เศรษฐกิจสีน้ำเงิน “Blue Economy” คืออะไร

การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าอย่าง ยั่งยืนหรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” หรือ Blue Economy ที่ผ่านมามีความพยายามขับเคลื่อนแนวคิด Blue Economy เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่พัฒนาบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน (https://tdri.or.th/2020/09/blue-economy-thailand/) Beach Lover ขอพาสำรวจนิยามของ Blue Economy จากที่ต่างๆเพื่อใช้เป็นแนวอ้างอิงทางทฤษฎี ดังนี้ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (http://www.seafdec.or.th/knowledge/blue-economy/) แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน  กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ด้านบนนั้นเป็นนิยามที่หน่วยงานในประเทศไทยได้เผยแพร่ไว้ ทั้งนี้ยังมีอีกหลายนิยามที่หน่วยงานต่างประเทศได้ให้ไว้ เป็นต้นว่า ธนาคารโลก (World Bank) เศรษฐกิจสีน้ำเงินหมายถึง “การใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างงาน โดยคำนึงถึงการรักษาสุขภาพของระบบนิเวศทางทะเล” สหประชาชาติ (UN) ได้นิยามเศรษฐกิจสีน้ำเงินไว้มื่อเร็ว ๆ นี้ว่า เป็นเศรษฐกิจที่ครอบคลุมภาคเศรษฐกิจและนโยบายที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ซึ่งร่วมกันกำหนดว่า การใช้ทรัพยากรทางทะเลนั้นยั่งยืนหรือไม่ ความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจสีน้ำเงินคือ การทำความเข้าใจและการจัดการ อย่างดียิ่งในหลาย ๆ ด้านของความยั่งยืนของมหาสมุทร ตั้งแต่การประมงแบบยั่งยืน ไปจนถึงสุขภาพของระบบนิเวศ และการป้องกันมลพิษ ประการที่สอง เศรษฐกิจสีน้ำเงิน […]

Beachlover

June 10, 2024

ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล (Digital Shoreline Analysis System, DSAS) 

ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล (Digital Shoreline Analysis System, DSAS) เป็นเครื่องมือหนึ่งในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcGIS) มีขั้นตอนการทำงาน ดังภาพที่ 1 ถูกพัฒนาโดยหน่วยสำรวจธรณีวิทยาประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ใช้คำนวณทางสถิติของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในหลายช่วงระยะเวลา โดยข้อมูลที่นำเข้าคือ แนวชายฝั่ง (Shoreline) และเส้นอ้างอิง (Baseline) เพื่อสร้างเส้นแบ่งระยะที่ตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง (Transect) โดยโปรแกรมจะสร้างเส้น Transect ตามที่ผู้ใช้กำหนดระยะที่ต้องการไว้ และจะทำการคำนวณค่าสถิติต่างๆของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งให้ ยกตัวอย่างเช่น  – Shoreline Change Envelope (SCE) คือ ระยะทางระหว่างแนวชายฝั่งเส้นในสุดกับเส้นนอกสุด ดังภาพที่ 2 – Net Shoreline Movement (NSM) คือ ระยะทางสุทธิระหว่างแนวชายฝั่งปีที่เก่าที่สุดและแนวชายฝั่งปีที่ใหม่ที่สุด ดังภาพที่ 2 – End Point Rate (EPR) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง โดยคำนวณจากค่า NSM หารด้วยระยะเวลาระหว่างปีที่เก่าที่สุดและปีที่ใหม่ที่สุด ดังภาพที่ 2 การศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย เจนจิรา ได้ประยุกต์ใช้สาระสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล (เจนจิรา, 2560) บริเวณตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา […]

Beachlover

January 13, 2024

พายุซัดฝั่ง (Storm surge) คืออะไร?

พายุซัดฝั่ง (Storm surge) คือปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อนในวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วนไม่แจ่มใสสภาพอากาศเลวร้าย พื้นที่ชายฝั่งจะมีแรงกดอากาศยกระดับน้ำทะเลให้สูงกว่าปกติกลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดจากทะเลเข้าหาชายฝั่งอย่างรวดเร็ว (https://www.nhc.noaa.gov/surge/) พายุซัดฝั่งเป็นคลื่นที่เกิดบริเวณพื้นผิวโลกมีความชื้นสูงและมีมวลอากาศอุ่น ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดลมพัดเข้ามาหย่อมความกดอากาศต่ำ และเกิดการหมุนตัว เข้าหาจุดศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยในซีกโลกเหนือหรือบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรจะมีการหมุนตัวในทิศทวนเข็มนาฬิกา แต่หากเกิดในซีกโลกใต้หรือบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา พายุซัดฝั่งจะดันน้ำให้มีระดับสูงจนสร้างความเสียหายต่อชีวิตอาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ดังรูปที่ 1 โดยระดับน้ำที่ยกตัวสูงขึ้นนี้เกิดจากแรงขับจากความกดอากาศ (Pressure driven storm surge) และลม (Wind driven storm surge) ทะเลโดยรอบจะมีลักษณะราบเรียบเท่ากันหมดในบริเวณพายุ แต่ตรงใจกลางพายุหรือที่เรียกว่าตาพายุจะมีระดับน้ำที่สูงกว่าปกติ ผลจากพายุซัดฝั่งจะทำให้ระดับน้ำชายฝั่งเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติแต่เป็นเพียงช่วงเวลาไม่นานแล้วจะกลับสู่สภาพเดิม รูปที่ 2 แสดงระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดจนเข้าท่วมชุมชนในช่วงที่เกิดพายุปาบึกซัดฝั่งที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเดือนมกราคม 2562 โดยมีลักษณะของการเคลื่อนที่ของตาพายุ ดังรูปที่ 3

Beachlover

January 6, 2024

คลื่นแตกตัวแบบไหนบ้าง?

เราสามารถจำแนกการแตกตัวของคลื่นทะเลได้เป็นสี่ลักษณะ (ในบางตำราอาจแยกเป็นสามลักษณะโดยรวบเอา collapsingและ surging ไว้ด้วยกัน) แตกต่างกันตามคุณลักษณะของคลื่นและสัณฐานชายฝั่ง (A) Spilling: คลื่นที่มีความชันน้อย เมื่อเข้าสู่ชายหาดที่มีความลาดชันน้อยๆ จะเกิดการแตกที่ยอดเป็นฟองและต่อเนื่องลงมาที่ด้านหน้าของคลื่นจนกระทั่งคลื่นนั้นสลายไป (B) Plunging: เมื่อความชันของคลื่นและชายหาดเพิ่มขึ้น คลื่นจะสูงขึ้นและยอดจะโค้งไปด้านหน้าและโผลงมาทำให้หน้าคลื่นเป็นรูปโค้งเว้า (C) Collapsing: เป็นส่วนผสมของการแตกตัวของคลื่น แบบ B และ D โดยสันของคลื่นจะไม่แตกตัวเต็มที่ แต่ยังมีการม้วนโค้งไปด้านหน้า พร้อมทั้งเกิดการแตกตัวที่ฐานคลื่นบางส่วน (D) Surging: เมื่อความชันของคลื่นและชายหาดมีค่ามาก คลื่นจะยกตัวสูงมากขึ้นเช่นเดียวกับการโผ แต่ที่ฐานคลื่นจะซุกเข้าหาพื้นหาดจนคลื่นสลายไป

Beachlover

January 4, 2024

เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating breakwater) ตอนที่ 1

อ้างอิงบางส่วนจาก: Ploypradub, P. and Ritphring, S., Comparison of Efficiency of Floating Breakwater and Rubble Mound Breakwater, Ladkrabang engineering journal, Vol.36, No.1,pp.1-8, Mar 2019. (In Thai) เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งและเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating Breakwater) เป็นรูปแบบหนึ่งของเขื่อนกันคลื่นที่ใช้เพื่อลดพลังงานของคลื่นที่เข้าปะทะชายฝั่งทะเล ซึ่งในอดีตนิยมใช้เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะมีความแข็งแรงไม่ต้องทำการดูแลรักษามากนัก แต่ทำให้สูญเสียทัศนียภาพ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดการกัดเซาะที่บริเวณเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำสามารถใช้ได้กับพื้นที่ที่ฐานรากไม่แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ มีขนาดไม่ใหญ่ทำให้ไม่สูญเสียทัศนียภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น ไม่เหมาะสำหรับคลื่นขนาดใหญ่ และต้องการการดูแลรักษาสูง Tsinker (2004) ได้รายงานกรอบความคิดของเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำไว้ว่า โดยทั่วไปเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำถูกจำแนกว่าเป็นโครงสร้างที่สะท้อนคลื่นหรือเป็นโครงสร้างที่ทำให้พลังงานของคลื่นลดลง โดยถูกออกแบบเพื่อสะท้อนคลื่น ให้มีเพียงคลื่นที่มีพลังงานน้อยเท่านั้นที่สามารถผ่านเขื่อนกันคลื่นไปได้ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ ได้พบการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ที่มีการป้องกันคลื่นลมและคลื่นที่เกิดจากเรือในงบประมาณที่ไม่สูง และในพื้นที่อ่าวเปิดที่ไม่ได้มีคลื่นที่มีความรุนแรงมากและพื้นที่มีความลึกของน้ำค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในพื้นที่ที่มีฐานรากที่ไม่แข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของน้ำได้รวมถึงการดำรงชีวิตของปลาทำให้ไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำมีขนาดเล็กไม่รบกวนทัศนียภาพ ในช่วงทะเลสงบไม่มีมรสุมไม่จำเป็นต้องมีเขื่อนกันคลื่นก็สามารถรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ จากการศึกษาของ Bruce et al. (1985) ได้แบ่งเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ 1. กล่อง […]

Beachlover

September 11, 2022

หลักการของแบบจำลอง GENESIS

แบบจำลอง GENESIS เป็นแบบจำลองที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิ Kraus (1984) ใช้แบบจำลองในการจำลองเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของชายหาด Oarai ประเทศญี่ปุ่น, Rao (2009) ได้ดำเนินการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและปริมาณการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งซึ่งได้รับผลกระทบจากการสร้าง   ท่าเทียบเรือและเขื่อนกันคลื่น โดยใช้แบบจำลอง GENESIS ในการวิเคราะห์อัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนตามแนวชายฝั่ง โดยประยุกต์ใช้กับหาด Ennore ประเทศอินเดีย และ Lima and Carlos (2019) ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่หาด Praia da Gaivina ประเทศโปรตุเกส ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ในประเทศไทยมีการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายพื้นที่ อาทิ สุวิมล แซ่โง่ว (2537) ใช้แบบจำลอง GENESIS ซึ่งเป็นแบบจำลองเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบบมิติเดียว (One-line model) ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งอันเกิดจากอิทธิพลของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณแหลมตาชี จังหวัดปัตตานี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(2538) ได้ทำการศึกษาลักษณะและปริมาณการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่ง โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง GENESIS กับพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดชลบุรี, วันชัย จันทร์ละเอียด (2548) ได้ใช้แบบจำลอง GENESIS ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งโดยมีการสอบเทียบและสอบทานแบบจำลองโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศในพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณช่วงบ้านตันหยงเปาว์ถึงบ้านบางตาวา จังหวัดปัตตานี จิรวัฒน์ กณะสุต และคณะ (2555) ใช้แบบจำลอง GENESIS ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลบริเวณชายหาดบ้านบางสัก จังหวัดพังงา  และ ชลวัฒน์ ปัญญา และ สมฤทัย ทสะดวก (2562) ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่หาดพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ในการศึกษาการปรับปรุงวิธีการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  แบบจําลอง GENESIS ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่ง แบบจำลองนี้ยังสามารถใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้างบริเวณชายฝั่ง (Coastal structures) และการเสริมทรายบริเวณชายหาด (Beach nourishment) ได้ด้วยข้อมูลที่ใช้นำเข้าในแบบจำลอง ได้แก่ ข้อมูลคลื่นนอกชายฝั่ง ลักษณะ รูปร่างของชายหาด รายละเอียดของโครงสร้างชายฝั่ง การถมทรายบริเวณชายหาด เป็นต้น โดยให้ผลการคำนวณเป็นเส้นชายฝั่งในอนาคต […]

Beachlover

September 3, 2022

วิชาการ: ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล

ระยะถอยร่นเปรียบเสมือนแนวกันชนระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดิน เพราะเป็นการรักษาความสมดุลของกระบวนการชายฝั่งไม่ให้ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นที่ชายฝั่ง และเป็นการลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากภัยธรรมชาติ ที่อาจมีต่อชีวิตและทรัพย์สินของรัฐและเอกชนที่อยู่บริเวณชายฝั่ง  ระยะถอยร่นเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อจัดการชายฝั่งทะเล ทั้งเพื่อการจัดการภัยพิบัติชายฝั่งทะเลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน โดยมากมักกำหนดจากแนวระดับน้ำทะเลขึ้นเฉลี่ยถึงแนวที่พิจารณาแล้วว่าจะปลอดภัยต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอดีตและอาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยทั่วไประยะถอยร่นเป็นระยะที่หากจะมีการพัฒนาใดๆ จะต้องถอยร่นห่างจากชายฝั่งเข้าไปให้พ้นระยะนี้เพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น เป็นระยะทางสงวนไว้ให้กระบวนการชายฝั่งทะเลจะสามารถปรับสมดุลได้ตามปกติไม่ถูกแทรกแซง จึงเป็นมาตรการที่ไม่รบกวนต่อกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่งทะเล และไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำเหมือนการใช้โครงสร้างชายฝั่งทะเล โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อ ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เช่น พายุซัดฝั่ง การกัดเซาะ  เป็นต้น ลดงบประมาณเพื่อใช้ในการป้องชายฝั่ง สงวนพื้นที่ชายฝั่งให้คงทัศนียภาพที่งดงามตามธรรมชาติ  ลดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณชายฝั่ง ประชาชนสามารถเข้าถึงชายฝั่งทะเลได้อย่างเท่าเทียม รักษาพื้นที่ชายฝั่งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ ลดความเสี่ยงภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในความเป็นจริง พื้นที่ใดที่ปล่อยให้มีการพัฒนามากเกินไปแล้ว พื้นที่นั้นจะกำหนดระยะถอยร่นได้ยาก เนื่องจากจะเกิดแรงต่อต้านทางสังคม ทั้งยังไม่คุ้มกับค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกพัฒนาไปแล้วก่อนหน้านี้  การใช้มาตรการระยะถอยร่นชายฝั่งจึงควรเร่งประกาศใช้ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนา เพื่อจำกัดการพัฒนาไม่ให้ประชิดชายฝั่งมากเกินไป โดยกำหนดเป็นเขตห้ามรุกล้ำสำหรับสิ่งปลูกสร้างถาวร ซึ่งอาจใช้ร่วมกับนโยบายผังเมืองชายฝั่งทะเล จะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ลดความเสียหายต่อสิ่งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและเอกชน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของพื้นที่บนชายหาดได้อย่างยั่งยืน การพิจารณาว่าระยะถอยร่นในแต่ละพื้นที่ควรเป็นระยะเท่าใดนั้น มีปัจจัยและรายละเอียดที่จำเป็นต้องคำนึงถึงมากมายที่จำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบด้านก่อนการนำมาตรการนี้มาใช้เพื่อคุ้มครองชายหาด อ่านเพิ่มเติมเรื่องระยะถอยร่น ได้จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/578 และ https://beachlover.net/การกำหนดระยะถอยร่น/ และ https://beachlover.net/setback-negombo-srilanka/

Beachlover

April 17, 2022

วิชาการ: แนวคิดเพื่อจัดการปากร่องน้ำ

การเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งทะเลในลักษณะขนานโดยไหลเลียบไปกับชายฝั่ง และตะกอนจากแผ่นดินที่ไหลลงไปรวมไปในแม่น้ำที่ไหลออกชายฝั่งทะเล ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนสะสมจนปากแม่น้ำที่ไหลลงทะเลปิดในบางฤดูกาล หากปากร่องน้ำใดมีการเข้าออกของเรือ จะส่งผลให้ไม่สามารถนำเรือเข้าออกได้ในบางช่วงเวลา ในอดีตชาวบ้านรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่ใช้ประโยชน์ช่วยกันขุดเปิดปากร่องน้ำกันเองบ้าง  หรือร้องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้วิธีการขุดปากร่องน้ำเพื่อบรรเทาปัญหานี้บ้าง เมื่อมีการพัฒนาเมืองและพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้มีการเข้าออกของเรือที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และกินระยะน้ำลึกมากกว่าในอดีต หน่วยงานที่รับผิดชอบ (กรมเจ้าท่า) เริ่มหันมาใช้วิธีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการออกแบบให้ปลายสุดของเขื่อนกันคลื่นอยู่บริเวณร่องน้ำลึก ส่งผลให้ตะกอนที่ไหลออกไปนอกฝั่งมีโอกาสที่จะกลับมาปิดปากร่องน้ำได้ลดน้อยลง ทั้งยังป้องกันไม่ให้ตะกอนที่ไหลเลียบชายฝั่งมาปิดปากร่องน้ำด้วย โดยมากเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ยื่นยาวลงไปในทะเล ซึ่งถือเป็นโครงสร้างที่แทรกแซงกระบวนการทางชายฝั่งทะเลอย่างหนักด้วยขนาดที่ใหญ่และยาว พบว่าแม้จะมีโครงสร้างนี้แล้วยังจำ เป็นต้องขุดลอกร่องน้ำร่วมด้วย เนื่องจากนานวันเข้าตะกอนมีโอกาสไหลล้นข้ามโครงสร้างที่ดักตะกอนไว้มาปิดปากร่องน้ำเช่นเดิม นั่นหมายความว่าโครงสร้างนี้ชะลอระยะเวลาการขุดลอกออกไปเท่านั้น โครงสร้างนี้ไม่ถือว่าเป็นโครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง แต่การเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำมักนำมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างนี้ยื่นยาวออกไปนอกชายฝั่งจนถึงระยะน้ำลึกจึงเป็นการกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่ง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกัดเซาะทางด้านท้ายน้ำหรือส่วนถัดไปของชายหาดตามทิศทางที่ตะกอนเคลื่อนที่ ส่งผลให้พื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง และตามมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอื่นๆต่อเนื่องไปอีก Beach Lover เห็นทั้งความจำเป็น ความเดือดร้อนของผู้ใช้ปากร่องน้ำ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ จึงมีแนวคิดเพื่อจัดการปากร่องน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลดังต่อไปนี้ (1) กำหนดให้การขุดลอกปากร่องน้ำทุกแห่งนำตะกอนที่ได้จากปากร่อง ที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นตะกอนที่คุณสมบัติใกล้เคียงกับพื้นที่ชายฝั่งปากร่องน้ำที่ถูกกัดเซาะ  ไปถมในพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนั้น หากดำเนินการได้จะทำให้ตะกอนไม่ถูกทิ้งให้เสียประโยชน์  บรรเทาผลกระทบด้านท้ายน้ำ และได้แผ่นดินกลับคืนมาบางส่วน (2) ควรกำหนดให้มาตราการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ สำหรับร่องน้ำที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เป็นมาตรการประจำที่ต้องดำเนินการทุกปากแม่น้ำตามรอบวนซ้ำที่ได้ศึกษาไว้  โดยถ่ายเทจากฝั่งของปากร่องน้ำที่เกิดการทับถมไปอีกฝั่งที่ถูกกัดเซาะ ซึ่งจะบรรเทาความเสียหายได้บางส่วน ดีกว่าการสร้างโครงสร้างป้องกันต่อไปเรื่อยและเกิดการกัดเซาะต่อไปอย่างต่อเนื่อง (3) ให้อำนาจและงบประมาณกับท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณในการลงทุนเครื่องจักรสำหรับใช้ในการขุดลอกปากร่องน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ (รถขุดแขนยาวและโป๊ะลอยน้ำพร้อมขายึดในภาพราคารวมประมาณ 6 ล้านบาท) เพื่อบรรเทาปัญหาตะกอนปิดปากร่องน้ำได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง (4) หากจำเป็นต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ ควรรวบรวมความจำเป็นของเรือที่สัญจรในปากร่องในใกล้กันมารวมจอดในที่เดียวกัน เพื่อลดจำนวนโครงสร้างและเป็นการจำกัดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด

Beachlover

April 8, 2022

ควรรื้อทำลายโครงสร้างชายฝั่งที่หมดสภาพแล้ว

สำหรับโครงสร้างชายฝั่งที่หมดสภาพ ซึ่งหมายถึงหมดประสิทธิภาพหรือหมดหน้าที่ในการป้องกันชายฝั่งไปแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงกายภาพ เช่น อาจก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม หรือ เป็นทัศนะที่อุจจาดตาบดบังทัศนียภาพที่สวยงามของชายหาด ในกรณีนี้ควรมีการวิเคราะห์ถึงการรื้อถอนทำลายเพื่อคืนสภาพชายหาดให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ในหลายกรณีการมีอยู่ของโครงสร้างนั้น ได้ก่อให้เกิดบริบทใหม่ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนั้นขึ้นแล้ว เช่น อาจเกิดการทับถมของที่ดินจนเกิดชุมชนใหม่ขึ้น หรือร่องน้ำถูกเปิดตลอดทั้งปีจนชาวบ้านเปลี่ยนขนาดเรือจากเล็กเป็นใหญ่เพื่อการพาณิชย์แทนที่จะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือประมงขนาดเล็กเหมือนในอดีต ดังนั้น หากมีการรื้อถอนทำลายโครงสร้างที่มีอยู่อาจส่งผลกระทบถึงการใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ได้ การสร้างยังต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาออกแบบ การรื้อโครงสร้างก็เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการใดๆ มิฉะนั้นอาจเกิดผลกระทบที่ยากจะคาดเดา

Beachlover

May 13, 2021

นิยามของแนวชายฝั่งทะเล (Shoreline)

แนวชายฝั่ง หมายถึงเส้นแบ่งระหว่างน้ำและพื้นแผ่นดิน แต่ในความเป็นจริงแนวชายฝั่งนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของตะกอน ระดับน้ำทะเล ความลาดชันชายหาด และปัจจัยอื่นๆ การระบุแนวชายฝั่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งและการออกแบบทางวิศวกรรมเช่นโครงการป้องกันชายฝั่ง Elizabeth H. Boak และ Ian L. Turner (Boak and Turner, 2005) ได้ทำการรวบรวมนิยามของการระบุแนวชายฝั่ง พบว่านิยาม ต่างๆที่ใช้ในการระบุชายฝั่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มแรก คือการระบุแนวชายฝั่งโดยขึ้นกับลักษณะเชิงกายภาพที่สังเกตได้ (รูป A และ B) และ การระบุแนวชายฝั่งกลุ่มที่ 2 ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล (รูปที่ C) กลุ่มแรกที่ใช้การระบุแนวชายฝั่งโดยขึ้นกับลักษณะเชิงกายภาพที่สังเกตได้ เป็นลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น แนวพืชพรรณถาวรบริเวณชายฝั่ง (Permanent vegetation line) เป็นต้น สำหรับแหล่งข้อมูลที่สามารถนำมาประกอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ, การเดินสำรวจแนวชายฝั่งทะเล, การสำรวจแนวชายฝั่งโดยใช้เครื่อง GPS, แผนที่ชายฝั่ง เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ 2 ที่ใช้การระบุแนวชายฝั่งโดยขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล จำเป็นต้องใช้แผนที่ชายฝั่งและแผนที่เดินเรือ (Coastal […]

Beachlover

May 11, 2021
1 3 4 5