หาดแม่รำพึง ยังสบายดี?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ (https://beachlover.net/ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ-ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า-79-ล้าน/) ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง-ประจวบคีรีขันธ์-๙๖๖-เมตร-บนคำถาม/) […]

Beachlover

January 4, 2023

ร้อยเมตรสุดท้ายของชายหาด

พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในตําบลสามร้อยยอด อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดส่วนสุดท้ายที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลก ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี ตลอดระยะทางประมาณ 4,530 เมตร ก่อนถึงชายหาดส่วนสุดท้ายนี้ ไม่หลงเหลือสภาพชายหาดธรรมชาติแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ดําเนินการก่อสร้างโดยสํานักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทางทิศใต้ของพื้นที่หาดผืนสุดท้ายนี้ คือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และมีการใช้ประโยชน์เป็นชุมชนประมงด้านในคลอง น่าแปลกใจว่า เหตุใดตอนก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลกเป็นระยะทางกว่า 4.53 กิโลเมตร ในปี 2555 จึงได้เว้นช่วงชายหาดผืนสุดท้ายนี้ไว้ประมาณ 120 เมตร เหตุใดจึงไม่ได้ออกแบบก่อสร้างให้จรดโครงสร้างปากร่องน้ำ นับเป็นโครงการที่น่าตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 พบว่า มีกองหินขนาดเล็กวางระเกะระกะบนบางส่วนของชายหาด แต่ยังไม่พบร่องรอยคลื่นกัดเซาะจนถนนได้รับความเสียหาย โดยถนนเส้นนี้วิ่งมาจรดปากคลองเท่านั้น ไม่ได้เป็นเส้นทางหลักเพื่อวิ่งเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นแต่อย่างใด ในปี 2565 ท้องถิ่นได้ทำเรื่องร้องขอโครงสร้างป้องกันพื้นที่ชายหาดผืนสุดท้ายนี้ต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง คาดเดาได้ว่า กรมจะใช้วิธีคิดแบบเดิมๆคือป้องกันไปเสียให้จบๆ เพราะเหลืออีกแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าเราจะได้กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงในรูปแบบเดิมกับที่มีอยู่แล้วกว่า 4.53 กิโลเมตร หากกรมฯปรับเปลี่ยนมุมมองในการมองปัญหาใหม่ อาจคิดได้ว่า เหลือเพียงแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้นที่เป็นหาดทรายธรรมชาติผืนสุดท้ายของชายหาดที่ยาว 4.65 […]

Beachlover

January 3, 2023

พบโกงกางเทียม บน หาดทราย

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งชนิดหนึ่งที่เรียกขานกันว่า “ซีออส C-Aoss หรือ โกงกางเทียม” (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) ไปบ้างแล้วในโพสเก่าๆ ติดตามได้จาก หาดนางทอง เขาหลัก พังงา Youtube https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg ระเนระนาด @ หาดนางทอง (https://beachlover.net/ระเนระนาด-หาดนางทอง-เขาหลัก/) Beach Lover ได้ลงสำรวจภาคสนาม (21 ธันวาคม 2565) และพบว่ามีความพยายามใช้โครงสร้างนี้เพื่อป้องกันชายหาด ณ หาดสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากการเดินเท้าสำรวจไม่พบป้ายระบุว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ รายละเอียดของโครงสร้าง รวมถึงงบประมาณที่ใช้ พบว่า ตัวแท่งเสาหลักที่ทำจากเนื้อไม้ผสมพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง(High Density Polyethylene : HDPE) หรือตัวต้นโกงกางเทียมได้ถูกปักลงบนหาดทรายแล้วจำนวน 4 และ 6 แถว โดยใช้รถเจาะที่จอดอยู่บริเวณใกล้เคียง ส่วนตัวรากไม้เทียมที่มีส่วนผสมของยางพาราธรรมชาติร้อยละ 35 ของส่วนผสมทั้งหมด ยังไม่ถูกประกอบเข้ากับเสาหลัก พบว่าวางใส่ถุงกระสอบขนาดใหญ่อยู่บนชายหาดด้านหลังแท่งเสาหลัก เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆพบว่ามีกลิ่นคล้ายยางรถยนต์ชัดเจนมากจากรากไม้เทียมนี้ ทางทิศใต้ของบริเวณที่คาดว่าเป็นพื้นที่ก่อสร้างนี้มีลักษณะเป็นหาดทรายยาว โดยยังไม่พบโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และยังไม่พบหลักฐานของการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ส่วนทางทิศเหนือของพื้นที่ก่อสร้างนี้เป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่ สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองระยะทางประมาณ 1.5 […]

Beachlover

January 1, 2023

3 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดแห่งปี 2565

Beach Lover ได้เริ่มนำเสนอเรื่องราว องค์ความรู้ เรื่องชายหาดทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเนื้อหาที่เป็น Original content ทั้งหมด ยกเว้นหมวด “ข่าว” และบางส่วนของหมวด “วิชาการ” โดยในปี 2565 ได้เพิ่มหมวด “การเดินทางของเม็ดทราย” (https://beachlover.net/การเดินทางของเม็ดทราย/) ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวของชายหาดต่างๆผ่านตัวละคร จากจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมพบว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มากกว่าหมวดเนื้อหาหนักๆที่เป็นวิชาการเสียอีก ในปี 2565 มี 3 เรื่องราวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ (Click ที่ชื่อเรื่องเพื่อนำสู่เนื้อหาฉบับเต็ม) พาชมหาดขั้นบันไดแห่งใหม่ของเมืองเพชร! กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้ คดีประวัติศาสตร์ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” คาบสมุทรตากใบ นราธิวาส เรายังคงตั้งใจนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยเนื้อหาที่ยึดโยงกับหลักวิชาการโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ด้วยความเชื่อมั่นอย่างสุดใจว่า “ความรู้เปลี่ยนแปลงประเทศนี้ได้”

Beachlover

December 31, 2022

ชมหาดขั้นบันไดสีเขียวมรกต

Beach Lover ได้พาติดตามโครงการกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได บริเวณชายหาดชะอำใต้มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ค้นหาได้จาก Search Icon มุมขวาบน ครั้งนี้ขอพาชมโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดส่วนท้ายสุด ด้านทิศใต้ของชายหาดขะอำใต้ ที่ยังเหลือเก็บงานพื้นผิวขั้นบันไดอีกเล็กน้อย (ภาพเมื่อ 22ธันวาคม2565) พบว่า ด้านหน้ากำแพงไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่เลย และพบว่ามีสาหร่ายสีเขียวขึ้นตามขั้นบันไดส่วนที่ใกล้กับระดับน้ำตามรูป

Beachlover

December 24, 2022

กำแพงกันคลื่น กับ EIA

ท่ามกลางกระแสการร้องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำเอาโครงสร้างป้องกันชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นกลับเข้าไปอยู่ในประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในรายการของโครงสร้างชายฝั่งทะเลที่จำเป็นต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนพิจารณาใช้โครงสร้างนี้เพื่อป้องกันชายฝั่ง ตามข่าวได้จาก https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL และ https://www.facebook.com/greensouthfoundation รวมถึงองค์กรและสื่อด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ Beach Lover ซึ่งเป็น Website ที่ให้องค์ความรู้และถ่ายทอดข้อมูลสถานการณ์ชายฝั่งทะเลมาตลอดกว่า 4 ปี ขอชวนผู้ติดตามอ่านบทความกึ่งวิชาการได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรื-2/ หรือเข้าไปในหมวด “วิชาการ” และค้นหาบทความชื่อ “กำแพงกันคลื่น…ไปต่อหรือพอแค่นี้”

Beachlover

December 1, 2022

ระเนระนาด @ หาดนางทอง เขาหลัก

หาดนางทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามแปลกตาจนถูกยกให้เป็นอันซีนพังงา เนื่องจากชายหาดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากชายหาดอื่น ๆ เนื่องจากผืนทรายบนชายหาดนางทองเป็นสีดำละเอียด ที่พบไม่กี่แห่งในโลก ยามเมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดก็จะมองเห็นหาดทรายสีดำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เป็นที่กล่าวขานถึงความแปลกของหาดทรายที่นี่และขนานนามว่า “หาดทรายสีดำ” สำหรับทรายสีดำดังกล่าว คือ “แร่ดีบุก” ที่มีอยู่มากในบริเวณนี้ยาวไปตลอดแนวชายหาดของอำเภอตะกั่วป่า ซึ่งในอดีตอำเภอแห่งนี้ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ริมชายฝั่งสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดพังงาว่า “แร่หมื่นล้าน” ในอดีตหาดทรายแห่งนี้จะมีคลื่นซัดแร่ดีบุกขึ้นมาชาวบ้านจะตักมากองรวมกันก่อนจะนำใส่รางและล้างน้ำเพื่อแยกเอาทรายทะเลที่มีน้ำหนักเบากว่าออกให้เหลือเพียงแต่สีดำ ก่อนจะนำไปแยกเอาแร่ดีบุกออกมาขายอีกที หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ จังหวัดพังงาก็เริ่มเข้าสู่ยุคท่องเที่ยว แต่คลื่นทะเลตามธรรมชาติก็ยังคงซัดเอาแร่ขึ้นบนชายหาดดังกล่าวอยู่เป็นระยะ และดึงกลับลงไปในทะเล สลับกันไปมาอยู่เรื่อย ๆ จนกลายเป็นหาดทรายสีดำ อันซีนพังงากับธรรมชาติแปลกตาที่มีเพียงจุดเดียว (https://mgronline.com/travel/detail/9630000104903) Beach Lover ได้เคยพาสำรวจหาดนางทองมาแล้วในอดีตช่วงพายุโนอึลซัดเข้าชายฝั่งอันดามันเมื่อ กันยายน 2563 ในเวลานั้น หาดนางทองและบริเวณใกล้เคียงมีลักษณะดังภาพ วันนี้ (24 พ.ย.2565) Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดด้านหลังประภาคารเขาหลัก หนึ่งในสถานที่ดึงดูดผู้คนมายังชายหาดนางทอง โดยเดินเท้าสำรวจชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทแห่งหนึ่งระยะทางประมาณ 100 เมตร (คลิปเดินสำรวจ https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg) พบสภาพชายหาดที่ประกอบด้วยกระสอบทรายเล็กและใหญ่ พร้อมโครงสร้างรากไม้ป่าชายเลนเทียมที่ทำจากไม้ประกอบพลาสติกและยางพารา (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) คาดว่าได้นำมาวางไว้เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่จากสภาพที่เห็นพบว่าถูกคลื่นซัดจนพังระเนระนาด พื้นที่ด้านหน้ารีสอร์ทที่มีการวางโครงสร้างป้องกันแห่งนี้ เป็นชายหาดส่วนที่ติดต่อกับอีกรีสอร์ทหนึ่งทางทิศใต้ที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง (Vertical […]

Beachlover

November 27, 2022

โฉลกหลำ กำลังจะมีกำแพง !?

อ่าวโฉลกหลำ เป็นชายหาดด้านทิศเหนือของเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอ่าวโค้งคล้ายครึ่งวงกลม มีท่าเทียบเรือประมงอยู่บริเวณเกือบๆกลางอ่าวยื่นออกไปยาวประมาณ 80 เมตรจากฝั่ง ในอดีต อ่าวโฉลกหลำเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บนเกาะพะงันมาอย่างยาวนาน อาชีพ หลัก คือ การทำประมง เมื่อออกเรือหาปลาหรือได้ สัตว์น้ำมาก็จะทำการแปรรูปหรือถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินในครัวเรือน และส่วนที่เหลือก็จะจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้สู่ครอบครัว (https://th.tripadvisor.com) เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับการมาถึงของธุรกิจท่องเที่ยว อ่าวโฉลกหลำบางส่วนโดยเฉพาะโซนหน้าทะเลกลายเป็นที่ต้องของรีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ในเดือนมกราคม ปี 2560 ตัวแทนท้องถิ่นได้ยื่นเอกสารไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อขอให้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องน้ำทะเลกัดเซาะ หลังจากนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาออกแบบเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะทาง 400 เมตร ปัจจุบันงานศึกษาออกแบบและงานรับความคิดเห็นประชาชนจำนวน 2 ครั้งได้เสร็จสิ้นลงแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการขอตั้งงบประมาณเพื่อก่อสร้าง คาดว่าน่าจะใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 40 ล้านบาท (คำนวณจากค่าเฉลี่ยต่อเมตรของงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในอดีต https://beachlover.net/งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่น-2554-2565-โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง/) Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจภาคสนามในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูมรสุมของทะเลแถบนี้ เฉพาะส่วนของพื้นที่โครงการที่วางแผนจะก่อสร้าง ตลอดแนวพบชายหาดทรายขาวละเอียด พบร่องรอยการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งด้วยกระสอบทรายขนาดเล็กประปราย พบกำแพงริมทะเลสร้างโดยเอกชนที่มีที่ดินประชิดหาด และไม่พบร่องรอยของชายหาดที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง นอกจากนั้นยังพบว่าเจ้าของบ้านที่ไม่มีกำแพงกันที่ดินของตนเองริมทะเล ได้ทำการปลูกแบบเรือนแบบยกใต้ถุนสูง คาดว่าเพื่อให้น้ำทะเลลอดเข้าไปใต้ถุนบ้าน […]

Beachlover

November 11, 2022

ลงมือแล้ว! กำแพงกันคลื่นหาดปากน้ำปราณ

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศเหนือใกล้กับปากน้ำปราณที่ดำเนินการโดยงบประมาณจังหวัดเมื่อปี 2557 ระยะทางยาว 190 เมตร เกิดความเสียหายอย่างหนัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-ปากน้ำปราณ-เสียหาย/) รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วย จากนั้นเทศบาลตำบลปากน้ำปราณจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองในปี 2561 หลังจากนั้นกรมฯจึงริเริ่มโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล […]

Beachlover

November 9, 2022

หาดม่วงงาม เตรียมรับมรสุมแล้ว

ชายหาดม่วงงาม หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีประชากรกว่า 3,000 คน มีที่อยู่อาศัยตั้งเรียงรายประชิดชายฝั่งตลอดทั้งแนว ส่งผลให้ยามฤดูมรสุม พื้นที่ริมทะเลแถบนี้มักได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าชายหาดหมู่อื่นๆของม่วงงาม Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 2 พ.ย.2565 พบมีการวางกระสอบทรายขนาดเล็กเพื่อรับมือแล้วในบางตำแหน่ง แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงต้นมรสุมที่ยังไม่ส่งผลรุนแรงก็ตาม ฤดูมรสุมที่ชายหาดแถบนี้ได้รับผลกระทบคือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมของทุกปี เรื่อยไปถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือในบางปีอาจยาวนานกว่านั้น ลมทะเลจะแรงและพัดยาวนานกว่าฤดูอื่น ส่งผลให้คลื่นมีความสูงมากขึ้น ยิ่งรวมกับระดับน้ำทะเลในช่วงมรสุมที่จะยกตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาอื่นๆด้วยแล้ว ยิ่งทำให้คลื่นยกตัวเข้าปะทะบ้านเรือนริมชายฝั่งและส่งผลเสียหายกว่าฤดูกาลปกติ เทศบาลเมืองม่วงงามได้ดำเนินการป้องกันชายฝั่งแถบนี้ โดยแจกถุงกระสอบขนาดเล็กให้ชาวบ้านได้นำทรายใส่กระสอบมาวางด้านหน้าชายหาดเพื่อป้องกันในยามมรสุม โดยดำเนินการแบบชั่วคราวเฉพาะยามจำเป็น อย่างไรก็ตามชาวบ้านเล่าให้ Beach Lover ฟังว่า ทรายที่นำมาใส่กระสอบก็คือทรายที่อยู่บนหาดบริเวณเดียวกันนี้เอง รวมถึงไม่ได้รื้อถอนกระสอบที่เคยวางไว้ในฤดูมรสุมก่อนหน้านี้ออกไปแต่อย่างใด เนื่องจากกระสอบถูกทรายกลบไปแล้วบ้าง ฉีกขาดไปแล้วบ้าง ไม่ก็หลุดออกไปจากที่ตั้งลงทะเลไปบ้าง ด้วยวิถีชีวิตของประชาชนบริเวณนี้กว่า 80% เกี่ยวข้องกับการประมง จำเป็นต้องมีพื้นที่หน้าชายหาดเพื่อการจอดเรือ หากพื้นที่ชายหาดด้านหน้าหดหายไป หรือถูกแทนที่ด้วยกำแพงหิน กำแพงคอนกรีต จะยิ่งส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน จากการที่ Beach Lover ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามหมู่ 3 มาในระดับหนึ่ง พบว่าการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นี้เป็นแบบ “กัดเซาะชั่วคราว” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบชั่วคราว […]

Beachlover

November 6, 2022
1 2 27