ด่วน! เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2567

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ เมื่อเดือน ธ.ค.2566 ร่างงบประมาณประจำปี 2567 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) เพื่องานศึกษาออกแบบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ใน 3 กรมหลัก คือ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 795,900,000 บาท (795.9 ล้านบาท) ใน 51 โครงการ  ทั้งนี้ มิได้รวมงบประมาณของกรมเจ้าท่าเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ […]

Beachlover

January 4, 2024

กำแพงหาดมหาราช ยังอยู่ในงบปี 67 แม้ศาลสั่งคุ้มครอง

ในโอกาสที่งบประมาณแผ่นดินปี 2567 กำลังจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2567 นี้ Beach Lover ชวนท่านผู้สนใจตามอ่านเอกสารร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) กันได้ตาม Link นี้ งบประมาณรายจ่าย 2567 สำนักงบประมาณ Beach Lover พบว่างบประมาณปี 2567 จำนวน 76.862 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ระยะทาง 555 เมตร ปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างใดๆ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบก็วิตกกังวลไม่น้อย แม้ว่าวันนี้ศาลปกครองสงขลาจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ไปแล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/maharaj-case-dec2023/) แต่งบประมาณส่วนนี้ยังคงปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณขาวคาดแดงปี 2567 เนื่องจากมีการจัดทำแล้วพิมพ์เผยแพร่ก่อนคำสั่งศาล […]

Beachlover

January 2, 2024

สิ้นชื่ออ่าวดงตาล?

Beach Lover เคยพาสำรวจอ่าวดงตาลในช่วงสองปีที่ผ่านมาหลายครั้ง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/อ่าวดงตาล-ถูกขลิบ/และ https://beachlover.net/รื้อกำแพง-อ่าวดงตาล/ และ https://beachlover.net/ดงตาล-กับ-ชายหาดที่หายไป/ โดยในเวลานั้นพื้นที่หาดดงตาลทางทิศตะวันออกติดกับหัวเขายังคงเป็นหาดทรายธรรมชาติ และถูกเปิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้แบบจำกัดเวลา มาวันนี้ ขอพอสำรวจอ่าวดงตาลอีกครั้ง โดยพบว่าโครงสร้างที่กล่าวถึงในโพสก่อนหน้าแล้วเสร็จไปบางส่วนแล้ว และพบว่าทางทิศตะวันตกของอ่าว มีกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงพร้อมการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านบนซึ่งเป็นโครงการที่เสร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนั้นยังพบ งานปรับปรุงกำแพงกันคลื่นเดิมที่มีลักษณะเป็นแนวดิ่งโดยการนำหินมาถมด้านหน้าเพื่อลดแรงปะทะและสะท้อนกลับของคลื่น เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ อ่าวดงตาลระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตรนี้ จะถูกขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนว เมื่อนั้น “อ่าวดงตาล” ชายหาดเลื่องชื่อสำหรับกีฬาทางน้ำคงเหลือเพียงตำนานหรือไม่ รอติดตามอย่างใจเย็น

Beachlover

July 5, 2023

“พร้อมปรับภูมิทัศน์”คำสร้อยต่อท้ายโครงการป้องกันชายฝั่ง

เรามักได้ยิน “คำสร้อย” ต่อท้ายโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอยู่บ่อยครั้งว่า “พร้อมปรับภูมิทัศน์” นั่นหมายความว่า สภาพเดิมๆก่อนปรับคงดูแย่และเป็นทัศนะอุจาดมากจนจำเป็นต้องปรับภูมิทัศน์ให้มันพอดูได้มากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงก็คือ ชายหาดเกือบทั้งหมดที่เป็นพื้นที่ก่อสร้างโครงการที่มี “คำสร้อย” ต่อท้ายนี้ ล้วนมีสภาพที่สมบูรณ์ บางส่วนอาจดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็เพราะเราไม่สามารถไปจัดระเบียบให้กระบวนการชายฝั่งอยู่ในแถวและยืนขาชิดได้ ชายหาดถูกปรับไปตามการกระทำของคลื่นลมซึ่งไร้ระเบียบ มนุษย์บางจำพวกพยายามเข้าไปกักบริเวณ โดยการ “ขลิบ” ชายหาดให้แถวตรงอยู่กับที่ด้วยกำแพงกันคลื่น ด้วยเห็นว่า เหล่านี้คือการจัดระบบระเบียบ ทัศนียภาพริมชายหาดจะได้ดูเรียบร้อยสวยงามตามแบบฉบับของ “รัฐผู้รักความเป็นระเบียบเรียบร้อย” ภาพชายหาดด้านบน คือภาพในอดีตของชายหาด ที่ในปัจจุบัน (2566) กำลังเกิดโครงการป้องกันชายฝั่งทะเลพร้อมคำสร้อยว่า “ปรับภูมิทัศน์” ตามรายละเอียดด้านล่าง จากสภาพไม่พบการกัดเซาะอย่างรุนแรง หรือแม้แต่ความจำเป็นที่รัฐต้อง “จัดระเบียบ” ชายหาดด้วยการพ่วงคำสร้อยว่า “ปรับภูมิทัศน์” แต่ประการใด แต่โครงการดังกล่าวนี้ก็ยังคงเกิดขึ้น โดยมีสถานการณ์ล่าสุดแสดงดังภาพต่อไปนี้ VDO Clip การเดินสำรวจติดตามได้จาก https://youtu.be/65zfvQjIWc4 ความเป็นจริงอีกข้อที่เราจะละเลยไม่ได้ก็คือ เราไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขนาดไหนก็ตาม เมื่อถึงทีที่ธรรมชาติเอาคืนบ้าง เขาคงเล่นงานพวกเราแบบสาสมใจ และเมื่อนั้นเหล่ามนุษย์ที่เล่นบทเป็นผู้กำกับธรรมชาติในตอนแรก อาจเป็นฝ่ายที่ถูกจัดระเบียบให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยเสียเอง … ก็เป็นได้

Beachlover

July 3, 2023

หาดแม่รำพึง ยังสบายดี?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ (https://beachlover.net/ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ-ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า-79-ล้าน/) ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง-ประจวบคีรีขันธ์-๙๖๖-เมตร-บนคำถาม/) […]

Beachlover

January 4, 2023

ร้อยเมตรสุดท้ายของชายหาด

พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในตําบลสามร้อยยอด อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดส่วนสุดท้ายที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลก ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี ตลอดระยะทางประมาณ 4,530 เมตร ก่อนถึงชายหาดส่วนสุดท้ายนี้ ไม่หลงเหลือสภาพชายหาดธรรมชาติแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ดําเนินการก่อสร้างโดยสํานักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทางทิศใต้ของพื้นที่หาดผืนสุดท้ายนี้ คือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และมีการใช้ประโยชน์เป็นชุมชนประมงด้านในคลอง น่าแปลกใจว่า เหตุใดตอนก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลกเป็นระยะทางกว่า 4.53 กิโลเมตร ในปี 2555 จึงได้เว้นช่วงชายหาดผืนสุดท้ายนี้ไว้ประมาณ 120 เมตร เหตุใดจึงไม่ได้ออกแบบก่อสร้างให้จรดโครงสร้างปากร่องน้ำ นับเป็นโครงการที่น่าตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 พบว่า มีกองหินขนาดเล็กวางระเกะระกะบนบางส่วนของชายหาด แต่ยังไม่พบร่องรอยคลื่นกัดเซาะจนถนนได้รับความเสียหาย โดยถนนเส้นนี้วิ่งมาจรดปากคลองเท่านั้น ไม่ได้เป็นเส้นทางหลักเพื่อวิ่งเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นแต่อย่างใด ในปี 2565 ท้องถิ่นได้ทำเรื่องร้องขอโครงสร้างป้องกันพื้นที่ชายหาดผืนสุดท้ายนี้ต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง คาดเดาได้ว่า กรมจะใช้วิธีคิดแบบเดิมๆคือป้องกันไปเสียให้จบๆ เพราะเหลืออีกแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าเราจะได้กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงในรูปแบบเดิมกับที่มีอยู่แล้วกว่า 4.53 กิโลเมตร หากกรมฯปรับเปลี่ยนมุมมองในการมองปัญหาใหม่ อาจคิดได้ว่า เหลือเพียงแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้นที่เป็นหาดทรายธรรมชาติผืนสุดท้ายของชายหาดที่ยาว 4.65 […]

Beachlover

January 3, 2023

กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้

หากนำบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ กรุณาอ้างอิงลิขสิทธิ์บทความจาก www.beachlover.net ด้วย : ขอขอบคุณ เมื่อชายหาดประสบปัญหาการกัดเซาะ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมักคิดถึงการใช้มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการป้องกันก่อนเป็นลำดับแรกๆ สืบเนื่องมาจากหลักคิดที่ว่าการจะหลีกเลี่ยงปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ คือการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นขนาดใหญ่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อมิให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง  หลักคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเมื่อใดที่เราตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาดโดยใช้โครงสร้างป้องกัน เท่ากับว่าเรากำลังแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งเสียสมดุลและในบางครั้งอาจเกิดขึ้นแบบถาวรโดยมิอาจเรียกกลับคืนสมดุลเดิมได้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมสามารถป้องกันได้เฉพาะพื้นที่ด้านในที่เราต้องการป้องกันเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆโครงสร้างพื้นที่ถัดไปจะถูกโครงสร้างนี้แทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติและเสียสมดุลไปในที่สุด ดังจะเห็นว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากโครงสร้างป้องกันมักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บางครั้งรุนแรงมากกว่าการกัดเซาะตามธรรมชาติเสียอีก หากเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง และทรงคุณค่าไม่ว่าจะด้านอะไรที่ประชาชนเล็งเห็นว่ามีความสำคัญ หากพิจารณาแล้ว การปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะส่งผลให้พื้นที่นั้นค่อยๆถูกทะเลกัดกลืนหายไป และเมื่อพิจารณาแนวทางเลือกอื่นๆที่ไม่ใช้โครงสร้างแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ในกรณีนี้ การใช้โครงสร้างป้องกันอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากต้องการรักษาพื้นที่นั้นไว้ให้คงอยู่ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน “ทางรอด” นั้น ก็คงจะ “รอด” ได้จริงตามที่รัฐต้องการ หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางรอดนั้นอาจเป็นการสร้างโครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรมที่มั่นคงถาวร แต่หากการเกิดขึ้นของโครงการนั้นไร้ซึ่งความจำเป็น รวมถึงไม่แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้านต่อผู้มีส่วนได้ส่วนแสียแล้ว “ทางรอด” ที่ว่านี้ อาจกลับกลายเป็น “ทางตัน” และนำพาสารพัดปัญหาแก่รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างที่ได้เห็นกันในหลายๆตัวอย่างที่เกิดการฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชน […]

Beachlover

December 1, 2022

โฉลกหลำ กำลังจะมีกำแพง !?

อ่าวโฉลกหลำ เป็นชายหาดด้านทิศเหนือของเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอ่าวโค้งคล้ายครึ่งวงกลม มีท่าเทียบเรือประมงอยู่บริเวณเกือบๆกลางอ่าวยื่นออกไปยาวประมาณ 80 เมตรจากฝั่ง ในอดีต อ่าวโฉลกหลำเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บนเกาะพะงันมาอย่างยาวนาน อาชีพ หลัก คือ การทำประมง เมื่อออกเรือหาปลาหรือได้ สัตว์น้ำมาก็จะทำการแปรรูปหรือถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินในครัวเรือน และส่วนที่เหลือก็จะจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้สู่ครอบครัว (https://th.tripadvisor.com) เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับการมาถึงของธุรกิจท่องเที่ยว อ่าวโฉลกหลำบางส่วนโดยเฉพาะโซนหน้าทะเลกลายเป็นที่ต้องของรีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ในเดือนมกราคม ปี 2560 ตัวแทนท้องถิ่นได้ยื่นเอกสารไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อขอให้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องน้ำทะเลกัดเซาะ หลังจากนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาออกแบบเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะทาง 400 เมตร ปัจจุบันงานศึกษาออกแบบและงานรับความคิดเห็นประชาชนจำนวน 2 ครั้งได้เสร็จสิ้นลงแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการขอตั้งงบประมาณเพื่อก่อสร้าง คาดว่าน่าจะใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 40 ล้านบาท (คำนวณจากค่าเฉลี่ยต่อเมตรของงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในอดีต https://beachlover.net/งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่น-2554-2565-โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง/) Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจภาคสนามในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูมรสุมของทะเลแถบนี้ เฉพาะส่วนของพื้นที่โครงการที่วางแผนจะก่อสร้าง ตลอดแนวพบชายหาดทรายขาวละเอียด พบร่องรอยการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งด้วยกระสอบทรายขนาดเล็กประปราย พบกำแพงริมทะเลสร้างโดยเอกชนที่มีที่ดินประชิดหาด และไม่พบร่องรอยของชายหาดที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง นอกจากนั้นยังพบว่าเจ้าของบ้านที่ไม่มีกำแพงกันที่ดินของตนเองริมทะเล ได้ทำการปลูกแบบเรือนแบบยกใต้ถุนสูง คาดว่าเพื่อให้น้ำทะเลลอดเข้าไปใต้ถุนบ้าน […]

Beachlover

November 11, 2022
1 2 17