ติดตามการกัดเซาะชายฝั่งหาดท้ายเหมือง พังงา [19ก.พ.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ระบบหาดย่อย A๑๐ – PNA (หาดท้ายเหมือง) ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โครงการลดผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยวิธีการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand Fence) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เป็นมาตรการแบบอ่อนและสอดคล้องกับธรรมชาติ และสำรวจแนวชายฝั่งโดยการรังวัดภาคตัดขวางชายหาด (Beach Profile) เพื่อเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่ง โดยแบ่งการเก็บข้อมูลเป็น ๑๓ แนว (ตั้งฉากกับชายฝั่ง) ตลอดแนวโครงการฯ แต่ละแนว ห่างกัน ๒๐ ม. และเก็บข้อมูลทุกๆ ๕ ม. ผลปรากฏตลอดแนวมีการเพิ่มขึ้นของตะกอนทรายโดยเฉลี่ยประมาณ ๘๕-๙๐ ซม.

Beachlover

February 19, 2020

แนวไม้ไผ่ ชะลอคลื่นจริง สร้างพรรณไม้ป่าชายเลนแหลมสิงห์ [3ก.พ.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณบ้านเกาะแมว ม.๑๔ ต.ปากน้ำ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี โดยมีการปักไม่ไผ่ในปี ๒๕๕๖ ระยะ ๑,๐๐๐ ม. และในปี ๒๕๕๘ ระยะ ๒,๐๐๐ ม. เพื่อตรวจนับและประเมินสภาพพื้นที่การปักไม้ไผ่ โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลน พบว่าสภาพเป็นหาดโคลน ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง แต่พบการเพิ่มขึ้นของพรรณไม้ป่าชายเลนในบริเวณหลังแนวไม้ไผ่จนถึงด้านหน้าแนวไม้ไผ่ ผลการสำรวจพบว่าจำนวนไม้ไผ่ของปี ๒๕๕๖ คงเหลือประมาณร้อยละ ๓๒.๓๘ และปี ๒๕๕๘ จำนวนไม้ไผ่คงเหลือประมาณร้อยละ ๒๖.๔๘

Beachlover

February 3, 2020
1 11 12