หาดท่องเที่ยวควรเติมทราย

สำหรับชายหาดท่องเที่ยวที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรการเติมทรายชายหาดควรถูกเลือกใช้เป็นมาตรการหลักก่อน หากมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถดำเนินการได้จึงค่อยแสวงหามาตรการอื่นๆทดแทน การเติมทรายชายหาด มีประโยชน์หลักที่เห็นเด่นชัดคือเพิ่มพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างเกราะป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังมีผลประโยชน์แฝงอื่นเช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ เสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายหาด ลดการสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ชายหาด เสริมสร้างสุขภาพกายใจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นวิธีการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลในอนาคต ดังจะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทางทะเลและมีมูลค่าของหาดทรายสูง แม้ต้องเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแต่มักหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง เช่น  หาดไวกิกิในฮาวาย หาดไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หาดแคนคูนประเทศเม็กซิโก โดยวิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาปรับใช้กับชายหาดเหล่านี้คือมาตรการเติมทรายชายหาด ในส่วนของประเทศไทยนั้นหาดจอมเทียม จ.ชลบุรี ก็เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นกัน โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินเติมทรายเช่นเดียวกันกับที่สำเร็จลุล่วงไปแล้วคือชายหาดพัทยา จ.ชลบุรี โดยพบว่าเมื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย B/C ratio แล้วมีค่า 3.23 บาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง  มาตรการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยวิธีการเติมทรายนั้น นับเป็นมาตรการเดียวจากที่มีทั้งหมดที่เป็นการเพิ่มมวลทรายให้กับชายหาด เป็นวิธีการที่หากปฏิบัติถูกต้องตามหลักวิชาแล้ว จะเป็นการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านลบน้อย ไม่รบกวนทัศนียภาพของชายหาดโดยอาจปรับใช้ร่วมกับมาตรการแก้ไขแบบอื่นได้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามมาตรการนี้มิได้เหมาะสมกับทุกชายหาด เนื่องจากใช้งบประเมาณค่อนข้างมากและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงเหมาะสมกับชายหาดที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงอย่างชายหาดท่องเที่ยว ในการนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบควรเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลง วางแผนบำรุงรักษาโดยการเสริมทรายเพิ่มในลักษณะประจำตามรอบปีที่ได้ออกแบบไว้ รวมถึงทุกฝ่ายควรมีความรู้ถึงสมดุลของชายหาด เพื่อความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องและอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างยั่งยืน

Beachlover

June 25, 2022

เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2566

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณขาวคาดแดง โดยสำนักงบประมาณปี 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ เมื่อเดือน พ.ค.2565 ร่างงบประมาณประจำปี 2566 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.2565-ก.ย.2566) เพื่องานศึกษา งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่งใน 3 กรมหลัก รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 1,779.900 ล้านบาท ใน 79 โครงการ  ใน 79 โครงการนี้ แบ่งออกเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจำนวน 55 โครงการ โดยถือเป็นสัดส่วนมากที่สุดคือ 65% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาคือกรมเจ้าท่าจำนวน 13 โครงการ นับเป็น […]

Beachlover

June 13, 2022

พาสำรวจผลกระทบจาก Jetty บนเกาะสมุย

Beach Lover พาสำรวจพื้นที่ริมทะเลภายในโรงพยาบาลเกาะสมุยที่ถูกกัดเซาะ โดยพบว่าถนนด้านหลังโรงพยาบาลส่วนที่ติดกับปากคลองถูกกัดเซาะจนสามารถสัญจรได้เพียง 1 เลน และมีร่องรอยการกัดเซาะตามภาพ ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เมื่อวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ปี 2011-2021 (พ.ศ.2554-2564) พบว่า ถนนเส้นนี้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายของปี 2018 (พ.ศ.2561) โดยพบว่ายังไม่ปรากฏร่องรอยการกัดเซาะจนถึงถนนตามภาพในปี 2020 (พ.ศ.2563) จนเมื่อมีการสร้าง jetty หรือ เขื่อนกันทรายและคลื่นทางทิศเหนือของปากร่องน้ำลิปะใหญ่ความยาวประมาณ 68 เมตร ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าสร้างขึ้นโดยหน่วยงานใด และสร้างขึ้นเมื่อใด แต่พบว่าได้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายเดือนเมษายนของปี 2021 (พ.ศ.2564) หลังจากนั้นจึงเริ่มพบว่าถนนฝั่งประชิดทะเลถูกกัดเซาะไปบางส่วน ส่วนทางด้านทิศเหนือของ jetty นั้นพบการทับถมของตะกอนทรายด้านหน้ากำแพง (เส้นประสีม่วง) ตามภาพถ่ายปี 2021 (พ.ศ.2564) Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2565 พบว่าผิวถนนบางส่วนที่ปรากฏในภาพด้านบนถูกรื้อออกแล้ว เหลือเพียงชั้นทรายด้านล่างและเศษวัสดุ โดยพบว่ามีการนำแท่งปูน ก้อนหิน รั้วไม้สนและไม้ไผ่ พร้อมทั้ง Geotextile มาขึงเพื่อป้องกันชายฝั่งไปพลางก่อน ส่วนทางทิศใต้ถัดจาก Jetty และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนี้ มีการสร้างกำแพงแนวดิ่งเพื่อป้องกันชายฝั่งไปจนสิ้นสุดพื้นที่ของโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด และโดยหน่วยงานใด […]

Beachlover

June 12, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน ?!?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ถึงคิวเกาะลิบง-กับ-หาดกำ/ และ https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วันนี้ขอพาชมพื้นที่ที่กำลังจะเกิดโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ได้แก่ชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน (งบประมาณปี 2566 มูลค่า 30 ล้านบาท) ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ จากป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการนี้ควรแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 แต่ปัจจุบัน ณ วันที่สำรวจ ยังไม่พบร่องรอยของการลงมือก่อสร้างแต่อย่างใด สภาพพื้นที่ทั้งหมดเป็นหาดทราย โดยมีกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งแล้วตลอดทั้งแนว สันหาดค่อนข้างสูง สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือในเมื่อพื้นที่นี้มีกำแพงแบบหินทิ้งริมฝั่งแล้ว หน่วยงานจะดำเนินการก่อสร้างรั้วไม้ดักทรายกันแบบไหน อย่างไร จะรื้อกำแพงหินออก หรือ จะปักไม้ด้านหน้ากำแพง รวมถึงจะวัดประสิทธิภาพของรั้วไม้นี้ได้อย่างไรหากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของเดิมอยู่ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]

Beachlover

May 16, 2022

ประชุมรับฟังความคิดเห็น หาดบางเสร่ [20 พ.ค.2565]

กรมเจ้าท่า ได้พิจารณาเห็นแล้วว่าสมควรสนับสนุนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่งทางน้ํา ท่าเรือมาริน่ารองรับการท่องเที่ยว บริเวณหาดบางเสร่ อีกทั้งกรมเจ้าท่าได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ชายหาดบางเสร่ในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงเห็นสมควรที่จะดําเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่หาดบางเสร่ อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร Click ที่ Download เพื่อนำสู่เอกสารรับฟังความคืดเห็นฉบับเต็ม

Beachlover

May 9, 2022

กำแพงกันคลื่นทั่วไทย มีแล้วกี่จังหวัด

ที่มา: https://www.facebook.com/DXCThaiPBS/ กระแสกำแพงกันคลื่น กำลังได้รับความสนใจ หลังจากในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา เริ่มพบโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น กระจายไปยังหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะล่าสุด ที่ปรากฎภาพกำแพงกันคลื่นตามชายหาดท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ และ หาดปราณบุรี ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วน ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงว่า โครงสร้างวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จะเข้าไปแทนที่หาดทราย ส่งผลต่อทัศนียภาพเดิมในอดีต ประกอบกับขณะนี้เริ่มพบปัญหากำแพงที่สร้างไปแล้วพังเสียหาย รวมถึงยังทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่บริเวณด้านหัวและท้ายของโครงสร้าง ทำให้ต้องมีการก่อสร้างไปอย่างไม่รู้จบ นักวิชาการ ระบุว่า กำแพงกันคลื่นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หลายโครงการทยอยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปี และยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หลังมีการประกาศเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เกิดความง่ายต่อการดำเนินการของรัฐ สามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างทันท่วงที เมื่อปี 2556 วันนี้ ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ รวบรวมข้อมูลการสำรวจโครงสร้างกำแพงกันคลื่นทั่วประเทศ ว่าปัจจุบันมีการก่อสร้างไปแล้วกี่จังหวัด และพื้นที่ไหนที่มีโครงสร้างดังกล่าวมากที่สุด ขณะเดียวกันยังชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่าของโครงการผ่านตัวเลขงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ถือเป็นหน่วยงานหลักในการก่อสร้างโครงการที่เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างถาวร ซึ่งจุดนี้มีการตั้งข้อสังเกตจากนักวิชาการว่า หากกำแพงกันคลื่นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดจริง เหตุใดตัวเลขงบประมาณจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

Beachlover

April 27, 2022

พาชม เติมทรายชายหาดจอมเทียน อีกครั้ง

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการเติมทรายชายหาดจอมเทียนไปแล้ว ตั้งแต่โครงการนี้เพิ่งเริ่มดำเนินการใหม่ๆ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ติดตามสถานการณ์เติมทรายชายหาดจอมเทียน/ ปลายเดือนมีนาคม 2565 Beach Lover ได้กลับมาติดตามการดำเนินงานของโครงการเติมทรายชายหาดจอมเทียนอีกครั้ง พบว่าดำเนินการคืบหน้าไปพอสมควร แต่ยังคงล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ สืบเนื่องจากติดปัญหาเชิงเทคนิคเรื่องของเรือที่ใช้ในการเติมทราย โครงการเติมทรายชายหาดจอมเทียนประกอบด้วย 2 ระยะ โดยการเติมทรายระยะที่ 1 นี้ มีระยะทาง 3.575 กิโลเมตร ตั้งแต่ร้านปูเป็นถึงซอยบุญย์กัญจนา งบประมาณก่อสร้าง 586.047 ล้านบาท ผูกพันตั้งแต่ปี 2563-2566 ส่วนการเติมทรายระยะที่ 2 มีความยาว 2.855 กิโลเมตร งบประมาณ 400 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ซอยบุญย์กัญจนา ถึง พัทยาปาร์ควอเตอร์เวิลด์ โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันคือโครงการระยะที่ 1 โดยมีผู้รับจ้างคือ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ใช้ปริมาณทรายประมาณ 710,824 ลบ.ม. จากแหล่งทรายเดียวกันกับที่เติมที่หาดพัทยาคือเกาะรางเกวียน ที่อยู่ห่างออกไปจากหาดจอมเทียนประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งพบว่ามีปริมาณเพียงพอ ส่วนคุณภาพทรายที่ระดับความลึก […]

Beachlover

April 13, 2022

ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานป้องกันชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา ตั้งแต่ปี 2562 ไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/   และ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ และ https://beachlover.net/พาชมความคืบหน้าของกำแพงป้องกันชายฝั่ง-บ่ออิฐ-เกาะแต้ว/ มาวันนี้ Beach Lover ขอพาชมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง โดยกรมเจ้าท่า เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร ด้วยงบประมาณ 219,935,000 บาท  จากการสำรวจกลางเดือนกุมภาพันธ์พบว่า โครงสร้างหลักของโครงการซึ่งก็คือกำแพงกันคลื่นนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว คงเหลือเพียงงานปรับพื้นที่ด้านหลัง การปรับภูมิทัศน์ และทางเดินด้านใน โดยมีแผนเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 แต่ผ่านมาเกือบ 5 เดือนแล้ว ยังไม่แล้วเสร็จ จากการสำรวจภาคสนามพบว่า พื้นที่ ณ ตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างทางทิศเหนือ (ลูกศรสีแดงในภาพ) เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ต้นสนแนวนอกสุดโค่นล้มในลักษณะถอนรากถอนโคนจำนวนมาก ก่อนหน้านี้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง จำนวนรวม 18 ตัว ระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 5.8 กิโลเมตร จากปากร่องน้ำนาทับถึงหาดบ่ออิฐ โดยโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่กำลังสร้างอยู่นี้ สร้างต่อจากโครงสร้างเดิมที่สิ้นสุด ณ หาดบ่ออิฐ […]

Beachlover

February 28, 2022

อ่าวเคย … อ่าวนี้เคยเกือบจะมีกำแพง

อ่าวเคยตั้งอยู่ใน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.7 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องตลอดทั้งแนว พื้นที่ทางทิศใต้เป็นชุมชนประมงขนาดเล็กมีบ้านเรือนประชิดชายหาด 2 หลัง และมีโรงเก็บอุปกรณ์ประมง 1 หลัง ตลอดแนวเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมีพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิปะปนอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย แต่มิได้อยู่ประชิดทะเล จากการสำรวจภาคสนามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบซากปรักหักพังของโครงสร้างบางอย่างบนชายหาด โดยชาวบ้านเล่าว่าเคยเป็นทางลาดคอนกรีตมาก่อน แต่พายุซัดพังจนไม่สามารถใช้งานได้ ในอดีตชาวบ้านได้ร้องขอความอนุเคราะห์โครงการป้องกันชายฝั่งไปที่กรมเจ้าท่า จากนั้นกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านอ่าวเคย หมู่ 5 ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง สัญญาจ้างลงวันที่ 26 กันยายน 2556 วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 9,992,950 บาท จากผลการศึกษา รูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะที่มีความเหมาะสมคือ ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น 1 ตัว ยาว 300 เมตร ยื่นตั้งฉากกับเขาอ่าวเคย ด้านทิศตะวันตก ก่อสร้างรอดักทราย 1 ตัว ยาว 100 เมตร […]

Beachlover

February 23, 2022
1 2 3 4 9