ถนนขาด หาดสะกอม

หาดสะกอมที่ Beach Lover พาไปชมในวันนี้ หมายถึงหาดสะกอม อ.เทพา จ.สงขลา บริเวณที่เป็นหาดสาธารณะ มีระยะทางตามแนวชายหาดระหว่างหัวแหลมที่ขนาบทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของหาดสะกอมประมาณ 1.2 กิโลเมตร เบื้องหน้าของชายหาดห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร คือเกาะขาม หาดสะกอมแห่งนี้มีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว พบว่าถนนเลียบหาดฝั่งทิศตะวันตกจากสามแยกทางเข้าหาดนั้นพังเสียหายตาม Clip VDO https://www.youtube.com/watch?v=x-KN-thBBnI Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้มาแล้วในปี 2557 (2014)โดยพบว่าถนนเส้นนี้ถูกตัดขาดไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ได้รุนแรงเท่าที่พบเห็นในปัจจุบัน และสืบเนื่องจากพื้นที่หาดสะกอมบริเวณนี้เป็นชายหาดระหว่างหัวแหลมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้จึงไม่น่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายนอกทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของชายหาดสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นยังพบว่ามีตะกอนจำนวนมากไหลล้นข้ามหัวแหลมทางทิศตะวันออกเข้ามาบริเวณชายหาดตามภาพจาก Google Earth จากการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พบร่องรอยของการสร้างรอดักทราย (Groin) ระหว่างปี 2002-2006 (ไม่มีภาพถ่ายระหวางช่วงเวลานี้มาพิสูจน์ว่าสร้างขึ้นปีใด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการตัดถนนเลียบชายหาดนี้แล้ว หลังจากนั้นก็สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าแนวของถนนเลียบชายฝั่งเส้นนี้เริ่มขยับเข้าหาทะเลมากขึ้น หมายความว่า เริ่มเกิดการกัดเซาะจนสันทรายและชายหาดด้านหน้าถนนค่อยๆหายไป พร้อมกับพื้นที่ของชายหาดด้านทิศตะวันออกของรอดักทรายเกิดการงอกเงยขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของรอดักทรายนั่นเอง (https://beachlover.net/groin/) จริวอยู่ที่คลื่นใหญ่ลมแรงจากมรสุมและพายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ในกรณีคงปฏิเสธได้ยากถึงผลกระทบเชิงประจักษ์จากรอดักทรายเพียง 1 ตัวที่ไม่ทราบทั้งหน่วยงานและช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง หากแม้สาเหตุนั้นเกิดจากพลังของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เราคงต้องเห็นการกัดเซาะในลักษณะที่เหมือนกันตลอดทั้งแนวชายหาดแล้ว หากมองให้ลึกลงไปมากกว่าสาเหตุการพังทลายของถนนเลียบชายหาดสะกอม พบว่า ถนนเส้นนี้ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องสร้างตั้งแต่ตอนแรกด้วยซ้ำ […]

Beachlover

October 10, 2022

สิ้นแล้วหาดสร้อยสวรรค์

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดสร้อยสวรรค์มาแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดสร้อยสวรรค์-ฤาจะเหลือแต่ชื่อ/ ในครั้งนั้นหาดนี้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข วันนี้ Beach Lover ได้ติดตามดูสถานการณ์ของหาดนี้อีกครั้ง พบว่า ที่นั่งของร้านอาหาร ศาลนั่งชมวิวริมทะเล ถนนเส้นเล็กเลียบทะเล ไม่หลงเหลืออยู่แล้ว (VDO Clip ที่ https://youtu.be/-I9s6CkKvbE) ผู้ประกอบการได้เล่าให้ฟังว่า ศาลาที่เคยอยู่ตรงนี้ไม่ได้พังทลายไปจากคลื่น แต่หน่วยงานเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้ที่เข้าไปใช้เนื่องจากเสาต้นด้านนอกสุดถูกกัดเซาะไปมากแล้ว จึงทำการรื้อทิ้ง ส่วนที่เห็นเป็นซากปรักหักพังนี้ เกิดจากคลื่นลมแรง เมื่อสองปีก่อน และต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ Beach Lover เคยสำรวจไว้ในอดีต สำหรับพื้นที่นี้ถือเป็นพื้นที่ค่อนข้างพิเศษเนื่องจากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ.เทพา จ.สงขลา รับผิดชอบโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงมีระเบียบข้อบังคับในการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่มากกว่าพื้นที่อื่นๆ อาจเป็นไปได้ว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาแก้ไขจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของระเบียบปฏิบัตินี้ จึงเกิดความล่าช้าตามที่เห็น ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหาดคือโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา (https://beachlover.net/jetty/) แม้จะเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลให้พื้นที่ชายหาดทางทิศเหนือของปากร่องน้ำเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงนับตั้งแต่มีการก่อสร้าง แต่การกัดเซาะที่ค่อยๆกัดกินพื้นที่อย่างต่อเนื่องแบบโดมิโน่มาทางทิศเหนือนี้ น่าจะเกิดจากความพยายามในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเสียมากกว่า เมื่อพื้นที่ของตนเองถูกกัดเซาะไปจากการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา จึงพยายามป้องกันพื้นที่ของตนเองเพื่อความอยู่รอด ยิ่งป้องกัน ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกับชายหาดทางทิศเหนือของพื้นที่ป้องกัน พื้นที่ถัดไปก็ได้รับผลกระทบจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันต่อเนื่องไปอีก และแน่นอนว่ามันก็จะกระทบพื้นที่ถัดไปทางทิศเหนือ ก่อให้เกิดความพยายามครั้งใหม่เพื่อความอยู่รอดวนซ้ำไปไม่จบสิ้น จริงอยู่ที่ความรุนแรงของธรรมชาตินั้นมากมายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่หากเรายังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ […]

Beachlover

October 8, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน? (ภาคต่อ)

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ วันนี้ขอพาชมอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา บริเวณชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Beach Lover ได้เคยนำเสนอภาพและเรื่องราวของพื้นที่นี้ โดย ณ เวลานั้น ยังมิได้ทำการปักรั้วไม้ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง แสดงภาพเปรียบเทียบดังรูป เมื่อเดินสำรวจตลอดระยะทาง 268 เมตร พบว่าไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น โดยปักเป็นแนวยาวห่างฝั่งประมาณ 5-6 เมตร พร้อมการปักตั้งฉากจากแนวไม้ยื่นออกไปประมาณ 1 เมตร นับว่าเป็นลักษณะของการปักรั้วไม้ที่แปลกไปจากงานเดิมที่กรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่งเคยดำเนินการไว้ในพื้นที่อื่นๆ […]

Beachlover

August 10, 2022

ตาข่ายลดการกัดเซาะ Derosion lattice แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย

Derosion lattice เป็นเทคโนโลยีจากประเทศไต้หวันเพื่อลดทอนพลังงานคลื่นพร้อมทั้งดักทรายที่มาพร้อมคลื่นไว้บริเวณใกล้ชายฝั่ง สร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงแข็งแรงทนทาน เมื่อใช้งานจะวาง Derosion lattice ไว้ใต้น้ำในเขตน้ำตื้นใกล้ชายหาด (www.reshore.tech) Derosion lattice แตกต่างจากการเติมทรายชายหาดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำซ้ำทุกๆสองสามปี ทรายที่มาทับถมจาก Derosion lattice จะไม่ถูกกัดเซาะออกไปอีก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทรายทับถมบนสิ่งมีชีวิตหรือปะการังใต้ทะเลด้วย (www.reshore.tech) หลักการของ Derosion lattice คือการลดทอนพลังงานคลื่นจากแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือน (friction and vibration) ทำให้ตะกอนที่มากับคลื่นสามารถตกทับถมบนชายหาดได้ ซึ่งแตกต่างจากเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง หรือ รอดักทราย ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งข้างเคียงได้ (www.reshore.tech) สำหรับประเทศไทยมีการทดลองใช้ Derosion lattice บริเวณตำแหน่งสิ้นสุดปลายกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่า ณ ชายหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา เป็นแห่งแรก และแห่งเดียว โดยทำการติดตั้งมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ด้วยความร่วมมือของบริษัท Thai Wring Syatems จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมเจ้าท่า จากการสำรวจภาคสนามพบว่า Derosion lattice ที่ถูกวางในพื้นที่นี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับฐานของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าพอดี […]

Beachlover

July 26, 2022

ตรวจสอบระบบนิเวศชายหาดสงขลา หลังแนวเขื่อน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง ตรวจสอบสภาพระบบนิเวศชายหาดและศึกษาสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายในพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดทรายแก้ว หาดม่วงงาม และหาดมหาราช จ.สงขลา ผลการตรวจสอบพบว่า หาดทรายแก้ว มีแนวกำแพงกันคลื่นตลอดแนวชายหาด ไม่มีระบบนิเวศหาดทราย ยังคงพบตะกอนทรายจากช่วงมรสุม ทับถมตลอดพื้นที่หลังกำแพงกันคลื่น ส่วนพื้นที่บริเวณสิ้นสุดโครงการพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งลึกเข้ามาประมาณ ๒๐ เมตร ในช่วงมรสุม พื้นที่ดังกล่าวได้ถูกตะกอนทรายทับถมกลายเป็นหาดทราย ลึกเข้ามาจากแนวชายหาดเดิม ทำให้ชายหาดมีความกว้างประมาณ ๓๐-๓๕ เมตร และยังคงพบเศษหินจากการก่อสร้างถูกคลื่นพัดขึ้นมาทับถมบริเวณแนวน้ำขึ้นน้ำลง เริ่มพบสิ่งมีชีวิตในกลุ่มหอยเสียบ และจักจั่นทะเล ตลอดแนวหาดทรายบริเวณสิ้นสุดโครงการ หาดม่วงงาม พื้นที่หน้าหาดเป็นแนวหาดทรายกว้างประมาณ ๒๕-๓๐ เมตร เวลาน้ำลงต่ำสุด ไม่พบเศษหิน และวัสดุจากการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น สามารถพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายใกล้เคียงกับสถานีอ้างอิง (Reference size) แสดงถึงการคืนสภาพระบบนิเวศหาดทรายหลังจากถูกระงับโครงการก่อสร้าง ชายหาดมหาราช การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเสร็จสิ้นแล้ว ไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างปนเปื้อนในระบบนิเวศหาดทราย พบมีพื้นที่หาดทรายต่อจากแนวกันคลื่นกว้างประมาณ ๒๐-๒๕ เมตร เวลาน้ำลงต่ำสุด และพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายใกล้เคียงกับพื้นที่นอกเขตก่อสร้าง (สถานีอ้างอิง)

Beachlover

June 16, 2022

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [22 พ.ค.2565]

ที่มา: https://www.facebook.com/SaveMuangngamBeach ครั้งที่ 24 กับการเก็บข้อมูลวัดหาด ของชาวบ้านม่วงงาม วันนี้ ชายหาดกว้างขึ้น มีทรายเพิ่มพูนขึ้นมาก บางพื้นที่มีวะเเตก คลื่นลมสงบ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ และหาปลา และอื่นๆอีกมากมาย วันนี้ ทีม Save หาดม่วงงาม ทำหน้าที่ัวัดหาดครบ2ปี ระยะ 2ปีที่ผ่านมา ชายหาดบ้านเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ก่อนมรสุม และหลังมรสุม ระบบ ธรรมชาติไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงชายหาดเลย นอกเสียงจากฝีมือมนุษย์ ที่พยายามลุกล้ำธรรมชาติ ฝืนธรรมชาติ อยากพัฒนาแต่กลับกลายเป็นทำลายซึ่งจริงๆแล้วเรามองเห็นว่าธรรมชาติสร้างสมดุลของตัวมันเอง อย่าไปทำลายระบบธรรมชาติอีกเลย

Beachlover

May 23, 2022

ระเนระนาด @ หาดแก้ว ชิงโค

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดชิงโค หรือหาดแก้ว ไปหลายต่อหลายครั้ง ติดตามบางส่วนได้จาก https://beachlover.net/หาดคอนกรีต-ชิงโค/ โดยได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับงานปรับภูมิทัศน์และงานป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้ไว้หลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นนี้จากคลื่นซัดข้ามสันกำแพง ในช่วงเดือนเมษายน 2565 ได้มีการนำเสนอภาพความเสียหายของพื้นที่ด้านหลังโครงสร้าง จากการที่คลื่นซัดข้ามสันกำแพง (https://www.facebook.com/Watchdog.ACT) ดังที่ Beach Lover ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้เมื่อครั้งงานก่อสร้างเสร็จหมาดๆเมื่อสองปีก่อน Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามพื้นที่บริเวณนี้อีกครั้ง พบว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น เกิดขึ้นจากการที่คลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแล้วยกตัวสูงขึ้นกระเซ็นข้ามสันกำแพงเข้ามายังพื้นที่ด้านหลังที่มีการปรับภูมิทัศน์เป็นทางจักรยาน ทางเดินริมชายหาด โดยพบว่าระบบระบายน้ำด้านหลังกำแพงนั้นพังเสียหายเกือบทั้งหมด ทางเดินและทางจักรยานทรุดเป็นช่วงๆ แผ่นพื้นหลุดล่อนออก พบทรายจำนวนมากที่ถูกคลื่นหอบเข้ามาทับถมพื้นที่ด้านหลัง ยิ่งซ้ำเดิมระบบระบายน้ำให้เกิดปัญหาหนักขึ้นไปอีก พบเศษวัสดุและหินที่ใช้ก่อสร้างระเกะระกะเป็นจำนวนมาก โดยรวมแล้วแทบไม่เหลือเค้าลางเดิมของพื้นที่ที่ถูกปรับภูมิทัศน์ด้านหลังกำแพง ตำแหน่งเดิมที่เคยเป็นทางจักรยานที่ทรุดตัวลงเมื่อครั้ง Beach Lover ลงมาสำรวจในวันที่ 14 ธันวาคม 2564 นั้น บัดนี้ไม่หลงเหลือซากเดิมปรากฏให้เห็นแล้ว มีท้องถิ่นริมชายฝั่งทะเลจำนวนไม่น้อยที่คิด (เอาเอง)ว่า การ “แปลงร่างหาดทรายให้กลายเป็นคอนกรีต” โดยการ “ขลิบ”ชายหาดด้วยกำแพงกันคลื่นพร้อมการปรับภูมิทัศน์นั้น จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้ จะสามารถนำรายได้กลับคืนมาสู่ท้องถิ่น โดยอาจหลงลืมไปว่า มีราคาที่ต้องจ่ายมากมายกับความพยายามนี้ น่าตามต่อถึง Action ของกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะเจ้าของโครงการ ว่าจะให้เหตุผลและจัดการกับความเสียหายนี้อย่างไร และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือหน่วยงานท้องถิ่นที่จะรับมอบโครงสร้างนี้ไปบำรุงรักษาด้วยงบของท้องถิ่นเอง ว่าจะมี Action […]

Beachlover

May 22, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน ?!?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ถึงคิวเกาะลิบง-กับ-หาดกำ/ และ https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วันนี้ขอพาชมพื้นที่ที่กำลังจะเกิดโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ได้แก่ชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน (งบประมาณปี 2566 มูลค่า 30 ล้านบาท) ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ จากป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการนี้ควรแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 แต่ปัจจุบัน ณ วันที่สำรวจ ยังไม่พบร่องรอยของการลงมือก่อสร้างแต่อย่างใด สภาพพื้นที่ทั้งหมดเป็นหาดทราย โดยมีกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งแล้วตลอดทั้งแนว สันหาดค่อนข้างสูง สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือในเมื่อพื้นที่นี้มีกำแพงแบบหินทิ้งริมฝั่งแล้ว หน่วยงานจะดำเนินการก่อสร้างรั้วไม้ดักทรายกันแบบไหน อย่างไร จะรื้อกำแพงหินออก หรือ จะปักไม้ด้านหน้ากำแพง รวมถึงจะวัดประสิทธิภาพของรั้วไม้นี้ได้อย่างไรหากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของเดิมอยู่ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]

Beachlover

May 16, 2022

ติดตามผลกระทบโครงสร้างเขื่อนริมตลิ่งหาดมหาราช สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ติดตามสถานภาพการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช เทศบาลตำบลจะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ระยะทาง ๑,๑๐๒ เมตร พบว่าหลังมรสุมมีตะกอนทรายกลับคืนมามาก เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ที่พบมีการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณทางด้านทิศเหนือของจุดสิ้นสุดโครงการก่อสร้างฯ ระยะทางยาวประมาณ ๒๒๕ เมตร ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงมรสุมและคลื่นลมแรง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ทั้งนี้ จะมีการติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลต่อไป

Beachlover

March 19, 2022
1 2 3 10