7 ข้อชวนคิด กับโครงการถมทะเลอ่าวไทย…เอาไงดี

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการถมทะเลในบริบทของการพัฒนาและขยายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในงาน Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 โดยเสนอให้มีการถมทะเลที่บางขุนเทียนและปากน้ำ เพื่อให้ได้พื้นที่ลดความแออัดของกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่ง และเป็นเมืองสีเขียวและเมืองใหม่ ให้เฉพาะรถไฟฟ้าวิ่งเท่านั้นและมีรถไฟเชื่อม และป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯได้ (อ้างอิง) นายทักษิณเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนภาครัฐในช่วงสามปีของรัฐบาลนี้ และกล่าวว่าโครงการถมทะเลจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน (อ้างอิง) หลังจากนั้นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาอธิบายถึงแนวคิดหลักของโครงการนี้เพิ่มเติมในชื่อใหม่ที่เรียกว่า “โครงการสร้อยไข่มุกอ่าวไทย” โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลในลักษณะของเกาะ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะมีเกาะจำนวน 9 เกาะ และให้แต่ละเกาะมีเขื่อนเป็นแนวกั้นน้ำ และมีประตูเปิด-ปิดได้ซึ่งเกาะแรกจะสร้างในพื้นที่ของชายทะเลบางขุนเทียน จากนั้นจะสร้างเกาะอื่นไปจนถึงชลบุรี รวมระยะทางตลอดอ่าวตัว ก.ประมาณ 100 กิโลเมตร  ทั้งนี้พื้นที่เกาะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเชื่อมของเขื่อนกั้นน้ำแต่ละเกาะจะมีขนาดประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร และสร้างห่างจากชายฝั่งไป 1 กิโลเมตร มีถนนเชื่อมกับพื้นที่ชายฝั่งเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปยังพื้นที่เกาะต่างๆ ได้  สำหรับแนวทางการลงทุนจะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน โดยผู้ที่เข้ามาลงทุนจะได้สัมปทานการใช้ที่ดินอาจจะเป็น 99 ปี ซึ่งสามารถพัฒนาเกาะนี้ใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบต่างๆ อาทิ การพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่จะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ หรือเป็นเมืองใหม่ที่เป็นสมาร์ตซิตี้ใช้พลังงานสะอาด โดยจะมีการติดตั้งกังหันลมหรือโซลาร์เซลล์ก็สามารถที่จะออกแบบได้ โดยเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทานแล้วพื้นที่นี้ก็จะเป็นของภาครัฐ (อ้างอิง) สำหรับแนวความคิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของภาครัฐที่ได้โครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ลุ่มในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล […]

Beachlover

September 17, 2024

โครงการสร้างเกาะเทียม อาจส่งผลอะไรบ้าง

โครงการถมทะเลเพื่อสร้างเกาะเทียม เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น เพื่อการอยู่อาศัย การท่องเที่ยว หรือเพื่อสร้างพื้นที่อุตสาหกรรม การก่อสร้างเกาะเทียมเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่มีโครงการสำคัญในหลากหลายภูมิภาค ซึ่งแต่ละโครงการมีผลกระทบที่แตกต่างกันต่อสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ทางสังคมและการเมือง ในทะเลจีนใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้พัฒนาเกาะเทียมอย่างรวดเร็ว เพิ่มการควบคุมทางการเมืองเหนือภูมิภาค ในขณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก รวมถึงการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและระบบนิเวศ ในทำนองเดียวกัน ในช่องแคบ Qiongzhou การก่อสร้างเกาะเทียม Ruyi ได้เปลี่ยนแปลงสนามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง และก่อให้เกิดการกัดเซาะและการทับถมของตะกอน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผืนน้ำโดยรอบ ในอ่าวเปอร์เซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นผู้บุกเบิกในการสร้างเกาะเทียม ด้วยโครงการต่างๆ เช่น Palm Jumeirah ในดูไบ ซึ่งได้ทำลายสิ่งมีชีวิตทางทะเล เพิ่มความขุ่นของน้ำ และรบกวนการเคลื่อนที่ของตะกอนตามธรรมชาติ แม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบ แล้วก็ตาม ในทะเลเหลืองตอนใต้ การก่อสร้างเกาะเทียม Xitaiyang Sand Shoal ได้รับการศึกษาถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางอุทกพลศาสตร์และตะกอน ซึ่งเผยให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการกัดเซาะที่มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาเสถียรภาพของพื้นที่ นอกจากนี้ ใน Tang Shan Bay การก่อสร้างเกาะเทียมได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางอุทกพลศาสตร์และเปลี่ยนแปลงลักษณะของการกัดเซาะ-ทับถม โดยรวมแล้ว ในขณะที่เกาะเทียมเสนอผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์และเศรษฐกิจ เช่น ความมั่นคงด้านพลังงานของจีนในทะเลจีนใต้ แต่ก็ก่อให้เกิดความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ซึ่งต้องมีการกำกับดูแลด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดและกลยุทธ์การบรรเทาผลกระทบที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อลดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อระบบนิเวศทางทะเลและพลวัตของชายฝั่ง […]

Beachlover

July 10, 2024