ควรรื้อทำลายโครงสร้างชายฝั่งที่หมดสภาพแล้ว

สำหรับโครงสร้างชายฝั่งที่หมดสภาพ ซึ่งหมายถึงหมดประสิทธิภาพหรือหมดหน้าที่ในการป้องกันชายฝั่งไปแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงกายภาพ เช่น อาจก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม หรือ เป็นทัศนะที่อุจจาดตาบดบังทัศนียภาพที่สวยงามของชายหาด ในกรณีนี้ควรมีการวิเคราะห์ถึงการรื้อถอนทำลายเพื่อคืนสภาพชายหาดให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ในหลายกรณีการมีอยู่ของโครงสร้างนั้น ได้ก่อให้เกิดบริบทใหม่ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนั้นขึ้นแล้ว เช่น อาจเกิดการทับถมของที่ดินจนเกิดชุมชนใหม่ขึ้น หรือร่องน้ำถูกเปิดตลอดทั้งปีจนชาวบ้านเปลี่ยนขนาดเรือจากเล็กเป็นใหญ่เพื่อการพาณิชย์แทนที่จะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือประมงขนาดเล็กเหมือนในอดีต ดังนั้น หากมีการรื้อถอนทำลายโครงสร้างที่มีอยู่อาจส่งผลกระทบถึงการใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ได้ การสร้างยังต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาออกแบบ การรื้อโครงสร้างก็เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการใดๆ มิฉะนั้นอาจเกิดผลกระทบที่ยากจะคาดเดา

Beachlover

May 13, 2021

หาดทรายกลายเป็นหิน @ หาดบาเฆะ นราธิวาส

หาดบาเฆะ อยู่ในเขตบ้านบาเฆะ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ทิศเหนือห่างจากหาดนราทัศน์เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เคยมีข่าวว่าชายหาดแห่งนี้เกิดการกัดเซาะอย่างหนักโดยเฉพาะในปี 2557 ตามข่าว https://mgronline.com/south/detail/9570000147376 จากการตรวจสอบภาคสนามพบว่า มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ริมชายหาดเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น ระยะทางตามแนวชายหาดประมาณ 250 เมตร คาดว่าเหตุการณ์คลื่นกัดเซาะอย่างรุนแรงในปี 2557 น่าจะส่งผลกระทบกับพื้นที่ของชุมชนที่ว่านี้ จากการสำรวจภาคสนามในเดือนเมษายน 2564 พบว่า มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งปิดยาวตลอดแนวของชุมชนริมชายฝั่งรวมไปถึงพื้นที่ข้างเคียงด้านเหนือและใต้ของชุมชนด้วย ระยะทางรวมประมาณ 3 กิโลเมตรกว่า โดยจากภาพมุมสูงพบว่า พื้นที่ทางทิศเหนือและใต้ของชุมชนนี้ ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีชุมชน ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานใดๆทั้งของรัฐและเอกชนตั้งอยู่เลย การสร้างโครงสร้างปิดตลอดทั้งแนวชายหาดแบบนี้ถือว่าเป็นมาตรการที่เกินจำเป็นไปมาก Beach Lover ไม่มีข้อมูลแปลงโฉนดที่ดินบริเวณนี้เพื่อยืนยันว่า ที่เห็นพื้นที่โล่งๆนี้มีที่ดินเอกสารสิทธิ์ของชาวบ้านในชุมชนตกน้ำไปบ้างหรือไม่ ถึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนหินทิ้งปิดยาวทั้งชายหาดแบบนี้ แต่ที่แน่ชัดก็คือสันทรายธรรมชาติที่เป็นพื้นที่สาธารณะทางทิศใต้ของหมู่บ้านนั้น ไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องนำหินไปทิ้งเพื่อป้องกันชายหาด ที่ไร้ซึ่งชุมชนชายฝั่งและโครงสร้างพื้นฐานใดๆ หากแม้ภายภาคหน้าพื้นที่นี้จะถูกกัดเซาะไปบ้าง ก็มิได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับทรัพย์สินของรัฐและเอกชนแต่อย่างใด ส่วนทางรถวิ่งที่เห็นในมุมสูงนี้ ก็มิได้ใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปที่ใดเลย สันทรายนี้เชื่อมต่อกับทางทิศเหนือของหาดนราทัศน์ก็จริง แต่ไม่สามารถสัญจรผ่านเส้นทางนี้ได้ สันทรายที่เห็นในภาพนี้ไปเชื่อมต่อกับหาดนราทัศน์ทางทิศเหนือ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า สันทรายแห่งนี้โดยเฉพาะตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆกับหาดนราทัศน์นั้นถูกกัดเซาะไปมาก หลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งริมของหาดนราทัศน์ ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ชายหาดหายไปไหน-นราทัศน์/ หากรัฐ ต้องถมหินกับทุกพื้นที่ชายหาด […]

Beachlover

May 4, 2021

ตะโละสะมิแล …ยังสบายดีไหม

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดตะโละสะมิแล หาดท่องเที่ยว ที่นำพาผู้คนหลั่งไหลมาที่ปลายแหลมตาชี จ.ปัตตานี ไปแล้วครั้งหนึ่ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ตะโล๊ะสะมิแล-เคยหายไป/ เมื่อเปรียบเทียบแนวชายฝั่งเบื้องต้นโดยใช้ข้อมูล Google earth พบว่า ชายหาดบ้านตะโละสะมิแลนั้นเกิดการพัฒนาอย่างมากระหว่างปี 2554-2563 พื้นที่เดิมที่เคยเป็นป่าชายหาด หนองบึง ตามธรรมชาติ ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นรีสอร์ทและร้านอาหารริมทะเล จากการสำรวจปีที่แล้วนั้น Beach Lover ได้พบหลายรีสอร์ทกำลังสร้างใหม่เพิ่มเติม โดยหลายรีสอร์ทที่สร้างไปแล้วพบว่ามีบางส่วนของพื้นที่ใช้ประโยชน์ด้านในที่ดูเหมือนจะล้ำลงมาที่ชายหาดค่อนข้างมาก อย่างถนนดินลูกรังที่ถมทับลงไปบนชายหาดตามภาพเดือนสิงหาคม 2563 อีกทั้งยังมีการนำท่อซีเมนต์และกองหินมาวางริมชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทเพื่อป้องกันชายฝั่ง ทั้งวางตัวขนานและวางตั้งฉากกับชายฝั่ง คาดว่าแต่ละรีสอร์ทดำเนินการกันเอง ครั้งนี้ Beach Lover พาบินสำรวจมุมสูงเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ริมชายหาดเมื่อครั้งเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว กับเมษายนในปีนี้ พบว่า กองหินที่นำมาวางขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่ง หรือทำหน้าที่เหมือนรอดักทรายนั้น (อ่านเพิ่มเติมเรื่องรอดักทรายจาก https://beachlover.net/groin/) บัดนี้ได้มีทรายมาถมระหว่างช่องว่างจนเต็ม โดยสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจากภาพ อีกสิ่งหนึ่งที่ปรากฏชัดจากภาพด้านบนนี้คือผลกระทบด้านท้ายน้ำ (Downdrift) จากโครงสร้างรอดักทรายตัวสุดท้ายทางทิศเหนือของภาพ โดยพบว่าเกิดการเว้าแหว่งของชายหาดกินลึกเข้าไปถึงรีสอร์ทด้านใน ซึ่งจากภาพในเดือนสิงหาคมนั้นยังอยู่ห่างจากทะเลค่อนข้างมาก แต่มาวันนี้ ทะเลได้รุกเข้ามาถึงเสาต้นนอกแล้ว ทำให้รีสอร์ทต้องนำเสาไม้และถุงกระสอบทรายมาปักและวางด้านหน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบพลางไปก่อน จุดเริ่มต้นของการกัดเซาะพื้นที่นี้ เท่าที่พอจะหาภาพเชิงประจักษ์มาเล่าเรื่องได้ คาดว่าเกิดการกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศใต้ของบ้านตะโละสะมิแล ซึ่งส่งผลให้ชายหาดด้านทิศเหนือเกิดการกัดเซาะแบบเว้าแหว่ง โดยสังเกตได้จากภาพแรกของโพสนี้ […]

Beachlover

May 1, 2021

ชายฝั่งเทพา ตะกอนทรายคืนหลังมรสุม

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ ผลการสำรวจพบ ร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่ง อาจเริ่มต้นจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำเทพา (Jetty) เขื่อนกันทรายและคลื่นนอกชายฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องจากโครงสร้างดังกล่าว อีกทั้งโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งริมและกำแพงกันคลื่นชายฝั่งของผู้ประกอบการภาคเอกชนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงสร้างอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบการสะสมตัวของตะกอนทรายและการฟื้นฟูเนินทรายชายฝั่งในบางพื้นที่

Beachlover

May 1, 2021

พาสำรวจชายฝั่งทะเลภาคใต้ หาดชลาทัศน์ ทะเลสงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดชลาทัศน์ ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดชลาทัศน์ ผลการสำรวจพบว่าชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล มีการฟื้นฟูของเนินทรายชายฝั่งและการสะสมตัวของตะกอนทรายชายหาด และยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งในช่วงฤดูลมมรสุม ปัจจุบันเริ่มมีการก่อตัวของเนินทราย การสะสมตัวของตะกอนทราย ภายหลังหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ผ่านมา อีกทั้งชายหาดชลาทัศน์ มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ทั้งของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 30, 2021

พาสำรวจชายฝั่งทะเลตะวันออก หาดดวงตะวัน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจติดตามสถานภาพชายหาด “หาดดวงตะวัน” ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอ่าวไทยตะวันออกตอนล่าง (T1) ระบบกลุ่มหาดกร่ำ-เพ (T1J) ระบบหาดเพ (T1J030) ผลการสำรวจพบว่า หาดดวงตะวัน เป็นชายหาดที่อยู่ด้านทางทิศตะวันออกของปากน้ำแกลง ซึ่งมีเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำ (Jetty) ๑ คู่ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เป็นหาดทรายแบบหาดยาว (long beach) ยาวหลายกิโลเมตรขนานไปกับแผ่นดิน ชายหาดวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตะกอนทรายที่พบบริเวณหาดมีขนาดตั้งแต่ละเอียด-หยาบ การคัดขนาดปานกลาง ตะกอนทรายที่พบมีสีน้ำตาลอ่อน สุดหาดไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นปากน้ำแกลง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ร้านค้า ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะ พบโครงสร้างริมชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นริมชายหาดแบบตั้งตรง แบบลาดเอียง และแบบหินทิ้งริมชายฝั่ง (พบทางทิศตะวันตกของหาด) นอกจากนั้นยังพบถนนเลียบชายหาดระยะประชิดตลอดระยะทางประมาณ ๑.๔ กม. จากการสำรวจยังพบถนน และโครงสร้างริมชายฝั่งยังคงถูกกัดเซาะหลายตำแหน่ง ปัจจุบัน กรมโยธาธิการและผังเมือง กำลังดำเนินการตามโครงการป้องชายฝั่งพร้อมปรับภูมิทัศน์หาดดวงตะวันระยะทาง […]

Beachlover

April 30, 2021

พาชมความคืบหน้าของกำแพงป้องกันชายฝั่ง บ่ออิฐ-เกาะแต้ว

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานป้องกันชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา ตั้งแต่ปี 2562 ไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/ และ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ ครั้งนี้ Beach Lover เปิดภาพมุมสูง ตั้งแต่ตุลาคม 2562 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 พาชมความคืบหน้าของการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงพร้อมโครงสร้างประกอบอื่นๆ โดยกรมเจ้าท่า เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร ด้วยงบประมาณ 219,935,000 บาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564  หากเราสังเกตระยะทางจากชายหาดถึงตำแหน่งจุดอ้างอิง (วงกลมสีแดงในทุกภาพ) จะพบว่า กำแพงกันคลื่นนี้ วางทับลงไปบนพื้นที่ชายหาดทั้งหมด และยังยื่นล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก เนื่องจากชายหาดบริเวณนี้ค่อนข้างแคบเพราะเป็นส่วนท้ายน้ำที่ได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นชุดก่อนหน้านี้ที่เกิดขึ้นไปแล้วทางทิศใต้ ประเด็นที่ต้องตามต่อไปก็คือ ด้วยความกว้างของโครงสร้างขนาดใหญ่ที่วางทับและยื่นล้ำลงไปบนชายหาดธรรมชาติแบบนี้ จะเกิดผลกระทบอย่างไรกับพื้นที่ชายหาดท้ายน้ำ ณ ตำแหน่งสุดปลายกำแพงทางทิศเหนือ คำตอบขอคำถามนี้ แทบจะไม่ต้องใช้เวลาคิดวิเคราะห์อะไรกันเนิ่นนาน เพราะเหตุแห่งการสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแห่งนี้ ก็เกิดจากคำตอบของคำถามที่เป็นข้อห่วงกังวลจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชุดก่อนหน้านี้ทางทิศใต้เช่นเดียวกัน เราจะต้องตอบคำถามเดิมๆ แก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเดิมๆ วนไปวนมากันแบบนี้ จริงๆหรือ ?!?

Beachlover

April 25, 2021

ภาพมุมสูง การกัดเซาะชายหาดตะโละกาโปร์ ก่อนรื้อโครงสร้าง

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวการดำเนินการรื้อถอนโครงสร้างบางอย่าง ริมชายหาดตะโละกาโปร์ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์-ปัตตานี/) ไปแล้วนั้น ปัจจุบัน (24 เมษายน 2564) ยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานรื้อถอน โดยทาง Beach Lover ไม่มีข้อมูลว่า หน่วยงานตัดสินใจรื้อถอนโครงสร้างใดบ้างด้วยเหตุผลใด และมีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อไหร่ แต่จากภาพมุมสูงเปรียบเทียบกันในแต่ละช่วงเวลา และจากเรื่องราวที่เคยได้นำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/อะไรเกิดขึ้นที่หาดตะโละกาโปร์/ ) พบว่า โครงสร้างที่เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดการกัดเซาะอย่างไม่เป็นธรรมชาติได้แก่ลานปูนที่ยื่นล้ำลงไปบนชายหาด ทางทิศใต้ของหาดท่องเที่ยวตาโละกาโปร์ หากการกัดเซาะในพื้นที่หาดตะโละกาโปร์เกิดตามธรรมชาติโดยแท้ เราจะเห็นการกัดเซาะในลักษณะของการกินระยะที่ค่อนข้างเท่ากันในหาดเดียวกัน แต่จากภาพที่ปรากฏพบว่า เกิดการเว้าแหว่งของชายหาดเป็นจุดๆเฉพาะตำแหน่ง ในขณะที่ชายหาดส่วนถัดไปทางตอนเหนือยังคงสมบูรณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นดังภาพอาจแตกต่างกันไปตามทิศทางของคลื่นลม บางฤดูกาลเราอาจไม่เห็นอิทธิพลของโครงสร้างที่ยื่นล้ำนี้ได้อย่างเด่นชัด ในขณะที่บางฤดูกาลโครงสร้างนี้เองที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ จากภาพการรื้อถอนโครงสร้างริมหาดตะโละกาโปร์ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(https://beachlover.net/รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์-ปัตตานี/) ตามข่าว ยังไม่ปรากฏว่ามีการรื้อถอนโครงสร้างนี้แต่อย่างใด เป็นเพียงภาพของรถขุดที่กำลังรื้อถอนโครงสร้างบางอย่าง (ซึ่งไม่แน่ใจว่าโครงสร้างใด) ในหมู่บ้านทางทิศใต้ของหาดท่องเที่ยวตะโละกาโปร์ อย่างไรก็ตาม โครงการรื้อถอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ หากมีความคืบหน้าอย่างไร Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสถัดไป

Beachlover

April 24, 2021

ติดตามตรวจสอบชายหาดหน้าวัดท่าไทร ไม่พบกัดเซาะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) ตรวจติดตามระบบหาด ท้องที่ จ.พังงา เป็นระบบหาดท้ายเหมือง (T7E๒๐๑) ท้องที่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง บริเวณ​หน้าวัดท่าไทร ลักษณะหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดทรายหยาบปนละเอียด อุณหภูมิ​ชายหาด ๓๔.๕ องศาเซลเซียส​ ความเร็วลม ๘ กม./ชม. ท้องฟ้าแจ่มใส​ จากฝั่งออกไปประมาณ ๑ กม. มองไปน้ำทะเล​จะเป็นสีเขียว ถัดจากนั้นออกไปเป็นสีคราม น้ำทะเลริมฝั่งขุ่นเล็กน้อย ลักษณะของ​คลื่นเป็นคลื่นลม กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศเหนือ อัตราคลื่น​กระทบ​ฝั่ง​ ๙ ครั้ง​/นาที สำหรับบริเวณ​ที่กรม ทช. มาก่อสร้างรั้วดักทราย (sand fence) ไว้ ผลมีทรายมาทับถมเกือบมิดหัวไม้เป็นส่วนใหญ่ หัวไม้ที่โผล่ยาวสุดไม่เกิน ๕๐ ซม. บริเวณ​ด้านทิศเหนือของแนวรั้วดักทราย น้ำทะเลได้เซาะจนเห็นเสาไม้แต่ยังไม่เซาะผ่านเข้ามาในแนวเสาไม้ ระยะทางที่เป็นลักษณะ​เช่นนี้​ประมาณ​ ๒๐ เมตร […]

Beachlover

April 23, 2021

รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์ ปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณบ้านตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พร้อมทั้งติดตามการรื้อถอนโครงสร้างถาวร บริเวณหาดทรายและชายฝั่งที่มีสภาพชำรุดและไม่ใช้ประโยชน์ ดำเนินการโดย อบต.ตะโละกาโปร์ ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้เปรียบเสมือนตัวขัดขวางการไหลของกระแสน้ำหรือกระแสคลื่นชายฝั่ง เมื่อมีระดับน้ำท่วมถึง คลื่นที่เคลื่อนที่มากระทบกับสิ่งกีดขวาง จะเกิดการสะท้อนกลับพร้อมทั้งนำทรายให้เคลื่อนออกไปด้วย อีกทั้งจุดปลายของโครงสร้างจะเป็นจุดกำเนิดคลื่นใหม่ให้แผ่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางและเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องไป หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์การเลี้ยวเบน (diffraction) หรือ End Effect

Beachlover

April 23, 2021
1 17 18 19 29