น้ำท่วมหาดพัทยา อีกแล้ว !

ที่มา: Facebook page: PattayaWatchDog ชายหาดพัทยา เวลาฝนตกหนัก มวลน้ำไหลบ่ากัดเซาะชายหาดบางจุดกว้างเป็นเมตรๆ แต่เมืองพัทยาใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท วางท่อระบายน้ำขนาด 60 เซนติเมตร หวังรับน้ำฝน สุดท้ายน้ำกัดเซาะชายหาดเหมือนเดิม แยกมุมอร่อย งบทำบ่อสูบน้ำ 100 กว่าล้านบาทขุดถนนเป็นปีๆ เมืองพัทยารู้ว่า มวลน้ำจากซอย 5 ธันวา ไหลแรง 7 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ตั้งเครื่องสูบน้ำ 3 ตัวที่บ่อสูบน้ำสุขุมวิท ซอย 5 ธันวา รับมวลน้ำได้ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปล่อยน้ำอีก 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลไปรวมที่แยกมุมอร่อยสายสาม ซึ่งมีบ่อสูบน้ำ มีเครื่องสูบน้ำ 2 ตัว รับมวลน้ำได้ 0.52 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีมวลน้ำเหลือ 5.48 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ท่วมขังบนถนน

Beachlover

October 24, 2023

หาดพัทยาพัง! รอบที่เท่าไหร่แล้ว?

ที่มา: https://web.facebook.com/STVPattaya เรื่องมันจบยาก…ฝนตกทุกครั้ง ชายหาดพัทยาพังทุกเที่ยว ชาวบ้านถามหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่ดีแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาน้ำท่วมขัง นอกจากจะเป็นปัญหาผูกขาดที่อยู่คู่กับเมืองพัทยามาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าแก้ไขไม่เด็ดขาด เบ็ดเสร็จเสียที ทั้งที่ผ่านมาแม้ว่าเมืองพัทยาจะมีการตั้งงบประมาณและโครงการต่างๆเพื่อรองรับแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง หลายรอบ หลายยุคสมัย หลายสมัยการปกครอง หมดงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาท ทั้งโครงการแก้น้ำท่วมบนถนนสุขุมวิทซึ่งเป็นสายหลัก ตลาดนาเกลือ หนองใหญ่ ถนนเลียบทางรถไฟ เขาตาโล เขาน้อย ซอยบัวขาว ถนนพัทยาสาย 3 หรือแม้แต่ถนนพัทยาสายเลียบชายหาด และที่เด่นชัดที่สร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อการท่องเที่ยว คือการระบายน้ำฝนที่ปะปนกับน้ำเสียลงสู่ทะเล รวมและปริมาณน้ำที่หลาลงบนชายหาดพัทยา ที่กรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพในการทุ่มงบประมาณ 400 กว่าล้านบาทในการเสริมทรายในระยะ 50 เมตรจากแนวฟุตบาทเพื่อเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ด้วยพบว่ามีนัยยะของการกัดเซาะอย่างรุนแรง แต่ทุกครั้งตามข้อตกลงก่อนดำเนินการที่เมืองพัทยาตบปากรับคำว่าจะจัดทำระบบดักน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำพัดทรายไหลลงสู่ทะเล แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีพายุฝนตกต่อเนื่องลงครั้งใด เมืองพัทยาก็ต้องประสบพบเจอกับปัญหาท่วมขังซ้ำซากแบบนี้ทุกครั้ง แม้จะตอบได้ว่าปัจจุบันมีการระบายน้ำที่รวดเร็วขึ้นก็ตาม โดทุกครั้งมัก จะมีเหตุผลที่วาเมืองพัทยาอยู่ในพื้นที่ต่ำที่ต้องรองรับมวลน้ำจากเทศบาลข้างเคียงที่มีพื้นที่สูงกว่าถึง 60 เมตร ในขณะที่ท่อระบายน้ำเดิมของเมืองพัทยาที่ใช้กันมาแต่อดีตรวมระยะทางนับพันกิโลเมตรนั้นมีขนาดความกว้างไม่เกิน 60-800 ม.ม.เท่านั้น ส่วนโครงการที่จัดทำไปก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำเพื่อให้มีการระบายน้ำที่รวดเร็วมากขึ้นและลดความเสียต่อทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด โดยขณะที่กำลังรอแผนแม่บทของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่รัฐบาลมอบหมายจะให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในงบประมาณนับหมื่นล้านบาท ซึ่งยังคงตอบไม่ได้ว่าจะดำเนินการเมื่อใด ปัจจุบันสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็การใช้งบประมาณในการนำกำลังคนและเครื่องจักรลงพื้นที่ชายหาดพัทยาเพื่อเกลี่ยทรายให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อเกิดปัญหาน้ำหลากครั้งใด ก็จะมีภาพความเสียหายต่อชายหาดเกิดขึ้นเมื่อนั้น กรณีนี้มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักท่องเที่ยวออกไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้ถูกวางให้เป็นศูนย์กลางของ […]

Beachlover

October 11, 2022

หาดพังรับฝนหนัก (อีกแล้ว)!

ที่มา: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog หาดพังเหมือนทุกครั้ง ชายหาดพัทยา เมื่อเช้านี้ (12 ก.ย.2565) เมืองพัทยา ไม่เคยแก้ไขปัญหา น้ำฝนปนน้ำเสียกัดเซาะทรายชายหาด วางท่อระบายน้ำไป 100 ล้านบาท เกิดประโยชน์หรือไม่ นี่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ อีก 160 ล้านบาท เริ่มตัดต้นไม้อีกแล้ว ยั่งยืนหรือย่อยยับ?

Beachlover

September 12, 2022

ส่องงานเติมทรายชายหาดจอมเทียนกันอีกรอบ

ที่ผ่านมา Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดจอมเทียนทั้งก่อนและหลังการเติมทรายมาแล้วหลายรอบ เช่น https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/ รวมถึงสืบค้นได้จาก Icon search คำว่า “จอมเทียน” มาวันที่งานเติมทรายยังคงเดินหน้า บนชายหาดจอมเทียนส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของเมืองพัทยา (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหาด) Beach Lover ขอพาชมการเติมทรายชายหาดจอมเทียนมุมสูงกันอีกครั้ง จากภาพจะพบว่า งานเติมทรายของกรมเจ้าท่าคืบหน้าไปพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับการลงสำรวจพื้นที่เดียวกันเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา (ค้นหาจากโพสเก่าๆ) โดยสามารถเห็นความแตกต่างของความกว้างชายหาดส่วนที่เติมและยังไม่เติมทรายได้อย่างชัดเจน กรมเจ้าท่าได้ทำการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าใช้ประโยชน์ในส่วนที่แล้วเสร็จ และปิดพื้นที่เพื่องานก่อสร้างทีละ Step โดยครั้งนี้ไม่พบเรือดูดทราย และเรือพ่นทราย ที่เคยมาจอดอยู่นอกชายฝั่งเหมือนทุกครั้ง ไม่แน่ใจว่าด้วยสาเหตุใด พบเพียงเครื่องจักรกำลังทำงานบนชายหาดเท่านั้น จากการเดินสำรวจพบประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เติมทรายแล้วเสร็จตามปกติแล้ว แม้ยามพระอาทิตย์ลับขอบฟ้ายามค่ำคืนก็ยังมีการใช้พื้นที่เพื่อนั่งกินดื่ม รับลม เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ Beach Lover จะพยายามลงสำรวจพื้นที่นี้ให้บ่อยครั้ง เพื่อนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังถึงโครงการเติมทรายชายหาดที่ยาวและใช้งบประมาณสูงที่สุดในประเทศไทย …. โปรดติดตาม

Beachlover

September 6, 2022

หัวหาด Elastocoast หาดพัทยา

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/) Beach Lover เคยพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดชะอำ บริเวณทิศใต้ติดกับหน้าชายหาดของโรงแรม Vala โรงแรมระดับ Small Luxury Hotels ในเครือ The Regent Cha Am (https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/) และ กำแพงกันคลื่นแบบ Elastocoast ณ หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/elastocoast-หาดกระทิงลาย-ยังสบายดี/) ซึ่งเป็นสองพื้นที่ที่ใช้ Elastocoast เพื่อป้องกันชายฝั่ง วันนี้ของพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี หรือที่คนมักเรียกว่าโค้งดุสิต ซึ่งหมายถึงชายหาดสาธารณะที่ติดกับโรงแรมดุสิตธานี พัทยาเหนือ ที่ได้สร้างพร้อมกับงานเติมทรายชายหาดพัทยาแล้วเสร็จไปเมื่อ กุมภาพันธ์ 2562 ด้วยงบประมาณรวม 420 ล้านบาท โดยหัวหาดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อล็อคทรายที่เติมไม่ให้ไหลออกจากระบบรวดเร็วนัก เมื่อครั้งที่ Beach […]

Beachlover

September 1, 2022

งานเติมทรายชายหาด อยู่ตรงไหนกันบ้าง

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงใช้มาตรการป้องกันชายฝั่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อรับมือกับการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย และการเติมทรายชายหาด โดยที่ชายหาดท่องเที่ยวนั้น มาตรการเติมทรายชายหาดกำลังถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นการเพิ่มพื้นที่ ชายหาด ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางเศรษฐกิจของชายหาด ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบทางลบต่อเนื่องไปยังพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมาตรการที่ใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันชายฝั่งประเภทอื่น การเติมทรายชายหาด มีประโยชน์หลักที่เห็นเด่นชัดคือเพิ่มพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างเกราะป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังมีผลประโยชน์แฝงอื่นเช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ เสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายหาด ลดการสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ชายหาด เสริมสร้างสุขภาพกายใจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นวิธีการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลในอนาคต ดังจะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทางทะเลและมีมูลค่าของหาดทรายสูง แม้ต้องเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแต่มักหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง เช่น  หาดไวกิกิในฮาวาย หาดไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หาดแคนคูนประเทศเม็กซิโก โดยวิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาปรับใช้กับชายหาดเหล่านี้คือมาตรการเติมทรายชายหาด (https://beachlover.net/การเติมทรายชายหาด/)  ในส่วนของประเทศไทยนั้นหาดจอมเทียม จ.ชลบุรี ก็เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นกัน โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการเติมทรายเช่นเดียวกันกับที่สำเร็จลุล่วงไปแล้วคือชายหาดพัทยา จ.ชลบุรี โดยพบว่าเมื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย B/C ratio แล้วมีค่า 3.32 บาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง  ปัจจุบันในประเทศไทยมีโครงการเติมทรายชายหาดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเพียง 1 โครงการ ณ หาดพัทยา จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/หาดพัทยา-น่าเที่ยวแค่ไหน/) และมีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่หาดจอมเทียน จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/) และหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา (https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์-ยามนี้-ยังสบ/) ทั้ง 3 โครงการนี้ เมื่อประเมินมูลค่าของการเติมทรายจากค่าเฉลี่ยต่อลูกบาศก์เมตรของการเติมทรายจากทั้ง 3 โครงการ พบว่ามีมูลค่าเฉลี่ย 803.108 บาท/ลบ.ม. ซึ่งได้รวมทั้งค่า ขุด […]

Beachlover

August 24, 2022

หาดบางละมุง กำลังจะมีกำแพง ?!?

หาดบางละมุง เป็นพื้นที่ชายหาดส่วนถัดไปทางทิศใต้ของท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งเป็นที่อยู่อาศัย โรงแรม ร้านอาหาร และชุมชนประมง หาดทรายบริเวณนี้มีความยาวต่อเนื่องเป็นทรงโค้งด้วยระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร จากท่าเทียบเรือแหลมฉบังถึงสะพานปลานาเกลือ พื้นที่แถบกลางอ่าวระยะทาง 2.3 กิโลเมตร ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งจนเป็นเหตุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาแก้ไขปัญหา และนำมาซึ่งมาตรการต่างๆที่ได้นำมาเสนอประชาชนในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบและร่วมกันแสดงความคิดเห็น หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นรวม 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 โดยได้นำรูปแบบที่คาดว่าจะเกิดผลดีต่อชายหาดบริเวณนี้มานำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยโครงการในพื้นที่นี้อันที่จริงแล้วเป็นหนึ่งใน “โครงการศึกษาเพื่อกําหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2” มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบรายละเอียดของพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างน้อย 4 พื้นที่ โดยพื้นที่ชายหาดที่นี้คือหนึ่งใน 4 ของพื้นที่ที่หน่วยงานจะนำไปออกแบบรายละเอียดเพื่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไป โดยรูปแบบที่นำมาเสนอเพื่อให้แสดงความคิดเห็นครั้งล่าสุดในเดือนสิงหาคมคือการสร้าง “กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงและการเติมทราย” Beach Lover ได้ทำการสำรวจภาพมุมสูงภายในพื้นที่โครงการตลอดแนวชายฝั่งประมาณ 2.3 กิโลเมตร ในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 พบว่ามีโครงสร้างริมชายหาดเสียหายจากคลื่นมรสุม มีกำแพงกันคลื่นของเอกชนที่ส่วนมากยังคงมีสภาพดี มีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของเอกชน และยังคงมีพื้นที่บางส่วนที่ยังไม่มีโครงสร้างป้องกัน ดังรูป จากการสอบถามชาวประมงได้ความว่า พื้นที่แถบนี้จะประสบกับปัญหาน้ำทะเลยกตัวสูงและคลื่นลมแรงจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายหาดเฉพาะช่วงมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปีเท่านั้น และไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน อย่างเช่นในวันที่ […]

Beachlover

August 24, 2022

หาดท่องเที่ยวควรเติมทราย

สำหรับชายหาดท่องเที่ยวที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรการเติมทรายชายหาดควรถูกเลือกใช้เป็นมาตรการหลักก่อน หากมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถดำเนินการได้จึงค่อยแสวงหามาตรการอื่นๆทดแทน การเติมทรายชายหาด มีประโยชน์หลักที่เห็นเด่นชัดคือเพิ่มพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างเกราะป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังมีผลประโยชน์แฝงอื่นเช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ เสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายหาด ลดการสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ชายหาด เสริมสร้างสุขภาพกายใจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นวิธีการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลในอนาคต ดังจะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทางทะเลและมีมูลค่าของหาดทรายสูง แม้ต้องเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแต่มักหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง เช่น  หาดไวกิกิในฮาวาย หาดไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หาดแคนคูนประเทศเม็กซิโก โดยวิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาปรับใช้กับชายหาดเหล่านี้คือมาตรการเติมทรายชายหาด ในส่วนของประเทศไทยนั้นหาดจอมเทียม จ.ชลบุรี ก็เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นกัน โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินเติมทรายเช่นเดียวกันกับที่สำเร็จลุล่วงไปแล้วคือชายหาดพัทยา จ.ชลบุรี โดยพบว่าเมื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย B/C ratio แล้วมีค่า 3.23 บาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง  มาตรการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยวิธีการเติมทรายนั้น นับเป็นมาตรการเดียวจากที่มีทั้งหมดที่เป็นการเพิ่มมวลทรายให้กับชายหาด เป็นวิธีการที่หากปฏิบัติถูกต้องตามหลักวิชาแล้ว จะเป็นการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านลบน้อย ไม่รบกวนทัศนียภาพของชายหาดโดยอาจปรับใช้ร่วมกับมาตรการแก้ไขแบบอื่นได้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามมาตรการนี้มิได้เหมาะสมกับทุกชายหาด เนื่องจากใช้งบประเมาณค่อนข้างมากและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงเหมาะสมกับชายหาดที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงอย่างชายหาดท่องเที่ยว ในการนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบควรเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลง วางแผนบำรุงรักษาโดยการเสริมทรายเพิ่มในลักษณะประจำตามรอบปีที่ได้ออกแบบไว้ รวมถึงทุกฝ่ายควรมีความรู้ถึงสมดุลของชายหาด เพื่อความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องและอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างยั่งยืน

Beachlover

June 25, 2022

ประชุมรับฟังความคิดเห็น หาดบางเสร่ [20 พ.ค.2565]

กรมเจ้าท่า ได้พิจารณาเห็นแล้วว่าสมควรสนับสนุนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่งทางน้ํา ท่าเรือมาริน่ารองรับการท่องเที่ยว บริเวณหาดบางเสร่ อีกทั้งกรมเจ้าท่าได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ชายหาดบางเสร่ในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงเห็นสมควรที่จะดําเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่หาดบางเสร่ อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร Click ที่ Download เพื่อนำสู่เอกสารรับฟังความคืดเห็นฉบับเต็ม

Beachlover

May 9, 2022
1 2 3