กำแพงหาดมหาราช ยังอยู่ในงบปี 67 แม้ศาลสั่งคุ้มครอง

ในโอกาสที่งบประมาณแผ่นดินปี 2567 กำลังจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2567 นี้ Beach Lover ชวนท่านผู้สนใจตามอ่านเอกสารร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) กันได้ตาม Link นี้ งบประมาณรายจ่าย 2567 สำนักงบประมาณ Beach Lover พบว่างบประมาณปี 2567 จำนวน 76.862 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ระยะทาง 555 เมตร ปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างใดๆ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบก็วิตกกังวลไม่น้อย แม้ว่าวันนี้ศาลปกครองสงขลาจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ไปแล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/maharaj-case-dec2023/) แต่งบประมาณส่วนนี้ยังคงปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณขาวคาดแดงปี 2567 เนื่องจากมีการจัดทำแล้วพิมพ์เผยแพร่ก่อนคำสั่งศาล […]

Beachlover

January 2, 2024

ติดตามผลกระทบโครงสร้างเขื่อนริมตลิ่งหาดมหาราช สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ติดตามสถานภาพการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช เทศบาลตำบลจะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ระยะทาง ๑,๑๐๒ เมตร พบว่าหลังมรสุมมีตะกอนทรายกลับคืนมามาก เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ที่พบมีการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณทางด้านทิศเหนือของจุดสิ้นสุดโครงการก่อสร้างฯ ระยะทางยาวประมาณ ๒๒๕ เมตร ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงมรสุมและคลื่นลมแรง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ทั้งนี้ จะมีการติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลต่อไป

Beachlover

March 19, 2022

ศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว คดีหาดมหาราช

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของชายหาดมหาราชมาหลายครั้งแล้ว ติดตามได้จาก Search icon มุมขวาบน มาวันนี้ ศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม Click Download เพื่อนำส่งเอกสารฉบับเต็ม

Beachlover

February 21, 2022

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดมหาราช [5 มิ.ย.2564]

จากที่ Beach lover และ เครือข่าย Beach for life ได้เปิดห้องเรียนชายหาด ติดอาวุธทางปัญญาให้กับชุมชนชายฝั่ง ณ ชายหาดมหาราช อ.สทิงพระ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา และได้มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดครั้งแรกในเดือนมีนาคม (https://beachlover.net/เปิดพื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่-ณ-ชายหาดมหาราช/) มาวันนี้ ชาวบ้านริมหาดมหาราชได้ลงมือติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดอีกครั้ง นับว่าเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบติดตามชายหาดด้วย Application BMON โดยข้อมูลที่ได้นี้จะถูกจัดการอย่างเป็นระบบในคลังข้อมูลสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของชายหาดในแต่ละฤดูกาลต่อไป

Beachlover

June 6, 2021

หาดมหาราชหลังมรุสม ยังสบายดี?

Beach lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดมหาราชไปแล้วหลายต่อหลายตอนมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องเกือบสองปี ติดตามโพสเก่าๆได้โดยค้นหาผ่าน Icon search ด้านขวาบนของหน้า Web ครั้งนี้ Beach Lover พาสำรวจเพิ่มเติมสภาพของชายฝั่งหาดมหาราช ณ ตำแหน่งที่ยังไม่มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ในช่วงปลายฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนมีนาคม 2564 พบว่าปลายของคลื่นได้หอบเอาขยะขึ้นมากองอยู่ริมชายหาด ส่วนลมได้หอบเอาขยะส่วนที่เบาข้ามไปอยู่บนถนนและข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งของถนน ด้วยวันที่สำรวจ เป็นช่วงที่พื้นที่นี้เพิ่งประสบกับปัญหาระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นและคลื่นลมแรง หากชายหาดมหาราชนี้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงจริง จนเป็นเหตุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ควรพบหลักฐานความเสียหายของถนนในส่วนที่ไม่มีโครงการก่อสร้างบ้างจากมรสุมคลื่นลมแรงในครั้งนี้ แต่จากภาพถ่ายที่ได้จากการสำรวจ ไม่พบร่องรอยความเสียหายใดๆแม้กระทั่งตำแหน่งใกล้ทางระบายน้ำที่เคยถูกกัดเซาะ (https://beachlover.net/ข้อสังเกตต่อโครงการป้อ/) และไม่พบว่ามีร่องรอยของการซ่อมแซมถนนด้วย มีเพียงเศษซากของขยะและทรายที่ถูกซัดขึ้นมากองบนฝั่ง ตามที่ปรากกฏดังรูป ส่วนตำแหน่งไกลออกไปจากโครงสร้างทางทิศเหนือไม่พบร่องรอยการกัดเซาะจากมรสุมเช่นกัน

Beachlover

May 16, 2021

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: ประเด็นชวนคิด 2 (ตอนที่ 4/4)

ความเสียหายที่เกิดจากการสร้างไม่ได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ พบว่าฐานของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นนี้จะจมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลตลอดเวลา (สังเกตได้จากเสาเข็มต้นที่อยู่ฝั่งทะเลและแนวถุงทรายตามรูปที่ 7 ในตอนแรก https://beachlover.net/ข้อสังเกต-มหาราช-ตอน1-4/และ ระดับน้ำตามรูปที่ 1 ในโพสนี้) เมื่อน้ำขึ้นจะมีบางส่วนของกำแพงที่อยู่ใต้น้ำเพิ่มเติม และเมื่อโครงสร้างอยู่ในแนวที่น้ำท่วมถึงคลื่นจะวิ่งเข้ามาถึง นั่นหมายถึงโครงสร้างนั้นกำลังรบกวนสมดุลของกระบวนการชายฝั่งทะเล แม้ตามแบบจะปรากฏชัดว่าจะมีการถมทรายกลับทับจนถึงบันไดขั้นที่หก (จากด้านบน) แต่เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะทรายที่ถูกถมทับไปบนกำแพงขั้นบันได คลื่นจะค่อยๆชักเอาทรายด้านบนและด้านหน้าบันไดออกไป และเมื่อทรายด้านบนที่ถมทับถูกชักออกไปทั้งหมด คลื่นจะสามารถวิ่งเข้ามาปะทะกำแพงโดยตรงและจะส่งผลให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง ยิ่งเหนี่ยวนำให้ทรายด้านหน้ากำแพงถูกดึงออกนอกชายฝั่ง และชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปอย่างถาวร แสดงผลกระทบของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นดังรูปที่ 2 นอกจากนั้นกำแพงจะยิ่งส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงเกิดการกัดเซาะได้เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นและกระแสน้ำ แสดงดังรูปที่ 3 หากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบดังรูปที่ 4 ซึ่งจะยิ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น งานป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้น โดยมากเป็นการดำเนินงานเฉพาะพื้นที่ ทั้งที่จริงแล้วชายฝั่งทะเลเป็นเขตติดต่อที่ยาวต่อเนื่องกัน การดำเนินการในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่ออีกพื้นที่หนึ่งบริเวณใกล้เคียง พบว่าปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยส่วนใหญ่ต้นเหตุแห่งปัญหามาจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะ แต่กลับกลายเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาเสียเอง (https://beachlover.net/แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง/) ประเทศที่มีดินแดนติดชายฝั่งหลายประเทศ โดยเรียนรู้จากบทเรียนเดิมที่เคยเกิดขึ้นว่า มาตรการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนั้นมีข้อจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษาที่นับวันจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ (Luciana S. Esteves, 2014) รวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่ายิ่งสร้างโครงสร้างป้องกันยิ่งจะส่งผลให้ต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เพราะชายหาดที่ไม่ถูกป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นโดมิโน่ (Domino effect) แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการ จากการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่โดยใช้โครงสร้างป้องกัน มาเป็นใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้น หลายหน่วยงานได้ดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่  […]

Beachlover

January 24, 2021

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: ประเด็นชวนคิด 1 (ตอนที่ 3/4)

การใช้มาตรการที่เกินจำเป็น โครงการนี้ใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งขนาดใหญ่วางทับลงไปบนชายหาดที่ไม่เกิดการกัดเซาะที่รุนแรง แม้พบว่าช่วงเวลาที่เคยถูกกัดเซาะนั้นมีอัตราที่รุนแรงจริง (เดือนมีนาคมถึงสิงหาคมของปี 2558 ในรูปที่ 2 อัตราการเปลี่ยนแปลงของชายหาดมหาราช จากตอนที่ 2/4) แต่พบว่าชายหาดฟื้นคืนสภาพกลับมาตามธรรมชาติได้อีกครั้งในปีเดียวกัน นั่นแปลว่าชายหาดเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งตามฤดูกาลเท่านั้น หากเกิดการกัดเซาะอย่างถาวรเราจะไม่พบกระบวนการฟื้นคืนสภาพชายหาดเช่นนี้ และยังพบว่าในภาพรวมตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2562 ชายหาดมหาราชระยะทาง 1.9 กิโลเมตรเกิดเปลี่ยนแปลงสุทธิในลักษณะของการทับถมในอัตรา 0.431 เมตรต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นชายหาดที่มีเสถียรภาพ ตามเกณฑ์ที่ระบุไว้โดยกรมทรัพยากรธรณีและยึดถือปฏิบัติมาถึงกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2562)  นอกจากนั้น จากรูปความเสียหายจนเป็นเหตุจำเป็นให้หน่วยงานต้องดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้ตามรูปที่ 4 (ภาพความเสียหายเมื่อ พ.ศ.2558 จากตอนที่ 2/4) พบว่า การกัดเซาะที่ปรากฏนั้นเกิดขึ้นเฉพาะจุด โดยเฉพาะตำแหน่งใกล้ๆกับทางระบายน้ำลงทะเล มิได้เกิดขึ้นตลอดทั้งแนวชายหาดแต่อย่างใด หากเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุแห่งการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันตลอดทั้งแนวชายหาดจริง เราจะพบการกัดเซาะตลอดทั้งแนวถนนเลียบชายหาด นั่นแปลได้ว่าชายหาดเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงบางตำแหน่งและเฉพาะช่วงระยะเวลาหนึ่งตามฤดูกาลเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นชายหาดในตำแหน่งใกล้ๆกับทางระบายน้ำก็ฟื้นคืนกลับมาในสภาพปกติ สังเกตได้จากสภาพชายหาดที่กลับคืนมาจากภาพ Google street view ตามรูปที่ 3 (ร่องรอยกัดเซาะบนถนนเลียบชายหาดจาก Google street view จากตอนที่ 2/4) ซึ่งถ่ายไว้ 1 […]

Beachlover

January 22, 2021

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: การเปลี่ยนแปลงของชายหาด (ตอนที่ 2/4)

วิธีการที่ง่ายและประหยัดที่สุดในยุคนี้ที่จะสามารถศึกษาประวัติการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้ในระยะยาวคือการศึกษาจากภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายใช้งานสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากศึกษาจาก Google earth ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2013 (หรือ พ.ศ.2556) จนถึงปี 2019 (หรือ พ.ศ.2562) ณ พื้นที่ชายหาดมหาราช พบการเปลี่ยนแปลงดังรูปที่ 1 ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมลักษณะนี้ แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องของแนวชายฝั่งที่เป็นแนวน้ำตัดกับทราย ที่จะแปรเปลี่ยนไปตามระดับน้ำขึ้นลง หากเราต้องการกำจัดอิทธิพลเรื่องระดับน้ำแตกต่างกันที่ว่านี้ออกไป นิยามของแนวชายฝั่งอีกตัวหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ แนวพืชขึ้นถาวร (Permanent vegetation line) [ศึกษาเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/shoreline-detection/] เมื่อเรามองภาพรวมของหาดมหาราชทั้งสี่ภาพด้านบนจะพบว่า แนวพืชขึ้นถาวร (แนวขอบของหญ้า ผักบุ้งทะเล หรือต้นสน) นั้นไม่มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าบริเวณนี้เผชิญปัญหากัดเซาะชายฝั่งจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังพบว่ากำแพงกันดินที่ท้องถิ่นเคยสร้างไว้เดิมเพื่อปรับภูมิทัศน์ยังถูกปกคลุมมิดด้วยหญ้าและผักบุ้งทะเล (จากโพสตอนที่ 1/4) นั่นย่อมชี้ให้เห็นว่าชายหาดมีเสถียรภาพต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อนำแนวชายฝั่งของแต่ละชุดข้อมูลมาซ้อนทับกันเพื่อวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลง พบว่าชายหาดมหาราชระยะทางตามแนวชายฝั่ง 1.9 กิโลเมตร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2562 (ค.ศ.2013-2019) แสดงดังกราฟรูปที่ 2 จากรูปที่ 2 พบการกัดเซาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมของปี 2558 (ค.ศ.2015) […]

Beachlover

January 20, 2021

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: ความเป็นมา(ตอนที่ 1/4)

หาดมหาราช หาดทรายชายทะเลที่สงบร่มรื่นและมีความเป็นส่วนตัวมาก หาดทรายขาวน้ำไม่ลึกมากสามารถเล่นน้ำได้ มีชายหาดร่มรื่นด้วยทิวสน มีการจัดแต่งเป็นที่พักผ่อนที่ชมทิวทัศน์ ให้ความสะดวกในการพักผ่อนที่กลมกลืนกับธรรมชาติพอสมควร ด้านหลังแนวหาดเป็นสวนหย่อมและเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ประทับยืนหันหน้าออกสู่ทะเล มีที่พักและร้านอาหารให้บริการนักท่องเที่ยว หาดมหาราชยังมีสภาพชายหาดที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง สังเกตได้จากพืชที่ขึ้นปกคลุมแสดงให้เห็นถึงความมีเสถียรภาพของชายหาด ชายหาดแห่งนี้เคยมีการสร้างกำแพงกันดินเพื่อปรับภูมิทัศน์ไปแล้วหนึ่งครั้ง (รูปที่ 1) ซึ่งปัจจุบันกำแพงนั้นได้ถูกพืชชายหาดปกคลุมจนเกือบมิด นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ชายหาดแห่งนี้ค่อนข้างเสถียร แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพใดๆ แม้ช่วงที่เกิดพายุซัดฝั่งอย่างพายุปาบึกเมื่อเดือนมกราคม 2562 จากการลงพื้นที่สำรวจก็ไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง มีเพียงทรายที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบนถนนและน้ำที่กระเซ็นข้ามมาด้านในเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ชายหาดมหาราชเริ่มมีเสาเข็มจำนวนมากมาวางริมชายหาด มีการปักหมุดเขตการก่อสร้าง เมื่อเดือน พ.ย.2562 (รูปที่ 2) โดยในช่วงเวลานั้นยังไม่มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ หลังจากนั้นไม่ถึง 1 เดือน ได้มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (รูปที่ 3) มาวางอยู่ริมชายหาดบริเวณหัวมุมทางเลี้ยวโค้งหน้าร้านอาหารพร้อมกับการลงมือเปิดพื้นที่ทำงานบางส่วน รายละเอียดบนป้ายระบุว่ากำลังจะมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดยาว 1.102 กิโลเมตร พร้อมปรับภูมิทัศน์โดยทำซุ้มไม้ระแนงอีก 5 แห่ง งบประมาณทั้งสิ้น 167.2 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี 1 เดือน คิดเป็น 151.72 ล้านบาท ต่อ […]

Beachlover

January 18, 2021
1 2 3