การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 7 ถนนเลียบฝั่งปานาเระ

“อ้าว! นี่พี่ก็ขับตาม Google map มานะ ทำไมมันไม่มีทางไปต่อแล้วหล่ะ” รุ่นพี่งุนงงกับถนนที่สิ้นสุดตรงนี้ ทั้งที่ยังปรากฏเส้นทางให้ไปต่อได้ถึงแหลมตาชีใน Google map “เอ…ยังไงกันหล่ะเนี่ย ของหนูก็ยังมีเส้นทางอยู่ในพี่” ดาด้าพูดพลางโชว์หน้าจอระบบนำทางของตัวเอง “ของเราก็เหมือนกับด้าเลย” เม็ดทรายสนับสนุนข้อมูลต่อทันที แท้จริงแล้ว ถนนเส้นที่ทั้งสามคนกำลังงุนงงอยู่นั้น ในอดีตเป็นถนนที่วิ่งเลียบทะเลจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชี แต่หลังจากงานก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำปานาเระแล้วเสร็จ ก็ส่งผลกระทบให้ชายหาดแถบนี้ รวมถึงถนนเส้นนี้ถูกกัดเซาะจนขาดไปในที่สุด (https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/) “มันส่งผลกระทบรุนแรงมากขนาดนี้เลยรึ แบบนี้คุ้มกันไหมกับการตัดสินใจสร้างน่ะ” รุ่นพี่แสดงทัศนะของตัวเองทันทีที่ทั้งสามคนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการหาข้อมูลผ่าน Website  “นั่นแหล่ะ พี่ว่าไหมว่าเค้าจะต้องสร้างอะไรตรงนี้ต่อไปแน่ๆ ยิ่งมันกัดเซาะแบบถนนหายไปแบบนี้ ยิ่งต้องสร้างถนนใหม่ หรือหาอะไรมาป้องกันแน่นอนเลย” เม็ดทรายพูดพลางเดินถ่าย vdo clip ไปพลาง  “นี่ถ้าเค้าไม่ตัดถนนเลียบทะเลมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเน้อะ มันน่าจะมีกฎหมายเรื่องระยะถอยร่น อะไรประมาณนี้อยู่นะ พอจำได้บ้างตอนอาจารย์ยกตัวอย่างในวิชากฏหมายสิ่งแวดล้อมอ่ะ” ว่าที่นักกฏหมายอย่างดาด้าพูดพลางก้มหน้าก้มตาค้นข้อมูลบางอย่างผ่าน website  (https://beachlover.net/วิชาการ-ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล/) “เข้าใจแล้ว ถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างถาวรมันจะต้องถอยร่นเข้ามาจากแนวน้ำทะเล 12 เมตร แต่ถ้าเป็นถนนมันยังไม่มีกฎหมายที่บังคับเรื่องนี้” ดาด้าสรุปข้อมูลในเอกสารที่เธอค้นเจอจากหน้าจอให้ทุกคนฟัง (https://beachlover.net/กฎกระทรวง-เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง/) “แบบนี้นี่เอง พี่เห็นถนนริมเลแถวบ้านพี่นี่ตัดประชิดทะเลมากๆเลย พอช่วงมรสุมทีนึงนะ อบต. ก็ต้องหางบมาซ่อมถนนเกือบทุกปีเลย” รุ่นพี่นึกภาพถนนริมชายหาดหลายแห่งของนราธิวาสได้  “คราวนี้พวกเราจะเอายังไงต่อดีหล่ะ” “ตะกี้เราผ่านทางเข้าเล็กๆทางซ้ายมือมา […]

Beachlover

November 1, 2022

แนวชายฝั่งบ้านน้ำบ่อ หาดแฆแฆ สวยสมดุล

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่แนวชายฝั่งบ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นหาดทรายความยาวประมาณ ๘,๑๓๐ เมตร ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบวางตัวเป็นแนวยาว วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) และมีคลองพรุแฆแฆอยู่บริเวณด้านในแผ่นดิน ซึ่งวางตัวขนานแนวชายฝั่ง ผลการสำรวจชายฝั่งมีความสมดุล ไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง มีการก่อตัวของเนินทราย พบการสะสมตัวของตะกอนทรายหลังหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ได้ตะกอนทรายเข้ามาสะสมตัวในบริเวณนี้จำนวนมาก และมีการใช้ประโยชน์ของชาวประมงเป็นที่จอดเรือ และตากอาหารทะเล

Beachlover

August 4, 2021

ถนนขาด ณ หาดปานาเระ

ถนนเส้นนี้ตัดประชิดชายฝั่งมาก ปัจจุบันถูกกัดเซาะไปมากกว่า 10 ปี แล้ว ชาวบ้านใช้ถนนคอนกรีตเส้นในใกล้ๆกันเพื่อการสัญจรแบบไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะถนนเส้นนี้มิได้ตัดผ่านชุมชนหรือบ้านเลยแม้แต่หลังคาเรือนเดียว ข่าวว่า หน่วยงานจะฟื้นถนนเส้นนี้กลับคืนมาพร้อมการปรับภูมิทัศน์แถมด้วยโครงสร้างป้องกันถนนนี้อีกชั้นหนึ่ง ด้วยงบประมาณกว่า 280.8 ล้านบาท รอติดตาม…อย่างใจเย็น อ่านเรื่องราวของถนนเส้นนี้ที่บันทึกไว้เมื่อปีที่แล้ว (2563) เพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/ และ ชมภาพ VDO มุมสูงของพื้นที่นี้เมื่อเดือนเมษายน 2564 ได้จาก https://youtu.be/w6EvycVwII4

Beachlover

May 19, 2021

พาชมสถานภาพแนวชายฝั่งปัตตานี ส่วนใหญ่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดชลาลัย ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด ผลการสำรวจพบว่ามีลักษณะเป็นหาดทรายที่มีการสะสมตะกอนทรายจำนวนมาก อันเนื่องจากการกักตะกอนทรายของเขื่อนกันทรายและคลื่น (jetty) บริเวณปากร่องน้ำปะนาเระ และพบการกัดเซาะชายฝั่งระหว่างรอดักทราย ซึ่งแนวชายฝั่งส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเขื่อนกันทรายและคลื่นและรอดักทราย โดยไม่พบการชำรุดของโครงสร้าง อีกทั้งชายหาดชลาลัยมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวและที่พักผ่อนหย่อนใจ

Beachlover

February 8, 2021

น้ำท่วมชายฝั่ง ปานาเระ ปัตตานี

สืบเนื่องจากภาพข่าวและวีดีโอคลิปที่ถูกเผยแพร่กันไปเมื่อคืนวันที่ 12 มกราคม 2564 ถึงเหตุการณ์ที่น้ำทะเลไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่แถบชายหาดปานาเระ หาดท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของ จ.ปัตตานี ตามคลิป https://www.facebook.com/watch/live/?v=3863633530334021&ref=watch_permalink และ https://www.youtube.com/watch?v=58USfzLARGw ปรากฏการณ์น้ำทะเลเข้าท่วมพื้นที่ชายฝั่ง (Coastal flooding) ลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงน้ำเกิด (Spring tide) ซึ่งก็คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งมีทั้งข้างขึ้น (Full moon) และข้างแรม(New moon) สำหรับเหุตการณ์ในครั้งนี้เราจะไม่เห็นดวงจันทร์ เพราะเป็นคืนเดือนมืด หรือแรม 15 ค่ำนั่นเอง ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มกราคม จากข้อมูลระดับน้ำทำนาย ณ ปากน้ำปัตตานี โดยกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ (http://www.hydro.navy.mi.th/tide64/21-PN2021.pdf) แสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลาที่มีการถ่ายคลิป VDO ในคืนวันที่ 12 มกราคมนั้น เป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงสุดของพอดี (รูปล่างในกรอบสีแดง) นอกจากนั้น ในช่วงวันที่ 12 มกราคม เป็นช่วงที่เกิดความกดอากาศสูงหลายพื้นที่ในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทยเกิดคลื่นสูง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปรากฏชัดจากผลการพยากรณ์คลื่นทะเลในวันที่ 12 มกราคม 2564 […]

Beachlover

January 13, 2021

ถนนเลียบทะเลปานาเระ หายไปไหน?!?

[ภาพเมื่อ 9 ส.ค.2563] ใครผ่านไปผ่านมาแถบปานาเระ จ.ปัตตานี จะพบถนนเลียบทะเลที่ขาดลงในระยะประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำปานาเระ ที่มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง 4 ตัว (ปัจจุบันหลงเหลือเพียง 1 ตัว) ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ตามจริงแล้วหากถนนไม่ขาดลง เราสามารถใช้เส้นทางนี้วิ่งจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชีได้เลย Beach Lover ได้เคยลงพื้นที่สำรวจบริเวณนี้แล้วเมื่อสองปีก่อน จนถึงวันนี้พบว่ายังไม่มีการซ่อมแซม หรือสร้างถนนเส้นนี้ใหม่แต่อย่างใด หากสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณนี้จากภาพถ่ายดาวเทียม Google earth พบว่า ตำแหน่งที่ถนนเส้นนี้ประชิดชายหาดมากที่สุด ก็ยังห่างจากแนวระดับน้ำประมาณ 70 เมตร (สังเกตจากภาพ ก.พ.2005) โดยเริ่มพบการกัดเซาะของถนนนี้อย่างชัดเจนจากภาพถ่ายเดือน ม.ค.ปี 2011 ซึ่งอาจเกิดการกัดเซาะก่อนหน้านั้นแต่ไม่ปรากฏหลักฐานจากภาพถ่ายเพราะไม่มีภาพถ่ายในช่วงระหว่าง 2005-2011 คาดว่าการกัดเซาะถนนเส้นนี้เกิดจากผลกระทบของโครงสร้าง Jetty และเขื่อนกันคลื่นทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ที่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ถัดๆไปทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2011 (ภาพ ส.ค.2011) พบการไหลของทรายจากฝั่งตะวันออกมาปิดปากร่องน้ำปานาเระแม้จะมีโครงสร้างป้องกันอย่าง Jetty แล้วก็ตาม และไหลล้นข้ามร่องน้ำมาตามธรรมชาติจวบจนถึงปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือเข้าออก แม้หน่วยงานที่รับผิดชอบจะขุดลอกอย่างไร ก็ไม่เท่าทันกับสถานการณ์ทรายที่ล้นมาปิดปากร่องน้ำ […]

Beachlover

August 12, 2020