หาดนราทัศน์หายไปไหน? กลับมารึยัง?

Beach Lover ได้เคยนำเสนองานวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณหาดนราทัศน์ไปแล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆ (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-หาดนราท/) Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามบริเวณหาดนราทัศน์อีกครั้งในเดือนตุลาคม 2566 ครั้งนี้ชวนเดินสำรวจ “กำแพงกันคลื่น” ด้านหลังของ “เขื่อนกันคลื่น (Breakwater)” ตัวที่ 7 และ 8 ทางทิศเหนือของหาดนราทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง แต่ดูเหมือนว่าหินที่นำมาก่อสร้างนั้นคัดขนาดมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ รวมถึงมาตรฐานงานก่อสร้างด้วย จึงพบความเสียหายบนสันกำแพงเกือบตลอดทั้งแนว พื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้นมีบ้านเรือนประชาชนน้อยมาก พบร่องรอยการท่วมถึงของน้ำทะเลในอดีต และมีถนนดินเส้นเล็กๆวิ่งเลียบกับแนวกำแพงกันคลื่นไปยังปากคลอง อันที่จริงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นทั้ง 8 ตัวที่วางอยู่นอกชายฝั่งด้านหน้ากำแพงกันคลื่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยทั่วไปจะสามารถป้องกันพื้นที่ด้านหลังโครงสร้างให้ปลอดภัยได้ แต่จะเกิดผลกระทบในพื้นที่ถัดไปและพื้นที่ระหว่างช่องเปิดของโครงสร้าง (https://beachlover.net/โครงสร้างชายฝั่งทะเล-เข/) แต่ในกรณีนี้ เพราะเหตุใดชายหาดด้านหลังจึงหายไปทั้งหมดในอัตราที่น่าตกใจ คือถูกกัดเซาะหายไปถึง 140 เมตรในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา จนเป็นสาเหตุให้ต้องสร้างกำแพงกันคลื่นด้านหลังอีกชั้นหนึ่ง … ควรตั้งคำถามไปที่ใครดี?!?

Beachlover

October 31, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 6 อ่าวมะนาว-หาดนราทัศน์

“โห! พี่ไม่ได้มานานเท่าไหร่จำไม่ค่อยได้ละ หาดกว้างกว่าเดิมเยอะมาก” รุ่นพี่ทาบภาพที่เห็นตรงหน้ากับความทรงจำของอ่าวมะนาวเมื่อครั้งอดีต  “อืม..สวยเน้อะ” เม็ดทรายเอ่ยพลางเปิด Google Earth เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของชายหาดอ่าวมะนาวและหาดนราทัศน์  “สำหรับคนเมืองนราอ่ะนะ ถ้าคิดถึงทะเลก็จะมีที่นี่กับที่หาดนราทัศน์ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งเท่านั้นแหล่ะ มันใกล้เมืองที่สุดละ ตอนสมัยเรียนมัธยมในเมือง โรงเรียนพี่เค้าก็จะพานักเรียนมาทำกิจกรรมเรื่องสิ่งแวดล้อมกันที่นี่แหล่ะ”  “เมื่อกี้พี่บอกว่า หาดมันกว้างมากขึ้นใช่ไหม ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน พี่พอจำได้ไหม” เม็ดทรายถามพลางละสายตาจาก Google earth  “อืม..ไม่รู้สิ จำไม่ได้ และก็ไม่ได้มานานมากแล้วหล่ะ มันสำคัญยังไงหรอ” รุ่นพี่พยายามนึก และก็ถามกลับแบบงงๆ “พี่พาไปฝั่งหาดนราทัศน์หน่อยสิ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังนะ” เม็ดทรายพูดพร้อมกระโดดขึ้นรถอย่างฉับไว รถมาจอดหลังกองหินกองหนึ่งจากหลายๆกองที่วางตัวอยู่นอกฝั่งบริเวณชายหาดนราทัศน์ เมื่อหันหน้าออกทะเลและมองไปทางขวามือจะพบโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา (Jetty)(https://beachlover.net/jetty/) ส่วนกองหินที่รุ่นพี่พารถมาจอดด้านหลังนั้นก็คือเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) (https://beachlover.net/breakwater/) โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำบางนรา ซึ่งเขื่อนที่ปากร่องน้ำนี้เองที่ส่งผลให้หาดนราทัศน์ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันอีกฝั่งหนึ่งของหาด ซึ่งก็คืออ่าวมะนาวนั้นมีทรายมาทับถมจนชายหาดขยายกว้างขึ้น “อ้อ…มิน่าหล่ะ หาดตรงอ่าวมะนาวมันถึงกว้างขึ้นมากขนาดนี้” รุ่นพี่ถึงบางอ้อ จากคำอธิบายของเม็ดทราย “แล้วตรงนี้ทำไมหาดมันเว้าๆแหว่งๆแบบนี้หล่ะ จำได้ลางๆว่าตอนมาทำกิจกรรมกับโรงเรียนชายหาดมันยาวๆเป็นแนวเดียวกันไปนะ” (https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-นราทัศน์/) “ตามหลักฟิสิกส์เลยพี่ คลื่นมันเลี้ยวเบนหลังกองหินนั่น ด้านหลังเป็นจุดอับคลื่น ตะกอนก็ตกกลายเป็นสันทรายยื่นออกไปแบบนี้ เราเรียกตรงที่เรายืนอยู่นี่ว่า Tombolo เวลาน้ำขึ้นมันอาจจะจมอยู่ใต้น้ำก็ได้ พอดีเรามาตอนน้ำลงพอดี […]

Beachlover

October 25, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 5 เกาะยาว

“ว้าวๆๆๆๆ ไม่เคยคิดเลยนะว่าตากใบจะมีหาดสวยแบบนี้”    เม็ดทรายกล่าวพร้อมการกระโดดโลดเต้นทันทีที่ก้าวลงจากรถ หาดเกาะยาวตั้งอยู่บนคาบสมุทรตากใบ ห่างจากปากน้ำโกลกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายเกาะรูปร่างยาววางตัวขนานไปกับแนวชายฝั่ง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เกาะ สามารถเข้าออกทางรถผ่านถนนที่มีเพียงเส้นเดียวที่วิ่งเลาะจากปากน้ำโกลกเลียบชายฝั่งไปถึงเกาะยาว หากเดินเท้าหรือรถมอเตอร์ไซด์ก็สามารถข้ามแม่น้ำตากใบผ่านสะพานความยาวประมาณ 310 เมตร จากตัวเมืองตากใบมายังเกาะยาวได้เลย โดยไม่ต้องขับรถอ้อมให้เสียเวลา “นี่ๆ ไอ้กองหินนี้มันวางไว้ทำไมอ่ะ ดูสิ วางเป็นแท่งๆยื่นออกไปตั้งหลายกองแหน่ะ” รุ่นพี่ถาม “อ้อ ไอ้กองหินยื่นๆที่พี่เห็นมันเรียกว่า รอดักทราย หรือชื่อทางเทคนิคคือ Groin เค้าสร้างตลอดแนว 20 กว่ากิโลเลยนะพี่ ตั้งแต่จุดที่เราไปที่และตรงปากน้ำโกลกอ่ะพี่ จำได้ป่ะ ที่หนูชี้ให้ดู อันนั้นคือรอดักทรายตัวแรกของคาบสมุทรตากใบ” “เออ ชื่อมันแปลกดีนะ รอดักทราย มันรอที่จะดักทรายหรือไง 555”  ทั้งคู่เดินไปที่ชายหาดแล้วกระโดดไปมาบนกองหินที่นำมาวางเป็นรอดักทรายพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมของเม็ดทราย “หนูก็คิดแบบเดียวกับพี่เลยนะ ตอนที่ได้ยินอาจารย์พูดชื่อนี้ครั้งแรกตอนที่เรียนเรื่องโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทะเลน่ะ  แล้วอาจารย์ก็บอกว่า ใช่ มันคือโครงสร้างที่ รอคอยการมาถึงของทรายแล้วดักเอาไว้ตามชื่อเป๊ะเลย ชื่อมันตามหน้าที่ของมันเลยอ่ะ หนูจำได้ดีตั้งแต่ตอนนั้น”  “อาจารย์เธอนี่อธิบายได้ชัดเจนมากเลยนะ ว่าแต่มันสร้างไว้ทำไมอ่ะ” “ที่เราไปดู jetty ที่ปากน้ำโกลกอ่ะ ทางทิศเหนือของมันก็คือที่ที่เรายืนกันอยู่ด้วย มันถูกกัดเซาะก็เพราะการก่อสร้าง jetty […]

Beachlover

October 18, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 4 ปากน้ำโกลก

“มันกว้างน้อยกว่าที่คิดไว้แฮ่ะ” เม็ดทรายพูดขึ้นทันทีที่ได้เห็นปากแม่น้ำโกลกเป็นครั้งแรกในชีวิต  “นี่เองรึ หาดแรกของไทยที่เม็ดทรายเปลี่ยนสัญชาติ” รุ่นพี่พูดพลางนั่งคุกเข่าจับเม็ดทรายขึ้นมาใส่มือแล้วพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ด้วยแบคกราวการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ แม้จะหันหลังให้องค์ความรู้นี้แล้วไปประกอบกิจการส่วนตัว คลังความรู้ในหัวเท่าที่พอจะจำได้บอกเค้าว่า ส่วนประกอบหลักของทรายบนหาดนี้มาจากแม่น้ำ “มันมี Quartz ต่ำอ่ะ น่าจะมาจากบกเป็นหลักนะ” เม็ดทรายยืนดื่มด่ำบนหาดทรายเม็ดแรกนี้ไปนานเท่าไหร่ไม่รู้ จนมีเสียงจากรุ่นพี่ชักชวนให้เดินไปดูกองหินขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำ “เดินไปจนสุดเลยนะ ไหวไหม”  “สบายมาก นำไปเลย” เม็ดทรายพูดพลางลุกขึ้นเดินตามรุ่นพี่ ตาต้องก้มมองทางเดินตลอดเวลาเพราะทุกก้าวย่างบนกองหินต้องเดินอย่างระวัง เพราะอาจหกล้มได้ง่ายหากเลือกเหยียบบนก้อนหินที่ไม่มั่นคง หรือก้าวหล่นลงไปในซอกระหว่างก้อนหิน  “มันเรียกว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือภาษาเชิงเทคนิคเค้าเรียกว่า Jetty นะพี่ (https://beachlover.net/jetty/) มันสร้างไว้ให้เรือเข้าออกอย่างสะดวก ตะกอนทรายไม่ไปอุดปากร่องน้ำ” เม็ดทรายรื้อฟื้นความรู้สมัยเรียนตอนปีสามมาอธิบายรุ่นพี่ “แล้วทำไมไม่ขุดลอกเอาหล่ะ ถ้าตะกอนมาปิดร่องน้ำก็น่าจะขุดเพื่อเปิดปากร่อง” รุ่นพี่ถาม “ก็หน่วยงานเค้าบอกมันไม่ยั่งยืนอ่ะพี่ มันต้องกลับมาขุดบ่อยๆเค้าว่าเปลืองงบประมาณ มันยังช่วยให้น้ำถูกระบายลงทะเลได้สะดวกขึ้นด้วยนะ เวลาน้ำฝนตกลงในพื้นที่มากๆ ถ้าปากทะเลเปิดตลอดเวลา น้ำก็จะได้ไหลลงทะเลได้สะดวก” ทั้งสองคนถกกันตามปกติของคนที่เคยเคลื่อนไหวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาเหมือนกัน ถัดจากจุดนี้ไปทางใต้ประมาณ 500 เมตร ฝั่งตรงข้ามของกองหินที่ทั้งคู่พากันกระโดดเล่นไปมาอย่างสนุกสนานคือดินแดนของประเทศมาเลเซีย จริงๆแล้วอีกหน้าที่หนึ่งของ Jetty ปากแม่น้ำโกลกที่เม็ดทรายอธิบายรุ่นพี่ไปบ้างแล้ว ก็คือการตรึงแนวขอบเขตดินแดนของทั้งสองประเทศให้อยู่กับที่  ไม่เคลื่อนไปมาตามการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายตามธรรมชาติ“ไปต่อกันเถอะ อยากเห็นหาดทางโน้นแล้วว่าจะเป็นไง”  เม็ดทรายพูดพลางชี้ไปทางทิศเหนือที่มองไกลๆเหมือนมีอะไรยื่นออกมาจากชายหาด รุ่นพี่ขับรถบนถนนที่ขรุขระและไม่มีการเทพื้นผิวใดๆเลาะชายหาดไปทางทิศเหนือ  ไปยังหมู่บ้านเล็กๆที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรตากใบที่มีชื่อว่า […]

Beachlover

October 11, 2022

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 3 นราธิวาส

เม็ดทรายมาถึงดินแดนที่เธอไม่คุ้นเคย ทั้งวัฒนธรรม ภาษา อาหาร นราธิวาสควรเป็นจังหวัดที่ดูน่ากลัว ต้องระแวดระวังตัวตลอดเวลา แต่สัมผัสแรกของเม็ดทรายกลับไม่เป็นเช่นนั้น  ผู้คนมีน้ำใจ น่ารัก เธอได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรุ่นพี่และญาติๆของรุ่นพี่ที่เป็นชาวนราธิวาส พูดภาษาไทยกับเธอบ้าง แต่โดยมากมักจะพูดภาษาถิ่นผ่านทางรุ่นพี่มาถึงเธอเสียมากกว่า “อย่าไปนินทาเค้าหล่ะ ป้าพี่เค้าฟังออกหมดนะ เค้าดูทีวี ดูละครไทย อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพียงแต่เค้าจะเขินๆคนกรุงเทพแบบเราน่ะ เลยไม่ค่อยกล้าพูด” รุ่นพี่รีบเตือนแม้จะรู้ว่ารุ่นน้องอย่างเม็ดทรายจะไม่มีวันพูดนินทาใครทั้งต่อหน้าและลับหลังก็ตาม  เย็นวันที่เม็ดทรายเดินทางไปถึง รุ่นพี่พาเธอไปนั่งกินโรตีกันริมถนน ซึ่งถือเป็นอาหารที่ว่ากันว่า ใครมาพื้นที่สามจังหวัดต้องไม่พลาดกินโรตีและชาชัก “พรุ่งนี้เราไปเริ่มจุดแรกที่ปากน้ำโกลกกันเลยนะพี่ ตรงนั้นเป็นหาดที่ทรายเม็ดทรายจากฝั่งมาเลเซียเดินทางข้ามมา” เม็ดทรายผู้ไม่ได้เอนจอยกับอาหารการกินสักเท่าไหร่ รีบแจ้งโปรแกรมกับสารถีของเธอทันทีที่กินโรตีทิชชู่ และดูดชาชักฟองฟอดนั้นหมด “ได้ๆที่เคยบอกพี่ใช่ไหมหล่ะ ว่ามันเปลี่ยนสัญชาติเป็นที่แรกก็คือตรงนั้น มันต้องใช้พาสปอตไหมนะ กว่าจะข้ามมาได้ ตม.(ตรวจคนเข้าเมือง) ที่นี่เข้มงวดมากเลยนะจะบอกให้ 555” รุ่นพี่ทวนคำพูดที่เม็ดทรายเคยอธิบายไปเมื่อครั้งก่อน “แล้วทำไมต้องไปทางใต้ก่อนด้วยหล่ะ บ้านพี่อยู่ค่อนมาทางปัตตานีแล้ว เราขับเลาะจากเหนือลงใต้แทนไม่ได้รึ”  “ไม่ได้พี่ หนูอยากเริ่มต้นการเดินทางตามทิศทางเดียวกันกับเม็ดทรายน่ะ” เม็ดทรายอธิบายต่อถึงเหตุผลจากการเริ่มเดินทางที่ จ.นราธิวาส และเลาะขึ้นไปทางทิศเหนือว่า เม็ดทรายที่หล่อเลี้ยงชายหาดในประเทศไทยนั้นเดินทางข้ามแดนมาจากฝั่งมาเลเซีย และมีทิศวิ่งขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ จนถึงนครศรีธรรมราชก็จะวิ่งกลับในอีกทิศหนึ่ง โดยแต่ละโซนของชายหาดในประเทศทั้งตะวันออก อ่าวไทย อันดามัน มีทิศทางการเคลื่อนที่ของเม็ดทรายที่แตกต่างกันออกไป  “อืม…ต้องคิดเยอะขนาดนั้นเลยนะเรา นี่มาเที่ยวรึมาทำสารคดีเนี่ย”  คืนนั้นทั้งคู่ไม่ได้นั่งถกปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆแบบที่เคยทำเวลาที่สองคนมาเจอกัน […]

Beachlover

October 4, 2022

ติดตามสถานภาพชายฝั่ง หาดเกาะยาว นราธิวาส

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ ติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดเกาะยาว ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและหรือสันดอนทรายพบว่ามีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและแหล่งทำประมงน้ำกร่อย พร้องทั้งเป็นที่จอดเรือเพื่อหลบคลื่นลมในช่วงมรสุมของชุมชุนชายฝั่งในพื้นที่ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่บริเวณนี้ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ รอดักทราย (Groin) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว และเขื่อนหินทิ้งบางส่วนถูกปกคลุมด้วยตะกอนทราย อีกทั้งชายหาดเกาะยาว มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 4, 2022

ติดตามสถานภาพแนวชายฝั่ง สุดปลายด้ามขวานทะเลอ่าวไทย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ เก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่งพื้นที่หาดเสด็จ ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและหรือสันดอนทรายพบว่ามีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) แม่น้ำโกลก (ซึ่งอยู่ฝั่งเขตประเทศไทย ๑ ตัว และฝั่งเขตประเทศมาเลเซีย ๑ ตัว) รอดักทราย (Groin) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว

Beachlover

January 21, 2022

เก็บข้อมูลสถานภาพชายหาดบ้านใหม่ ชายทะเลเขตนราธิวาส

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่งโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) พื้นที่หาดบ้านใหม่ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งการวางตัวเป็นแนวยาวในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) คือเขาตันหยง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว ชายฝั่งมีสภานภาพชายฝั่งสมดุล ไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง มีสะสมตัวของตะกอนทรายบนชายหาดจำนวนมาก ทำให้ชายหาดมีหน้ากว้างประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากคลื่นที่หอบตะกอนทรายในช่วงลมมรสุมที่ผ่านมา ทำให้ได้ตะกอนทรายเข้ามาสะสมตัวในบริเวณนี้จำนวนมาก และมีการใช้ประโยชน์ของชาวประมงชายฝั่งสำหรับเป็นพื้นที่จอดเรือ

Beachlover

December 30, 2021

สถานภาพชายฝั่งนราธิวาส สมดุลดีในช่วงปลอดมรสุม

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ปากคลองโคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทรายสมดุล มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและ/หรือสันดอนทราย เป็นคลองโคกเคียนขนานไปกับชายฝั่ง พื้นที่แนวชายฝั่งส่วนหนึ่งเป็นปากน้ำคลองโคกเคียน และแนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนหินทิ้ง (revetment) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore Breakwater) ซึ่งต่อเนื่องมาจากเขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) ปากร่องน้ำบางนรา ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว ปัจจุบันพบว่ามีตะกอนทรายปิดปากร่องน้ำ และกำลังขุดลอกตะกอนทรายดังกล่าว โดยกรมเจ้าท่า ด้วยวิธีการดูดพ่นตะกอนทราย

Beachlover

June 24, 2021

หาดทรายกลายเป็นหิน @ หาดบาเฆะ นราธิวาส

หาดบาเฆะ อยู่ในเขตบ้านบาเฆะ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ทิศเหนือห่างจากหาดนราทัศน์เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เคยมีข่าวว่าชายหาดแห่งนี้เกิดการกัดเซาะอย่างหนักโดยเฉพาะในปี 2557 ตามข่าว https://mgronline.com/south/detail/9570000147376 จากการตรวจสอบภาคสนามพบว่า มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ริมชายหาดเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น ระยะทางตามแนวชายหาดประมาณ 250 เมตร คาดว่าเหตุการณ์คลื่นกัดเซาะอย่างรุนแรงในปี 2557 น่าจะส่งผลกระทบกับพื้นที่ของชุมชนที่ว่านี้ จากการสำรวจภาคสนามในเดือนเมษายน 2564 พบว่า มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งปิดยาวตลอดแนวของชุมชนริมชายฝั่งรวมไปถึงพื้นที่ข้างเคียงด้านเหนือและใต้ของชุมชนด้วย ระยะทางรวมประมาณ 3 กิโลเมตรกว่า โดยจากภาพมุมสูงพบว่า พื้นที่ทางทิศเหนือและใต้ของชุมชนนี้ ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีชุมชน ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานใดๆทั้งของรัฐและเอกชนตั้งอยู่เลย การสร้างโครงสร้างปิดตลอดทั้งแนวชายหาดแบบนี้ถือว่าเป็นมาตรการที่เกินจำเป็นไปมาก Beach Lover ไม่มีข้อมูลแปลงโฉนดที่ดินบริเวณนี้เพื่อยืนยันว่า ที่เห็นพื้นที่โล่งๆนี้มีที่ดินเอกสารสิทธิ์ของชาวบ้านในชุมชนตกน้ำไปบ้างหรือไม่ ถึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนหินทิ้งปิดยาวทั้งชายหาดแบบนี้ แต่ที่แน่ชัดก็คือสันทรายธรรมชาติที่เป็นพื้นที่สาธารณะทางทิศใต้ของหมู่บ้านนั้น ไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องนำหินไปทิ้งเพื่อป้องกันชายหาด ที่ไร้ซึ่งชุมชนชายฝั่งและโครงสร้างพื้นฐานใดๆ หากแม้ภายภาคหน้าพื้นที่นี้จะถูกกัดเซาะไปบ้าง ก็มิได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับทรัพย์สินของรัฐและเอกชนแต่อย่างใด ส่วนทางรถวิ่งที่เห็นในมุมสูงนี้ ก็มิได้ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปที่ใดเลย สันทรายนี้เชื่อมต่อกับทางทิศเหนือของหาดนราทัศน์ก็จริง แต่ไม่สามารถสัญจรผ่านเส้นทางนี้ได้ สันทรายที่เห็นในภาพนี้ไปเชื่อมต่อกับหาดนราทัศน์ทางทิศเหนือ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า สันทรายแห่งนี้โดยเฉพาะตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆกับหาดนราทัศน์นั้นถูกกัดเซาะไปมาก หลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งริมของหาดนราทัศน์ ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-นราทัศน์/ หากรัฐ ต้องถมหินกับทุกพื้นที่ชายหาด […]

Beachlover

May 4, 2021
1 2