พาสำรวจชายฝั่งทะเลภาคใต้ หาดชลาทัศน์ ทะเลสงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดชลาทัศน์ ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดชลาทัศน์ ผลการสำรวจพบว่าชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล มีการฟื้นฟูของเนินทรายชายฝั่งและการสะสมตัวของตะกอนทรายชายหาด และยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งในช่วงฤดูลมมรสุม ปัจจุบันเริ่มมีการก่อตัวของเนินทราย การสะสมตัวของตะกอนทราย ภายหลังหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ผ่านมา อีกทั้งชายหาดชลาทัศน์ มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ทั้งของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 30, 2021

พาสำรวจชายฝั่งทะเลตะวันออก หาดดวงตะวัน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจติดตามสถานภาพชายหาด “หาดดวงตะวัน” ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอ่าวไทยตะวันออกตอนล่าง (T1) ระบบกลุ่มหาดกร่ำ-เพ (T1J) ระบบหาดเพ (T1J030) ผลการสำรวจพบว่า หาดดวงตะวัน เป็นชายหาดที่อยู่ด้านทางทิศตะวันออกของปากน้ำแกลง ซึ่งมีเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำ (Jetty) ๑ คู่ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เป็นหาดทรายแบบหาดยาว (long beach) ยาวหลายกิโลเมตรขนานไปกับแผ่นดิน ชายหาดวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตะกอนทรายที่พบบริเวณหาดมีขนาดตั้งแต่ละเอียด-หยาบ การคัดขนาดปานกลาง ตะกอนทรายที่พบมีสีน้ำตาลอ่อน สุดหาดไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นปากน้ำแกลง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ร้านค้า ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะ พบโครงสร้างริมชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นริมชายหาดแบบตั้งตรง แบบลาดเอียง และแบบหินทิ้งริมชายฝั่ง (พบทางทิศตะวันตกของหาด) นอกจากนั้นยังพบถนนเลียบชายหาดระยะประชิดตลอดระยะทางประมาณ ๑.๔ กม. จากการสำรวจยังพบถนน และโครงสร้างริมชายฝั่งยังคงถูกกัดเซาะหลายตำแหน่ง ปัจจุบัน กรมโยธาธิการและผังเมือง กำลังดำเนินการตามโครงการป้องชายฝั่งพร้อมปรับภูมิทัศน์หาดดวงตะวันระยะทาง […]

Beachlover

April 30, 2021

พาสำรวจแนวชายฝั่งสุดแดนตะวันออก หาดไม้รูดถึงหาดบานชื่น

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจสถานภาพชายฝั่งและโครงสร้างริมชายฝั่ง บริเวณหาดบานชื่น (หาดมะโร) ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งอยู่ในระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอ่าวไทยตะวันออกตอนล่าง (T๑) ระบบกลุ่มหาดบ้านหาดเล็ก-ไม้รูด (T๑A) ระบบหาดบ้านคลองสน-หาดบานชื่น (T๑A00๔) ผลการสำรวจหาดบานชื่นมีลักษณะทางกายภาพเป็นหาดทราย ชายหาดวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ตะกอนทรายขนาดละเอียดมาก-ปานกลาง ตะกอนทรายมีสีขาว น้ำทะเลสีฟ้า สุดหาดไปทางด้านทิศเหนือเป็นปากคลองมะโร มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งท่องเที่ยว (หาดบานชื่น จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จ.ตราด) มีร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะ พบโครงสร้างริมชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นริมชายหาดแบบตั้งตรงและแบบลาดเอียง ซึ่งพบได้ตั้งแต่บริเวณปากคลองมะโรยาวไปทางตอนใต้ของหาด ระยะทางประมาณ ๒ กม. โครงสร้างบางตำแหน่งเกิดการทรุดตัวของพื้นคอนกรีต ยังไม่มีการซ่อมแซม

Beachlover

April 30, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [25 เม.ย.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 25 เม.ย. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 11 แล้ว มีชาวบ้านม่วงงาม ว่าที่นายกเทศบาลม่วงงาม ว่าที่ สท. เเละคนอื่นเเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม

Beachlover

April 26, 2021

ปลายสุดแหลมตาชีสุดสวย ไม่พบแนวกัดเซาะชายฝั่ง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูล และติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ปลายสุดแหลมตาชี ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด ผลการสำรวจพื้นที่มีการสะสมตัวของตะกอนทรายจำนวนมาก มีลักษณะปลายแหลมที่ยื่นออกไปในทะเล ซึ่งมีชื่อเรียกทางธรณีสัณฐานว่า สันดอนจะงอย (sand spit) เป็นสันดอนที่โผล่พ้นน้ำ มีรูปร่างยาวแคบเหมือนกับแหลมงอกยื่นยาวจากชายฝั่งออกไปในทะเล มีทิศทางเกือบขนานไปกับแนวชายฝั่ง ส่วนปลายของสันดอนมีรูปร่างโค้งงอ เป็นจะงอยหรือตะขอ เกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำเรียบชายฝั่ง (longshore current) สันดอนจะงอยนี้ยังเป็นพื้นที่กันลมมรสุมและคลื่นลมให้กับอ่าวปัตตานีอีกด้วย ไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งปลายสุดแหลมตาชีมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นพื้นที่จอดเรือประมงชายฝั่ง

Beachlover

April 26, 2021

สำรวจสถานภาพชายฝั่งทะเลหาดบ้านทอน นราธิวาส

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูล และติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดบ้านทอน ต.โคกเคียน อ เมือง จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา ผลการสำรวจชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล มีการสะสมตัวของตะกอนทรายชายหาด ชายฝั่ง มีความกว้างหน้าหาดประมาณ ๓๐ – ๔๐ เมตร จากการสอบถามชาวบ้านจึงทราบว่าช่วงมรสุมมีการสูญเสียตะกอนทรายชายหาด หากแต่หมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คลื่นเริ่มมีการพัดพาตะกอนทรายเข้ามาสะสมตามเดิม และพบโครงสร้างหลังแนวชายฝั่ง มีลักษณะเป็นลานอเนกประสงค์ โดยใช้ท่อคอนกรีตสร้างเป็นกำแพง มีความยาวประมาณ ๑๒๐ เมตร ไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว ซึ่งลานอเนกประสงค์หาดบ้านทอน เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งบริเวณชายหาด ชายฝั่ง มีการใช้ประโยชน์ของชาวประมงชายฝั่งสำหรับเป็นพื้นที่ตากแห้งอาหารทะเล และจอดเรือประมงชายฝั่ง

Beachlover

April 26, 2021

สำรวจหาดบ้านป่าไหม้ ช่วงหมดมรสุมตะกอนทรายคืนแล้ว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดบ้านป่าไหม้ ต.ดอนทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล มีการสะสมตัวของตะกอนทรายชายหาด/ชายฝั่ง จากการสอบถามชาวประมงทราบว่า การก่อตัวเนินทราย/สะสมตัวของตะกอนทราย เริ่มเกิดขึ้นหลังหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ได้ตะกอนทรายเข้ามาสะสมตัวในบริเวณนี้จำนวนมาก อีกทั้งชายหาดบ้านป่าไหม้ มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นพื้นที่จอดเรือและค้าขายอาหารทะเลสดที่ได้จากประมงชายฝั่ง

Beachlover

April 25, 2021

เกาะพีพีช่วง COVID-19…ไม่ต่างอะไรกับเกาะส่วนตัว

พีพียามนี้ ไม่ต่างอะไรกับเกาะส่วนตัว น้ำทะเลสวยใสไร้ที่ติ ชายหาดที่สมบูรณ์แทบจะไม่พบรอยเท้าของผู้มาเยือน หาดทรายขาวไร้ขยะ กระบวนการทางธรรมชาติได้ซ่อมแซมและเยียวยาตัวเองอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการรุกรานจากมนุษย์ … แต่เหล่านี้มีราคาที่ต้องจ่าย Beach Lover ได้ลงสำรวจสภาพชายหาดบนเกาะพีพีในช่วงเดือนมีนาคม 2564 พบว่า ที่พักรายย่อยจำนวนมากรวมถึงพวก Budget hostel ปิดตัวลง เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นต่างชาติเสียส่วนมาก บางแห่งปิดไปเลยอย่างถาวรเนื่องจากสายป่านไม่ยาวพอ ที่พอยืนระยะอยู่ได้คือรายใหญ่ๆ เท่านั้น ผู้ประกอบกิจการเรือท่องเที่ยวต้องจอดเรือทิ้งเพราะไม่มีนักท่องเที่ยว ส่วนพื้นที่ภายในเกาะ บนถนนสายเล็กๆที่ผู้มาเยือนเคยต้องเดินเบียดเสียดกัน คอยหลบรถเข็นและรถมอเตอร์ไซด์ เสียงโหวกเหวกปะปนกับจังหวะเพลงที่ดังออกมาตามร้านค้า บัดนี้ กลายสภาพเป็นสถานที่ร้างผู้คน ไร้ชีวิตชีวา ร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อย่าง 7-11 ต้องปิดตัวไปสองสาขา เหลือเพียงสาขาเดียวที่ยังคงเปิดให้บริการ แม้แต่ร้าน McDonald’s, Coffee Club ที่เป็น Chain ระดับโลก ก็ยังต้องปิดตัวไปอย่างไม่มีกำหนด ส่วนผับบาร์ริมทะเลนั้นปิดตัวลงแล้วทั้งหมด และดูจากสภาพของอาคารร้านค้าที่พบเห็น หลายกิจการไม่น่าจะกลับมาเปิดได้แบบเดิมอีกแล้วในยุคหลัง COVID-19 เหล่านี้คือต้นทุนที่แม้จะขึงขังดึงดันที่จะไม่ยอม … แต่ก็ต้องจ่ายมันอย่างเจ็บปวด

Beachlover

April 23, 2021

เกาะไม้ไผ่ ช่วงโควิด

เกาะไผ่ หรือเกาะไม้ไผ่ เป็นเกาะเล็กกลางทะเล ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน ไม่ไกลจากเกาะยุงเท่าใดนัก เกาะไผ่ อยู่ในพื้นที่การดูแลของอุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี แต่บรรยากาศของเกาะไผ่จะต่างกับเกาะพีพีอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นเกาะที่เงียบสงบ  มีน้ำทะเลใส มากมีหาดทรายสวยงาม เป็นเกาะที่มีแนวปะการังที่สวยงาม เหมาะสำหรับมาดำน้ำดูความสวยงามของโลกใต้ทะเล ช่วงเวลาเหมาะการเที่ยว คือช่วงที่ไม่มีลมมรสุม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี (https://www.paiduaykan.com) Beach lover ได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพชายหาดของเกาะไม้ไผ่ช่วง Covid-19 ในเดือนมีนาคม 2563 พบว่าแทบกลายเป็นเกาะร้าง บรรยากาศช่างแตกต่างจากปีปกติมากมาย รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มีอย่างบางตามากๆนั้นเป็นคนไทยทั้งหมด แต่สิ่งที่แลกมากับบรรยากาศการท่องเที่ยวที่แสนจะเงียบเหงานี้ คือความสมบูรณ์ของชายหาดและทรัพยากรหน้าหาด เกาะนี้มีข่าวว่าจะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะในช่วง Low season ของทุกปี ทั้งที่ไม่มีทรัพยากรใดบนเกาะถูกทำลายเสียหาย หรือสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายจากการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ การปิดเกาะในเขตอุทยาน ควรมีเหตุผลอย่างเพียงพอ ที่จะให้เข้าใจได้ว่าการเปิดและปิดส่งผลดีและผลกระทบต่อทรัพยากรที่ทางอุทยานดูแลรักษาอยู่อย่างมีนัยสำคัญอย่างไร การปิดนั้นง่ายและไม่ต้องใช้ฝีมือ การเปิดแบบไร้ข้อจำกัดก็ไม่ต่างกัน แต่การเปิดอย่างมีเงื่อนไขต่างหากที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ เป็นการพิสูจน์ทั้งฝีมือตลอดจนความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ถือครองอำนาจ โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ทรัพยากรนั้นอย่างยั่งยืน

Beachlover

April 21, 2021

หลากหลายชายหาด บนเกาะกุฎี

เกาะกุฎี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเสม็ด จ.ระยอง ห่างจากฝั่งประมาณ 6 กิโลเมตร ใกล้กับเกาะกุฎี มีเกาะขนาดเล็กอีก 2 เกาะ คือ เกาะท้ายค้างคาวและเกาะถ้ำฤาษี มีหาดทรายสวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ ตั้งแคมปิ้ง มีหน่วยพิทักษ์อุทยานตั้งอยู่ [https://thai.tourismthailand.org/] ไม่มีที่พัก และห้องน้ำยังไม่สะดวกมากนัก บางช่วงเวลาไม่มีน้ำจืดให้ใช้ ฝั่งทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกุฎี เป็นหาดทรายขาวสวยงาม น้ำใส ชายหาดมีความลาดชันต่ำมาก และพบหญ้าทะเลในบางจุด ชายหาดส่วนอื่นๆของเกาะเป็นหาดหิน หน้าผาหิน มีทางเดินวนได้รอบเกาะใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที ลักษณะของชายหาดที่แตกต่างกันตามที่เห็นในภาพด้านบนนั้น ทำให้ทรายหน้าชายหาดเหล่านี้มีความแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดด้วย แม้จะอยู่บนเกาะเดียวกันก็ตาม

Beachlover

April 17, 2021
1 8 9 10 12