การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 8 หาดตะโละกาโปร์

รุ่นพี่จอดรถริมชายหาดสาธารณะที่มีผู้คนค่อนข้างบางตาเนื่องจากเป็นช่วงสายๆของวันธรรมดา นี่คือหาดตะโละกาโปร์ หาดท่องเที่ยวของ จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ทางไปแหลมตาชี ขับรถจากตัวเมืองปัตตานีประมาณครึ่งชั่วโมง (https://www.pattanicity.go.th/travel/detail/38/data.html) “หาดมันไม่ได้สวยอะไรมากมายเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ แต่คนแถบนี้เค้าหาหาดสาธารณะริมทะเลใกล้ๆเมืองแบบนี้ได้ยาก ช่วงเย็นๆหรือวันหยุดนะ คนเพียบเลย ก็มาปูเสื่อซื้ออะไรมากินกันแบบง่ายๆ” ดาด้า พาทั้งสองคนเดินเลียบชายหาดไปเรื่อยๆ พร้อมเล่าบริบทการใช้ประโยชน์ของหาดแห่งนี้ไปพร้อมกัน (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/หาดตะโละกาโปร์) “อืม สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรมากมายเวลาเที่ยว แค่มีพื้นที่โล่งๆให้หายใจเต็มๆปอด ซื้ออะไรมากินเองราคาสบายกระเป๋า อยากนั่งตรงไหนก็ได้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโต๊ะเก้าอี้ มีห้องน้ำบริการ แค่นี้ก็พอแล้วนะพี่ว่า” รุ่นพี่พูดพลางสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด “ด้า ตรงไกลๆโน้นคืออะไรน่ะ ที่เราเห็นหาดมันโค้งๆน่ะ” เม็ดทรายถามเพื่อนพลางก้มดูรายละเอียดพื้นที่ผ่าน Google Earth “ชื่ออย่างเป็นทางการคือแหลมตาชี ชาวบ้านที่นี่มักเรียกกันว่า แหลมโพธิ์ เป็นที่ที่เราชอบมากเลยหล่ะ ทรายต้องชอบแน่ๆ แต่ก่อนไปถึงปลายแหลมเราจะพาแวะที่ร้านกาแฟริมหาดก่อน อยากกินอะไรเย็นๆแล้ว ดีไหมพี่” “ได้เลยจ้า ตามสบาย ดีเหมือนกัน อยากเติมคาเฟอีนแก้วที่สองของวัน”

Beachlover

November 8, 2022

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดตะโละกาโปร์ [30 เม.ย. 2564]

วันที่ 30 เมษายน 2564 ทีมเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรูปตัดชายหาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนเเปลงของชายหาด ก่อนหน้านี้ สภาพชายหาดถูกกัดเซาะเพราะโครงสร้างอาคาร อบต.เก่า เเละต้นสนที่ล้ม ทำให้โครงสร้างเหล่านั้นเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งหาดตะโละกาโปร์ ความยาว เกือบ 500 เมตร ในเดือนนี้ผ่านมรสุมไปเเล้ว เเต่ยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากตัวกระตุ้นที่กล่าวมา เเละยังไม่ได้รับการเเก้ไข หรือรื้อถอนโครงสร้างที่รบกวนสมดุลชายฝั่งเเต่อย่างใด

Beachlover

May 2, 2021

ภาพมุมสูง การกัดเซาะชายหาดตะโละกาโปร์ ก่อนรื้อโครงสร้าง

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวการดำเนินการรื้อถอนโครงสร้างบางอย่าง ริมชายหาดตะโละกาโปร์ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์-ปัตตานี/) ไปแล้วนั้น ปัจจุบัน (24 เมษายน 2564) ยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานรื้อถอน โดยทาง Beach Lover ไม่มีข้อมูลว่า หน่วยงานตัดสินใจรื้อถอนโครงสร้างใดบ้างด้วยเหตุผลใด และมีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อไหร่ แต่จากภาพมุมสูงเปรียบเทียบกันในแต่ละช่วงเวลา และจากเรื่องราวที่เคยได้นำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/อะไรเกิดขึ้นที่หาดตะโละกาโปร์/ ) พบว่า โครงสร้างที่เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดการกัดเซาะอย่างไม่เป็นธรรมชาติได้แก่ลานปูนที่ยื่นล้ำลงไปบนชายหาด ทางทิศใต้ของหาดท่องเที่ยวตาโละกาโปร์ หากการกัดเซาะในพื้นที่หาดตะโละกาโปร์เกิดตามธรรมชาติโดยแท้ เราจะเห็นการกัดเซาะในลักษณะของการกินระยะที่ค่อนข้างเท่ากันในหาดเดียวกัน แต่จากภาพที่ปรากฏพบว่า เกิดการเว้าแหว่งของชายหาดเป็นจุดๆเฉพาะตำแหน่ง ในขณะที่ชายหาดส่วนถัดไปทางตอนเหนือยังคงสมบูรณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นดังภาพอาจแตกต่างกันไปตามทิศทางของคลื่นลม บางฤดูกาลเราอาจไม่เห็นอิทธิพลของโครงสร้างที่ยื่นล้ำนี้ได้อย่างเด่นชัด ในขณะที่บางฤดูกาลโครงสร้างนี้เองที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ จากภาพการรื้อถอนโครงสร้างริมหาดตะโละกาโปร์ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(https://beachlover.net/รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์-ปัตตานี/) ตามข่าว ยังไม่ปรากฏว่ามีการรื้อถอนโครงสร้างนี้แต่อย่างใด เป็นเพียงภาพของรถขุดที่กำลังรื้อถอนโครงสร้างบางอย่าง (ซึ่งไม่แน่ใจว่าโครงสร้างใด) ในหมู่บ้านทางทิศใต้ของหาดท่องเที่ยวตะโละกาโปร์ อย่างไรก็ตาม โครงการรื้อถอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ หากมีความคืบหน้าอย่างไร Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสถัดไป

Beachlover

April 24, 2021

รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์ ปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณบ้านตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พร้อมทั้งติดตามการรื้อถอนโครงสร้างถาวร บริเวณหาดทรายและชายฝั่งที่มีสภาพชำรุดและไม่ใช้ประโยชน์ ดำเนินการโดย อบต.ตะโละกาโปร์ ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้เปรียบเสมือนตัวขัดขวางการไหลของกระแสน้ำหรือกระแสคลื่นชายฝั่ง เมื่อมีระดับน้ำท่วมถึง คลื่นที่เคลื่อนที่มากระทบกับสิ่งกีดขวาง จะเกิดการสะท้อนกลับพร้อมทั้งนำทรายให้เคลื่อนออกไปด้วย อีกทั้งจุดปลายของโครงสร้างจะเป็นจุดกำเนิดคลื่นใหม่ให้แผ่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางและเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องไป หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์การเลี้ยวเบน (diffraction) หรือ End Effect

Beachlover

April 23, 2021

อะไรเกิดขึ้นที่หาดตะโละกาโปร์ ?

การกัดเซาะบริเวณหาดตะโละกาโปร์ จ.ปัตตานี เมื่อเดือนมีนาคม 2564 พอจะวิเคราะห์เบื้องต้นได้จากภาพนี้ พื้นที่ลานปูนที่ยื่นล้ำของอาคารทางด้านล่างของภาพ ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะทางด้านเหนือของลานปูนนี้ เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นคล้ายอิทธิพลของการเลี้ยวเบนในพื้นที่ถัดจากกำแพงกันคลื่น (https://beachlover.net/seawall/) ถัดจากนั้นขึ้นไปทางตอนเหนืออีกเล็กน้อยพบต้นมะพร้าววางขวางลำอยู่ใต้น้ำในมุมที่ค่อนข้างตั้งฉากกับชายฝั่ง วางตัวประหนึ่งรอดักทรายใต้น้ำ (https://beachlover.net/groin/) ส่งผลให้ชายหาดด้านทิศเหนือถัดขึ้นไปเกิดการกัดเซาะแบบเว้าแหว่ง หากการกัดเซาะในพื้นที่หาดตะโละกาโปร์เกิดตามธรรมชาติโดยแท้ เราจะเห็นการกัดเซาะในลักษณะของการกินระยะที่ค่อนข้างเท่ากันในหาดเดียวกัน แต่จากภาพที่ปรากฏพบว่า เกิดการเว้าแหว่งของชายหาดเป็นจุดๆเฉพาะตำแหน่ง ในขณะที่ชายหาดส่วนถัดไปทางตอนเหนือยังคงสมบูรณ์ ซึ่งนั่นหมายความว่า ต้องมีตัวกระตุ้นบางอย่างที่ส่งผลให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เห็นดังภาพอาจแตกต่างกันไปตามทิศทางของคลื่นลม บางฤดูกาลเราอาจไม่เห็นอิทธิพลของโครงสร้างที่ยื่นล้ำนี้ได้อย่างเด่นชัด ในขณะที่บางฤดูกาลโครงสร้างนี้เองที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ

Beachlover

April 15, 2021

ติดตามผลกระทบชายฝั่งจากคลื่นลมมรสุม อ่าวไทยตอนล่าง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช. ที่๙ (ปัตตานี) ลงพื้นที่สำรวจ ติดตามผลกระทบการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ท้องที่ ม.๑ ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ที่มีผลกระทบจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ ๒-๔ เมตร ผลการสำรวจพบการกัดเซาะสร้างความเสียหายต่อแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราว (กระสอบทรายและรั้วไม้) และสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งบ้านเรือนตามแนวชายฝั่ง ทั้งนี้จะนำผลการสำรวจเพื่อจัดข้อมูลทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี ๒๕๖๔ จ.ปัตตานี ต่อไป

Beachlover

January 12, 2021

ใครรุกใครล้ำใครกันแน่ @ ตะโละกาโปร์

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดไปแล้วในหลากหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ใครรุกใครล้ำ-หว้าโทน/ และ https://beachlover.net/ใครรุกใครล้ำใครกันแน่/ และ https://beachlover.net/ใครรุก-ใครล้ำ-เทพา/ และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่จะทยอยนำมาเล่าสู่กันฟัง ครั้งนี้ของฉายภาพให้เห็นอีก 1 พื้นที่ คือชายหาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นอีกหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี ลักษณะเป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล ในบางช่วงเวลาจะมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก ริมหาดร่มรื่นด้วยทิวสนและต้นมะพร้าว Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดตะโละกาโปร์ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงปลอดมรสุม พบโครงสร้างที่ดูเหมือนจะรุกเข้าไปอยู่ในพื้นที่อิทธิพลของคลื่นลมยามมรสุม โดยพบความเสียหายของส่วนที่เป็นลานปูนซึ่งยื่นลงไปบนชายหาด รวมถึงสภาพโครงสร้างโดยรวมก็ชำรุดเสียหายและถูกทิ้งร้างไม่มีการใช้ประโยชน์มาสักระยะหนึ่งแล้ว ตามภาพ เมื่อสังเกตพื้นที่ข้างเคียงพบว่า แนวระดับน้ำขึ้นสูงสุด ณ วันที่สำรวจนั้น (1 วันก่อน Neap tide หรือน้ำตาย) ล้ำขึ้นมาจนถึงส่วนของลานปูนที่ชำรุดเสียหาย สังเกตได้ง่ายๆจากร่องรอยของคราบน้ำและซากของวัสดุเบาที่น้ำซัดขึ้นฝั่ง พบว่า แม้ในวันสำรวจจะเป็นช่วงที่พิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงนั้นแคบ (Neap Tide หรือ น้ำตาย) ระดับน้ำสูงสุดในวันนั้นก็ล้ำเข้ามาถึงลานปูนของโครงสร้างประชิดฝั่งนี้ หากเป็นช่วงที่พิสัยการขึ้นลงของน้ำกว้าง (Spring tide หรือ น้ำเกิด) […]

Beachlover

September 8, 2020