ศาลปกครองยกฟ้อง คดีคัดค้านการสร้างกำแพงชายหาด Katoku เกาะ Amami จ.Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น

อ่านข่าวฉบับภาษาญี่ปุ่นได้จาก: https://www3.nhk.or.jp/lnews/kagoshima/20240424/5050026677.html ภาพประกอบโดย: Beach Lover เมื่อ พ.ย.2566 วันที่ 24 เมษายน 2567 ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องกรณีที่ชาวบ้าน 10 คน ยื่นเรื่องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ยุติการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ป้องกันชายหาด Katoku ที่ใช้งบประมาณกว่า 340 ล้านเยน โดยระบุว่าจะเป็นการทำลายทรัพยากรชายหาดที่มีคุณค่า เนื่องจากหาดนี้อยู่ติดกับเขตที่ถูก Unesco ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ในอดีต ศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องกรณีนี้ไปแล้ว 1 รอบ แต่ชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นอุทธรณ์พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องชายหาดแห่งนี้หลายครั้ง รวมถึงสำรวจข้อมูล beach profile นำส่งต่อศาลเพื่อแสดงให้เห็นว่าชายหาดแห่งนี้ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น เนื่องจากไม่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรง การกัดเซาะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากพายุรุนแรงเมื่อ 10 ปีก่อน และไม่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีกเลย จากเสียงคัดค้านจากผู้คนที่ต้องการปกป้องธรรมชาติ ทางจังหวัดจึงลดขนาดของเขื่อนลงจาก 530 เมตร เหลือเพียง 180 เมตร เมื่อ 6 ปีก่อน และเมื่อสองปีก่อน มีการนำรถขุด เครื่องจักรหนัก และวัสดุก่อสร้างมาวางไว้ที่ชายฝั่ง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากชาวบ้านต่อต้านจนถึงปัจจุบัน ในคำตัดสินของศาลชั้นสองเมื่อวันที่ 24 […]

Beachlover

April 25, 2024

กำแพงหาดมหาราช ยังอยู่ในงบปี 67 แม้ศาลสั่งคุ้มครอง

ในโอกาสที่งบประมาณแผ่นดินปี 2567 กำลังจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2567 นี้ Beach Lover ชวนท่านผู้สนใจตามอ่านเอกสารร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) กันได้ตาม Link นี้ งบประมาณรายจ่าย 2567 สำนักงบประมาณ Beach Lover พบว่างบประมาณปี 2567 จำนวน 76.862 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ระยะทาง 555 เมตร ปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างใดๆ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบก็วิตกกังวลไม่น้อย แม้ว่าวันนี้ศาลปกครองสงขลาจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ไปแล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/maharaj-case-dec2023/) แต่งบประมาณส่วนนี้ยังคงปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณขาวคาดแดงปี 2567 เนื่องจากมีการจัดทำแล้วพิมพ์เผยแพร่ก่อนคำสั่งศาล […]

Beachlover

January 2, 2024

ศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว คดีหาดมหาราช

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของชายหาดมหาราชมาหลายครั้งแล้ว ติดตามได้จาก Search icon มุมขวาบน มาวันนี้ ศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม Click Download เพื่อนำส่งเอกสารฉบับเต็ม

Beachlover

February 21, 2022

นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุด คดีหาดสะกอม [7ก.ย.2564]

ที่มา: https://www.facebook.com/CommunityresourcecentreThailand/ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของการฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับชายหาดไปแล้วทั้งหมด 7 คดี สามารถติดตามได้จากหมวด คดีชายหาด มาวันนี้ 1 ใน 7 คดีที่ถือได้ว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ของการฟ้องร้องคดีที่เกี่ยวข้องกับชายหาดคดีแรกของประทศไทยคือ หาดสะกอม จ.สงขลา ได้มีความเคลื่อนไหวครั้งแรกในรอบ เกือบ 10 ปีนับตั้งแต่ศาลปกครองชั้นต้นจังหวัดสงขลาได้มีคำพิพากษาในปี 2555 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก คดีหมายเลขดำที่ อ.924/2554 ระหว่าง นายสาลี มะประสิทธิ์ ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กรมเจ้าท่า ที่ 1 ที่ 2 กรมทรัพยากรทางชายฝั่งทางทะเล ที่ 3 ซึ่งเป็นการฟ้องเกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการเขื่อนกันคลื่นและเขื่อนกันทรายบริเวณหาดสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ที่มีการดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งได้มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองสงขลาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 […]

Beachlover

September 23, 2021

เกเบี้ยนและรั้วไม้ ณ หาดม่วงงาม ยามนี้

จากข้อมูลสำรวจวันที่ 20 มี.ค.2564 พบว่าสภาพของไม้ที่ปักยังคงอยู่ดีและอยู่ในแนวเดิมตามรูป A และยังพบร่องรอยของทรายหน้าชายหาดถูกเกลี่ยและปรับแต่งให้เรียบร้อย (ไม่ทราบหน่วยงาน) ในตำแหน่งที่กรมโยธาและผังเมืองอ้างว่ามีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง (ทิศใต้/ทิศเหนือ/ด้านหน้า ของลานปูนซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการเพียงบางส่วน) ซึ่งนั่นหมายความว่า การดำเนินมาตรการป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราวร่วมกับการปรับแต่งหาดทรายให้เรียบร้อยหลังมรสุม นั้นก็เพียงพอแล้วกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากชายหาดถูกกัดเซาะ  แม้กระทั่งแนวป้องกันแบบเกเบียนเดิมที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้สร้างไว้เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว และกรมโยธาธิการและผังเมืองได้อ้างว่าชำรุดเสียหายจนเป็นหนึ่งในสาเหตุของการดำเนินโครงการนี้ ณ ชายหาดม่วงงาม จากข้อมูลสำรวจสนามพบว่ายังสามารถป้องกันพื้นที่ชายฝั่งได้ในช่วงมรสุม แม้ไม่ได้สมบูรณ์เหมือนเมื่อครั้งสร้างใหม่ๆ เนื่องจากมีการชำรุดเสียหายไปบ้างตามการใช้งาน พบว่าโดยส่วนมากของเกเบี้ยนเดิมยังคงใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ (รูปที่ B และ C)  เพราะหากเสียหาย 100% และป้องกันไม่ได้ ควรจะพบร่องรอยของการซ่อมแซมถนนบ้าง แต่ตามหลักฐานพบว่าไม่มีร่องรอยการซ่อมแซมในพื้นที่โครงการแต่ประการใด (ติดตามได้จาก Link: https://www.youtube.com/watch?v=eBsizPSlqh0) ที่บันทึกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 ในหมู่ที่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการในระยะที่ 1 และระยะที่ 2) หากแม้ว่าโครงสร้างเกเบี้ยนนี้จะมีชำรุดเสียหายไปบ้างตามสภาพการใช้งาน ก็ควรใช้วิธีการซ่อมแซมให้โครงสร้างกลับมาทำหน้าที่ได้อีกครั้ง ด้วยงบประมาณไม่มากมายขนาดที่ต้องใช้เพื่อการสร้างโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นแบบขั้นบันได และยังไม่นำพาความเสียหายต่อชายหาดที่ยังคงสมบูรณ์อีกด้วย

Beachlover

April 18, 2021

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: ประเด็นชวนคิด 2 (ตอนที่ 4/4)

ความเสียหายที่เกิดจากการสร้างไม่ได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ พบว่าฐานของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นนี้จะจมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลตลอดเวลา (สังเกตได้จากเสาเข็มต้นที่อยู่ฝั่งทะเลและแนวถุงทรายตามรูปที่ 7 ในตอนแรก https://beachlover.net/ข้อสังเกต-มหาราช-ตอน1-4/และ ระดับน้ำตามรูปที่ 1 ในโพสนี้) เมื่อน้ำขึ้นจะมีบางส่วนของกำแพงที่อยู่ใต้น้ำเพิ่มเติม และเมื่อโครงสร้างอยู่ในแนวที่น้ำท่วมถึงคลื่นจะวิ่งเข้ามาถึง นั่นหมายถึงโครงสร้างนั้นกำลังรบกวนสมดุลของกระบวนการชายฝั่งทะเล แม้ตามแบบจะปรากฏชัดว่าจะมีการถมทรายกลับทับจนถึงบันไดขั้นที่หก (จากด้านบน) แต่เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะทรายที่ถูกถมทับไปบนกำแพงขั้นบันได คลื่นจะค่อยๆชักเอาทรายด้านบนและด้านหน้าบันไดออกไป และเมื่อทรายด้านบนที่ถมทับถูกชักออกไปทั้งหมด คลื่นจะสามารถวิ่งเข้ามาปะทะกำแพงโดยตรงและจะส่งผลให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง ยิ่งเหนี่ยวนำให้ทรายด้านหน้ากำแพงถูกดึงออกนอกชายฝั่ง และชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปอย่างถาวร แสดงผลกระทบของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นดังรูปที่ 2 นอกจากนั้นกำแพงจะยิ่งส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงเกิดการกัดเซาะได้เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นและกระแสน้ำ แสดงดังรูปที่ 3 หากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบดังรูปที่ 4 ซึ่งจะยิ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น งานป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้น โดยมากเป็นการดำเนินงานเฉพาะพื้นที่ ทั้งที่จริงแล้วชายฝั่งทะเลเป็นเขตติดต่อที่ยาวต่อเนื่องกัน การดำเนินการในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่ออีกพื้นที่หนึ่งบริเวณใกล้เคียง พบว่าปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยส่วนใหญ่ต้นเหตุแห่งปัญหามาจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะ แต่กลับกลายเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาเสียเอง (https://beachlover.net/แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง/) ประเทศที่มีดินแดนติดชายฝั่งหลายประเทศ โดยเรียนรู้จากบทเรียนเดิมที่เคยเกิดขึ้นว่า มาตรการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนั้นมีข้อจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษาที่นับวันจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ (Luciana S. Esteves, 2014) รวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่ายิ่งสร้างโครงสร้างป้องกันยิ่งจะส่งผลให้ต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เพราะชายหาดที่ไม่ถูกป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นโดมิโน่ (Domino effect) แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการ จากการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่โดยใช้โครงสร้างป้องกัน มาเป็นใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้น หลายหน่วยงานได้ดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่  […]

Beachlover

January 24, 2021
1 2