ทช. สำรวจชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 27 ธันวาคม 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 โดยส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง นำเรือทรัพยากรฯ 420 และอากาศยานไร้คนขับ เพื่อสำรวจและจัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและโครงสร้างป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบระบบ ณ บริเวณชายทะเล เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร หลักกิโลเมตรที่ 28 – 29

Beachlover

December 27, 2024

เราศึกษาความเป็นพลวัตของชายหาดกันอย่างไร

การศึกษาพลวัตของชายหาดต้องอาศัยเครื่องมือและวิธีการหลากหลายที่ช่วยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของชายหาดในเชิงพื้นที่และเวลา โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้: 1. การสำรวจภาคสนาม (Field Surveys) การสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาพลวัตชายหาด 2. การวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม (Remote Sensing and Aerial Imagery) การใช้ภาพถ่ายจากอากาศและดาวเทียมช่วยให้สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งในขนาดพื้นที่ใหญ่ 3. แบบจำลองเชิงตัวเลข (Numerical Modeling) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองกระบวนการทางชายฝั่งเพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 4. การวิเคราะห์เชิงสถิติ (Statistical Analysis) การศึกษาพลวัตชายหาดมักใช้ข้อมูลระยะยาวที่ต้องวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางสถิติ 5. การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี LiDAR (Light Detection and Ranging) 6. เทคนิคการใช้ Marker และ Tracking Sediments 7. การสำรวจผ่านเซนเซอร์ใต้น้ำ (Underwater Sensors)

Beachlover

December 18, 2024

สำรวจสถานภาพชายฝั่งคลองประสงค์ กระบี่

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจสถานภาพชายฝั่ง โครงสร้างชายฝั่ง พร้อมบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยอากาศยานไร้คนขับ พื้นที่บ้านคลองประสงค์ ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิจัย พัฒนา และธรณีวิทยาชายฝั่งร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 (กระบี่ ภูเก็ต) โดยส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ลงพื้นที่บ้านคลองประสงค์ ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เพื่อสำรวจสถานภาพชายฝั่ง โครงสร้างชายฝั่ง พร้อมบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) สำหรับนำมาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการประชุมคณะทำงานกลั่นกรอง โครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 พื้นที่สำรวจบริเวณชายหาดด้านหลังโรงเรียนคลองประสงค์ อยู่ในพื้นที่ระบบหาดปากน้ำกระบี่ (T8D266) ระยะทางชายฝั่ง ประมาณ 500 เมตร ในการสำรวจครั้งนี้พบโครงสร้างริมชายฝั่ง ประเภทกำแพงกันคลื่นประเภทตั้งตรง (Vertical seawall) ระยะทางประมาณ 270 เมตร

Beachlover

November 19, 2024

ลงพื้นที่จุดวิกฤตกัดเซาะชายฝั่ง ทางหลวงหมายเลข 43 เทพา สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 8 ต.ค. 67 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณจุดวิกฤตการกัดเซาะชายฝั่ง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 อ.เทพา จ.สงขลา เพื่อติดตามการป้องกันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 จากการกัดเซาะชายฝั่งที่อาจจะมีผลกระทบมาจากคลื่นลมมรสุมประจำปีนี้ ของแขวงทางหลวงที่ 12 (นาหม่อม) กรมทางหลวง โดยดำเนินการในรูปแบบหินเรียง บริเวณไหลทางซึ่งอยู่ในพื้นที่ดูแลของ แขวงทางฯ ภายใต้โครงการบำรุงรักษาทางหลวง งานแก้ไขและป้องกันน้ำกัดเซาะ ทางหลวงหมายเลข43 ซึ่งมีความก้าวหน้าของงานไปแล้วกว่า 70 % ของโครงการ พร้อมทั้งมีการดำเนินการเก็บภาพถ่ายมุมสูงทั้งรูปแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์อากาศยานไร้คนขับ(Drone) ทั้งนี้ สทช.5 โดย สอช.จะดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อจัดทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2568 จ.สงขลา พร้อมทั้งรายงานต่อกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ต่อไป

Beachlover

October 9, 2024

กรมทะเล ติดตามการใช้ประโยชน์และสำรวจสภาพพื้นที่แหลมสิงห์ จันทบุรี

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ติดตามการใช้ประโยชน์และสำรวจสภาพพื้นที่ เตรียมกำหนดเป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรา 21 วันที่ 31 สิงหาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เพื่อติดตามการใช้ประโยชน์และสำรวจสภาพพื้นที่ที่อยู่ในกระบวนการออกกฎกระทรวงกำหนดเป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรา 21 จำนวน 1 ระบบหาด ได้แก่ ระบบหาดหาดแหลมสิงห์ (T1F019) โดยผลการติดตามและสำรวจพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการสะสมตัวของตะกอน พบการกระจายตัวของป่าชายเลน และมีสภาพชายหาดที่สมดุล สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์เพื่อประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะนำผลการสำรวจดังกล่าว มาประกอบการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เพื่อดำเนินการออกกฎกระทรวงฯ ต่อไป

Beachlover

August 31, 2024

สำรวจชายฝั่ง ณ หาดบ้านหัวถนน ตำบลท่ายาง อำเภอเมืองชุมพร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่หาดบ้านหัวถนน ตำบลท่ายาง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งอยู่ในระบบหาดปากน้ำชุมพร (T5F114) ซึ่งเป็นพื้นที่กัดเซาะรุนแรง ตามสถานภาพชายฝั่ง พ.ศ. 2565 จากการสำรวจพบว่า เป็นหาดทรายปนโคลน มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำ (Jetty) ความยาวยื่นออกจากชายฝั่งประมาณ 1,068 เมตร พบร่องรอยการกัดเซาะบริเวณโครงสร้างดังกล่าว มีป่าชายเลนบางส่วนได้รับความเสียหาย เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นและกระแสน้ำ (End effect) จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ปัจจุบันเริ่มมีตะกอนทรายเข้ามาทับถมในพื้นที่ทำให้สามารถเดินลงชายหาดได้ในช่วงน้ำลง ซึ่งจากการสำรวจในครั้งนี้ได้ทำการบันทึกภาพถ่ายทางอากาศโดยอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV ) เพื่อนำไปใช้สำหรับประมวลผลด้วยกระบวนการโฟโตแกรมเมตรี (Photogrammetry) ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะนำข้อมูลจากการสำรวจในครั้งนี้ ใช้ประกอบการวิเคราะห์ และจัดทำแผนการขยายผลการติดตัังรั้วดักทราย (Sand Fence) ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions) หรือมาตรการสีเขียว ตามแนวทาง แผนงาน/โครงการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดซาะชายฝั่ง โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว […]

Beachlover

July 31, 2024

อ่าวทองโข … อ่าวที่อาจถูกปิดตายด้วยท่าเทียบเรือ

อ่าวทองโข อ.หลังสวน จ.ชุมพร หากพูดถึงชื่อนี้แทบไม่มีใครรู้จักนอกจากชาวบ้านแถบนั้น เพราะเป็นชื่อเรียกขานชายหาดทรายขาวยาวกว่า 1 กิโลเมตร ที่อยู่ถัดจากแหลมริ่ว ขึ้นไปทางทิศเหนือ ใกล้กับเกาะพิทักษ์ จากการเดินสำรวจและบินสำรวจ พบบ้านเรือน 1 หลังถ้วนบริเวณกลางหาด ส่วนทางทิศเหนือส่วนที่ติดกับหัวหาดที่เป็นภูเขา พบหมูบ้านชาวประมงที่สร้างประชิดทะเล พร้อมท่าจอดเรือ จำนวนหนึ่ง หากนั่งมองทะเลจากอ่าวทองโขตอนนี้ จะพบเพียงหาดทราย น้ำทะเล จรดกับเส้นขอบฟ้า แต่ทว่า หากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐในนามของ Landbridge เกิดขึ้นตามแผนจริง (ระยะที่ 1 ) ในปี 2595-2607 หากเรานั่งมองทะเลในมุมเดียวกันกับวันนี้ ภาพที่ปรากฏตรงหน้าจะกลายเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่บนพื้นที่ถมทะเลกว่า 5,808 ไร่ พร้อมเขื่อนกันคลื่นท่าเทียบเรือสองตัวยาว 5.4 กิโลเมตร และ 0.68 กิโลเมตร เมื่อวันนั้นมาถึงจริงๆ หาดทองโข หมู่บ้านประมง รวมถึงชายหาดข้างเคียง จะกลายสภาพเป็นอย่างไร… น่าติดตาม

Beachlover

May 28, 2024

สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ ต.ท้องเนียน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจและเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และต.ขนอม อำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 9 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 โดย ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และต.ขนอม อำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช ชายฝั่งทะเลมีระยะทางยาวประมาณ 48.03 กม. จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และ ต.ขนอม อ.ขนอม มีลักษณะเป็นหาดทรายและธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน ชายฝั่งส่วนใหญ่มีสถานภาพสมดุล และมีการสะสมของตะกอนทราย จากการสำรวจไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งพื้นที่ชายหาดของ อ.ขนอมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเชิงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ จะดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว เพื่อนำไปประกอบการจัดทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อไป

Beachlover

January 11, 2024

หาดแม่รำพึง ยังสบายดี?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ (https://beachlover.net/ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ-ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า-79-ล้าน/) ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง-ประจวบคีรีขันธ์-๙๖๖-เมตร-บนคำถาม/) […]

Beachlover

January 4, 2023

ระเนระนาด @ หาดนางทอง เขาหลัก

หาดนางทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามแปลกตาจนถูกยกให้เป็นอันซีนพังงา เนื่องจากชายหาดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากชายหาดอื่น ๆ เนื่องจากผืนทรายบนชายหาดนางทองเป็นสีดำละเอียด ที่พบไม่กี่แห่งในโลก ยามเมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดก็จะมองเห็นหาดทรายสีดำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เป็นที่กล่าวขานถึงความแปลกของหาดทรายที่นี่และขนานนามว่า “หาดทรายสีดำ” สำหรับทรายสีดำดังกล่าว คือ “แร่ดีบุก” ที่มีอยู่มากในบริเวณนี้ยาวไปตลอดแนวชายหาดของอำเภอตะกั่วป่า ซึ่งในอดีตอำเภอแห่งนี้ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ริมชายฝั่งสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดพังงาว่า “แร่หมื่นล้าน” ในอดีตหาดทรายแห่งนี้จะมีคลื่นซัดแร่ดีบุกขึ้นมาชาวบ้านจะตักมากองรวมกันก่อนจะนำใส่รางและล้างน้ำเพื่อแยกเอาทรายทะเลที่มีน้ำหนักเบากว่าออกให้เหลือเพียงแต่สีดำ ก่อนจะนำไปแยกเอาแร่ดีบุกออกมาขายอีกที หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ จังหวัดพังงาก็เริ่มเข้าสู่ยุคท่องเที่ยว แต่คลื่นทะเลตามธรรมชาติก็ยังคงซัดเอาแร่ขึ้นบนชายหาดดังกล่าวอยู่เป็นระยะ และดึงกลับลงไปในทะเล สลับกันไปมาอยู่เรื่อย ๆ จนกลายเป็นหาดทรายสีดำ อันซีนพังงากับธรรมชาติแปลกตาที่มีเพียงจุดเดียว (https://mgronline.com/travel/detail/9630000104903) Beach Lover ได้เคยพาสำรวจหาดนางทองมาแล้วในอดีตช่วงพายุโนอึลซัดเข้าชายฝั่งอันดามันเมื่อ กันยายน 2563 ในเวลานั้น หาดนางทองและบริเวณใกล้เคียงมีลักษณะดังภาพ วันนี้ (24 พ.ย.2565) Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดด้านหลังประภาคารเขาหลัก หนึ่งในสถานที่ดึงดูดผู้คนมายังชายหาดนางทอง โดยเดินเท้าสำรวจชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทแห่งหนึ่งระยะทางประมาณ 100 เมตร (คลิปเดินสำรวจ https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg) พบสภาพชายหาดที่ประกอบด้วยกระสอบทรายเล็กและใหญ่ พร้อมโครงสร้างรากไม้ป่าชายเลนเทียมที่ทำจากไม้ประกอบพลาสติกและยางพารา (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) คาดว่าได้นำมาวางไว้เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่จากสภาพที่เห็นพบว่าถูกคลื่นซัดจนพังระเนระนาด พื้นที่ด้านหน้ารีสอร์ทที่มีการวางโครงสร้างป้องกันแห่งนี้ เป็นชายหาดส่วนที่ติดต่อกับอีกรีสอร์ทหนึ่งทางทิศใต้ที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง (Vertical […]

Beachlover

November 27, 2022
1 2 4