หาดนราทัศน์หายไปไหน? กลับมารึยัง?

Beach Lover ได้เคยนำเสนองานวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณหาดนราทัศน์ไปแล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆ (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-หาดนราท/) Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามบริเวณหาดนราทัศน์อีกครั้งในเดือนตุลาคม 2566 ครั้งนี้ชวนเดินสำรวจ “กำแพงกันคลื่น” ด้านหลังของ “เขื่อนกันคลื่น (Breakwater)” ตัวที่ 7 และ 8 ทางทิศเหนือของหาดนราทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง แต่ดูเหมือนว่าหินที่นำมาก่อสร้างนั้นคัดขนาดมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ รวมถึงมาตรฐานงานก่อสร้างด้วย จึงพบความเสียหายบนสันกำแพงเกือบตลอดทั้งแนว พื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้นมีบ้านเรือนประชาชนน้อยมาก พบร่องรอยการท่วมถึงของน้ำทะเลในอดีต และมีถนนดินเส้นเล็กๆวิ่งเลียบกับแนวกำแพงกันคลื่นไปยังปากคลอง อันที่จริงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นทั้ง 8 ตัวที่วางอยู่นอกชายฝั่งด้านหน้ากำแพงกันคลื่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยทั่วไปจะสามารถป้องกันพื้นที่ด้านหลังโครงสร้างให้ปลอดภัยได้ แต่จะเกิดผลกระทบในพื้นที่ถัดไปและพื้นที่ระหว่างช่องเปิดของโครงสร้าง (https://beachlover.net/โครงสร้างชายฝั่งทะเล-เข/) แต่ในกรณีนี้ เพราะเหตุใดชายหาดด้านหลังจึงหายไปทั้งหมดในอัตราที่น่าตกใจ คือถูกกัดเซาะหายไปถึง 140 เมตรในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา จนเป็นสาเหตุให้ต้องสร้างกำแพงกันคลื่นด้านหลังอีกชั้นหนึ่ง … ควรตั้งคำถามไปที่ใครดี?!?

Beachlover

October 31, 2023

นศ.วัย 16 ปี จมทะเลหาดแสงจันทร์ ร่างติดซอกหินของเขื่อนกันคลื่น

ที่มา: https://www.fm91bkk.com/newsarticle เมื่อเวลา 11:00 น.ของวันที่ 3 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างพรกุศลระยอง และทีมค้นหาใต้น้ำ ก็คนพบร่างของ นางสาวเพชรดา นักเรียนหญิง ชั้น ปวช. ปี 1 อายุประมาณ 15-16 ปี ของวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง ที่ถูกคลื่นซัดจมหายไปในทะเล ขณะลงเล่นน้ำกับเพื่อนรวม 4 คน ที่บริเวณชายหาดแสงจันทร์ ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองจังหวัดระยอง เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ โดยพบร่างของผู้สูญหาย ติดอยู่กับซอกหินของเขื่อนกันคลื่น เจ้าหน้าที่ต้องใช้อุปกรณ์ยกหินออกก่อน จึงสามารถนำร่างขึ้นฝั่งได้ ท่ามกลางความเสียใจของญาติ ๆ ที่มาเฝ้ารอสังเกตการณ์ค้นหา ตั้งแต่เมื่อคืน จนถึงเช้าวันนี้ โดยเมื่อช่วงเช้าญาติผู้เสียชีวิตได้ทำการจุดธูป 7 ดอกไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขอให้พบร่างของน้อง ต่อมาไม่นานเจ้าหน้าที่กู้ภัยก็พบว่าร่างของน้อง ติดอยู่ที่บริเวณซอกหินของเขื่อนกันคลื่น โดยพบว่าตามร่างกายมีบาดแผลฉีกขาด ตามบริเวณใบหน้า และร่างกายเต็มไปด้วยรอยขีดข่วนคาดว่าจะถูกคลื่นซัดกระแทกกับโขดหินในทะเล อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) ได้ที่ https://beachlover.net/breakwater/

Beachlover

September 3, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 6 อ่าวมะนาว-หาดนราทัศน์

“โห! พี่ไม่ได้มานานเท่าไหร่จำไม่ค่อยได้ละ หาดกว้างกว่าเดิมเยอะมาก” รุ่นพี่ทาบภาพที่เห็นตรงหน้ากับความทรงจำของอ่าวมะนาวเมื่อครั้งอดีต  “อืม..สวยเน้อะ” เม็ดทรายเอ่ยพลางเปิด Google Earth เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของชายหาดอ่าวมะนาวและหาดนราทัศน์  “สำหรับคนเมืองนราอ่ะนะ ถ้าคิดถึงทะเลก็จะมีที่นี่กับที่หาดนราทัศน์ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งเท่านั้นแหล่ะ มันใกล้เมืองที่สุดละ ตอนสมัยเรียนมัธยมในเมือง โรงเรียนพี่เค้าก็จะพานักเรียนมาทำกิจกรรมเรื่องสิ่งแวดล้อมกันที่นี่แหล่ะ”  “เมื่อกี้พี่บอกว่า หาดมันกว้างมากขึ้นใช่ไหม ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน พี่พอจำได้ไหม” เม็ดทรายถามพลางละสายตาจาก Google earth  “อืม..ไม่รู้สิ จำไม่ได้ และก็ไม่ได้มานานมากแล้วหล่ะ มันสำคัญยังไงหรอ” รุ่นพี่พยายามนึก และก็ถามกลับแบบงงๆ “พี่พาไปฝั่งหาดนราทัศน์หน่อยสิ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะ” เม็ดทรายพูดพร้อมกระโดดขึ้นรถอย่างฉับไว รถมาจอดหลังกองหินกองหนึ่งจากหลายๆกองที่วางตัวอยู่นอกฝั่งบริเวณชายหาดนราทัศน์ เมื่อหันหน้าออกทะเลและมองไปทางขวามือจะพบโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา (Jetty)(https://beachlover.net/jetty/) ส่วนกองหินที่รุ่นพี่พารถมาจอดด้านหลังนั้นก็คือเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) (https://beachlover.net/breakwater/) โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา ซึ่งเขื่อนที่ปากร่องน้ำนี้เองที่ส่งผลให้หาดนราทัศน์ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันอีกฝั่งหนึ่งของหาด ซึ่งก็คืออ่าวมะนาวนั้นมีทรายมาทับถมจนชายหาดขยายกว้างขึ้น “อ้อ…มิน่าหล่ะ หาดตรงอ่าวมะนาวมันถึงกว้างขึ้นมากขนาดนี้” รุ่นพี่ถึงบางอ้อ จากคำอธิบายของเม็ดทราย “แล้วตรงนี้ทำไมหาดมันเว้าๆแหว่งๆแบบนี้หล่ะ จำได้ลางๆว่าตอนมาทำกิจกรรมกับโรงเรียนชายหาดมันยาวๆเป็นแนวเดียวกันไปนะ” (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-นราทัศน์/) “ตามหลักฟิสิกส์เลยพี่ คลื่นมันเลี้ยวเบนหลังกองหินนั่น ด้านหลังเป็นจุดอับคลื่น ตะกอนก็ตกกลายเป็นสันทรายยื่นออกไปแบบนี้ เราเรียกตรงที่เรายืนอยู่นี่ว่า Tombolo เวลาน้ำขึ้นมันอาจจะจมอยู่ใต้น้ำก็ได้ พอดีเรามาตอนน้ำลงพอดี […]

Beachlover

October 25, 2022

สวนเล็กๆบน เขื่อนกันคลื่น

Beach Lover ได้เดินสำรวจชายหาดแถบ Tanjong Bungah ของรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ชายหาดแห่งนี้ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเนื่องจากเข้าถึงค่อนข้างยาก และมิได้เป็นหาดสาธารณะแม้จะมีเส้นทางเดินเท้าเล็กๆลงชายหาด แต่ก็สังเกตเห็นยากและสภาพค่อนข้างแย่ต่อการเดินเท้า พบเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) (https://beachlover.net/breakwater/) 1 ตัว ทางปลายสุดของชายหาดทางทิศตะวันตก เขื่อนกันคลื่นนี้มีลักษณะที่แตกต่างจากที่พบเห็นโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากมีการปลูกต้นไม้ ต้นหญ้า ในลักษณะที่เป็นสวนหย่อมเล็กๆบนสันเขื่อนกันคลื่น ลักษณะเดียวกันนี้มีให้เห็นเช่นกันในประเทศสิงคโปร์ แต่สำหรับในประเทศไทย จะทำสันเขื่อนเป็นหินหรือเททับด้วยปูนหรือวัสดุอื่นอย่าง Elastocoast (https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/) หากจะมีต้นไม้ขึ้นบ้างก็เกิดจากธรรมชาติ มิใช่ตั้งใจจัดวางให้มีลักษณะเป็นสวนเหมือนที่นี่ พบความเสียหายของเขื่อนกันคลื่นด้านนอก (ฝั่งทะเล) บ้าง คาดว่าเกิดจากคลื่นที่ยกตัวข้ามสันเขื่อน ส่วนพื้นที่ที่เป็นสวน ต้นไม้ และสันเขื่อนฝั่งด้านในยังสมบูรณ์ดี หากการมีอยู่ของเขื่อนกันคลื่นเป็นความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เราก็น่าจะใช้โครงสร้างนี้แบบอรรถประโยชน์ อย่างน้อยทัศนะที่อุจาดตาจะได้ลดน้อยลงบ้าง

Beachlover

September 22, 2022

เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating breakwater) ตอนที่ 1

อ้างอิงบางส่วนจาก: Ploypradub, P. and Ritphring, S., Comparison of Efficiency of Floating Breakwater and Rubble Mound Breakwater, Ladkrabang engineering journal, Vol.36, No.1,pp.1-8, Mar 2019. (In Thai) เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งและเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating Breakwater) เป็นรูปแบบหนึ่งของเขื่อนกันคลื่นที่ใช้เพื่อลดพลังงานของคลื่นที่เข้าปะทะชายฝั่งทะเล ซึ่งในอดีตนิยมใช้เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะมีความแข็งแรงไม่ต้องทำการดูแลรักษามากนัก แต่ทำให้สูญเสียทัศนียภาพ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดการกัดเซาะที่บริเวณเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำสามารถใช้ได้กับพื้นที่ที่ฐานรากไม่แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ มีขนาดไม่ใหญ่ทำให้ไม่สูญเสียทัศนียภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น ไม่เหมาะสำหรับคลื่นขนาดใหญ่ และต้องการการดูแลรักษาสูง Tsinker (2004) ได้รายงานกรอบความคิดของเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำไว้ว่า โดยทั่วไปเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำถูกจำแนกว่าเป็นโครงสร้างที่สะท้อนคลื่นหรือเป็นโครงสร้างที่ทำให้พลังงานของคลื่นลดลง โดยถูกออกแบบเพื่อสะท้อนคลื่น ให้มีเพียงคลื่นที่มีพลังงานน้อยเท่านั้นที่สามารถผ่านเขื่อนกันคลื่นไปได้ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ ได้พบการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ที่มีการป้องกันคลื่นลมและคลื่นที่เกิดจากเรือในงบประมาณที่ไม่สูง และในพื้นที่อ่าวเปิดที่ไม่ได้มีคลื่นที่มีความรุนแรงมากและพื้นที่มีความลึกของน้ำค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในพื้นที่ที่มีฐานรากที่ไม่แข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของน้ำได้รวมถึงการดำรงชีวิตของปลาทำให้ไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำมีขนาดเล็กไม่รบกวนทัศนียภาพ ในช่วงทะเลสงบไม่มีมรสุมไม่จำเป็นต้องมีเขื่อนกันคลื่นก็สามารถรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ จากการศึกษาของ Bruce et al. (1985) ได้แบ่งเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ 1. กล่อง […]

Beachlover

September 11, 2022

คดีประวัติศาสตร์ใกล้ยุติแล้ว

คดีประวัติศาสตร์ที่ว่านี้คือ “คดีหาดสะกอม” ซึ่งนับว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์คดีแรกที่ประชาชนลุกขึ้นมาใช้อำนาจฟ้องรัฐในความผิดที่เกี่ยวข้องกับชายหาด โดยมีการฟ้องร้องเมื่อมกราคมปี 2551 และศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อกรกฎาคมปี 2554 โดยศาลปกครองสูงสุดได้นั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเมื่อกันยายน 2564 อ่านเรื่องราวของคดีหาดสะกอมเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/คดีสะกอม-จ-สงขลา/ และ https://beachlover.net/นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก-ตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุด-กรณีเขื่อนกันคลื่นหาดสะกอม/ และ https://beachlover.net/14-ปีผ่านไป-กับสันทรายโบราณบ้านโคกสัก/ รวมถึง E-Book คดีชายหาดจาก https://beachlover.net/การฟ้องคดีปกครอง/ มาวันนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันที่ 26 มกราคม 2565 หากนับตั้งแต่วันฟ้องคดีจวบจนถึงวันพิพากษาคดี นับว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์นี้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมนานถึง 14 ปีเต็ม คดีประวัติศาสตร์นี้จะจบลงอย่างไร Beach Lover จะนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังหลังการพิพากษา โปรดติดตาม

Beachlover

January 19, 2022

ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งท่าศาลา-ปากพนัง-หัวไทร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ๓ พื้นที่ ประกอบด้วย ๑. โครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นกัดเซาะชายทะเล/ริมหาด หาดทรายแก้ว-หาดเราะ ม.๑ – ม.๓ ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ของ อบต.ท่าขึ้น มีระยะก่อสร้างความยาว ๖.๕ กม. ผลการสำรวจมีการทิ้งหินตลอดแนว และพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบางช่วงในจุดที่ไม่มีหินทิ้ง ๒. โครงการก่อสร้างแนวเขื่อนหินใหญ่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ ม.๖ ต.ปากพนังตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ของ อบต.ปากพนังฝั่งตะวันออก ขนาดพื้นที่โครงการระยะทางยาว ๔.๒๘ กม. ผลการสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ของโครงการฯ มีหินทิ้งตลอดแนวชายฝั่ง ๓. งานก่อสร้างแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณ ม.๕ ๖ และ ๙ ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ของกรมเจ้าท่า […]

Beachlover

November 4, 2021

20 ปี บ้านหน้าศาลกับชายหาดที่หายไป

20 ปีก่อน สมัย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจชายฝั่งทะเล ต้องแบกกล้องฟิล์มตัวใหญ่ กล้องถ่าย VDO ขนาดเท่าเครื่องชงกาแฟสมัยนี้ แผนที่กระดาษมาตราส่วน 1:50,000 ม้วนเขื่องทุกระวางติดทะเล พร้อมสัมภาระพะรุงพะรัง โทรศัพท์ที่ไม่มีสัญญาณจีพีเอสและอินเตอร์เนท ไม่อาจรู้ได้เลยว่าเราอยู่ตรงไหนในแผนที่นอกจากการสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ คอยอ่านป้ายข้างๆทาง ร่วมกับการไถ่ถามจากคนรอบตัว 20 ปีก่อน ชายหาดภาคใต้แม้มีร่องรอยการกัดเซาะอย่างชัดเจนจากการแทรกแซงของมนุษย์ แต่ยังพอเสพความสมบูรณ์ของชายหาดสวยๆได้มากมาย ระหว่างทาง 20 ปีก่อน ณ หาดแห่งนี้ “บ้านหน้าศาล” คือตำแหน่งที่แวะเข้ามานั่งพักหาอะไรเย็นๆดื่ม ณ ชุมชนที่อยู่ประชิดชายฝั่ง และเป็นตำแหน่งที่คาดเดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรจากการสร้าง Jetty ของกรมชลประทานทางทิศใต้ สมัยนั้น ไม่มีใครฟังเรื่องอะไรแบบนี้ และไม่มีใครเชื่อว่า “ความวิบัติ” ของชายหาดจะเกิดขึ้นจริง 20 ปีต่อมา ชุมชนบ้านหน้าศาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งความเป็นชุมชนมุสลิมที่เคยจัดประเพณีมัสยิดบนชายหาดและในทะเล เมื่อพื้นที่ชายหาดเปลี่ยนแปลงไปประเพณีนั้นก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย การอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านออกจากที่เดิมเพราะปัญหาการกัดเซาะและน้ำทะเลเข้าท่วมหมู่บ้าน 20 ปี ที่เทคโนโลยีก้าวล้ำพัฒนาไปไกล เราสามารถลงพื้นที่สำรวจชายหาดได้อย่างตัวเบาด้วยโทรศัพท์มือถือพร้อม Application ที่พร้อมใช้เพื่องานสำรวจอัดแน่นอยู่ในเครื่องเดียว … แต่บัดนี้ ชายหาดเมื่อ 20 […]

Beachlover

August 3, 2021
1 2