ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวกัดเซาะชายฝั่งหลังสวน ทะเลชุมพร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/

วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ๔ พื้นที่ ประกอบด้วย

๑. โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งเลียบทางหลวงชนบท ชพ.๔๐๑๒ บริเวณด้านเหนือสำนักสงฆ์เขาไทรทอง (รูปปั่นพระสีวลี) ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีระยะก่อสร้างความยาว ๕๒๐ เมตร ผลการสำรวจไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

๒. โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งเลียบทางหลวงชนบท ชพ.๔๐๑๒ บริเวณ ม..๔ บ้านหินสามก้อน ต.ปากน้ำ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ของกรมโยธาธิการ มีระยะก่อสร้างความยาว ๑,๑๔๐ เมตร ผลการสำรวจไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

๓. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบ้านราษฎร์บำรุง ม.๑๐ ต.บางมะพร้าว อ.หลังสวน จ.ชุมพร ของ อบต.บางมะพร้าว มีระยะก่อสร้างความยาว ๑,๒๔๓ เมตร ผลการสำรวจไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

๔. โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ ต.บางมะพร้าว อ.หลังสวน จ.ชุมพร (ระยะ ๕) ช่วงที่ ๑ และ ๒ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีระยะก่อสร้างความยาว ๑,๕๙๖ เมตร ผลการสำรวจช่วงที่ ๑ ของโครงการไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทางด้านท้ายโครงสร้างในช่วงที่ ๒

ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งท่าศาลา-ปากพนัง-หัวไทร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/

วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ๓ พื้นที่ ประกอบด้วย

๑. โครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นกัดเซาะชายทะเล/ริมหาด หาดทรายแก้ว-หาดเราะ ม.๑ – ม.๓ ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ของ อบต.ท่าขึ้น มีระยะก่อสร้างความยาว ๖.๕ กม. ผลการสำรวจมีการทิ้งหินตลอดแนว และพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบางช่วงในจุดที่ไม่มีหินทิ้ง

๒. โครงการก่อสร้างแนวเขื่อนหินใหญ่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ ม.๖ ต.ปากพนังตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ของ อบต.ปากพนังฝั่งตะวันออก ขนาดพื้นที่โครงการระยะทางยาว ๔.๒๘ กม. ผลการสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ของโครงการฯ มีหินทิ้งตลอดแนวชายฝั่ง

๓. งานก่อสร้างแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณ ม.๕ ๖ และ ๙ ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ของกรมเจ้าท่า มีระยะก่อสร้างความยาว ๑ กม. ผลการสำรวจพบมีเขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore Break Water) ตลอดระยะโครงการฯ

ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง หาดทรายเม็ดแรกทะเลเพชรบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/

วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๓ (เพชรบุรี) สำรวจพื้นที่ชายฝั่งแหลมหลวง เพื่อเก็บข้อมูลในการติดตามสถานภาพการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง บริเวณแหลมหลวง(หาดทรายเม็ดแรก) ต.แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการพิจารณากลั่นกรองและความเหมาะสมโครงการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยการดำเนินงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ภายใต้คณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง อ.จะนะ จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง อ.จะนะ จ.สงขลา มีความยาวชายฝั่งทะเล ๒๔.๕๔ กม. ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุลและมีตะกอนทรายสะสมระยะทางประมาณ ๑๒.๒๑ กม. เป็นแนวชายฝั่งประเภทปากแม่น้ำ o.๔๘ กม. พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ๒ พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่ ต.ตลิ่งชัน และ ต.สะกอม มีการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางรวม ๕.๓o กม. นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางยาว ๖.๕๕ กม. ได้แก่ เขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่ง เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง