Managed realignment กลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการชายฝั่ง

Managed realignment-MR (หรือเรียกอีกอย่างว่า managed retreat) เป็นวิธีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนแนวป้องกันชายฝั่งเดิมให้ถอยร่นเข้ามาในแผ่นดิน เพื่อให้พื้นที่ชายฝั่งเดิมกลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน หรือหาดเลน Managed Realignment คือกลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการชายฝั่งแบบหนึ่ง เพื่อให้พื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงได้ปรับตัวได้ตามธรรมชาติตามธรรมชาติ โดยไม่มีการแทรกแซงหรือรบกวนจากภายนอก แนวทางนี้ได้รับความสนใจในยุโรปและอเมริกาเหนือในฐานะวิธีแก้ปัญหาตามธรรมชาติสำหรับการกัดเซาะชายฝั่ง การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย และการจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัย หลักการสำคัญของ Managed Realignment: มีการเริ่มใช้ Managed Realignment ครั้งแรกในปี 1990 ที่เกาะ Northey ใน Essex และต่อมามีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีพื้นที่ที่ดำเนินการ Managed Realignment มากที่สุดในยุโรป จุดประสงค์ของ Managed Realignment คือการให้ประโยชน์หลายประการ ซึ่งรวมถึงการป้องกันน้ำท่วม การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย และการกักเก็บคาร์บอน ตัวอย่างเช่น Steart Marshes ในสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นถึงอัตราการสะสมคาร์บอนที่สำคัญ โดยการสะสมของตะกอนมีส่วนทำให้เกิดการกักเก็บคาร์บอนในระดับสูง Managed Realignment มักประสบปัญหาความท้าทาย เช่น การต่อต้านจากชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียที่ดินที่มีค่า […]

Beachlover

July 12, 2024

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 7 ถนนเลียบฝั่งปานาเระ

“อ้าว! นี่พี่ก็ขับตาม Google map มานะ ทำไมมันไม่มีทางไปต่อแล้วหล่ะ” รุ่นพี่งุนงงกับถนนที่สิ้นสุดตรงนี้ ทั้งที่ยังปรากฏเส้นทางให้ไปต่อได้ถึงแหลมตาชีใน Google map “เอ…ยังไงกันหล่ะเนี่ย ของหนูก็ยังมีเส้นทางอยู่ในพี่” ดาด้าพูดพลางโชว์หน้าจอระบบนำทางของตัวเอง “ของเราก็เหมือนกับด้าเลย” เม็ดทรายสนับสนุนข้อมูลต่อทันที แท้จริงแล้ว ถนนเส้นที่ทั้งสามคนกำลังงุนงงอยู่นั้น ในอดีตเป็นถนนที่วิ่งเลียบทะเลจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชี แต่หลังจากงานก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำปานาเระแล้วเสร็จ ก็ส่งผลกระทบให้ชายหาดแถบนี้ รวมถึงถนนเส้นนี้ถูกกัดเซาะจนขาดไปในที่สุด (https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/) “มันส่งผลกระทบรุนแรงมากขนาดนี้เลยรึ แบบนี้คุ้มกันไหมกับการตัดสินใจสร้างน่ะ” รุ่นพี่แสดงทัศนะของตัวเองทันทีที่ทั้งสามคนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการหาข้อมูลผ่าน Website  “นั่นแหล่ะ พี่ว่าไหมว่าเค้าจะต้องสร้างอะไรตรงนี้ต่อไปแน่ๆ ยิ่งมันกัดเซาะแบบถนนหายไปแบบนี้ ยิ่งต้องสร้างถนนใหม่ หรือหาอะไรมาป้องกันแน่นอนเลย” เม็ดทรายพูดพลางเดินถ่าย vdo clip ไปพลาง  “นี่ถ้าเค้าไม่ตัดถนนเลียบทะเลมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเน้อะ มันน่าจะมีกฎหมายเรื่องระยะถอยร่น อะไรประมาณนี้อยู่นะ พอจำได้บ้างตอนอาจารย์ยกตัวอย่างในวิชากฏหมายสิ่งแวดล้อมอ่ะ” ว่าที่นักกฏหมายอย่างดาด้าพูดพลางก้มหน้าก้มตาค้นข้อมูลบางอย่างผ่าน website  (https://beachlover.net/วิชาการ-ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล/) “เข้าใจแล้ว ถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างถาวรมันจะต้องถอยร่นเข้ามาจากแนวน้ำทะเล 12 เมตร แต่ถ้าเป็นถนนมันยังไม่มีกฎหมายที่บังคับเรื่องนี้” ดาด้าสรุปข้อมูลในเอกสารที่เธอค้นเจอจากหน้าจอให้ทุกคนฟัง (https://beachlover.net/กฎกระทรวง-เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง/) “แบบนี้นี่เอง พี่เห็นถนนริมเลแถวบ้านพี่นี่ตัดประชิดทะเลมากๆเลย พอช่วงมรสุมทีนึงนะ อบต. ก็ต้องหางบมาซ่อมถนนเกือบทุกปีเลย” รุ่นพี่นึกภาพถนนริมชายหาดหลายแห่งของนราธิวาสได้  “คราวนี้พวกเราจะเอายังไงต่อดีหล่ะ” “ตะกี้เราผ่านทางเข้าเล็กๆทางซ้ายมือมา […]

Beachlover

November 1, 2022

กฎกระทรวง เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมวดที่ 4 ข้อ 42 ระบุไว้ว่า อ่านเอกสารฉบับเต็มได้จาก

Beachlover

October 22, 2022

ถนนขาด หาดสะกอม

หาดสะกอมที่ Beach Lover พาไปชมในวันนี้ หมายถึงหาดสะกอม อ.เทพา จ.สงขลา บริเวณที่เป็นหาดสาธารณะ มีระยะทางตามแนวชายหาดระหว่างหัวแหลมที่ขนาบทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของหาดสะกอมประมาณ 1.2 กิโลเมตร เบื้องหน้าของชายหาดห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร คือเกาะขาม หาดสะกอมแห่งนี้มีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว พบว่าถนนเลียบหาดฝั่งทิศตะวันตกจากสามแยกทางเข้าหาดนั้นพังเสียหายตาม Clip VDO https://www.youtube.com/watch?v=x-KN-thBBnI Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้มาแล้วในปี 2557 (2014)โดยพบว่าถนนเส้นนี้ถูกตัดขาดไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ได้รุนแรงเท่าที่พบเห็นในปัจจุบัน และสืบเนื่องจากพื้นที่หาดสะกอมบริเวณนี้เป็นชายหาดระหว่างหัวแหลมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้จึงไม่น่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายนอกทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของชายหาดสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นยังพบว่ามีตะกอนจำนวนมากไหลล้นข้ามหัวแหลมทางทิศตะวันออกเข้ามาบริเวณชายหาดตามภาพจาก Google Earth จากการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พบร่องรอยของการสร้างรอดักทราย (Groin) ระหว่างปี 2002-2006 (ไม่มีภาพถ่ายระหวางช่วงเวลานี้มาพิสูจน์ว่าสร้างขึ้นปีใด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการตัดถนนเลียบชายหาดนี้แล้ว หลังจากนั้นก็สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าแนวของถนนเลียบชายฝั่งเส้นนี้เริ่มขยับเข้าหาทะเลมากขึ้น หมายความว่า เริ่มเกิดการกัดเซาะจนสันทรายและชายหาดด้านหน้าถนนค่อยๆหายไป พร้อมกับพื้นที่ของชายหาดด้านทิศตะวันออกของรอดักทรายเกิดการงอกเงยขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของรอดักทรายนั่นเอง (https://beachlover.net/groin/) จริวอยู่ที่คลื่นใหญ่ลมแรงจากมรสุมและพายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ในกรณีคงปฏิเสธได้ยากถึงผลกระทบเชิงประจักษ์จากรอดักทรายเพียง 1 ตัวที่ไม่ทราบทั้งหน่วยงานและช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง หากแม้สาเหตุนั้นเกิดจากพลังของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เราคงต้องเห็นการกัดเซาะในลักษณะที่เหมือนกันตลอดทั้งแนวชายหาดแล้ว หากมองให้ลึกลงไปมากกว่าสาเหตุการพังทลายของถนนเลียบชายหาดสะกอม พบว่า ถนนเส้นนี้ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องสร้างตั้งแต่ตอนแรกด้วยซ้ำ […]

Beachlover

October 10, 2022

กำแพงล้อมหาด! @ บางละมุง

Beach Lover เคยพาไปชมชายหาดแถบนี้มาแล้วจากโพส https://beachlover.net/หาดบางละมุง-กำลังจะมีกำแพง/ จะพบว่าหาดบางละมุงโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศใต้เต็มไปด้วยกำแพงริมทะเลที่สร้างโดยเอกชนจนเกือบหมดแล้ว ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วเราจะพบกำแพงแบบตั้งตรง (แนวดิ่ง) เป็นส่วนใหญ่ พบว่าตลอดแนวกว่า 2 กิโลเมตร ที่ริมทะเลพบเห็นได้แต่กำแพงนั้น มีชายหาดธรรมชาติยาวประมาณ 90 เมตร ที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันใดๆ แทรกตัวอยู่ระหว่างกำแพงตามภาพ และจากการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายย้อนหลังกลับไปในอดีต (ถึงปี ค.ศ.2003) ก็พบว่า พื้นที่นี้ไม่เคยมีการสร้างโครงสร้างป้องกันใดๆริมชายฝั่งทะเลเลย พบว่าแนวนอกสุดของโครงสร้างถาวรซึ่งก็คือทางเดินอยู่พ้นจากระดับน้ำสูงสุด (ตามภาพปัจจุบัน) ขึ้นไปประมาณ 30 เมตร ด้วยเหตุที่มีระยะถอยร่นขึ้นไปบนฝั่งค่อนข้างเพียงพอ จึงไม่พบร่องรอยความเสียหายจากคลื่นเหมือนพื้นที่อื่นๆที่อยู่บริเวณข้างเคียง

Beachlover

September 12, 2022

ผุด Wongamat Beach Village ไลฟ์สไตล์มอลล์ริมชายหาด

ที่มา: https://www.facebook.com/realist.co.th Wongamat Beach Village ไลฟ์สไตล์มอลล์แห่งใหม่ริมหาดวงศ์อมาตย์เตรียมเปิดเฟสแรก ธันวา 65 หาดวงศ์อมาตย์เป็น 1 ในหาดที่มีชื่อเสียงของพัทยา โดยเป็นทำเลที่เป็นศูนย์รวมของโครงการระดับ Super Luxury ราคาของโครงการคอนโดพุ่งสูงไปเกือบ 180,000 บ./ตร.ม. ทำให้ในพื้นที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว มีโครงการใหม่ๆเกิดขึ้นเพื่อรองรับไลฟ์สไลต์การใช้ชีวิตของคนที่เข้ามาในพื้นที่. หนึ่งในโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นในทำเลนี้คือ Wongamat Beach Village ที่เป็นโครงการภายในการพัฒนาของ กลุ่มเซ็นทรัล ที่เป็นไลฟ์สไตล์ มอลล์ ริมทะเลที่มาในแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร ด้วยพื้นที่กว่า 13 ไร่ หน้ากว้างติดหาด 90 ม. มูลค่าโครงการในเฟสแรกกว่า 3000 ลบ. เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติคุณภาพกำลังซื้อสูง โดยร้านค้าและร้านอาหารชั้นนำ มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้คนมาใช้บริการ 1 ล้านคนต่อปี สร้าง New Destination ในฐานะไฮไลต์ของเขตพัฒนาพิเศษย่านตะวันออก (EEC) โครงการเป็นอาคารชั้นเดียวให้บรรยากาศริมทะเล เดินช็อปปิ้งบนชายหาด และบรรยากาศธรรมชาติ ด้วยพื้นที่สีเขียว 75% ของโครงการ Wongamat Beach […]

Beachlover

June 1, 2022

วิชาการ: ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล

ระยะถอยร่นเปรียบเสมือนแนวกันชนระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดิน เพราะเป็นการรักษาความสมดุลของกระบวนการชายฝั่งไม่ให้ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นที่ชายฝั่ง และเป็นการลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากภัยธรรมชาติ ที่อาจมีต่อชีวิตและทรัพย์สินของรัฐและเอกชนที่อยู่บริเวณชายฝั่ง  ระยะถอยร่นเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อจัดการชายฝั่งทะเล ทั้งเพื่อการจัดการภัยพิบัติชายฝั่งทะเลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน โดยมากมักกำหนดจากแนวระดับน้ำทะเลขึ้นเฉลี่ยถึงแนวที่พิจารณาแล้วว่าจะปลอดภัยต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอดีตและอาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยทั่วไประยะถอยร่นเป็นระยะที่หากจะมีการพัฒนาใดๆ จะต้องถอยร่นห่างจากชายฝั่งเข้าไปให้พ้นระยะนี้เพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น เป็นระยะทางสงวนไว้ให้กระบวนการชายฝั่งทะเลจะสามารถปรับสมดุลได้ตามปกติไม่ถูกแทรกแซง จึงเป็นมาตรการที่ไม่รบกวนต่อกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่งทะเล และไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำเหมือนการใช้โครงสร้างชายฝั่งทะเล โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อ ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เช่น พายุซัดฝั่ง การกัดเซาะ  เป็นต้น ลดงบประมาณเพื่อใช้ในการป้องชายฝั่ง สงวนพื้นที่ชายฝั่งให้คงทัศนียภาพที่งดงามตามธรรมชาติ  ลดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณชายฝั่ง ประชาชนสามารถเข้าถึงชายฝั่งทะเลได้อย่างเท่าเทียม รักษาพื้นที่ชายฝั่งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ ลดความเสี่ยงภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในความเป็นจริง พื้นที่ใดที่ปล่อยให้มีการพัฒนามากเกินไปแล้ว พื้นที่นั้นจะกำหนดระยะถอยร่นได้ยาก เนื่องจากจะเกิดแรงต่อต้านทางสังคม ทั้งยังไม่คุ้มกับค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกพัฒนาไปแล้วก่อนหน้านี้  การใช้มาตรการระยะถอยร่นชายฝั่งจึงควรเร่งประกาศใช้ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนา เพื่อจำกัดการพัฒนาไม่ให้ประชิดชายฝั่งมากเกินไป โดยกำหนดเป็นเขตห้ามรุกล้ำสำหรับสิ่งปลูกสร้างถาวร ซึ่งอาจใช้ร่วมกับนโยบายผังเมืองชายฝั่งทะเล จะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ลดความเสียหายต่อสิ่งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและเอกชน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของพื้นที่บนชายหาดได้อย่างยั่งยืน การพิจารณาว่าระยะถอยร่นในแต่ละพื้นที่ควรเป็นระยะเท่าใดนั้น มีปัจจัยและรายละเอียดที่จำเป็นต้องคำนึงถึงมากมายที่จำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบด้านก่อนการนำมาตรการนี้มาใช้เพื่อคุ้มครองชายหาด อ่านเพิ่มเติมเรื่องระยะถอยร่น ได้จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/578 และ https://beachlover.net/การกำหนดระยะถอยร่น/ และ https://beachlover.net/setback-negombo-srilanka/

Beachlover

April 17, 2022