเลปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดปะนาเระ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวของรอบปีเดือนเมษายน ๒๕๖๔ และเดือนเมษายน ๒๕๖๕ หาดทรายและชายฝั่งมีการปรับสภาพเข้าสู่สมดุลหลังผ่านช่วงมรสุมประจำปี ซึ่งพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่น ๑ คู่ และรอดักทราย ๓ ตัว และไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว อีกทั้งชายหาดปะนาเระ มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 1, 2022

หารือกำหนดแนวทางแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งถนนไปแหลมตาชี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) พร้อมด้วยนายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สมาชิก อบจ.ปัตตานี แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี นายก อบต.แหลมโพธิ์ ปลัดอำเภอยะหริ่ง เจ้าท่าภูมิภาคปัตตานี ตรวจสอบและหารือปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เส้นทาง ปน ๒๐๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๔๒-แหลมตาชี ที่ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผลการตรวจสอบพบการกัดเซาะชายฝั่งและถนนดังกล่าว ซึ่งเป็นผลกระทบจากการกัดเซาะต่อเนื่องจากเขื่อนหินทิ้งป้องกันการกัดเซาะถนน โดยแขวงทางหลวงชนบทปัตตานี ได้พยายามแก้ปัญหาการกัดเซาะมาแล้ว ๓ ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และปัจจุบันก็กำลังซ่อมแซมถนนอยู่ พร้อมทั้งจัดประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ณ ห้องประชุม อบต.แหลมโพธ์ โดยมีมติเห็นชอบ มอบกรม ทช. ติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายหน้าเขื่อนหินทิ้ง และบริเวณต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง เพื่อชะลอคลื่นและดักตะกอนทราย เพื่อสร้างแนวให้เกิดเนินทรายชายฝั่งสำหรับรับแรงคลื่นที่เข้าปะทะเขื่อนหินทิ้ง อีกทั้งยังลดผลกระทบของการกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง ทั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนรูปแบบการปักรั้วไม้ […]

Beachlover

February 28, 2022

เครือข่ายฯกัดเซาะชายฝั่งปัตตานี เรียกร้องให้รัฐบาลเเก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL วันนี้ 29 ตุลาคม 2564 องค์กรนักศึกษา เยาวชน เเละภาคประชาชน ในจังหวัดปัตตานี 23 องค์การ ในนามเครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เเละตัวเเทนสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร ในจังหวัดปัตตานี ผ่านไปยังนายกรัฐมนตรี โดยมี 8 ข้อเรียกร้องสำคัญ 1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง 2. ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3.รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไป อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุม 4. รัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นคืนและเกิดความสมดุล […]

Beachlover

October 30, 2021

แนวชายฝั่งบ้านน้ำบ่อ หาดแฆแฆ สวยสมดุล

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่แนวชายฝั่งบ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นหาดทรายความยาวประมาณ ๘,๑๓๐ เมตร ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบวางตัวเป็นแนวยาว วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) และมีคลองพรุแฆแฆอยู่บริเวณด้านในแผ่นดิน ซึ่งวางตัวขนานแนวชายฝั่ง ผลการสำรวจชายฝั่งมีความสมดุล ไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง มีการก่อตัวของเนินทราย พบการสะสมตัวของตะกอนทรายหลังหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ได้ตะกอนทรายเข้ามาสะสมตัวในบริเวณนี้จำนวนมาก และมีการใช้ประโยชน์ของชาวประมงเป็นที่จอดเรือ และตากอาหารทะเล

Beachlover

August 4, 2021

พาสำรวจสถานภาพหาดสวย หาดแฆแฆ ชายฝั่งปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดราชรักษ์ ต.บ้านกลาง และ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแฆแฆ พบพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็น หาดทราย ความยาวประมาณ ๒,๗๕๐ เมตร ซึ่งหาดราชรักษ์ มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) ด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน และมีคลองพรุแฆแฆอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหาด ผลการสำรวจชายฝั่งส่วนใหญ่อยู่ในภาวะสมดุล พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางประมาณ ๗๔๐ เมตร ส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียตะกอนทรายชายฝั่งและชายหาด ชายฝั่งมีความลาดชันเป็นหน้าผา ต้นสนล้มตายกีดขวางบนชายหาด โดยมีการใช้ประโยชน์เป็นชายหาดท่องเที่ยวและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

Beachlover

July 15, 2021

ถนนขาด ณ หาดปานาเระ

ถนนเส้นนี้ตัดประชิดชายฝั่งมาก ปัจจุบันถูกกัดเซาะไปมากกว่า 10 ปี แล้ว ชาวบ้านใช้ถนนคอนกรีตเส้นในใกล้ๆกันเพื่อการสัญจรแบบไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะถนนเส้นนี้มิได้ตัดผ่านชุมชนหรือบ้านเลยแม้แต่หลังคาเรือนเดียว ข่าวว่า หน่วยงานจะฟื้นถนนเส้นนี้กลับคืนมาพร้อมการปรับภูมิทัศน์แถมด้วยโครงสร้างป้องกันถนนนี้อีกชั้นหนึ่ง ด้วยงบประมาณกว่า 280.8 ล้านบาท รอติดตาม…อย่างใจเย็น อ่านเรื่องราวของถนนเส้นนี้ที่บันทึกไว้เมื่อปีที่แล้ว (2563) เพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/ และ ชมภาพ VDO มุมสูงของพื้นที่นี้เมื่อเดือนเมษายน 2564 ได้จาก https://youtu.be/w6EvycVwII4

Beachlover

May 19, 2021

เม็ดทรายสุดท้ายที่ปลายแหลม(ตาชี)

แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี ณ ที่แห่งนี้ตะกอนทรายที่เดินทางเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่ปากแม่น้ำโกลกจะเคลื่อนที่มาสะสม เติมเต็มให้แหลมตาชีงอกยื่นยาวออกไปเรื่อยๆ โดยฝั่งซ้ายหรือทิศใต้ของปลายแหลมเป็นป่าชายเลนในอ่าวปัตตานี ส่วนฝั่งขวาหรือทิศเหนือเป็นป่าชายหาดและทะเลฝั่งอ่าวไทย ปลายแหลมนี้ยื่นยาวขึ้นเกือบทุกปี รวมถึงลักษณะรูปทรงของสันทรายที่ปลายแหลมก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางธรรมชาติตลอดเวลา บริเวณปลายสุดนี้เป็นสันทรายขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 180 เมตร ยื่นยาวออกไปจากแนวป่าสนประมาณ 320 เมตร และพบสันทรายเล็กๆที่ปลายแหลม ประหนึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กที่สามารถเดินข้ามไปได้ยามน้ำลง สังเกตได้ว่าเกิดบ่อน้ำ ร่องน้ำ บนแหลมทรายนี้ ซึ่งเกิดจากการที่คลื่นซัดข้ามสันทรายที่มีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มากนัก เข้ามายังพื้นที่ด้านใน จนเกิดบ่อ เกิดร่องน้ำ โดยพบว่าในหลายแห่งเริ่มเน่าเสียเพราะน้ำถูกขังไว้เป็นเวลานาน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปลายแหลมนี้คืออ่าวปัตตานี ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนี้คือทะเลฝั่งอ่าวไทย นักวิชาการบางสำนักชี้ว่า ปลายแหลมนี้กำลังค่อยๆโค้งเข้าไปปิดปากอ่าวปัตตานีในอนาคต ในขณะที่บางสำนักชี้ว่า โอกาสเกิดแบบนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้น้อยตราบเท่าที่ยังมีน้ำไหลออกจากปากแม่น้ำปัตตานี เรื่องราวนี้คงจะได้พิสูจน์โดยใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์กันด้วยหลักเหตุผลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก … รอติดตามต่อไป

Beachlover

May 12, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดตะโละกาโปร์ [30 เม.ย. 2564]

วันที่ 30 เมษายน 2564 ทีมเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรูปตัดชายหาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนเเปลงของชายหาด ก่อนหน้านี้ สภาพชายหาดถูกกัดเซาะเพราะโครงสร้างอาคาร อบต.เก่า เเละต้นสนที่ล้ม ทำให้โครงสร้างเหล่านั้นเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งหาดตะโละกาโปร์ ความยาว เกือบ 500 เมตร ในเดือนนี้ผ่านมรสุมไปเเล้ว เเต่ยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากตัวกระตุ้นที่กล่าวมา เเละยังไม่ได้รับการเเก้ไข หรือรื้อถอนโครงสร้างที่รบกวนสมดุลชายฝั่งเเต่อย่างใด

Beachlover

May 2, 2021
1 2 3 4