“ส่อง” งบประมาณปี 2567 ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ของกรมเจ้าท่า

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ งบประมาณปี 2567 https://beachlover.net/budget-2567/ ครั้งนี้ของเจาะเพิ่มเติมเฉพาะของกรมเจ้าท่า โดยได้รวมเอางบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ (Sand bypassing) เข้าไว้ด้วยกัน พบว่าในปีงบประมาณ 2567 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ไว้เป็น 5 งานหลัก ใน 37 โครงการ รวมงบประมาณที่ขอเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 (รวมงบผูกพัน) ทั้งสิ้น 1,684.83 ล้านบาท ดังนี้ (1) งานศึกษาออกแบบ จำนวน 3 โครงการ […]

Beachlover

January 12, 2024

พาสำรวจผลกระทบจาก Jetty บนเกาะสมุย

Beach Lover พาสำรวจพื้นที่ริมทะเลภายในโรงพยาบาลเกาะสมุยที่ถูกกัดเซาะ โดยพบว่าถนนด้านหลังโรงพยาบาลส่วนที่ติดกับปากคลองถูกกัดเซาะจนสามารถสัญจรได้เพียง 1 เลน และมีร่องรอยการกัดเซาะตามภาพ ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เมื่อวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ปี 2011-2021 (พ.ศ.2554-2564) พบว่า ถนนเส้นนี้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายของปี 2018 (พ.ศ.2561) โดยพบว่ายังไม่ปรากฏร่องรอยการกัดเซาะจนถึงถนนตามภาพในปี 2020 (พ.ศ.2563) จนเมื่อมีการสร้าง jetty หรือ เขื่อนกันทรายและคลื่นทางทิศเหนือของปากร่องน้ำลิปะใหญ่ความยาวประมาณ 68 เมตร ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าสร้างขึ้นโดยหน่วยงานใด และสร้างขึ้นเมื่อใด แต่พบว่าได้ปรากฏขึ้นในภาพถ่ายเดือนเมษายนของปี 2021 (พ.ศ.2564) หลังจากนั้นจึงเริ่มพบว่าถนนฝั่งประชิดทะเลถูกกัดเซาะไปบางส่วน ส่วนทางด้านทิศเหนือของ jetty นั้นพบการทับถมของตะกอนทรายด้านหน้ากำแพง (เส้นประสีม่วง) ตามภาพถ่ายปี 2021 (พ.ศ.2564) Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2565 พบว่าผิวถนนบางส่วนที่ปรากฏในภาพด้านบนถูกรื้อออกแล้ว เหลือเพียงชั้นทรายด้านล่างและเศษวัสดุ โดยพบว่ามีการนำแท่งปูน ก้อนหิน รั้วไม้สนและไม้ไผ่ พร้อมทั้ง Geotextile มาขึงเพื่อป้องกันชายฝั่งไปพลางก่อน ส่วนทางทิศใต้ถัดจาก Jetty และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนี้ มีการสร้างกำแพงแนวดิ่งเพื่อป้องกันชายฝั่งไปจนสิ้นสุดพื้นที่ของโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด และโดยหน่วยงานใด […]

Beachlover

June 12, 2022

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) ในประเทศไทย

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) ถือเป็นโครงสร้างสำคัญริมทะเล ที่นำมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอีกหลากหลายรูปแบบ เนื่องจาก Jetty จะกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนจนส่งผลกระทบให้พื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันต่อๆกันไปอย่างไม่รู้จบในหลายๆพื้นที่ จากการสำรวจโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดของ google earth พบว่า ปากแม่น้ำในประเทศไทยมี jetty แล้วทั้งสิ้นรวม 64 ตำแหน่ง จวบจนถึงปัจจุบันหากเป็นทะเลฝั่งอ่าวไทย แทบจะหาปากคลองที่ไม่มี jetty ได้ยาก จึงไม่น่าแปลกใจถ้าชายฝั่งทะเลฝั่งอ่าวไทยจะถูกกัดเซาะมากกว่าฝั่งอันดามัน จริงอยู่ที่ลักษณะเชิงกายภาพของชายฝั่งแถบทะเลอันดามันทำให้ชายหาดแถบนั้นเสถียร กัดเซาะไม่มาก แต่หากฝั่งอันดามันมี jetty ที่ปากแม่น้ำตลอดแนว รับรองว่าแม้ชายฝั่งที่ค่อนข้างเสถียรมีเกาะแก่งเป็นปราการธรรมชาติ ก็กัดเซาะไม่ต่างจากฝั่งอ่าวไทยเป็นแน่   Jetty ถือเป็นโครงสร้างทางทะเลที่มีนัยสำคัญต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย ศึกษาเพิ่มเติมว่า jetty คืออะไรได้จาก https://beachlover.net/jetty/

Beachlover

January 12, 2021

ถนนเลียบทะเลปานาเระ หายไปไหน?!?

[ภาพเมื่อ 9 ส.ค.2563] ใครผ่านไปผ่านมาแถบปานาเระ จ.ปัตตานี จะพบถนนเลียบทะเลที่ขาดลงในระยะประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำปานาเระ ที่มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง 4 ตัว (ปัจจุบันหลงเหลือเพียง 1 ตัว) ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ตามจริงแล้วหากถนนไม่ขาดลง เราสามารถใช้เส้นทางนี้วิ่งจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชีได้เลย Beach Lover ได้เคยลงพื้นที่สำรวจบริเวณนี้แล้วเมื่อสองปีก่อน จนถึงวันนี้พบว่ายังไม่มีการซ่อมแซม หรือสร้างถนนเส้นนี้ใหม่แต่อย่างใด หากสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณนี้จากภาพถ่ายดาวเทียม Google earth พบว่า ตำแหน่งที่ถนนเส้นนี้ประชิดชายหาดมากที่สุด ก็ยังห่างจากแนวระดับน้ำประมาณ 70 เมตร (สังเกตจากภาพ ก.พ.2005) โดยเริ่มพบการกัดเซาะของถนนนี้อย่างชัดเจนจากภาพถ่ายเดือน ม.ค.ปี 2011 ซึ่งอาจเกิดการกัดเซาะก่อนหน้านั้นแต่ไม่ปรากฏหลักฐานจากภาพถ่ายเพราะไม่มีภาพถ่ายในช่วงระหว่าง 2005-2011 คาดว่าการกัดเซาะถนนเส้นนี้เกิดจากผลกระทบของโครงสร้าง Jetty และเขื่อนกันคลื่นทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ที่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ถัดๆไปทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2011 (ภาพ ส.ค.2011) พบการไหลของทรายจากฝั่งตะวันออกมาปิดปากร่องน้ำปานาเระแม้จะมีโครงสร้างป้องกันอย่าง Jetty แล้วก็ตาม และไหลล้นข้ามร่องน้ำมาตามธรรมชาติจวบจนถึงปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือเข้าออก แม้หน่วยงานที่รับผิดชอบจะขุดลอกอย่างไร ก็ไม่เท่าทันกับสถานการณ์ทรายที่ล้นมาปิดปากร่องน้ำ […]

Beachlover

August 12, 2020