กำแพงกันคลื่นใน 3 พื้นที่ ที่ต้องตั้งงบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” [17ม.ค.2563]

กําแพงกันคลื่น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทําให้พื้นที่ด้านหลัง กําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ มักใช้ในการป้องกันชายฝั่งที่มีพื้นที่แคบๆ นิยมใช้ในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ไม่สูงมากนัก อาจมีได้หลากหลายรูปแบบเช่น กําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง แบบเข็มพืด แบบ Tetrapod แบบเกเบียน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่และงบประมาณ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ

  • เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นที่เข้ามากระทบโดยจะมีความ รุนแรงมากหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ ด้านหน้ากําแพงได้
  • เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ทําให้เกิดการกัดเซาะบริเวณหน้ากําแพงกันคลื่น
  • ทําให้การเข้าถึงชายหาดถูกปรับเปลี่ยนสภาพไป อาจเกิดความไม่สะดวกขึ้น
  • ทําให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานและด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) โดยมีลักษณะเป็น Local effect
  • หากเป็นกําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมักก่อให้เกิดอันตรายเมื่อลม พายุขนาดใหญ่หอบเอาหินเข้ามาที่ชายฝั่งด้านใน เป็นอันตรายต่อ พื้นท่ีใกล้เคียงได้
  • ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพริมทะเล

ที่สำคัญ หากจุดสิ้นสุดของปลายกำแพงไม่ใช่หัวหาด หัวแหลม โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง หรือโครงสร้างปากแม่น้ำ จะเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องทางด้านท้ายน้ำ จนอาจจะต้องสร้างกำแพง “ต่อไปเรื่อยๆ” ใช้งบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ “ต่อไปเรื่อยๆ” ตามรูป

ชิงโค จ.สงขลา
หาดบ้านหัวหิน ละงู จ.สตูล
บ่ออิฐ จ.สงขลา

คำถามตัวโตๆคือ ประเทศไทยร่ำรวยพอที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิมๆ “ต่อไปเรื่อยๆ” หรือไม่