เนินทรายชายฝั่ง…คุณค่าที่ไม่ควรถูกลืม

เนินทรายชายฝั่งมีบทบาทสำคัญยิ่งยวดต่อระบบนิเวศชายฝั่ง เนินทรายทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติชั้นแรก ช่วยลดทอนความรุนแรงของคลื่นและพายุซัดฝั่ง อันเป็นการปกป้องชุมชนและโครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายฝั่งจากภัยคุกคามทางธรรมชาติ นอกจากนี้ เนินทรายยังช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่ง โดยโครงสร้างที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ตามธรรมชาติของเนินทรายช่วยกระจายพลังงานคลื่น ลดผลกระทบต่อชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนินทรายไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวป้องกันทางกายภาพ แต่ยังเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พืชพรรณเฉพาะถิ่นที่ปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ทรายเคลื่อนตัวและมีความเค็มสูง ช่วยรักษาเสถียรภาพของเนินทรายและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ทั้งแมลง สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ เนินทรายยังเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการวางไข่ของเต่าทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ระบบนิเวศของเนินทรายยังมีบทบาทสำคัญในการกรองน้ำฝนและน้ำท่า ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล ช่วยลดปริมาณมลพิษและสารอาหารส่วนเกิน อันส่งผลดีต่อคุณภาพน้ำทะเลและระบบนิเวศทางทะเลโดยรวม นอกเหนือจากคุณค่าทางนิเวศวิทยา เนินทรายยังมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น และเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงสำหรับเจ้าของที่ดินบริเวณชายฝั่ง การอนุรักษ์เนินทรายจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของชุมชนชายฝั่ง ด้วยเหตุนี้ เนินทรายจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล การทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับบทบาทที่หลากหลายของเนินทราย จะช่วยให้เราสามารถอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันล้ำค่านี้ได้อย่างยั่งยืน

Beachlover

June 30, 2024

ไม่หลงเหลือความเป็นชายหาดแล้วที่คลองวาฬ

หาดคลองวาฬ เป็นชายหาดที่ติดกับอ่าวมะนาวมีคลองวาฬเชื่อมต่อกับทะเลสองฝั่งคลองเป็นป่าชายเลน  บริเวณหาดคลองวาฬเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง มีความเงียบสงบ ความยาวของหาดประมาณ 4 กม. เป็นชายหาดทรายผสมเลน มีร้านอาหาร ที่พัก   ชุมชนชายฝั่ง  โครงการป้องกันชายฝั่งบริเเวณนี้ในอดีตมีองค์ประกอบคือ (1)  เขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กป้องกันตลิ่งยาว 300  ม. บนชายหาด สร้างเมื่อ ก.ย.2547 (2)  สวนสาธารณะบนชายหาดคลองวาฬ ซึ่งประกอบด้วยลานเอนกประสงค์   ถนนคอนกรีตเสริม  เหล็ก ลานจอดรถ รางระบายน้ำ    ทางดินถมพร้อมเกรดปรับแต่ง   พร้อมปรับภูมิทัศน์ ดำเนินการพร้อมเขื่อนป้องกันตลิ่งเมื่อปี  2547 (3)  เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบหินทิ้งจำนวน 11 ตัว ความยาวตัวละ 50 ม. จำนวน 5 ตัว และยาวตัวละ 100 ม. จำนวน 6 ตัว ตลอดแนวชายฝั่งยาวประมาณ 1.3 ก.ม. สร้างเมื่อปี 2548 แสดงดังรูปที่ 1 เมื่อมีการสร้างกำแพงป้องกันชายฝั่งชายหาดด้านหน้ากำแพงจะค่อยๆหดหายได้ เนื่องมาจากแรงปะทะของคลื่นที่วิ่งเข้ากระทบกำแพงแล้วสะท้อนออก ส่งผลให้ทรายด้านหน้ากำแพงถูกดึงหายออกไปด้านนอกฝั่ง ยังคงเห็นชายหาดโผล่พ้นน้ำบ้างยามน้ำลงบางครั้งเท่านั้น เรือประมงชาวบ้านที่เคยใช้พื้นที่ชายหาดเป็นที่จอดเรือจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แบบเดิม ในส่วนของเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งนั้น ได้ส่งผลให้คลื่นที่เข้ามาปะทะอ่อนกำลังลงด้านหลังเขื่อนกันคลื่นและเกิดการทับถมของตะกอนทรายด้านหลัง  ซึ่งทำให้ชายหาดระหว่างช่องเปิดของเขื่อนแต่ละตัวนั้นเกิดการกัดเซาะเว้าโค้งเป็นวงเสี้ยวพระจันทร์  พื้นที่ชายหาดด้านหน้าบริเวณที่มีการปรับภูมิทัศน์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสร้างกำแพงคอนกรีตป้องกันคลื่นนั้น สามารถมองเห็นหาดได้ยามน้ำลงบางครั้ง การขึ้นลงชายหาดเป็นไปได้ยากยิ่งเพราะต้องปีนข้ามสันและแนวลาดของกำแพงซึ่งอยู่สูงกว่าชายหาดมาก ส่วนในฤดูมรสุมคลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะกำแพงแนวดิ่งส่งผลให้มีน้ำทะเลกระเซ็นข้ามสันกำแพงขึ้นมาบนทางเดินริมกำแพงบ้าง แสดงดังรูปที่ […]

Beachlover

June 17, 2024

กระสอบทราย เพื่องานชายฝั่ง

กระสอบทรายถูกนำมาใช้ในการป้องกันชายฝั่งในหลายรูปแบบ แต่ก็มีข้อจำกัดและผลกระทบที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน วิธีการใช้กระสอบทรายป้องกันชายฝั่ง: ข้อจำกัดและผลกระทบของการใช้กระสอบทราย: ข้อควรพิจารณาในการใช้กระสอบทราย: สรุป: กระสอบทรายสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการป้องกันชายฝั่งในบางสถานการณ์ แต่ควรพิจารณาข้อจำกัดและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ และควรใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการป้องกันชายฝั่งที่ยั่งยืน

Beachlover

June 14, 2024

ชุมชนชายฝั่ง กับความพยายามป้องกันตัวเอง ณ หาดใจกลางเมืองหลวง Dili, Timor Leste

Dili เป็นเมืองหลวงของประเทศ Timor Leste ประเทศที่ผ่านการต่อสู้เพื่ออิสระภาพมาอย่างยาวนาน และเพิ่งสงบลงเมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง Dili ไม่ได้มีการจัดการชุมชนประมงชายฝั่งอย่างเป็นเรื่องเป็นราว กล่าวคือเราจะพบเป็นเรือประมงท้องถิ่นขนาดเล็กจอดเรียงรายกันตลอดแนว ไม่ได้มีการจัดการเป็นท่าเรือประมงหรือท่าจอดแบบรวมกลุ่มประมงเหมือนที่เรามักพบเห็นในหลายประเทศ รวมถึงหลายพื้นที่ในประเทศไทย ชุมชนประมงที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้อยู่ใจกลางเมืองหลวง ห่างจากสนามบินหลักไม่ถึง 2 กิโลเมตร สภาพบ้านเรือนปลูกสร้างแบบไม่ถาวร ฝาผนังและหลังคา มักทำจากสังกะสี ดูจากสภาพภายนอกไม่น่าจะอาศัยอยู่ได้อย่างสะดวกสบายนัก  หน้าบ้านที่ติดกับทะเลพบเห็นการวางยางรถยนต์ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้ กระสอบขนาดใหญ่ที่บ้านเราใช้ใส่พวกสารเคมีในภาคอุตสาหกรรม พบเศษวัสดุก่อสร้างบ้างประปราย  เหล่านี้คาดว่าเป็นความพยายามป้องกันตนเองจากคลื่นที่เข้ามาปะทะตัวบ้านที่ตั้งอยู่ประชิดทะเลค่อนข้างมาก ยามน้ำขึ้นพบว่าปลายคลื่นวิ่งเข้าไปเกือบถึงตัวบ้านเลย ในส่วนของเรือประมงพื้นบ้านที่มีขนาดเล็กมากๆ ชาวบ้านลากเข้ามาเกยฝั่งในระยะที่พ้นจากระดับน้ำและคลื่น ที่อาจทำให้เรือเสียหายได้ ดู Clip สำรวจเพิ่มเติมได้จาก Youtube: Coastal Research Group. https://youtu.be/W0yOwg2uT9s?si=vGoniYz4F176sFmJ

Beachlover

December 27, 2023

“พร้อมปรับภูมิทัศน์”คำสร้อยต่อท้ายโครงการป้องกันชายฝั่ง

เรามักได้ยิน “คำสร้อย” ต่อท้ายโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอยู่บ่อยครั้งว่า “พร้อมปรับภูมิทัศน์” นั่นหมายความว่า สภาพเดิมๆก่อนปรับคงดูแย่และเป็นทัศนะอุจาดมากจนจำเป็นต้องปรับภูมิทัศน์ให้มันพอดูได้มากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงก็คือ ชายหาดเกือบทั้งหมดที่เป็นพื้นที่ก่อสร้างโครงการที่มี “คำสร้อย” ต่อท้ายนี้ ล้วนมีสภาพที่สมบูรณ์ บางส่วนอาจดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็เพราะเราไม่สามารถไปจัดระเบียบให้กระบวนการชายฝั่งอยู่ในแถวและยืนขาชิดได้ ชายหาดถูกปรับไปตามการกระทำของคลื่นลมซึ่งไร้ระเบียบ มนุษย์บางจำพวกพยายามเข้าไปกักบริเวณ โดยการ “ขลิบ” ชายหาดให้แถวตรงอยู่กับที่ด้วยกำแพงกันคลื่น ด้วยเห็นว่า เหล่านี้คือการจัดระบบระเบียบ ทัศนียภาพริมชายหาดจะได้ดูเรียบร้อยสวยงามตามแบบฉบับของ “รัฐผู้รักความเป็นระเบียบเรียบร้อย” ภาพชายหาดด้านบน คือภาพในอดีตของชายหาด ที่ในปัจจุบัน (2566) กำลังเกิดโครงการป้องกันชายฝั่งทะเลพร้อมคำสร้อยว่า “ปรับภูมิทัศน์” ตามรายละเอียดด้านล่าง จากสภาพไม่พบการกัดเซาะอย่างรุนแรง หรือแม้แต่ความจำเป็นที่รัฐต้อง “จัดระเบียบ” ชายหาดด้วยการพ่วงคำสร้อยว่า “ปรับภูมิทัศน์” แต่ประการใด แต่โครงการดังกล่าวนี้ก็ยังคงเกิดขึ้น โดยมีสถานการณ์ล่าสุดแสดงดังภาพต่อไปนี้ VDO Clip การเดินสำรวจติดตามได้จาก https://youtu.be/65zfvQjIWc4 ความเป็นจริงอีกข้อที่เราจะละเลยไม่ได้ก็คือ เราไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขนาดไหนก็ตาม เมื่อถึงทีที่ธรรมชาติเอาคืนบ้าง เขาคงเล่นงานพวกเราแบบสาสมใจ และเมื่อนั้นเหล่ามนุษย์ที่เล่นบทเป็นผู้กำกับธรรมชาติในตอนแรก อาจเป็นฝ่ายที่ถูกจัดระเบียบให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยเสียเอง … ก็เป็นได้

Beachlover

July 3, 2023

กัดเซาะชายหาดบ้านบูดี แหลมตาชี ปัตตานี

ชายหาดบ้านบูดี ตั้งอยู่บนแหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องกับหาดตะโละกาโปร์ เป็นแหลมที่กั้นอ่าวปัตตานี (ทะเลใน) และอ่าวไทย (ทะเลนอก) เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย โดยปลายแหลมจะงอกเพิ่มขึ้นทุกปี บริเวณด้านในของแหลมฝั่งที่หันหน้าเข้าหาแผ่นดินใหญ่ ใกล้ๆกับหาดบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนมากมาย เช่น บ้านดาโต๊ะ บ้านตะโละสะมิแล ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก และมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลากะพง หอยแครง หอยแมลงภู่ เป็นต้น และบริเวณด้านนอกของแหลมฝั่งที่หันหน้าออกทะเลกว้าง มีที่พักเอกชนให้บริการหลายแห่ง (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/แหลมตาชี-หรือ-แหลมโพธิ์) Beach Lover ได้เคยพาไปสำรวจชายหาดบริเวณแหลมตาชีมาแล้วหลายครั้ง อ่านเพิ่มเติมได้จากการ Icon search ด้านมุมขวาบนของเวบนี้ แล้วค้นหาคำว่า “แหลมตาชี” ล่าสุด Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน 2566 พบว่ามีการพัฒนาพื้นที่ริมชายหาดไปเป็นรีสอร์ทมากขึ้นกว่าเดิม ยังพบอีกว่ามีรีสอร์ทหลายแห่งกำลังก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดให้บริการในเร็ววันนี้ โดยสังเกตเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินริมชายหาดจากภาพถ่ายดาวเทียมปี 2557-2565 ตามภาพด้านบน จากการเดินเท้าสำรวจพื้นที่ในกรอบสีแดงของรูปด้านบน พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงความพยายามในการป้องกันชายฝั่งหลายรูปแบบ ดัง Clip VDO นี้ https://youtu.be/RNgObpA4bJg พบว่าถนนริมชายฝั่ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าสร้างมาแล้วนานเท่าไหร่พังเสียหายและไม่สามารถสัญจรได้ สังเกตจากแนวถนนเดิมแล้วพบว่าถนนเส้นนี้ตัดประชิดกับชายหาดมากๆและยังไม่พ้นจากระยะอิทธิพลของคลื่นและน้ำทะเล […]

Beachlover

July 2, 2023

กำแพงกระสอบป้องกันแบบชั่วคราว ณ หาดม่วงงาม

ชายหาดม่วงงาม หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีประชากรกว่า 3,000 คน มีที่อยู่อาศัยตั้งเรียงรายประชิดชายฝั่งตลอดทั้งแนว ส่งผลให้ยามฤดูมรสุม พื้นที่ริมทะเลแถบนี้มักได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าชายหาดหมู่อื่นๆของม่วงงาม Beach Lover  เคยพาชมพื้นที่นี้ไปแล้วช่วงก่อนมรสุม ในเวลานั้นพบว่าชุมชนได้เตรียมความพร้อมรับมือกับคลื่นใหญ่ลมแรงในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นมรสุมประจำถิ่นของทุกปีโดยใช้กระสอบทรายขนาดเล็ก ติดตามอ่านได้จากโพส https://beachlover.net/หาดม่วงงาม-เตรียมรับมรสุมแล้ว/ Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในวันที่ 14 มีนาคม 2566 พบว่ากระสอบทรายที่วางไว้เดิมเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือมรสุม ส่วนมากยังอยู่ในตำแหน่งเดิม และยังคงมีสภาพดี ในขณะที่บางส่วนกระจัดกระจายอยู่บนชายหาดโดยถูกทรายกลบไปบ้างแล้ว นอกจากนั้นยังพบเสาไม้โผล่ขึ้นมาริมชายหาดบางส่วน ไม่แน่ใจว่าสร้างไว้เมื่อใด และพบเศษท่อนไม้ซากไม้บนชายหาดที่เกิดขึ้นคลื่นซัดขึ้นมากองในช่วงมรสุม  เมื่อสำรวจทางทิศใต้ของหมู่ 3 ไม่พบโครงสร้างกระสอบหรือเสาไม้ และไม่พบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง พบเพียงผ้าพลาสติกที่ชาวบ้านขึงไว้เพื่อกันทรายและลมพัดเข้าบ้านซึ่งมักพบเห็นเป็นปกติในช่วงมรสุมสำหรับบ้านเรือนที่อยู่ประชิดชายหาด (VDO clip: https://www.youtube.com/watch?v=gYdX-rjOBig) ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า จากเวลานี้ไปน่าจะไม่มีคลื่นและน้ำใหญ่ระดับที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงอีกแล้ว น่าจะหมดช่วงมรสุมแล้ว ที่ผ่านมาสังเกตว่าช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมาค่อนข้างมาล่าช้าและยาวนานกว่าปีก่อน ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุใด

Beachlover

April 23, 2023

กำแพงริมทะเลเกาะภูเก็ต ยังสบายดี?

ตามที่ Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายฝั่ง รวมถึงโครงสร้างป้องกัน บริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตไปแล้วตามโพสก่อนหน้านี้ ครั้งนี้ขอพาสำรวจโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ชำรุดเสียหายกันบ้าง ทั้งนี้เพื่อประเมินความสามารถในการป้องกันพื้นที่หลังโครงสร้าง สภาพและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้าง และผลที่กระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ท้ายน้ำ จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่และการลงสำรวจภาคสนาม พบว่าโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยส่วนมากยังคงอยู่ในสภาพดี สามารถป้องกันการกัดเซาะพื้นที่หลังโครงสร้างได้ และไม่พบร่องรอยผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ แต่พบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดการชำรุดเสียหายจำนวน 4 ตำแหน่ง ได้แก่บริเวณริมถนนกมลาป่าตอง 1 ตำแหน่ง และบริเวณหาดราไวย์ 3 ตำแหน่ง ดังนี้ (1) กำแพงดูราโฮลด์ริมถนนกมลาป่าตอง ความยาว 70 เมตร พบว่าก้อนดูราโฮลด์ของกำแพงชั้นบนสุดเกิดการเลื่อนหลุดออกจากกำแพงและหล่นลงมาด้านหน้ากำแพง และก้อนดูราโฮลด์บางก้อนแตกหักเสียหาย (2) กำแพงตั้งตรงบริเวณทิศเหนือของหาดราไวย์ 1 ความยาว 130 เมตร พบการกัดเซาะด้านหลังกำแพงส่งผลให้เกิดโพรงหลังกำแพงและกำแพงเกิดการแตกหักและเอียง นอกจากนี้ยังพบว่ามีพื้นที่ของหาดทรายเหลือน้อยมากในบริเวณนี้เนื่องจากน้ำขึ้นถึงฐานกำแพง (3) กำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งและกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงบริเวณทิศใต้ของหาดราไวย์ 2 ความยาว 400 เมตร พบว่ากำแพงหินทิ้งด้านหน้ากำแพงกันคลื่น มีบางส่วนจมอยู่ใต้น้ำ และกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงมีร่องรอยการแตกหัก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไม่มีชายหาดและไม่สามารถมองเห็นชายหาดด้านล่างได้ (4) กำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงบริเวณหาดราไวย์ 3 ความยาว 150 เมตร พบว่าสภาพกำแพงชำรุดเสียหาย แผ่นคอนกรีตแตกร้าว รวมถึงแนวกำแพงแตกและทรุดตัวลง 

Beachlover

August 22, 2022

โครงสร้างป้องกันชายฝั่งเกาะภูเก็ต อยู่ตรงไหนกันบ้าง

จากโพสครั้งก่อน Beach Lover ได้พาชมความสวยงาม (และไม่สวยงาม) ของชายหาดบริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ครั้งนี้ขอพาชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่นี้กันบ้าง โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไปในประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลักๆดังนี้ กำแพงกันคลื่น (https://beachlover.net/seawall/) รอดักทราย (https://beachlover.net/groin/) เขื่อนกันคลื่น (https://beachlover.net/breakwater/) เติทรายชายหาด (https://beachlover.net/เติมทรายชายหาด/) โดยทั้ง 4 รูปแบบนี้อาจเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปเช่น หินทิ้ง หินเรียง เสาปูน เสาไม้ ถุงทราย กระชุหิน และอื่นๆ ถ้าหากว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งและมีการวางแนวของโครงสร้างเป็นไปตามทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งสิ้น นอกจากนี้หากลดระดับความสูงของสันโครงสร้างลงให้จมอยู่ใต้น้ำ แต่ยังมีวัตถุประสงค์และการวางแนวเป็นไปตามรูปแบบของโครงสร้างป้องกัน ก็ถือว่าเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเช่นกัน เช่น เขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ เป็นต้น จากการสำรวจภาคสนามบริเวณหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต พบว่ามีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจำนวน 35 ตำแหน่ง  โดยโครงสร้างที่ทำการสำรวจภาคสนามมีความยาวรวมทั้งหมด 6,895.4 เมตร และพบว่าโครงสร้างโดยส่วนมากเป็นกำแพงแบบตั้งตรง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกันดินและถูกสร้างประชิดชายฝั่งจึงทำหน้าที่เสมือนกำแพงกันคลื่นในช่วงเวลาน้ำขึ้นหรือช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้การจำแนกความแตกต่างระหว่างกำแพงกันคลื่นและกำแพงกันดินนั้นทำได้ยาก รูปถ่ายด้านล่างเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของโครงสร้างทั้งหมดเท่านั้น

Beachlover

August 18, 2022

โยธาฯ บูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย

ที่มา: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH กรมโยธาธิการและผังเมือง บูรณาการทุกภาคส่วนเชิงพื้นที่ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย

Beachlover

June 30, 2022
1 2 3