เปิดงบโครงการป้องกันชายฝั่งที่ขอตั้งใหม่ปี 2565!

จากที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เพื่อป้องกันชายฝั่งของ 3 กรมหลักไปแล้วตามนี้ https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ ในตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะโครงการป้องกันชายฝั่งที่จะขอตั้งใหม่ในปีงบประมาณ 2565 หรือไม่ผูกพันมาตั้งแต่ปีก่อนๆ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง รวมทั้งสิ้น 6 โครงการจากทั้งหมด 53 โครงการใน 5 จังหวัด จากร่างงบประมาณ 2565 โดยมีรูปแบบเป็นโครงสร้างประเภทกำแพงกันคลื่นทั้งหมด ประเด็นที่น่าตั้งคำถามต่อการตั้งงบประมาณในครั้งนี้คือมี 3 จาก 6 โครงการที่ตั้งใหม่ด้วยงบประมาณปี 2565 นี้ ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเพิ่งจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการครั้งที่ 1 ไปในเดือนนี้ (ก.ค.2564) จึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า (1) หน่วยงานทราบได้อย่างไรว่าประชาชนจะยอมรับโครงการทั้ง 3 แห่งนี้ (2) หน่วยงานทราบได้อย่างไรว่า โครงสร้างกำแพงกันคลื่นจะเป็นทางเลือกที่ประชาชนต้องการมากที่สุด อะไรทำให้หน่วยงานมั่นใจถึงขนาดตั้งงบประมาณรอไว้ล่วงหน้าแล้วได้แบบนี้ ?!?

Beachlover

July 18, 2021

คลื่นซัด!! หาดปากน้ำปราณแนวเขื่อนพังราบ

ที่มา: http://www.prachuppostnews.com/ คลื่นลมแรงในทะเลพัดเข้าทาโถมเข้าหาชายฝั่ง น้ำทะเลกัดเซาะจนเขื่อนกันคลื่น ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พังได้รับความเสียหายยาวเพิ่มมากขึ้น เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ ต้องนำธงแดงมาปักห้ามไม่ให้เข้าบริเวณพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเกรงจะเป็นอันตราย วันนี้(วันที่14มกราคม2563)   ผู้สื่อข่าวเดินทางลงไปบริเวณ  ชายหาดปากน้ำปราณ ต.ปากน้ำปราณ  อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้รับการแจ้งจากชาวบ้านว่าเขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายต่อเนื่องมาหลายปียังไม่มีหน่วยงานภาครัฐ   ที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน       ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว    มีทั้งร้านอาหาร   โดยปัจจุบันการกัดเซาะชายหาดปากน้ำปราณ หนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง    ซึ่งสภาพเขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายเป็นแนวยาวบริเวณตั้งแต่     เลยสะพานปลามาถึงบริเวณร้านอาหารจนไปถึงบริเวณแนวเขื่อนกันคลื่นอีกส่วนที่ยังไม่เสียหาย บริเวณจุดที่เสียหายเกิดจากคลื่นลมมรสุมรุนแรงของทุกปีที่ซัดเข้าหาชายฝั่งปากน้ำปราณ  จนสร้างความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่หาดถูกกัดเซาะเข้ามาด้านในกว่า5เมตรทั้งที่เป็นร้านอาหารและบริเวณลานพักผ่อนปูตัวหนอนแนวต้นสนหายไปถึง2ชั้นแล้ว ในปัจจุบันนี้ ด้านนายธงชัย สุณาพันธ์ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำปราณ  กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปีและปีนี้ยอมรับว่าหนักการกัดเซาะลึกเข้ามาในพื้นที่ด้านใน ซึ่งปัญหาการกัดเซาะที่นี่ ตนเองได้ทำหนังสือให้อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับทราบแล้วเมื่อวานนี้ถึงความเสียหายแนวยาวหลายร้อยเมตร ซึ่งการดำเนินการต้องอาศัยกรมโยธาธิการและผังเมือง  ลำพังเทศบาลฯไม่สามารถดำเนินการได้ ยิ่งตอนนี้สะพานปลาเก่าเหลือแต่เสาทำให้กระแสคลื่นซัดเข้ามาในจุดที่พบเสียหายอย่างหนักและรุนแรงขึ้น ทางเทศบาลฯทำได้เพียงปักธงแดง และกั้นแนวเชือกและแนวรั้วไม้ไผ่เท่านั้น ว่าห้ามทุกคนเข้าไปเป็นจุดอันตราย หากแก้ไขเฉพาะหน้าก็ต้องรอให้คลื่นลมสงบในช่วงเดือนมีนาคมนี้   จะนำถุงบิ๊กแบ็คไปทิ้งเอาไว้เพื่อเป็นแนวป้องกันชั่วคราว จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวจะเข้ามาซ่อมแซมและน่าจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก นางสาวธนวัฒน์  ธนศร เจ้าของร้านอาหารชวนนั่ง กล่าวว่าคลื่นลมแรงตั้งแต่ก่อนปีใหม่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างหนัก จนกัดเซาะเข้ามาด้านใต้พื้นศูนย์อาหาร  และมาหลังปีใหม่ก็ยังหนักอยู่จึงว่าจ้างรถลงไปตักทรายเข้ามาถมด้านใต้ไปบ้างแล้วโชคดีวันนี้คลื่นลมเริ่มเบาเริ่มพัดทรายเข้ามาบ้าง แต่ก็อยากให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไข  เพราะเกิดขึ้นทุกปี และเป็นอันตราย

Beachlover

January 15, 2021

ได้คำตอบแล้ว ท่อซีเมนต์ ณ หาดหว้าขาว

หาดหว้าขาวอยู่ทางทิศใต้ของกุยบุรี เป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องกว่า 20 กิโลเมตร ตั้งแต่ตำบลบ่อนอกเรื่อยไปจนถึงตำบลอ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สภาพทั่วไปเป็นหาดทรายขาวยาวต่อเนื่อง มีป่าชายหาดปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ มีบ้านส่วนตัว รีสอร์ท และชุมชนประปราย ส่วนมากเป็นพื้นที่เอกชนแปลงโล่งที่ยังไม่ได้พัฒนา เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 Beach Lover ได้ลงสำรวจภาคสนามโดยการถ่ายภาพมุมสูง พบการวางท่อซีเมนต์ต่อกันเป็นแนวยาว 8-9 ท่อต่อ 1 แนว โดยวางตั้งฉากกับชายฝั่งประหนึ่งเป็นรอดักทราย [ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอดักทราย https://beachlover.net/groin/ ] ณ หาดหว้าขาว บ่อนอก ในพิกัด UTM ประมาณ 590994E และ 1321031N โดย Beach lover ได้นำเสนอไปแล้วตามโพสนี้ https://beachlover.net/ท่ออะไร-ยังไง-หาดหว้าขาว-บ่อนอก/ โดย ณ ขณะนั้นยังไม่ทราบเจ้าของและสาเหตุการวาง หลังจากนำเสนอไปแล้วระยะหนึ่ง ได้รับความร่วมมือจากผู้รักชายหาด และเจ้าหน้าที่จากกรมเจ้าท่าลงไปตรวจสอบพบว่าเป็นการก่อสร้างในแนวกรรมสิทธิ์มิได้ล่วงล้ำลำน้ำแต่ประการใด โดยได้ตรวจสอบแล้วจากโปรแกรม land map ของกรมที่ดิน คาดว่าสร้างมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี Beach Lover ต้องขอขอบคุณประชาชนผู้รักชายหาดที่ได้แจ้งไปยังกรมเจ้าท่าให้ช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ […]

Beachlover

December 29, 2020

สดๆร้อนๆ ! เปิด (ร่าง) งบประมาณแผ่นดินปี 2564 เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งใน 3 กรม

สดๆร้อนๆ !!! (ร่าง) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและซ่อมแซมโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ประจำปีงบประมาณ 2564 ใน 3 กรม จาก 3 กระทรวง รวม 1,735,484,800 บาท มีหลายประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกต โดยเฉพาะงานป้องกันชายฝั่งในจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 12 โครงการ พบว่าหลายพื้นที่ก่อสร้างไม่มีบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ต้องป้องกัน โดยโครงการถูกบรรจุไว้ในแผนบูรณาการโครงการมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้ (ขาวคาดแดงเล่มที่ 8 และ ขาวคาดแดงเล่มที่ 18-1) บางโครงการแม้สร้างอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ถูกตั้งงบประมาณกระจายไปในหลายโครงการ เช่น โครงการป้องกันชายฝั่งปากแตระ ระโนด จ.สงขลา จำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่หมู่ 3, 4 และ 5 ที่ตั้งงบประมาณไว้ใน โครงการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และโครงการป้องกันการสูญเสียดินแดน (ขาวคาดแดงเล่มที่ 8) ประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ทั้ง 80 โครงการในปี 2564 […]

Beachlover

July 1, 2020

การมาถึงของโครงสร้างบางอย่าง ณ หาดราไว จ.สตูล [17 เม.ย. 2563]

หาดราไว (Rawai Beach) แหล่งท่องเที่ยวใน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่มีการตกสะสมตัวของตะกอนทรายจากตอนเหนือบริเวณปากคลองวังวนที่บ้านราไวเหนือ และยาวต่อเนื่องลงไปทางตอนใต้จนถึงปากคลองยานซื่อด้านตรงข้ามกับบ้านตันหยงละไน้ รวมเป็นหาดทรายที่มีความยาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เป็นหาดทรายที่เกิดจากกระแสน้ำเลียบชายฝั่งพัดพาเอาตะกอนทรายมาสะสมตัวงอกขนานไปกับแนวชายฝั่ง โดยมีแนวป่าชายเลนอยู่ระหว่างสันดอนทรายกับชายฝั่งทะเลที่เป็นพื้นที่เชิงเขา ผืนทรายมีลักษณะสีเทาคล้ำด้วยเศษซากอินทรีย์ บางบริเวณพบการสลับกันระหว่างชั้นเศษซากอินทรีย์กับชั้นทรายบาง ๆ เรียงซ้อนขนานไปกับแนวชายฝั่ง (http://www.satun-geopark.com) ทีม Beach Lover ได้ลงพื้นที่นี้เมื่อปี 2560 พบว่าชายหาดแห่งนี้มีความลาดชันหน้าหาดเพียง 2.60 องศา (ความลาดชันชายหาดเฉลี่ยของหาดทรายประเทศไทยคือ 7 องศา)และมีขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายปนโคลนที่ค่อนข้างละเอียดคือ 0.12 มิลลิเมตรเท่านั้น (ขนาดเฉลี่ยของหาดทรายประเทศไทยคือ 0.25 มิลลิเมตร) จากการสังเกตสภาพโดยรวมพบว่า มีถนนเลียบชายฝั่งตลอดแนว แต่มิได้ประชิดชายฝั่งมากนัก มีจุดแวะพักสำหรับนักท่องเที่ยว ลานจอดรถ และสนามเด็กเล่น มีกำแพงกันคลื่นขนานไปกับแนวชายหาดตั้งแต่จุดแวะพักนักท่องเที่ยวขึ้นไปทางทิศเหนือจรดปากคลอง สร้างโดยองค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลาน ไม่มีชุมชนอาศัยอยู่บริเวณนั้น มีเพียงบ้านกระจายทางฝั่งตะวันออกของถนนอย่างประปราย ช่วงน้ำลงชายหาดกว้างมากกว่า 50 เมตร และน้ำทะเลสามารถขึ้นถึงริมฝั่งได้ในช่วงน้ำขึ้นของบางฤดูกาล จนเดือนเมษายน 2563 เครือข่ายของ Beach for life […]

Beachlover

April 20, 2020

โครงสร้างบางอย่างกำลังเกิดขึ้น ณ ชายหาดระวะ อ.ระโนด สงขลา [15มี.ค.2563]

ชายหาดระวะ อ.ระโนด จ.สงขลา ยามนี้ (15 มี.ค. 2563) กำลังมีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง คาดว่าน่าจะเป็นกำแพงกันคลื่น ขณะนี้ทีม Beach lover ยังไม่ทราบรายละเอียด หากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมจะนำมาเสนอโดยไว

Beachlover

March 23, 2020

พาชมกำแพงกันคลื่นหน้าวัดเกาะพยาม จ.ระนอง [11ก.พ.2563]

พาชมกำแพงกันคลื่นหน้าวัดเกาะพยาม ณ เกาะพยาม จ.ระนอง ดำเนินการโดยวัด เพื่อการอยู่รอดของวัด ประกอบด้วยกำแพงคอนกรีตแบบเอียง และกำแพงที่สร้างโดยหล่อปูนในยางรถยนต์ ช่วงที่ทำการสำรวจเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น พบว่าด้านหน้าโครงสร้างนั้นแทบไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่เลย ดูจากพื้นที่ข้างเคียงแล้ววัดน่าจะล้ำลงมาใช้ประโยชน์บนชายหาด จนทำให้ต้องสร้างโครงสร้างป้องกันแบบนี้

Beachlover

February 13, 2020

กำแพงกันคลื่นใน 3 พื้นที่ ที่ต้องตั้งงบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” [17ม.ค.2563]

กําแพงกันคลื่น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทําให้พื้นที่ด้านหลัง กําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ มักใช้ในการป้องกันชายฝั่งที่มีพื้นที่แคบๆ นิยมใช้ในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ไม่สูงมากนัก อาจมีได้หลากหลายรูปแบบเช่น กําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง แบบเข็มพืด แบบ Tetrapod แบบเกเบียน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่และงบประมาณ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นที่เข้ามากระทบโดยจะมีความ รุนแรงมากหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ ด้านหน้ากําแพงได้ เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ทําให้เกิดการกัดเซาะบริเวณหน้ากําแพงกันคลื่น ทําให้การเข้าถึงชายหาดถูกปรับเปลี่ยนสภาพไป อาจเกิดความไม่สะดวกขึ้น ทําให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานและด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) โดยมีลักษณะเป็น Local effect หากเป็นกําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมักก่อให้เกิดอันตรายเมื่อลม พายุขนาดใหญ่หอบเอาหินเข้ามาที่ชายฝั่งด้านใน เป็นอันตรายต่อ พื้นท่ีใกล้เคียงได้ ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพริมทะเล ที่สำคัญ หากจุดสิ้นสุดของปลายกำแพงไม่ใช่หัวหาด หัวแหลม โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง หรือโครงสร้างปากแม่น้ำ จะเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องทางด้านท้ายน้ำ จนอาจจะต้องสร้างกำแพง “ต่อไปเรื่อยๆ” ใช้งบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ “ต่อไปเรื่อยๆ” ตามรูป คำถามตัวโตๆคือ ประเทศไทยร่ำรวยพอที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิมๆ “ต่อไปเรื่อยๆ” หรือไม่

Beachlover

January 17, 2020

ข้อสังเกตบางประการ: โครงการป้องกันการกัดเซาะหาดทรายแก้ว จ.สงขลา [14 ม.ค.2563]

จากเอกสาร “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลชิงโค ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จ.สงขลา (บริเวณหาดทรายแก้ว)” ที่ได้จัดทำไว้เมื่อพฤษภาคม 2558 โดยบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมีเจ้าของงานคือกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พบรายละเอียดของโครงการดังนี้ (หน้า 2-57 ถึง 2-58) การก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดทรายแก้ว ได้ออกแบบให้เป็น เขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งสันต่ำ จำนวน 6 ตัว ทำหน้าที่สลายพลังงานคลื่น และมีหัวหาด (Head land) ทั้งทางด้านเหนือ (NHL) และด้านใต้ (SHL) ของโครงการเป็นตัวควบคุมความสมดุลของแนวชายฝั่ง โดยหัวหาดเหนือห่างจาก Spending beach breakwater ประมาณ 100 เมตร และหัวหาดด้านใต้ห่างออกจากฝั่งประมาณ 300 เมตร นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบให้มีช่องระบายน้ำอยู่ชิดกับหัวหาด และมีกำแพงกันดินแบบหินทิ้ง (RR1 และ RR2) ทั้ง 2 ข้างของช่องทางระบายน้ำ เพื่อกันทรายไม่ให้ถูกพัดเข้าไปทับถมในทางระบายน้ำดังรูป สำหรับการเสริมทราย จะดำเนินการรื้อรอดักทรายบริเวณเดิมออก […]

Beachlover

January 14, 2020
1 2