พาชมความคืบหน้างานก่อสร้างหาดสนกระซิบ กันอีกรอบ

Beach Lover ได้เคยพาชมสภาพของชายหาดลับใกล้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง หรือหาด สนกระซิบ ไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จากโพสเก่าๆโดยใช้ไอคอน Search ด้านบนขวา ครั้งนี้ Beach Lover เดินเท้าสำรวจหาดสนกระซิบกันอีกรอบในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2567 พบว่ามีบางส่วนของโครงสร้างที่เสร็จเกือบสมบูรณ์แล้วคือโครงสร้างช่วงปากคลองทางทิศตะวันตกของหาด โดยพบว่าเป็นโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบลาดเอียง เกือบทั้งหมดของโครงสร้างวางตัวลงบนชายหาด ในส่วนของโครงสร้างทางทิศตะวันออก หรือตัวโครงสร้างหลักป้องกันชายหาดนั้น พบว่ามีการตอกเสาเข็มลงไปบนชายหาดตลอดทั้งแนวแต่ยังไม่มีการขึ้นโครงสร้างกำแพงแต่อย่างใด แม้จะหมดสัญญาจ้างงานไปแล้วก็ตาม Beach Lover จะนำเสนอความคืบหน้าต่อในโอกาสถัดไป

Beachlover

July 26, 2024

ลงมือแล้ว!! กำแพงกันคลื่นหาด Katoku

ที่มา: https://www.facebook.com/katokuhama Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาด Kotoku บนเกาะ Amami เกาะเล็กๆทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้วตอนหนึ่ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/katoku-sw/ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการกลับมาดำเนินการก่อสร้างที่ Katoku โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยเจ้าหน้าที่จังหวัดและพนักงานจากบริษัท Marufuku ได้เข้ามาเคลียร์พื้นที่และประกาศว่าจะวางแท่งคอนกรีตบนชายหาดและดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการเพิ่งย้ายมาประจำการในเดือนเมษายน ชาวบ้านในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเริ่มอธิบายเหตุการณ์และข้อกังวลที่เกิดขึ้นทั้งหมดใหม่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จังหวัดยังข่มขู่ชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขอตรวจสอบโครงการ โดยอ้างว่าจะดำเนินคดีหากเข้ามาขัดขวางการก่อสร้าง ซึ่งอาจเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ว่า Shiota และถือเป็นการเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางกฎหมายที่ไม่สนใจความคิดเห็นของชาวบ้านที่เพิ่งยื่นคำร้อง ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านยังคงพยายามสื่อสารกับเจ้าหน้าที่จังหวัด ถึงแม้ว่าภารกิจของเจ้าหน้าที่คือการดำเนินโครงการที่เป็นปัญหาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านเชื่อว่าการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญ ทำไมพวกเขาถึงรัก Katoku  ทำไมพวกเขาจึงอยากจะรักษาไว้ให้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมเพื่อลูกหลาน WWF ได้กล่าวในการประชุมที่ Amami Oshima ว่า “ระบบที่ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพ” ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาสิ่งที่เหลืออยู่ Katoku เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่หายาก เนื่องจากแทบไม่เหลือพื้นที่แบบนี้ในหมู่เกาะ Ryukyu แล้ว ส่วนที่หลงเหลืออยู่ก็กำลังจะถูกทำลาย ตามข่าวนี้ ชาวบ้านได้ขอตั้งคำถามถึงแนวทางของเจ้าหน้าที่จังหวัด Kagoshima ที่เพิกเฉยและข่มขู่ผู้ที่พยายามปกป้องธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งไม่ใช่วิธีการจัดการแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของ UNESCO ที่ถูกต้อง […]

Beachlover

July 7, 2024

ติดตามงานป้องกันชายฝั่ง หาดแม่รำพึง

หาดแม่รำพึง ตั้งอยู่ ณ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ เป็นหาดทรายยาวต่อเนื่อง 4.5 กิโลเมตร ตั้งแต่ปากคลองแม่รำพึงทางทิศตะวันออกจนถึงคลองบางสะพานทางทิศตะวันตก Beach Lover เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ไปหลายครั้งแล้ว นับตั้งแต่เริ่มมีการคัดค้านโครงการป้องกันชายฝั่งของกรมโยธาธิการและผังเมืองเมื่อต้นปี 2565 ติดตามได้จากโพสเก่าๆโดยการค้นหาคำว่า “หาดแม่รำพึง” จากช่อง search ด้านขวาบน ช่วงต้นเดือนมิถุนายน Beach Lover ได้มีโอกาสเดินเท้าสำรวจชายหาดแห่งนี้อีกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ก่อสร้างกำแพงกันคลื่น โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่ามีการเปิดพื้นที่หน้าชายหาดขนาดใหญ่เพื่องานฐานรากของกำแพง โดยโครงสร้างที่กำลังก่อสร้างนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ตำแหน่ง และระยะงานก่อสร้าง (ความยาวโครงสร้าง) ไปตามมติของคณะทำงานที่ทาง จ.ประจวบฯ ได้ตั้งขึ้นโดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน กล่าวโดยสรุปคือมีการปรับขนาดให้เล็กลงและขยับแนวโครงสร้างให้ประชิดฝั่งเพิ่มมากขึ้น เท่าที่เดินเท้าสำรวจพบว่ามีการเปิดพื้นที่ก่อสร้างในระยะแรกประมาณ 300 เมตร ตั้งแต่หน้าบางสะพานรีสอร์ทลงมาทางทิศใต้ของหาดถึงหน้าลานปูนสาธารณะของท้องถิ่น โดยมีการขุดทรายหน้าหาดออกเป็นระยะกว้างประมาณ 20 เมตร (แตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ) บางตำแหน่งมีการลงโครงสร้างไปบ้างแล้ว บางตำแหน่งลงเข็มพืด ในขณะอีกพื้นที่กำลังขุดหน้าหาดเพื่อทำการเปิดพื้นที่ทำงาน บางพื้นที่นำเสาเข็มมาวางรอไว้ น่าติดตามต่อไปว่า โครงการที่เคยเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างรุนแรง และคลี่คลายลงได้แล้วนั้น จะดำเนินงานต่อไปตามฉันทามติที่ได้ตกลงไว้ร่วมกันหรือไม่

Beachlover

June 25, 2024

Life Cycle Assessment (การประเมินวัฏจักรชีวิต, LCA) กับงานป้องกันชายฝั่งทะเล

Life Cycle Assessment (LCA) หรือ การประเมินวัฏจักรชีวิต สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานป้องกันชายฝั่งทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย LCA จะช่วยประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของโครงการป้องกันชายฝั่ง ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ การก่อสร้าง การบำรุงรักษา ไปจนถึงการรื้อถอน LCA กับงานป้องกันชายฝั่งทะเล: ประโยชน์ของการใช้ LCA ในงานป้องกันชายฝั่งทะเล: ตัวอย่างการนำ LCA ไปใช้ในงานป้องกันชายฝั่งทะเล: สรุป: การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนางานป้องกันชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน โดย LCA ช่วยให้สามารถประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของโครงการ และนำไปสู่การตัดสินใจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเนื่องจากประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวมากกว่า 3,000 กิโลเมตร และกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ การนำ LCA มาใช้ในการวางแผนและดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่ง จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนให้กับชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

Beachlover

June 25, 2024

หาดขั้นบันได ณ อ่าวน้อย

อ่าวน้อย เป็นหนึ่งในสามอ่าวของ จ.ประจวบฯ นับว่าเป็นอ่าวที่เล็กที่สุดในบรรดาสามอ่าวรองจาก อ่าวประจวบและอ่าวมะนาว กล่าวคือมีความยาวชายหาดประมาณ 1.2 กิโลเมตร Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของอ่าวน้อยไปหลายครั้งแล้ว โดยพื้นที่อ่าวน้อยนั้นเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการฟ้องร้องคดีชายหาด โดยประชาชนฟ้องรัฐในคดีปกครอง ติดตามได้จากหมวดคดีชายหาด ต้นเดือน มิ.ย.2567 Beach Lover ได้กลับมาอ่าวน้อยอีกรอบในช่วงเวลาน้ำลงต่ำ พบว่า กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดยังอยู่ในสภาพไม่แตกต่างจากเดิมตอนที่เสร็จใหม่ๆมากนัก เพียงแต่พบสนิมเหล็กบนราวรั้วกันตก บริเวณจุดสิ้นสุดโครงสร้างเฟสที่หนึ่ง  พบร่องรอยน้ำกระเซ็นข้ามโครงสร้างบนิเวณจุดสิ้นสุดโครงสร้างทางทิศเหนือจนเกิดเป็นหลุดบ่อด้านหลังสันกำแพงกันคลื่นบางส่วน

Beachlover

June 24, 2024

กำแพงกันคลื่นหลากหลายแบบ ณ อ่าวประจวบ ช่วง ถ.ปิ่นอนุสรณ์

กำแพงกันคลื่น อ่าวประจวบบริเวณนีั (ปากคลองบางนางรม ถึง เขาตาม่องล่าย) มีการดำเนินการสร้างและซ่อมแซมมาในหลายวาระโอกาส ด้วยโครงสร้างที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ตั้งแต่ปี ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะทางประมาณ 3.1 กิโลเมตร บางส่วนของสันด้านบนกำแพง ถูกออกแบบให้กว้างและพัฒนาเป็นลานกิจกรรม ทางเดินออกกำลังกาย และทางจักรยาน จากการเดินเท้าสำรวจพบว่า มีรูปแบบที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นกำแพงแบบขั้นบันไดเหมือนกัน ก็มีลักษณะของขั้นบันไดที่แตกต่างกัน คาดว่าถูกสร้างในช่วงเวลาที่ต่างกัน และพบบางส่วนของโครงสร้างที่ชำรุดเสียหายบริเวณใกล้กับเขาตาม่องล่าย ซึ่งชาวบ้านมักใช้เป็นที่จอดเรือประมงขนาดเล็ก กำแพงกันคลื่นตลอดแนวตั้งแต่ปากคลองบางนางรม ถึง เขาตาม่องล่าย ที่เห็นอย่างหลากหลายรูปแบบนี้ ยามน้ำลงจะพบชายหาดด้านหน้ากำแพงอยู่บ้าง มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละโซนพื้นที่

Beachlover

June 19, 2024

พาสำรวจกำแพงแนวดิ่ง อ่าวประจวบ ยามน้ำลงต่ำ

ประจวบฯเมืองสามอ่าว ได้แก่ อ่าวน้อย อ่าวมะนาว และอ่าวประจวบฯ ในสามอ่าวนี้มีเพียงอ่าวเดียวที่มีกำแพงกันคลื่นเกือบตลอดทั้งแนว (เว้นปากคลองบางนางรม) คือ อ่าวประจวบฯ Beach Lover ของพาสำรวจกำแพงกันคลื่นในโซนปากคลองบางนางรมถึงกองบินที่ 5 อ่าวมะนาว ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบแนวดิ่งเหมือนกันตลอดทั้งแนว ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ยามน้ำลงต่ำ จะเผยให้เห็นชายหาดด้านหน้ากำแพงอยู่บ้าง โดยมีระดับต่ำกว่าสันกำแพงแตกต่างกันในแต่ละตำแหน่ง โดยเฉลี่ยแล้วชายหาดมีระดับต่ำกว่าสันกำแพงประมาณ 1.8 เมตร และเมื่อสังเกตจากคราบน้ำบนชายหาดแล้วพบว่า ยามน้ำขึ้นสูงสุด ระดับน้ำจะขึ้นไปจนแตะตีนกำแพงเลย กำแพงกันคลื่นอ่าวประจวบนี้ สร้างแบบตั้งตรง (แนวดิ่ง) เมื่อ 2545 โดยสำนักโยธาธิการและผังเมือง จ.ประจวบฯ รวมระยะทางของโครงสร้าง 2,429 เมตร ตั้งแต่ปากคลองบางนางรม จนถึงขอบเขตรั้วทางทิศเหนือของกองบินที่ 5 อ่าวมะนาว พื้นที่ด้านบนของกำแพงแนวดิ่งนี้ ทำเป็นทางเดินเท้าขนาดใหญ่ ถัดไปเป็นถนนที่สามารถจอดรถริมทะเลได้เลย โดยในช่วงฤดูมรสุมของทุกปี น้ำทะเลจะยกระดับสูงขึ้นมาก รวมถึงคลื่นก็มักจะทวีความรุนแรงมากกว่าช่วงเวลาปกติ สภาพของกำแพงและถนนเลียบหาดแห่งนี้ จะถูกคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงกันคลื่นกระโจนข้ามมายังถนน จนน้ำระบายไม่ทันตามภาพด้านล่าง และก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบระบายน้ำเนื่องจากทรายที่มากับคลื่นบางส่วนได้เข้าไปอุดตันในระบบ รวมถึงทางเดินเท้าเลียบทะเลก็เกิดความเสียหายตามภาพด้านล่าง เนื่องจากแรงของคลื่นที่เข้ากระแทก เมื่อเดินเท้าสำรวจตลอดทั้งแนว พบท่อระบบน้ำออกสู่ทะเลหลายตำแหน่ง โดยพบว่า เกิดการเป็นร่อง […]

Beachlover

June 14, 2024

กำแพงกันคลื่นหน้ารีสอร์ท สิชล นครศรีธรรมราช

Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจหาดแถบสิชล จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงหลังมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในหลายพื้นที่ หนึ่งพื้นที่ที่น่านำมาเล่าสู่กันฟังคือชายหาดด้านหน้าวิลล่า คานี รีสอร์ท ซึ่งอยู่ระหว่างหาดบ้านเราะและหาดบ้านตะเคียนดำ  ผู้ประกอบการเล่าให้เราฟังว่า ในอดีตก่อนหน้านี้ ชายหาดอยู่ไกลออกไปพอควร แต่ตอนริเริ่มเข้ามาซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ทก็ได้มีการรังวัดใหม่พร้อมหักโฉนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นได้เห็นว่าพื้นที่ทางทิศเหนือได้มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จึงได้เริ่มสร้างบ้าง เนื่องจากกลัวว่าพื้นที่รีสอร์ทอาจถูกกัดเซาะเนื่องจากไม่มีกำแพง แต่หลังจากการสร้าง พบว่ากำแพงช่วยได้ในระดับหนึ่งแต่เกิดคลื่นสะท้อนและคลื่นกระเซ็นข้ามกำแพง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ด้านบนและด้านหน้ากำแพง ภาพถ่ายเมื่อ: มีนาคม 2567

Beachlover

April 26, 2024

ศาลปกครองยกฟ้อง คดีคัดค้านการสร้างกำแพงชายหาด Katoku เกาะ Amami จ.Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น

อ่านข่าวฉบับภาษาญี่ปุ่นได้จาก: https://www3.nhk.or.jp/lnews/kagoshima/20240424/5050026677.html ภาพประกอบโดย: Beach Lover เมื่อ พ.ย.2566 วันที่ 24 เมษายน 2567 ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องกรณีที่ชาวบ้าน 10 คน ยื่นเรื่องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ยุติการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ป้องกันชายหาด Katoku ที่ใช้งบประมาณกว่า 340 ล้านเยน โดยระบุว่าจะเป็นการทำลายทรัพยากรชายหาดที่มีคุณค่า เนื่องจากหาดนี้อยู่ติดกับเขตที่ถูก Unesco ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ในอดีต ศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องกรณีนี้ไปแล้ว 1 รอบ แต่ชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นอุทธรณ์พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องชายหาดแห่งนี้หลายครั้ง รวมถึงสำรวจข้อมูล beach profile นำส่งต่อศาลเพื่อแสดงให้เห็นว่าชายหาดแห่งนี้ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น เนื่องจากไม่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรง การกัดเซาะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากพายุรุนแรงเมื่อ 10 ปีก่อน และไม่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีกเลย จากเสียงคัดค้านจากผู้คนที่ต้องการปกป้องธรรมชาติ ทางจังหวัดจึงลดขนาดของเขื่อนลงจาก 530 เมตร เหลือเพียง 180 เมตร เมื่อ 6 ปีก่อน และเมื่อสองปีก่อน มีการนำรถขุด เครื่องจักรหนัก และวัสดุก่อสร้างมาวางไว้ที่ชายฝั่ง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากชาวบ้านต่อต้านจนถึงปัจจุบัน ในคำตัดสินของศาลชั้นสองเมื่อวันที่ 24 […]

Beachlover

April 25, 2024
1 2 25