ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [22 พ.ค.2565]

ที่มา: https://www.facebook.com/SaveMuangngamBeach

ครั้งที่ 24 กับการเก็บข้อมูลวัดหาด ของชาวบ้านม่วงงาม วันนี้ ชายหาดกว้างขึ้น มีทรายเพิ่มพูนขึ้นมาก บางพื้นที่มีวะเเตก คลื่นลมสงบ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ และหาปลา และอื่นๆอีกมากมาย

วันนี้ ทีม Save หาดม่วงงาม ทำหน้าที่ัวัดหาดครบ2ปี ระยะ 2ปีที่ผ่านมา ชายหาดบ้านเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ก่อนมรสุม และหลังมรสุม ระบบ ธรรมชาติไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงชายหาดเลย นอกเสียงจากฝีมือมนุษย์ ที่พยายามลุกล้ำธรรมชาติ ฝืนธรรมชาติ อยากพัฒนาแต่กลับกลายเป็นทำลายซึ่งจริงๆแล้วเรามองเห็นว่าธรรมชาติสร้างสมดุลของตัวมันเอง อย่าไปทำลายระบบธรรมชาติอีกเลย

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [29 ส.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 29 ส.ค. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 15 แล้ว มีชาวบ้านม่วงงาม เเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม

สำหรับการติดตามสภาพชายหาดม่วงงามนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำโดยระบบอาสาสมัครต่อเนื่องกันมา พร้อมๆกับวาระที่มีการนำคดีม่วงงามขึ้นส่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา ติดตามเรื่องราวในคดีได้จาก โพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon ทางมุมขวาบนของเวบ และอ่านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้จาก https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [24 ก.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 24 ก.ค. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 14 แล้ว มีชาวบ้านม่วงงาม เเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม

สำหรับการติดตามสภาพชายหาดม่วงงามนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำโดยระบบอาสาสมัครต่อเนื่องกันมา พร้อมๆกับวาระที่มีการนำคดีม่วงงามขึ้นส่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา ติดตามเรื่องราวในคดีได้จาก โพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon ทางมุมขวาบนของเวบ และอ่านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้จาก https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/

ทีมงาน Save หาดม่วงงาม ยืนยันจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลต่อเนื่องทุกเดือนว่า ชายหาดม่วงงามนั้นมีเสถียรภาพ โครงการกำเเพงกันคลื่นที่กรมโยธาฯ เคยอ้างว่าจำเป็นต้องสร้างมิฉะนั้นน้ำทะเลจะกัดเซาะมาถึงถนน ในวันนี้ผ่านไปปีกว่าแล้ว จากข้อมูลสำรวจยืนยันชัดเจนว่าหาดม่วงงามไร้การกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง หาดทรายกว้าง มีเเนวผักบุ้งทะเลขึ้นปกคลุม

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดมหาราช [5 มิ.ย.2564]

จากที่ Beach lover และ เครือข่าย Beach for life ได้เปิดห้องเรียนชายหาด ติดอาวุธทางปัญญาให้กับชุมชนชายฝั่ง ณ ชายหาดมหาราช อ.สทิงพระ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา และได้มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดครั้งแรกในเดือนมีนาคม (https://beachlover.net/เปิดพื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่-ณ-ชายหาดมหาราช/)

มาวันนี้ ชาวบ้านริมหาดมหาราชได้ลงมือติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดอีกครั้ง นับว่าเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบติดตามชายหาดด้วย Application BMON โดยข้อมูลที่ได้นี้จะถูกจัดการอย่างเป็นระบบในคลังข้อมูลสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของชายหาดในแต่ละฤดูกาลต่อไป

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [29 พ.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 29 พ.ค. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 12 มีชาวบ้านม่วงงาม เเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม

สำหรับการติดตามสภาพชายหาดม่วงงามนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำโดยระบบอาสาสมัครต่อเนื่องกันมาครบรอบ 1 ปีพอดี พร้อมๆกับวาระที่มีการนำคดีม่วงงามขึ้นส่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา ติดตามเรื่องราวในคดีได้จาก โพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon ทางมุมขวาบนของเวบ และอ่านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้จาก https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดตะโละกาโปร์ [30 เม.ย. 2564]

วันที่ 30 เมษายน 2564 ทีมเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรูปตัดชายหาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนเเปลงของชายหาด ก่อนหน้านี้ สภาพชายหาดถูกกัดเซาะเพราะโครงสร้างอาคาร อบต.เก่า เเละต้นสนที่ล้ม ทำให้โครงสร้างเหล่านั้นเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งหาดตะโละกาโปร์ ความยาว เกือบ 500 เมตร ในเดือนนี้ผ่านมรสุมไปเเล้ว เเต่ยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากตัวกระตุ้นที่กล่าวมา เเละยังไม่ได้รับการเเก้ไข หรือรื้อถอนโครงสร้างที่รบกวนสมดุลชายฝั่งเเต่อย่างใด

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [25 เม.ย.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 25 เม.ย. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 11 แล้ว มีชาวบ้านม่วงงาม ว่าที่นายกเทศบาลม่วงงาม ว่าที่ สท. เเละคนอื่นเเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [14 มี.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 14 มีนาคม 2564 ถือเป็นครั้งที่ 10 แล้ว ซึ่งจากการสำรวจพบว่า พื้นที่หาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะและมีทรายเพิ่มขึ้น

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [20 ก.พ.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 20 ก.พ. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 9 แล้ว

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [19ม.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 19 มกราคม 2564 ถือเป็นครั้งที่ 8 แล้ว

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง กรณีถ่ายเททรายหาดชลาทัศน์ สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/

วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ด้วยวิธีระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ระยะทาง ๕,๐๐๐ เมตร เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณทรายที่หายไป และการเปลี่ยนแปลงความชันชายหาดโดยวิธีการรังวัดภาพตัดขวางชายหาด (Beach Profile) ๗๔ แนว แต่ละแนวมีระยะห่างกัน ๕๐ เมตร ๕๘ แนว และระยะห่าง ๑๐๐ เมตร ๑๖ แนว

พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเส้นแนวชายฝั่งทะเล (Coastline) เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแนวชายหาดในพื้นที่​ถ่ายเททราย กรณีศึกษาพื้นที่ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแนวชายหาดในพื้นที่โครงการ​ถ่ายเททราย และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นต่อแนวชายฝั่งในอนาคต รวมถึงการเข้าสู่สมดุลชายฝั่งหลังการถ่ายเททราย

โดยสถานภาพแนวชายฝั่งพบการกัดเซาะ ความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ​เป็นหน้าผาทรายสูง​ประมาณ​ ๐.๒ – ๑.๒ เมตร​ และพบการกัดเซาะ​บริเวณ​จุดสิ้นสุด​โครงสร้างกระสอบใยสังเคราะห์​ ความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ ๒๐๐ เมตร

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ [31 ต.ค. 2563]

เช้านี้ (31 ตุลาคม) อาสาสมัครพลเมืองสงขลามาร่วมกันสำรวจติดตามการเปลี่ยนเเปลงสภาพชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกัน เรียนรู้การพังทลายของชายหาด ก่อนลงสำรวจพื้นที่จริง

ตัวเเทน Beach for life บอกเล่าความจำเป็นในการติดตามสภาพชายหาดว่า ชายหาดเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลาด้วยอิทธิพลของทะเล เเละการเเทรกเเซงของมนุษย์ ชุมชนชายฝั่ง หรือเมืองที่มีพื้นที่ชายฝั่ง ต้องตื่นตัวเรียนรู้ที่จะติดตามการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งของตนเองลำพังเพียง รัฐมาเก็บข้อมูลให้ไม่ได้

การมาเป็นอาสาสมัครติดตามสภาพชายหาดเช่นนี้ ทำให้เรารู้จักชายหาดหน้าบ้านของเรา เเละมีข้อมูลเพื่อออกเเบบการใช้ประโยชน์เเละการอนุรักษ์หาดทรายอย่างยั่งยืน

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดหัวหิน สตูล ครั้งที่ 4 [1มี.ค.2563]

วันนี้น้องๆเยาวชนกลุ่มสองล้อ จ.สตูล ร่วมกับเครือข่ายกลุ่ม beach for life และอาสาสมัคร ได้ร่วมกันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชายหาด รวมถึงได้มีการพูดคุยถึงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของชายหาดหัวหินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ณ ตำแหน่ง ที่อยู่ใกล้กับปลายกำแพงกันคลื่นที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ (ดูเพิ่มเติมจากโพส https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ละงู/)

สำหรับหาดหัวหิน น้องๆได้ทำการติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ตำแหน่ง ตลอดความยาวชายหาดธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่เกือบ 1 กิโลเมตร (ดูเพิ่มเติมจากโพส https://beachlover.net/หาดหัวหิน-ละงู-จ-สตูล-3-พ-ย-2562/) ด้วยวิธี Water level เดียวกันกับเครือข่าย Beach for life และบันทึกข้อมูลผ่าน application BMON บน Smartphone ทั้งข้อมูลระดับ มุมลาดเอียงชายหาด และภาพถ่าย 4 ทิศ ในแต่ละตำแหน่งที่สำรวจ

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลสงขลา [15ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/

วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ ระบบหาดสะกอม และระบบหาดเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ทั้ง ๒ ระบบหาด มีลักษณะทางกายภาพเป็นหาดทราย พื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณหาดสะกอม ต.สะกอม อ.เทพา ประสบปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางประมาณ ๑๐๐ เมตร พื้นที่บ้านกรงอิตำ ม.๔ ต.เกาะสะบ้า ประสบปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางประมาณ ๓๕๐ ม. และพื้นที่หาดสร้อยสวรรค์ ต.เทพา ประสบปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางประมาณ ๘๐๐ ม. พื้นที่ดังกล่าวมี กล่องกระชุหินที่บางจุดมีสภาพเสื่อมโทรม ไม่สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ และพบว่าแนวชายฝั่งทะเล ต.สะกอม ต.เกาะสะบ้า ต.เทพา และ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา มีโครงสร้างป้องการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งแบบกำแพงกันคลื่น หินทิ้งริมชายฝั่ง เขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่ง เขื่อนหินทิ้งนอกชายฝั่ง รอดักทรายรูปตัวที ท่าเทียบเรือ และเขื่อนปากร่องน้ำ ส่วนชายฝั่งบริเวณอื่นๆ คงสภาพสมดุลตามธรรมชาติ