สำรวจข้อมูลความลึกท้องน้ำ พื้นที่หาดบ้านด่านหยิด ถลาง จ.ภูเก็ต

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 25 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่งลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความลึกท้องน้ำ โดยใช้เครื่องมือหยั่งความลึกท้องน้ำ (Echo Sounder) พื้นที่หาดบ้านด่านหยิด ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต พื้นที่สำรวจนี้อยู่ในระบบหาดท่าฉัตรไชย ( T8B246 ) โดยมีเป้าหมายในการสำรวจรวมทั้งหมด 27 แนว โดยมีแนวสำรวจแบบขนานกับชายฝั่ง 6 แนว แนวตั้งฉากกับชายฝั่ง 20 แนว และแนวทแยง1 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวสำรวจ 50 ม. คิดเป็นระยะทางในการสำรวจทั้งสิ้น 12.83 กม. ปัจจุบันสำรวจเรียบร้อยแล้วทั้ง 27 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า พื้นที่สำรวจมีความลึกท้องน้ำประมาณ -0.03 ไปจนถึง -4.22 เมตร และมีความลาดชันประมาณ 0 – 17 องศา ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้จะนำไปเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันออกต่อไป

Beachlover

April 25, 2023

ชาวดอนทะเล ต.คันธุลี สุราษฎร์ธานี ติดตามสภาพชายหาดก่อนเข้ามรสุม

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/greensouthfoundation/ 30 พฤศจิกายน 2565 ชาวดอนทะเล ต.คันธุลี สุราษฎร์ธานี ติดตามสภาพชายหาดก่อนเข้ามรสุม ด้วยวิธี Water Level เพื่อเป็นฐานข้อมูลสภาพชายหาดของชุมชน. การเก็บข้อมูลติดตามสภาพชายหาด เป็นกระบวนการชุมชนเพื่อสร้าง “Citizen Science” หรือนักวิทยาศาสตร์พลเมือง มีการใช้เครื่องมือติดตามสภาพชายหาดที่พัฒนาโดย ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ม.เกษตรศาสตร์ ด้วยวิธี Water Level ในการวัดรูปตัดชายหาด ใช้หลักการของระดับน้าในสายยาง ที่จะรักษาระดับคงที่เสมอ ก่อนบันทึกข้อมูลลงแอพพลิเคชั่น BMON บนโทรศัพท์มือถือทั้งข้อมูลระดับ มุมลาดเอียงชายหาด และภาพถ่าย 4 ทิศ ในแต่ละตำแหน่งที่สำรวจ หาดดอนทะเล ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ต้นแบบของการลุกขึ้นปกป้องชายหาดจากโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นได้สำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทย โดยไม่มีการตอกเสาเข็มโครงการ ไม่มีการฟ้องร้องคดี ปัจจัยสำคัญมาจากการเฝ้าระวังและติดตามสภาพชายหาดของชุมชนเป็นทุนเดิม เมื่อพบว่าชายหาดที่เคยกัดเซาะจนทำให้คนในชุมชนมีมติให้สร้างกำพกันคลื่น กลับคืนสภาพสู่ชายหาดสมดุล เป็นเพียงการกัดเซาะตามฤดูกาล จึงมีการยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆทั้งในระดับจังหวัด และกรมโยธาธิการแะละผังเมือง ให้ยกเลิกโครงการ เนื่องจากกำแพงกันคลื่นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ภายหลังการคัดค้านโครงการฯ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นจากการสำรวจ 195 คน […]

Beachlover

December 1, 2022

กรมทะเลฯ สำรวจความลึกท้องน้ำ ชายฝั่งภูเก็ต

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจความลึกท้องน้ำ พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต สู่การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ วันที่ 29 ตุลาคม 2565 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดย ส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อหาความลึกท้องน้ำโดยใช้เรือสำรวจอัตโนมัติ CHC Apache 3 ด้วยระบบเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบ RTK ร่วมกับเครื่องหยั่งน้ำ Echo Sounder แบบความถี่เดียว โดยการสำรวจครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่สำรวจประมาณ 18,000 ตร.ม. แบ่งแนวสำรวจออกเป็น 20 แนว ผลการสำรวจพบว่า ความลึกเฉลี่ยของพื้นท้องทะเลใกล้ฝั่งหาดสุรินทร์ห่างจากแนวชายฝั่งออกไปประมาณ 200 เมตร มีความลึกระหว่าง -2.0 ถึง -7.8 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะนำผลการสำรวจไปจัดทำแผนที่ความลึกท้องน้ำในพื้นที่หาดดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการชายฝั่งต่อไป

Beachlover

October 30, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 1 ปฐมบทการเดินทาง

เม็ดทราย เป็นเด็กผู้หญิงตัวเล็กที่รักการผจญภัย ทั้งยังเสพติดการเดินทางอย่างไม่หยุดหย่อน สถานที่ที่เม็ดทรายหลงใหลมากที่สุดคือทะเลและชายหาด อาจสืบเนื่องมาจากการที่พ่อแม่ตั้งชื่อของเธอว่า  “เม็ดทราย” ซึ่งเป็นชื่อที่มีนัยยะถึงสถานที่ที่พ่อกับแม่พบรักกันครั้งแรก ณ ชายหาดเขาหลัก จ.พังงา เมื่อ 25 ปีที่แล้ว การเดินทางของเม็ดทรายเริ่มเกือบจะทันทีเมื่อการสอบปลายภาควิชาสุดท้าย ในภาคเรียนสุดท้าย ของการเรียนระดับมหาวิทยาลัยสิ้นสุดลง เธอรีบกลับบ้านและกวาดข้าวของที่จำเป็นใส่เป้ใบเขื่องขนาด 45 ลิตร พร้อมรองเท้าผ้าใบคู่เก่งที่ออกเดินทางกับเธอมาแล้วกว่า 10 ประเทศ ทุกคนที่บ้านรับรู้ร่วมกันว่าเธอกำลังจะออกเดินทางไปตามใจฝัน ฝันที่อยากไปเหยียบเม็ดทรายบนชายหาดทุกจังหวัดในประเทศไทย ความฝันที่ไม่เคยทำได้สำเร็จตลอดชีวิตที่ยังต้องวนเวียนอยู่กับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลา 21 ปีเต็ม  “เอาให้เต็มที่เลยลูก ใช้ชีวิตให้สนุก แล้วหอบพลังกลับมาเยอะๆนะ” พ่อแม่ของเธอผู้ที่เอาใจช่วยและคอยสนับสนุนเธอเมื่อเธอเดินทางท่องโลก cheer up กับการเดินทางทุกครั้ง  แม้ทุกครั้งเธอเพียงแค่แจ้งเพื่อทราบโดยไม่เคยขออนุญาตเลยก็ตาม พลังที่พ่อแม่ของเธอบอกให้หอบกลับมาจากทะเล  เธอคงจะต้องหอบมันท่องไปในอีกประเทศ เพราะเธอได้คว้าทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ  ประเทศญี่ปุ่น ได้สำเร็จ ระยะเวลา 5 เดือนก่อนเดินทางไปศีกษาต่ออีก 5 ปีเต็มนี้ ฝันนี้จะสำเร็จหรือไม่ เม็ดทรายจะได้พบเจออะไรบ้าง เธอจะได้รับพลังอย่างเต็มเปี่ยม หรือ หมดพลังไปกับการเดินทางครั้งนี้ โปรดติดตามและเอาใจช่วยการเดินทางของเม็ดทรายไปพร้อมๆกัน

Beachlover

September 22, 2022

เกริ่นเรื่อง “การเดินทางของเม็ดทราย”

การเดินทางของเม็ดทราย คือเรื่องราวที่แต่งขึ้นโดยแทรกข้อเท็จจริงผสมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายหาด ชื่อตัวละครอาจเหมือนหรือคล้ายกับประสบการณ์ของผู้เขียนเพื่อไม่ต้องลำบากในการคิดคาแรคเตอร์ของตัวละคร มันอาจจะไปเหมือนหรือคล้ายกับใคร ถ้าชอบก็ดีไป แต่ถ้าไม่ชอบก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย  ผู้เขียนมิอาจหาคำจำกัดความ และไม่ต้องการจำกัดความของเรื่องแต่งนี้ว่าเป็นงานเขียนประเภทใด เอาเป็นว่า อยากเขียนมันออกมาแบบนี้ เพื่อเป็นบันทึกการเดินทางในรูปแบบที่แทรกข้อมูล องค์ความรู้ แบบไม่หนักหัวมากนัก  ผู้เขียนมิอาจระบุได้ว่า การเดินทางของเม็ดทรายนี้ จะเดินกันไปถึงเมื่อไหร่ และเดินกันไปกี่ตอน นานกี่เดือน เอาเป็นว่า มีเวลาเขียนก็จะเขียนมันทิ้งไว้  ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านที่ต้องการอ่านเอาความรู้ ไปตามอ่านข้อมูลเชิงลึกได้ใน Link ที่แนบมากับเนื้อหา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลใน www.beachlover.net นี้อยู่แล้ว สุดท้าย หวังว่าผู้อ่านจะได้เสพความรู้เรื่องการพังทลายของชายหาดไปพร้อมๆกับงานเขียนนี้ จะสนุกกับมันหรือไม่นั้น แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่ผู้เขียนนั้น Enjoy กับงานเขียนชิ้นนี้มากพอๆกับการออกย่ำทรายไปตามชายหาดทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อสองงานที่ผู้เขียน Enjoy มากพอๆกันได้มาเจอกัน “การเดินทางของเม็ดทราย” จึงเริ่มต้นขึ้น

Beachlover

September 21, 2022

พาสำรวจและทำความรู้จัก หาดราชรักษ์ ทะเลปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดราชรักษ์ ต.บ้านกลาง และ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแฆแฆ มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นหาดทราย ความยาวประมาณ ๒,๗๕๐ เมตร ซึ่งหาดราชรักษ์ มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน และมีคลองพรุแฆแฆอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหาด ผลการสำรวจชายฝั่งส่วนใหญ่สมดุล พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางประมาณ ๗๔๐ เมตร ส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียตะกอนทรายชายฝั่งและชายหาด ชายฝั่งมีความลาดชันเป็นหน้าผา ต้นสนล้มตายกีดขวางบนชายหาด อีกทั้งหาดราชรักษ์ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงของ จ.ปัตตานี

Beachlover

August 25, 2022

ความลาดชันชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจความลาดชันชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร ความลาดชันชายหาดเป็นลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม และความรวดเร็วในการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง เพราะพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความลาดชันสูง แนวชายฝั่งจะกัดเซาะช้ากว่าบริเวณชายฝั่งที่มีความลาดชันต่ำ ตามกฎของ Brunn  แม้ว่ากฎของ Brunn จะใช้ไม่ได้กับพื้นดินทุกประเภท แต่มีประโยชน์ในการให้ข้อมูลเชิงลึกว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีที่ราบลุ่ม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่ง โดยทั่วไปพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำมีโอกาสที่คลื่นขนาดใหญ่สามารถซัดเข้าโจมตีพื้นที่ด้านในฝั่งได้มาก โดยเฉพาะหากเกิดคลื่นพายุรุนแรงในฤดูมรสุม ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่หลังหาด สร้างความเสียหายต่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนพัดพาเอาตะกอนออกสู่ทะเลได้มาก การสำรวจข้อมูลความลาดชันชายหาดในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ เป็นการสำรวจโดยใช้เครื่องวัดความลาดชันแบบพกพา ณ ตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) พบว่าค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ของความลาดชันชายหาดเป็น 6.33 , 13.70 และ 2.20 องศา ตามลำดับ จากการศึกษาที่ผ่านมาสำหรับชายหาดในประเทศไทยพบว่ามีความลาดชันชายหาดเฉลี่ยเท่ากับ 6.60 องศา (Ritphring, et al.,2018) เมื่อนำข้อมูลความลาดชันชายหาด มาพล็อตกราฟแจกแจงความถี่ พบว่า ความลาดชันชายหาดช่วง 5-6 องศา เป็นช่วงที่มีความถี่สูงสุด จำนวน 13 […]

Beachlover

August 23, 2022

กำแพงริมทะเลเกาะภูเก็ต ยังสบายดี?

ตามที่ Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายฝั่ง รวมถึงโครงสร้างป้องกัน บริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตไปแล้วตามโพสก่อนหน้านี้ ครั้งนี้ขอพาสำรวจโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ชำรุดเสียหายกันบ้าง ทั้งนี้เพื่อประเมินความสามารถในการป้องกันพื้นที่หลังโครงสร้าง สภาพและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้าง และผลที่กระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ท้ายน้ำ จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่และการลงสำรวจภาคสนาม พบว่าโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยส่วนมากยังคงอยู่ในสภาพดี สามารถป้องกันการกัดเซาะพื้นที่หลังโครงสร้างได้ และไม่พบร่องรอยผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ แต่พบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดการชำรุดเสียหายจำนวน 4 ตำแหน่ง ได้แก่บริเวณริมถนนกมลาป่าตอง 1 ตำแหน่ง และบริเวณหาดราไวย์ 3 ตำแหน่ง ดังนี้ (1) กำแพงดูราโฮลด์ริมถนนกมลาป่าตอง ความยาว 70 เมตร พบว่าก้อนดูราโฮลด์ของกำแพงชั้นบนสุดเกิดการเลื่อนหลุดออกจากกำแพงและหล่นลงมาด้านหน้ากำแพง และก้อนดูราโฮลด์บางก้อนแตกหักเสียหาย (2) กำแพงตั้งตรงบริเวณทิศเหนือของหาดราไวย์ 1 ความยาว 130 เมตร พบการกัดเซาะด้านหลังกำแพงส่งผลให้เกิดโพรงหลังกำแพงและกำแพงเกิดการแตกหักและเอียง นอกจากนี้ยังพบว่ามีพื้นที่ของหาดทรายเหลือน้อยมากในบริเวณนี้เนื่องจากน้ำขึ้นถึงฐานกำแพง (3) กำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งและกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงบริเวณทิศใต้ของหาดราไวย์ 2 ความยาว 400 เมตร พบว่ากำแพงหินทิ้งด้านหน้ากำแพงกันคลื่น มีบางส่วนจมอยู่ใต้น้ำ และกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงมีร่องรอยการแตกหัก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไม่มีชายหาดและไม่สามารถมองเห็นชายหาดด้านล่างได้ (4) กำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงบริเวณหาดราไวย์ 3 ความยาว 150 เมตร พบว่าสภาพกำแพงชำรุดเสียหาย แผ่นคอนกรีตแตกร้าว รวมถึงแนวกำแพงแตกและทรุดตัวลง 

Beachlover

August 22, 2022

พาสำรวจตะกอนชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจตะกอนทรายบนชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ข้อมูลคุณสมบัติของตะกอน ได้จากการนำตัวอย่างทรายจากตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) จำนวน 1.5 กิโลกรัม มาทำการอบแห้งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปร่อนผ่านตะแกรงเพื่อหาขนาดกลางของตะกอน (D50) โดยวิธี Sieve analysis ในห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ตามมาตรฐาน ASTM จากการนำทรายไปร่อนผ่านตะแกรงจะได้ข้อมูลน้ำหนักทรายคงค้างบนตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพล็อตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเม็ดทรายซึ่งเป็น Semi-logarithmic scale และเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของเม็ดทรายที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้เป็นกราฟการกระจายของขนาดเม็ดทรายของแต่ละตำแหน่งสำรวจ แล้วนำมาหาค่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจ จากการสำรวจภาคสนามในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ บริเวณที่เป็นหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Sieve analysis พบว่า ขนาดกลางของตะกอนมีการกระจายตัวดัง Histrogram ด้านล่าง พบว่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจจำนวน 47 ตำแหน่ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.37 มิลลิเมตร มีค่าขนาดกลางของตะกอนใหญ่ที่สุด 2.90 มิลลิเมตร และค่าขนาดกลางของตะกอนเล็กที่สุด 0.13 มิลลิเมตร โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนในพื้นที่ศึกษามีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนชายหาดในประเทศไทยซึ่งมีขนาด 0.33 มิลลิเมตร […]

Beachlover

August 19, 2022

โครงสร้างป้องกันชายฝั่งเกาะภูเก็ต อยู่ตรงไหนกันบ้าง

จากโพสครั้งก่อน Beach Lover ได้พาชมความสวยงาม (และไม่สวยงาม) ของชายหาดบริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ครั้งนี้ขอพาชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่นี้กันบ้าง โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไปในประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลักๆดังนี้ กำแพงกันคลื่น (https://beachlover.net/seawall/) รอดักทราย (https://beachlover.net/groin/) เขื่อนกันคลื่น (https://beachlover.net/breakwater/) เติทรายชายหาด (https://beachlover.net/เติมทรายชายหาด/) โดยทั้ง 4 รูปแบบนี้อาจเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปเช่น หินทิ้ง หินเรียง เสาปูน เสาไม้ ถุงทราย กระชุหิน และอื่นๆ ถ้าหากว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งและมีการวางแนวของโครงสร้างเป็นไปตามทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งสิ้น นอกจากนี้หากลดระดับความสูงของสันโครงสร้างลงให้จมอยู่ใต้น้ำ แต่ยังมีวัตถุประสงค์และการวางแนวเป็นไปตามรูปแบบของโครงสร้างป้องกัน ก็ถือว่าเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเช่นกัน เช่น เขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ เป็นต้น จากการสำรวจภาคสนามบริเวณหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต พบว่ามีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจำนวน 35 ตำแหน่ง  โดยโครงสร้างที่ทำการสำรวจภาคสนามมีความยาวรวมทั้งหมด 6,895.4 เมตร และพบว่าโครงสร้างโดยส่วนมากเป็นกำแพงแบบตั้งตรง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกันดินและถูกสร้างประชิดชายฝั่งจึงทำหน้าที่เสมือนกำแพงกันคลื่นในช่วงเวลาน้ำขึ้นหรือช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้การจำแนกความแตกต่างระหว่างกำแพงกันคลื่นและกำแพงกันดินนั้นทำได้ยาก รูปถ่ายด้านล่างเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของโครงสร้างทั้งหมดเท่านั้น

Beachlover

August 18, 2022
1 2 3 12