หารือกำหนดแนวทางแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งถนนไปแหลมตาชี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) พร้อมด้วยนายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สมาชิก อบจ.ปัตตานี แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี นายก อบต.แหลมโพธิ์ ปลัดอำเภอยะหริ่ง เจ้าท่าภูมิภาคปัตตานี ตรวจสอบและหารือปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เส้นทาง ปน ๒๐๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๔๒-แหลมตาชี ที่ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผลการตรวจสอบพบการกัดเซาะชายฝั่งและถนนดังกล่าว ซึ่งเป็นผลกระทบจากการกัดเซาะต่อเนื่องจากเขื่อนหินทิ้งป้องกันการกัดเซาะถนน โดยแขวงทางหลวงชนบทปัตตานี ได้พยายามแก้ปัญหาการกัดเซาะมาแล้ว ๓ ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และปัจจุบันก็กำลังซ่อมแซมถนนอยู่ พร้อมทั้งจัดประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ณ ห้องประชุม อบต.แหลมโพธ์ โดยมีมติเห็นชอบ มอบกรม ทช. ติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายหน้าเขื่อนหินทิ้ง และบริเวณต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง เพื่อชะลอคลื่นและดักตะกอนทราย เพื่อสร้างแนวให้เกิดเนินทรายชายฝั่งสำหรับรับแรงคลื่นที่เข้าปะทะเขื่อนหินทิ้ง อีกทั้งยังลดผลกระทบของการกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง ทั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนรูปแบบการปักรั้วไม้ […]

Beachlover

February 28, 2022

ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานป้องกันชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา ตั้งแต่ปี 2562 ไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/   และ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ และ https://beachlover.net/พาชมความคืบหน้าของกำแพงป้องกันชายฝั่ง-บ่ออิฐ-เกาะแต้ว/ มาวันนี้ Beach Lover ขอพาชมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง โดยกรมเจ้าท่า เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร ด้วยงบประมาณ 219,935,000 บาท  จากการสำรวจกลางเดือนกุมภาพันธ์พบว่า โครงสร้างหลักของโครงการซึ่งก็คือกำแพงกันคลื่นนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว คงเหลือเพียงงานปรับพื้นที่ด้านหลัง การปรับภูมิทัศน์ และทางเดินด้านใน โดยมีแผนเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 แต่ผ่านมาเกือบ 5 เดือนแล้ว ยังไม่แล้วเสร็จ จากการสำรวจภาคสนามพบว่า พื้นที่ ณ ตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างทางทิศเหนือ (ลูกศรสีแดงในภาพ) เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ต้นสนแนวนอกสุดโค่นล้มในลักษณะถอนรากถอนโคนจำนวนมาก ก่อนหน้านี้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง จำนวนรวม 18 ตัว ระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 5.8 กิโลเมตร จากปากร่องน้ำนาทับถึงหาดบ่ออิฐ โดยโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่กำลังสร้างอยู่นี้ สร้างต่อจากโครงสร้างเดิมที่สิ้นสุด ณ หาดบ่ออิฐ […]

Beachlover

February 28, 2022

กรมโยธาฯยอมถอย สร้างกำแพงกันคลื่นหาดปราณบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DXCThaiPBS นายพิษณุพงษ์ เหล่าลาภผล ประธานกลุ่มฅนรักทะเลและชายหาดปากน้ำปราณ ให้ข้อมูลกับศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ถึงความคืบหน้าการสร้างแนวกำแพงกันคลื่น แบบขั้นบันไดบริเวณหาดทรายหน้าศาลเสด็จเตี่ยปากน้ำปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจุดที่มีหาดทรายสมบูรณ์ระยะทางประมาณ 230 เมตร จากโครงการก่อสร้างทั้งหมด 3 ระยะ รวมความยาว 888 เมตร งบประมาณการก่อสร้างรวมการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยรอบ เป็นจำนวนเงินกว่า 144 ล้านบาท ซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าวก็มีทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนและไม่เห็นด้วย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ชี้แจงเหตุผลที่ต้องสร้างพร้อมอ้างข้อมูลเปรียบเทียบเส้นชายฝั่งด้วยภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณชายฝั่งหน้าศาลกรมหลวงชุมพร ที่มีอัตราการกัดเซาะสูงสุด 1.74 เมตร/ปี รวมถึงคาดการณ์ในอนาคต 25 ปีข้างหน้าด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ พบว่าหากไม่มีเขื่อนป้องกัน จะถูกกัดเซาะเป็นระยะ 22 เมตร จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะในพื้นที่ดังกล่าว นายพิษณุพงษ์ กล่าวว่า รูปแบบที่ทางกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยได้นำเสนอกับที่ประชุม ซึ่งมีตัวแทนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองและผู้เกี่ยวข้อง เบื้องต้น ได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. แนวป้องกันต้องอยู่หลังจากแนวถอยร่น 10 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามธรรมชาติ (จุดรอยต่อระหว่างชายหาดกับเนินทราย คือ […]

Beachlover

February 27, 2022

กรมโยธาฯชี้แจงเรื่องการคัดค้านกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง

ที่มา: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH เรียน พี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนทุกท่านเรื่อง ชี้แจงข่าวประเด็น”ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า 79 ล้าน” ตามที่เว็บไซต์ข่าวสยามรัฐออนไลน์ และเว็บไซต์ข่าว AEC TV Online เผยแพร่ข่าวประเด็น”ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่ง” เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ตามลิงค์ที่แนบมานี้ นั้น ( https://siamrath.co.th/n/325313 – https://aec-tv-online2.com/?p=829010 ) กรมโยธาธิการและผังเมือง ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งมีหลากหลายประเภท เช่น บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร พื้นที่ว่างเพื่อการสันทนาการของชุมชน และพื้นที่ว่างเปล่า เป็นต้น พื้นที่ด้านหลังชายหาดเป็นถนนเลียบชายหาดแม่รำพึง และการกัดเซาะที่ขึ้นบริเวณนี้ได้ทำลายโครงสร้างบ้านเรือนที่อยู่ริมชายหาด รวมทั้งได้กัดเซาะพืชพรรณจนเห็นรากลอยพ้นทรายอย่างเด่นชัด ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณนี้จึงได้ส่งคำร้องไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึงขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน 2. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึงจึงได้มีหนังสือที่ ปข 71903/259 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ […]

Beachlover

February 26, 2022

ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า 79 ล้าน

ที่มา: https://siamrath.co.th/ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ นายหรรษา เทียนส่งรัศมี ชาวบ้าน ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำรายชื่อชาวบ้านยื่นให้นายประสิทธิ์ ภู่งาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.)แม่รำพึง เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทบทวนโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งความยาว 900 เมตร ใช้งบสร้าง 79 ล้านบาท ที่บ้านปากคลอง – กลางอ่าว หมู่ 5 ริมหาดแม่รำพึง โดยขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สามารถป้องกกันการกัดเซาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ชายหาดไม่มีผลกระทบจากการก่อสร้างในระยะยาว นายหรรษา กล่าวว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองควรทบทวนโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งหาดแม่รำพึง เนื่องจากแบบแปลนที่กำหนด เป็นแบบขั้นบันไดไม่น่าจะมีความเหมาะสมกับสภาพชายหาด ชาวบ้านขอให้ปรับแบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพชายหาด เช่น ด้านหน้า อบต.แม่รำพึง ที่มีลักษณะเป็นป่าโกงกาง หรือจะเป็นแบบแปลนที่ จ.สมุทรปราการ เนื่องจากการสร้างเขื่อนแบบขั้นบันได เชื่อว่าจะทำให้ระบบนิเวศชายฝั่งมีผลกระทบ ชายฝั่งถูกกัดเซาะหนักกว่าเดิม นอกจากนี้ขั้นตอนการนำเสนอโครงการฯไม่ทั่วถึง ชาวบ้านใน ต.แม่รำพึง มีกว่า 7,000 คน แต่ที่ผ่านมาอ้างว่าชาวบ้านเห็นด้วย 99% เมื่อตรวจสอบผู้เห็นด้วยพบว่ามี […]

Beachlover

February 26, 2022

โครงการป้องกันชายฝั่งทะเลอันดามันปี 2565 อยู่ตรงไหนบ้าง

Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณภาครัฐที่ใช้จ่ายเพื่อโครงการป้องกันชายฝั่งจาก 3 หน่วยงานหลักในแต่ละปีงบประมาณไปแล้วอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2565 ติดตามได้จากโพสเก่าๆโดยค้นหาคำว่า “งบประมาณ” ใน Search icon มุมบนขวา วันนี้ขอพาดู 2 โครงการป้องกันชายฝั่งทะเลอันดามันที่ใช้งบประมาณผูกพันมาจนถึงปี 2565 และผูกพันต่อไปในอนาคต โดยโครงการนี้อยู่ในจังหวัดตรังทั้งคู่ ทั้งสองโครงการนี้ไม่จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพราะมีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่น โดยโครงการที่หาดสำราญเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ส่วนกำแพงกันคลื่นที่หาดแตงโมเป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได แม้ชายฝั่งทะเลอันดามันจะมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไม่เยอะมากเท่าฝั่งอ่าวไทย แต่หากรัฐยังคงใช้มาตรการป้องกันแบบเดิมๆ ด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม และสร้างต่อไปเรื่อยๆเหมือนเดิม โดยไม่คิดจะหามาตรการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาทดแทน ในเวลาไม่นานจากนี้ สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของฝั่งอันดามันอาจจะเขยิบเข้าใกล้ความวิกฤตแบบเดียวกับฝั่งอ่าวไทยก็เป็นได้

Beachlover

February 25, 2022

อ่าวเคย … อ่าวนี้เคยเกือบจะมีกำแพง

อ่าวเคยตั้งอยู่ใน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.7 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องตลอดทั้งแนว พื้นที่ทางทิศใต้เป็นชุมชนประมงขนาดเล็กมีบ้านเรือนประชิดชายหาด 2 หลัง และมีโรงเก็บอุปกรณ์ประมง 1 หลัง ตลอดแนวเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมีพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิปะปนอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย แต่มิได้อยู่ประชิดทะเล จากการสำรวจภาคสนามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบซากปรักหักพังของโครงสร้างบางอย่างบนชายหาด โดยชาวบ้านเล่าว่าเคยเป็นทางลาดคอนกรีตมาก่อน แต่พายุซัดพังจนไม่สามารถใช้งานได้ ในอดีตชาวบ้านได้ร้องขอความอนุเคราะห์โครงการป้องกันชายฝั่งไปที่กรมเจ้าท่า จากนั้นกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านอ่าวเคย หมู่ 5 ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง สัญญาจ้างลงวันที่ 26 กันยายน 2556 วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 9,992,950 บาท จากผลการศึกษา รูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะที่มีความเหมาะสมคือ ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น 1 ตัว ยาว 300 เมตร ยื่นตั้งฉากกับเขาอ่าวเคย ด้านทิศตะวันตก ก่อสร้างรอดักทราย 1 ตัว ยาว 100 เมตร […]

Beachlover

February 23, 2022

ฤาจะเสียชายหาดผืนสุดท้าย

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศเหนือใกล้กับปากน้ำปราณที่ดำเนินการโดยงบประมาณจังหวัดเมื่อปี 2557 ระยะทางยาว 190 เมตร เกิดความเสียหายอย่างหนัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก […]

Beachlover

February 18, 2022

หาดหัวหิน (ที่ไม่ได้อยู่ประจวบ)

หาดหัวหิน อ.สิเกา จ.ตรัง เป็นชื่อของชายหาดทรายปนหินขนาดเล็ก เป็นชายหาดเงียบๆมักพบเห็นเฉพาะชาวบ้านท้องถิ่นเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจและหาปูปลาตามซอกหลืบของหิน  ทิวทัศน์ที่มองจากหาดหัวหินนั้นสวยงามแปลกตาไปด้วยภูเขาหินปูนและเทือกเขาที่วางตัวในตำแหน่งที่เหมาะเจาะและขับให้ทัศนียภาพแถบนี้สวยงามน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ครั้งเมื่อมองเข้ามาที่ชายหาด พบความระเกะระกะของเศษซากของลานปูนที่อยู่ประชิดหาด คาดเดาได้ว่าคงพังทลายจากคลื่นกัดเซาะ ซึ่งไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นเมื่อใด  คาดเดาจากสภาพที่เห็นเชิงประจักษ์เมื่อ 5 ปีก่อน ร่วมกับปัจจุบันพบว่า ลานปูนนี้สร้างขึ้นมาใหม่โดยล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก จนเมื่อยามมรสุมระดับน้ำทะเลและคลื่นยกตัวสูงกว่าปกติเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในที่สุด  เราควรตั้งคำถามกับสิ่งปลูกสร้างประชิดชายหาดเช่นนี้ ว่ายังควรถูกอนุญาตให้สร้างต่อไปอีกหรือไม่ ในหลายพื้นที่ได้พิสูจน์แล้วว่า แม้โครงสร้างจะสร้างในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง แต่รุกล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก ในช่วงปลอดมรสุมอาจไม่เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ยามมรสุมเราคาดเดาธรรมชาติได้ยากว่าจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหนในแต่ละปี ทางที่ดีคือใช้หลักพึงระวังไว้ก่อน กล่าวคือไม่ควรอนุญาตให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างแบบถาวรล้ำลงไปในเขตอิทธิพลของคลื่นลม

Beachlover

January 29, 2022
1 10 11 12 29