สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

Beachlover

March 13, 2024

ชายหาดหลังรื้อ “โกงกางเทียม”

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการวางโกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแถบเขาหลักใกล้หาดทางทองไปหลายครั้งแล้ว ติดตาม Clip พาเดินชมได้จาก Youtube (1) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) หาดนางทอง เขาหลัก พังงา และ (2) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) ณ หาดนางทอง จ พังงา และ (3) รากโกงกางเทียม เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ หาดนางทอง และงานเขียนในโพสเก่าๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก Search icon ฤดู High season ของทะเลแถบอันดามันในปี 2567 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าโกงกางเทียมที่เคยวางอยู่หน้าชายหาดแห่งนี้มายาวนานมากกว่า 1 ปี หายไปหมดแล้ว จากการสอบถามผู้ดูแลรีสอร์ทแห่งนี้ได้ความว่า เจ้าของรีสอร์ทขอให้ผู้ที่นำมาทดลองวางรื้อออกให้หมดเนื่องจากไม่ได้ผล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ เสียหายและหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยติดตั้ง ทั้งยังส่งผลเสียเป็นทัศนะที่ไม่น่ามอง จากนั้น รีสอร์ทก็นำทรายมาเติมโดยใช้เวลา 3 คืน ดำเนินการช่วง 20:00-22:00 […]

Beachlover

February 29, 2024

วัดถ้ำโพงพางหลังมรสุม

Beach Lover ขอพาชมภาพของชายหาดหน้าวัดถ้ำโพงพาง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าถนนเลียบทะเลเสียหายไปบางส่วน และมีเสาไม้ปักอยู่บนชายหาด เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จังหวัดชุมพร ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะเเนวชายฝั่งในรูปแบบเชิงอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้สิ่งก่อสร้างถูกกัดเซาะ เมื่อ มิ.ย.2565 (https://siamrath.co.th/n/354051) และได้มีการปักเพิ่มเติมเรื่อยๆตามกำลังและความร่วมมือร่วมใจของทั้งหน่วยงานและประชาชน (https://www.4forcenews.com/239008/) อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาการกัดเซาะถึงบางส่วนของถนนเลียบชายหาดของทางวัด ทั้งบริเวณที่มีการปักไม้และบริเวณที่ไม่มีการปักไม้

Beachlover

February 16, 2024

กำแพงกันคลื่น หาดn้องศาลา เกาะพะงัน

หาดท้องศาลาบนเกาะพะงัน เป็นชายหาดที่อยู่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่มาจากดอนสัก และเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูแรกสู่เกาะพะงันก็ว่าได้ บริเวณนี้คลื่นลมค่อนข้างรุนแรงในบางฤดูกาลเหมาะแก่การเล่นกีฬาทางน้ำหลายประเภท เช่น Kitesurf, Windsurf และ เรือใบ บริเวณหาดท้องศาลามีที่พักจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นที่พักค่อนข้างเก่า เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนมากที่พักมีหน้าหาดค่อนข้างกว้าง มีบางรีสอร์ทเท่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะสร้างประชิดทะเลมากๆจนทำให้ต้องป้องกันพื้นที่ของตนเองด้วยกำแพงกันคลื่น Beach Lover พาชมกำแพงกันคลื่นบริเวณรีสอร์ทแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดท้องศาลา ดูจากสภาพกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งแล้วเข้าใจว่าสร้างโดยเจ้าของที่ดินบริเวณนี้เพื่อป้องกันที่ดินหน้าหาดของตนเอง แต่ด้วยลักษณะของกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ส่งผลให้คลื่นที่วิ่งปะทะกับกำแพงสะท้อนกลับแล้วนำทรายด้านหน้ากำแพงหดหายไปจนหมด พบว่าแม้ยามน้ำขึ้นไม่เต็มที่พื้นที่บริเวณนี้ก็แทบจะไม่มีด้านหน้าชายหาดเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างๆรีสอร์ทที่ยังไม่ได้สร้างกำแพงกันคลื่น ซึ่งพบว่ายังคงมีชายหาดหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นจากการเดินสำรวจยังพบอีกว่าพื้นที่ด้านบนหรือด้านหลังของกำแพงกันคลื่นมีร่องรอยความเสียหายจากคลื่นที่กระเซ็นและกระโดดข้ามทำให้ดินทรายด้านหลังกำแพงกันคลื่นหลุดล่อนจนส่งผลให้เป็นหลุมบ่อจำนวนมาก โดยยังพบอีกว่ามีการนำถุงทรายมาวางและมีตะแกรงเหล็กวางครอบด้านหน้าเพื่อป้องกันบ้านพักในรีสอร์ทจำนวนหนึ่งหลังที่อยู่โซนหน้าทะเล นับเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าของที่ดินอย่างมาก เพราะการสร้างกำแพงกันคลื่นไม่เคยก่อให้เกิดผลดีกับชายหาดไหนเลย ซ้ำร้ายจะทำให้ชายหาดหน้ารีสอร์ทของตนนั้นหายไปจนหมดสิ้น โดยไม่มีทางที่จะกลับมาได้อีก ทำให้มูลค่าชายหาดด้านหน้ากำแพงนั้นลดลง ความสวยงามของชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทก็ลดลง ต่อไปถ้าลูกค้าพูดกันปากต่อปากว่ารีสอร์ทนี้ไม่มีชายหาดแล้ว ก็จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เข้ามาใช้บริการรีสอร์ทแห่งนี้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาดท้องศาลาเป็นบริเวณที่มีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากมาย ลูกค้าสามารถเลือกรีสอร์ทอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ที่มีชายหาดที่สวยงามกว่า เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า (ภาพเมื่อ ธันวาคม 2566)

Beachlover

January 18, 2024

“ส่อง” งบประมาณปี 2567 ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ของกรมเจ้าท่า

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ งบประมาณปี 2567 https://beachlover.net/budget-2567/ ครั้งนี้ของเจาะเพิ่มเติมเฉพาะของกรมเจ้าท่า โดยได้รวมเอางบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ (Sand bypassing) เข้าไว้ด้วยกัน พบว่าในปีงบประมาณ 2567 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ไว้เป็น 5 งานหลัก ใน 37 โครงการ รวมงบประมาณที่ขอเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 (รวมงบผูกพัน) ทั้งสิ้น 1,684.83 ล้านบาท ดังนี้ (1) งานศึกษาออกแบบ จำนวน 3 โครงการ […]

Beachlover

January 12, 2024

ด่วน! เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2567

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ เมื่อเดือน ธ.ค.2566 ร่างงบประมาณประจำปี 2567 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) เพื่องานศึกษาออกแบบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ใน 3 กรมหลัก คือ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 795,900,000 บาท (795.9 ล้านบาท) ใน 51 โครงการ  ทั้งนี้ มิได้รวมงบประมาณของกรมเจ้าท่าเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ […]

Beachlover

January 4, 2024

กำแพงกันคลื่น ท่าบอน ยังสบายดี?

ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปลายเดือนธันวาคม 2566 Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่เคยมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ไปเมื่อหลายปีก่อน โดยในช่วงสองปีมานี้ ชาวบ้านบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นนี้อย่างหนัก ทั้งๆที่การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นควรจะส่งผลดีต่อพื้นที่ด้านหลังกำแพง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนชาวบ้านต้องส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับเหลียวหลังดูซากปรักหักพังที่เกิดจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นที่สร้างต่อเนื่องเป็นแนวยาวในชุมชน เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแนวดิ่ง จะสะท้อนออกไปนอกชายฝั่งโดยจะกวาดเอาทรายบนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปด้วย ในขณะที่คลื่นอีกส่วนหนึ่งจะยกตัวสูงขึ้นแล้วกระโจนข้ามสันกำแพง ปะทะกับพื้นที่ด้านหลัง เกิดน้ำท่วมพื้นที่ด้านใน แรงที่คลื่นตกกระทบบนพื้นทรายหลังจากข้ามสันกำแพงกันคลื่นมาแล้วยังส่งผลให้เนินทรายด้านหลังเกิดความเสียหาย ทรายไหลตามน้ำ เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงอย่างรุนแรง จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นและควรจะรู้สึกอุ่นใจจากโครงสร้างนี้ ต้องนำกระสอบทราย ไม้ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆมาวางเพื่อป้องกันบ้านตนเอง นอกจากนี้แล้วแรงปะทะและการกระเซ็นข้ามของคลื่นส่งผลให้เกิดไอเค็มกระจายไปไกล ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย กรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สร้างกำแพงหินเรียงอีกชั้นหนึ่งมาครอบทับกำแพงแนวดิ่งนี้ไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ตลอดทั้งแนวชายฝั่งที่เกิดผลกระทบ น่าติดตามต่อไปว่า ผลกระทบนี้ยังดำรงอยู่ไปนานแค่ไหน และกรมเจ้าท่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ชมคลิป VDO เพิ่มเติมได้จาก https://youtu.be/p_dw3mu94vU?si=mpCH6OFguiQyOuqk

Beachlover

January 3, 2024

ความเสียหายของชายหาดด้านท้ายกำแพงกันคลื่น เขารูปช้าง สงขลา

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของกำแพงกันคลื่นบริเวณบ่ออิฐ-แกะแต้ว จ.สงขลา ไปแล้วหลายรอบ ติดตามได้จากโพสเก่าๆเช่น https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื/ รอบนี้ Beach Lover ได้ลงสำรวจในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังค่อนข้างแรง (25 ธันวาคม 2566) พบว่าชายหาดทางทิศเหนือ (ท้ายน้ำ) ส่วนที่ติดกับกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่านั้นถูกกัดเซาะไปมากกว่าในอดีตมาก ตามภาพที่ Beach Lover ได้ติดตามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปลายปี 2566 ดังภาพ ในส่วนของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่นั้นพบว่ายังมีสภาพดี มีเพียงคลื่นที่กระโจนข้ามสันกำแพง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ด้านหลังนั้นทำได้ยากในช่วงฤดูกาลนี้

Beachlover

December 31, 2023

งานวางกระสอบบนชายหาด ยะหริ่ง

Beach Lover ได้มีโอกาสเดินสำรวจชายหาดช่วงปลายเดือนตุลาคมต่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 แถวๆตำแหน่งที่เคยเป็นแนวถนนเลียบชายหาดที่ตัดตรงยาวตั้งแต่ปานาเระถึงตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พบงานวางกระสอบทรายขนาดใหญ่ (Big bag) บนชายหาด ระยะทางประมาณ 100 เมตร ด้านหลังแนววางกระสอบเป็นรีสอร์ทและร้านอาหาร (ตากาดัม บีช รีสอร์ท) บ้านเรือนประปราย และที่ดินว่างที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ เนื่องจากไม่ปรากฏป้ายโครงการ จึงไม่แน่ใจว่าเอกชนหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการ จากการเดินสำรวจพบว่า มีการวางกระสอบขนาดใหญ่เป็นสามแนว โดยการขุดทรายบนชายหาดให้เป็นหลุมขนานกับแนวชายหาดเพื่อวางกระสอบ แล้วนำทรายที่ขุดจากหลุมนั้นมาใส่กระสอบอีกทีหนึ่งแล้ววางกลับลงไปตามแนวหลุมที่ขุด จากนั้นคาดเดาได้ว่าจะนำทรายบนชายหาดด้านหน้ามากลบกระสอบอีกชั้นหนึ่ง จากการตรวจสอบในเบื้องต้นบนว่า แนวที่วางกระสอบนั้นไม่พ้นระยะน้ำขึ้นน้ำลง หมายความว่ายามน้ำขึ้นคลื่นอาจซัดขึ้นมาถึงแนวกระสอบได้ น่าติดตามต่อไปว่า กระสอบนี้จะอยู่ไปได้นานขนาดไหน และจะส่งต่อผลกระทบไปยังชายหาดข้างเคียงหรือไม่ ดู VDO Clip เดินสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ Youtube: https://youtu.be/PU8ZyU1i2ac?si=YA-P4GHDtIaYT-ag

Beachlover

December 29, 2023
1 2 29