ชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง Hulhumale, Maldives

เกาะ Hulhumale ประเทศ Maldives เป็นเกาะที่เชื่อมต่อกับสนามบินนานาชาติหลักของประเทศ Maldives จะเรียกว่าอยู่บนเกาะเดียวกันก็ว่าได้ พื้นที่บริเวณนี้อดีตเป็นทะเล มีการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เนื่องจากเมืองหลวง Male ซึ่งตั้งอยู่อีกเกาะหนึ่งใกล้ๆกันนั้นแออัดเต็มที พูดได้เลยว่า Maldives เนรมิตเกาะและเมืองนี้ขึ้นมาใหม่จากการถมทรายซึ่งมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเลของประเทศนี้ โดยการถมทะเลสร้างเมืองนี้แบ่งออกเป็น 2 Phase เชื่อมต่อกันด้วยสะพานข้าม ชายหาดบนเกาะนี้แม้ไม่สวยงามเมื่อเทียบกับหาดบนเกาะอื่นๆของ Maldives (ยกเว้นเมืองหลวงที่ไม่มีชายหาด) แต่ก็อาจงดงามมากกว่าชายหาดที่ชื่อว่าสวยที่สุดของหลายๆประเทศ ในโพสนี้ขอพาไปชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง สำหรับชายหาดบนเกาะ Hulhumale Phase 1 แม้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งจะพบได้น้อยมากบนเกาะแห่งนี้ แต่มีรูปแบบที่น่าสนใจที่ควรนำมาเล่าสู่กันฟัง รูปแบบอาจเรียกว่าเป็นกำแพงกันคลื่นแบบคอนกรีต เพียงแต่วัสดุและการจัดวางค่อนข้างประหลาดกว่าที่อื่นๆ โดยพบคล้ายๆคอนกรีตที่บรรจุอยู่ในถุง แล้วนำมาวางแบบค่อนข้างแบนราบล้อไปตามความลาดของชายหาดบนแผ่นใยสังเคราะห์ มีความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 15 องศา โดยพบความเสียหายบางตำแหน่งของกำแพง ที่น่าแปลกคือไม่พบถุงที่ควรจะห่อหุ้มคอนกรีตนี้อยู่บนชายหาดเลย สภาพของวัสดุที่พบนั้นคล้ายก้อนหินมาก ไม่แน่ใจว่าสร้างด้วยวิธีการไหนอย่างไร Beach Lover ยังพบโครงสร้างลักษณะคล้ายกันนี้บนเกาะอื่นของ Maldives ด้วยเช่นกัน ติดตามได้จากโพสถัดๆไป

Beachlover

January 22, 2024

กำแพงกันคลื่น หาดn้องศาลา เกาะพะงัน

หาดท้องศาลาบนเกาะพะงัน เป็นชายหาดที่อยู่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่มาจากดอนสัก และเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูแรกสู่เกาะพะงันก็ว่าได้ บริเวณนี้คลื่นลมค่อนข้างรุนแรงในบางฤดูกาลเหมาะแก่การเล่นกีฬาทางน้ำหลายประเภท เช่น Kitesurf, Windsurf และ เรือใบ บริเวณหาดท้องศาลามีที่พักจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นที่พักค่อนข้างเก่า เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนมากที่พักมีหน้าหาดค่อนข้างกว้าง มีบางรีสอร์ทเท่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะสร้างประชิดทะเลมากๆจนทำให้ต้องป้องกันพื้นที่ของตนเองด้วยกำแพงกันคลื่น Beach Lover พาชมกำแพงกันคลื่นบริเวณรีสอร์ทแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดท้องศาลา ดูจากสภาพกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งแล้วเข้าใจว่าสร้างโดยเจ้าของที่ดินบริเวณนี้เพื่อป้องกันที่ดินหน้าหาดของตนเอง แต่ด้วยลักษณะของกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ส่งผลให้คลื่นที่วิ่งปะทะกับกำแพงสะท้อนกลับแล้วนำทรายด้านหน้ากำแพงหดหายไปจนหมด พบว่าแม้ยามน้ำขึ้นไม่เต็มที่พื้นที่บริเวณนี้ก็แทบจะไม่มีด้านหน้าชายหาดเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างๆรีสอร์ทที่ยังไม่ได้สร้างกำแพงกันคลื่น ซึ่งพบว่ายังคงมีชายหาดหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นจากการเดินสำรวจยังพบอีกว่าพื้นที่ด้านบนหรือด้านหลังของกำแพงกันคลื่นมีร่องรอยความเสียหายจากคลื่นที่กระเซ็นและกระโดดข้ามทำให้ดินทรายด้านหลังกำแพงกันคลื่นหลุดล่อนจนส่งผลให้เป็นหลุมบ่อจำนวนมาก โดยยังพบอีกว่ามีการนำถุงทรายมาวางและมีตะแกรงเหล็กวางครอบด้านหน้าเพื่อป้องกันบ้านพักในรีสอร์ทจำนวนหนึ่งหลังที่อยู่โซนหน้าทะเล นับเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าของที่ดินอย่างมาก เพราะการสร้างกำแพงกันคลื่นไม่เคยก่อให้เกิดผลดีกับชายหาดไหนเลย ซ้ำร้ายจะทำให้ชายหาดหน้ารีสอร์ทของตนนั้นหายไปจนหมดสิ้น โดยไม่มีทางที่จะกลับมาได้อีก ทำให้มูลค่าชายหาดด้านหน้ากำแพงนั้นลดลง ความสวยงามของชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทก็ลดลง ต่อไปถ้าลูกค้าพูดกันปากต่อปากว่ารีสอร์ทนี้ไม่มีชายหาดแล้ว ก็จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เข้ามาใช้บริการรีสอร์ทแห่งนี้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาดท้องศาลาเป็นบริเวณที่มีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากมาย ลูกค้าสามารถเลือกรีสอร์ทอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ที่มีชายหาดที่สวยงามกว่า เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า (ภาพเมื่อ ธันวาคม 2566)

Beachlover

January 18, 2024

EIA ใหม่ กำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ!

วันที่ 8 มิ.ย.2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2566 สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล ประกอบด้วย รอดักทราย เขื่อนกันทรายและคลื่น รอบังคับกระแสน้ำ แนวเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งทะเล และ กำแพงติดแนวชายฝั่งทะเล ทุกขนาด ต้องจัดทำ EIA ส่วนขั้นตอนในการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA นั้น ต้องเสนอในขั้นขออนุมัติ หรือ ในขั้นขออนุญาตโครงการ แล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่ไม่ให้ใช้บังคับกับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เอกสารที่เกี่ยวข้อง: ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับปรับปรุง (Click ชื่อเรื่องเพื่อเปิดเอกสารฉบับเต็ม)

Beachlover

January 5, 2024

กำแพงกันคลื่น ท่าบอน ยังสบายดี?

ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปลายเดือนธันวาคม 2566 Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่เคยมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ไปเมื่อหลายปีก่อน โดยในช่วงสองปีมานี้ ชาวบ้านบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นนี้อย่างหนัก ทั้งๆที่การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นควรจะส่งผลดีต่อพื้นที่ด้านหลังกำแพง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนชาวบ้านต้องส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับเหลียวหลังดูซากปรักหักพังที่เกิดจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นที่สร้างต่อเนื่องเป็นแนวยาวในชุมชน เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแนวดิ่ง จะสะท้อนออกไปนอกชายฝั่งโดยจะกวาดเอาทรายบนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปด้วย ในขณะที่คลื่นอีกส่วนหนึ่งจะยกตัวสูงขึ้นแล้วกระโจนข้ามสันกำแพง ปะทะกับพื้นที่ด้านหลัง เกิดน้ำท่วมพื้นที่ด้านใน แรงที่คลื่นตกกระทบบนพื้นทรายหลังจากข้ามสันกำแพงกันคลื่นมาแล้วยังส่งผลให้เนินทรายด้านหลังเกิดความเสียหาย ทรายไหลตามน้ำ เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงอย่างรุนแรง จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นและควรจะรู้สึกอุ่นใจจากโครงสร้างนี้ ต้องนำกระสอบทราย ไม้ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆมาวางเพื่อป้องกันบ้านตนเอง นอกจากนี้แล้วแรงปะทะและการกระเซ็นข้ามของคลื่นส่งผลให้เกิดไอเค็มกระจายไปไกล ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย กรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สร้างกำแพงหินเรียงอีกชั้นหนึ่งมาครอบทับกำแพงแนวดิ่งนี้ไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ตลอดทั้งแนวชายฝั่งที่เกิดผลกระทบ น่าติดตามต่อไปว่า ผลกระทบนี้ยังดำรงอยู่ไปนานแค่ไหน และกรมเจ้าท่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ชมคลิป VDO เพิ่มเติมได้จาก https://youtu.be/p_dw3mu94vU?si=mpCH6OFguiQyOuqk

Beachlover

January 3, 2024

กำแพงหาดมหาราช ยังอยู่ในงบปี 67 แม้ศาลสั่งคุ้มครอง

ในโอกาสที่งบประมาณแผ่นดินปี 2567 กำลังจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2567 นี้ Beach Lover ชวนท่านผู้สนใจตามอ่านเอกสารร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) กันได้ตาม Link นี้ งบประมาณรายจ่าย 2567 สำนักงบประมาณ Beach Lover พบว่างบประมาณปี 2567 จำนวน 76.862 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ระยะทาง 555 เมตร ปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างใดๆ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบก็วิตกกังวลไม่น้อย แม้ว่าวันนี้ศาลปกครองสงขลาจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ไปแล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/maharaj-case-dec2023/) แต่งบประมาณส่วนนี้ยังคงปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณขาวคาดแดงปี 2567 เนื่องจากมีการจัดทำแล้วพิมพ์เผยแพร่ก่อนคำสั่งศาล […]

Beachlover

January 2, 2024

ความเสียหายของชายหาดด้านท้ายกำแพงกันคลื่น เขารูปช้าง สงขลา

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของกำแพงกันคลื่นบริเวณบ่ออิฐ-แกะแต้ว จ.สงขลา ไปแล้วหลายรอบ ติดตามได้จากโพสเก่าๆเช่น https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื/ รอบนี้ Beach Lover ได้ลงสำรวจในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังค่อนข้างแรง (25 ธันวาคม 2566) พบว่าชายหาดทางทิศเหนือ (ท้ายน้ำ) ส่วนที่ติดกับกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่านั้นถูกกัดเซาะไปมากกว่าในอดีตมาก ตามภาพที่ Beach Lover ได้ติดตามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปลายปี 2566 ดังภาพ ในส่วนของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่นั้นพบว่ายังมีสภาพดี มีเพียงคลื่นที่กระโจนข้ามสันกำแพง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ด้านหลังนั้นทำได้ยากในช่วงฤดูกาลนี้

Beachlover

December 31, 2023

ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นฟ้องหมิ่นชาวสงขลา คาดปมแชร์โพสต์-วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด

ที่มา: https://prachatai.com/journal/2023/12/107389 เพจเฟซบุ๊ก ‘Beach for life’ แจ้งมีประชาชนจากสงขลา ถูกนักวิชาการย่านศรีราชา ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่น ฟ้องหมิ่นประมาทอาญา และ พ.ร.บ.คอมฯ คาดปมแชร์โพสต์วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่น ด้านผู้ถูกฟ้องเผยพร้อมสู้คดีถึงที่สุด 26 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก “Beach for life” โพสต์ข้อความวันนี้ (26 ธ.ค.) แจ้งว่า วานนี้ (25 ธ.ค.) มีประชาชน อ.เทพา จ.สงขลา ถูกกล่าวหา ดำเนินคดีอาญา ข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ที่ สภ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เบื้องต้น ทางเพจฯ คาดว่าสาเหตุมาจากการแชร์โพสต์โซเชียล และวิจารณ์ผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด ทั้งนี้ ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นนักวิชาการดังย่านศรีราชา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นริมชายหาดหลายโครงการ สำหรับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ […]

Beachlover

December 29, 2023

หาดนราทัศน์หายไปไหน? กลับมารึยัง?

Beach Lover ได้เคยนำเสนองานวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณหาดนราทัศน์ไปแล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆ (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-หาดนราท/) Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามบริเวณหาดนราทัศน์อีกครั้งในเดือนตุลาคม 2566 ครั้งนี้ชวนเดินสำรวจ “กำแพงกันคลื่น” ด้านหลังของ “เขื่อนกันคลื่น (Breakwater)” ตัวที่ 7 และ 8 ทางทิศเหนือของหาดนราทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง แต่ดูเหมือนว่าหินที่นำมาก่อสร้างนั้นคัดขนาดมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ รวมถึงมาตรฐานงานก่อสร้างด้วย จึงพบความเสียหายบนสันกำแพงเกือบตลอดทั้งแนว พื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้นมีบ้านเรือนประชาชนน้อยมาก พบร่องรอยการท่วมถึงของน้ำทะเลในอดีต และมีถนนดินเส้นเล็กๆวิ่งเลียบกับแนวกำแพงกันคลื่นไปยังปากคลอง อันที่จริงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นทั้ง 8 ตัวที่วางอยู่นอกชายฝั่งด้านหน้ากำแพงกันคลื่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยทั่วไปจะสามารถป้องกันพื้นที่ด้านหลังโครงสร้างให้ปลอดภัยได้ แต่จะเกิดผลกระทบในพื้นที่ถัดไปและพื้นที่ระหว่างช่องเปิดของโครงสร้าง (https://beachlover.net/โครงสร้างชายฝั่งทะเล-เข/) แต่ในกรณีนี้ เพราะเหตุใดชายหาดด้านหลังจึงหายไปทั้งหมดในอัตราที่น่าตกใจ คือถูกกัดเซาะหายไปถึง 140 เมตรในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา จนเป็นสาเหตุให้ต้องสร้างกำแพงกันคลื่นด้านหลังอีกชั้นหนึ่ง … ควรตั้งคำถามไปที่ใครดี?!?

Beachlover

October 31, 2023

งานป้องกันชายฝั่งริมหาด Kuta กันอีกรอบ

Kuta วันนี้ ต่างจากเมื่อ 11 เดือนก่อนมากพอสมควร นักท่องเที่ยวล้นหลาม ไม่มีการตรวจใบฉีดวัคซีน และไม่มีใครใส่หน้ากาก มีงานก่อสร้างปรับภูมิทัศน์เกิดขึ้นตลอดแนว บางส่วนเสร็จแล้ว และบางส่วนกำลังสร้างอยู่  Beach Lover เคยพาชมงานก่อสร้างริมชายหาด Kuta มาแล้วเมื่อ 11 เดือนก่อน ติดตามได้จาก งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาด Kuta Bali 11 เดือนผ่านมา Beach Lover ขอพาชมโครงสร้างบางส่วนริมชายหาดกันอีกรอบ โดยพบว่างานก่อสร้างที่พบเมื่อปีก่อน คือการสร้างอาคารที่มีบางส่วนยื่นล้ำลงไปในทะเล พร้อมด้วยงานถมหินริมหาดรอบๆบริเวณนั้น เมื่อเดินเท้าสำรวจพบว่า พื้นที่ด้านบนได้ถูกปรับภูมิทัศน์เป็นทางเดินคอนกรีตเลียบชายหาดตลอดแนว โดยมีหินและกระสอบทรายมาวางด้านนอกเพื่อป้องกันทางเดินเท้านี้อีกชั้นหนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าหินที่นำมาใช้นั้นไม่ใช่หินเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป แต่เป็นซากของปะการังที่ตายแล้ว นอกจากนั้นยังพบว่า งานวางกระสอบทรายก็ไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยวางกันอย่างระเกะระกะ วางอยู่บนหินบ้าง ใต้หินบ้าง ด้านหน้าบ้าง เข้าใจว่ามิได้มีการวางแผนการก่อสร้างแบบถูกต้องตามหลักวิชานัก  งานก่อสร้างกำแพงริมทะเลแบบนี้นั้นพบเฉพาะหาด Kuta ด้านทิศใต้เท่านั้น ระยะทางยาวต่อเนื่องประมาณ 500 เมตรเห็นจะได้ โดยชายหาดส่วนถัดพบเฉพาะงานปรับภูมิทัศน์ทางเข้าชายหาด และทางเดินคอนกรีตริมชายหาดเท่านั้น น่าติดตามกันดูต่อไปว่า หาด Kuta และส่วนต่อเนื่องถัดไปทางทิศเหนือที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันได้อย่าง Legian และ […]

Beachlover

October 2, 2023
1 2 24