ใครรุกใครล้ำใครกันแน่ @ ตะโละกาโปร์

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดไปแล้วในหลากหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ใครรุกใครล้ำ-หว้าโทน/ และ https://beachlover.net/ใครรุกใครล้ำใครกันแน่/ และ https://beachlover.net/ใครรุก-ใครล้ำ-เทพา/ และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่จะทยอยนำมาเล่าสู่กันฟัง

ครั้งนี้ของฉายภาพให้เห็นอีก 1 พื้นที่ คือชายหาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นอีกหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี ลักษณะเป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล ในบางช่วงเวลาจะมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก ริมหาดร่มรื่นด้วยทิวสนและต้นมะพร้าว

ภาพเมื่อ 10 สิงหาคม 2563
ภาพเมื่อ 10 สิงหาคม 2563

Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดตะโละกาโปร์ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงปลอดมรสุม พบโครงสร้างที่ดูเหมือนจะรุกเข้าไปอยู่ในพื้นที่อิทธิพลของคลื่นลมยามมรสุม โดยพบความเสียหายของส่วนที่เป็นลานปูนซึ่งยื่นลงไปบนชายหาด รวมถึงสภาพโครงสร้างโดยรวมก็ชำรุดเสียหายและถูกทิ้งร้างไม่มีการใช้ประโยชน์มาสักระยะหนึ่งแล้ว ตามภาพ

ภาพเมื่อ 10 สิงหาคม 2563
ภาพเมื่อ 10 สิงหาคม 2563

เมื่อสังเกตพื้นที่ข้างเคียงพบว่า แนวระดับน้ำขึ้นสูงสุด ณ วันที่สำรวจนั้น (1 วันก่อน Neap tide หรือน้ำตาย) ล้ำขึ้นมาจนถึงส่วนของลานปูนที่ชำรุดเสียหาย สังเกตได้ง่ายๆจากร่องรอยของคราบน้ำและซากของวัสดุเบาที่น้ำซัดขึ้นฝั่ง

ภาพเมื่อ 10 สิงหาคม 2563

พบว่า แม้ในวันสำรวจจะเป็นช่วงที่พิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงนั้นแคบ (Neap Tide หรือ น้ำตาย) ระดับน้ำสูงสุดในวันนั้นก็ล้ำเข้ามาถึงลานปูนของโครงสร้างประชิดฝั่งนี้ หากเป็นช่วงที่พิสัยการขึ้นลงของน้ำกว้าง (Spring tide หรือ น้ำเกิด) ระดับน้ำสูงสุดน่าจะรุกขึ้นมาได้มากกว่านี้

จากบทเรียนที่ผ่านมา ในทุกโพสที่ Beach Lover ได้นำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างที่ตั้งประชิดชายหาด มนุษย์ควรตระหนักถึงธรรมชาติของชายหาดกันได้เสียทีว่า ชายหาดต้องการพื้นที่ “Exercise” เพื่อรองรับคลื่นลมในยามมรสุมและปลอดมรสุมไม่เท่ากัน หากเราไม่ยอมรับและเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นนี้ อาจนำพาความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินในระดับที่เหล่ามนุษย์เองก็มิอาจคาดเดาได้

ใครรุกใครล้ำใครกันแน่ ?

เหตุเกิด ณ ชายหาดแห่งหนึ่งใกล้ๆกับตลาดบางพังกา ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา คาดว่าเป็นการนำดินและหินมาถมเพื่อขยายพื้นที่ด้านหน้าร้านอาหาร โดยไม่น่าจะทำเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่โดยรอบนั้นไม่มีสภาพถูกกัดเซาะ และแนวสันทรายชายหาดทั้งฝั่งทิศเหนือและทิศใต้ของพื้นที่นี้ ล้วนอยู่ในแนวเดียวกัน เว้นเพียงแต่กองหินกองดินที่ถมจนล้ำออกมาหน้าร้านอาหารนี้เท่านั้น

[ภาพเมื่อ 30 มิ.ย.2563]