5 ปีผ่านไป…กำแพงกันคลื่นชิงโคกับหาดที่หายไป

Beach Lover ได้พาติดตามสถานการณ์ชายหาดชิงโคหรือที่รู้จักกันในนามของหาดทรายแก้ว ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา มาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ก่อนมีโครงสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง และหลังกำแพงแล้วเสร็จ สืบค้นได้จาก Search Icon มุมขวาบน Beach Lover ได้เดินเท้าสำรวจสภาพชายหาดด้านท้ายน้ำ (ทิศเหนือ) ของกำแพงในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ระยะทางประมาณ 560 เมตร พบสภาพชายหาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนก่อนหน้าค่อนข้างมาก หากพิจารณาภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth เท่าที่มีข้อมูลล่าสุดคือ ก.พ.2024 ย้อนหลังไปถึงช่วงก่อนมีโครงสร้างไม่นาน (ก.ค.2019-ก.พ.2024) รวม 5 ปี โดยภาพรวมพบว่า พื้นที่ส่วนที่เป็นบกในกรอบสีขาว (เท่ากันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกภาพ) ลดลงต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด การลดลงของพื้นที่ชายหาดบริเวณตอนเหนือของกำแพงกันคลื่น เริ่มปรากฏให้เห็นในภาพถ่ายปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นทางทิศใต้ของพื้นที่ต่อเนื่องมาจากธรรมสถานหาดทรายแก้ว หลังจากนั้นก็เริ่มพบว่าต้นไม้ริมชายหาดเริ่มค่อยๆหายไป หาดเริ่มเว้าอย่างชัดเจนโดยเฉพาะระยะประชิดกับกำแพงทางทิศเหนือ จนถนนริมชายหาดหายไปตลอดทั้งแนว Beach Lover จะลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากกำแพงกันคลื่นบริเวณนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ เพื่อนำมาเล่าสู่กันฟังอย่างต่อเนื่อง … โปรดติดตาม

Beachlover

March 5, 2025

เที่ยวไหนดี…ชะอำเหนือ หรือ ใต้?

Beach Lover พาชมหาดชะอำ จ.เพชรบุรี มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนสร้างกำแพงกันคลื่น ระหว่างงานก่อสร้าง จน กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดแล้วเสร็จ มาเมื่อหลายปีก่อน สามารถหาอ่านได้จากโพสเก่าๆ มาเยือนหาดชะอำช่วงเทศกาล High season ในครั้งนี้ ขอพาเปรียบเทียบสภาพชายหาดชะอำเหนือ และชะอำใต้ หาดใกล้เมืองกรุงที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยือนในช่วงวันหยุดกันสักหน่อย ทั้งสองชายหาดวางตัวอยู่ในแนวเดียวกัน และต่อเนื่องกัน แบ่งแยกชื่อเรียกจากลานคอนกรีตบริเวณจุดชมวิวบริเวณสามแยก หากมุ่งหน้าออกทะเลเลี้ยวซ้ายเรียกหาดชะอำเหนือ เลี้ยวขวาเรียกหาดชะอำใต้ ในอดีตหาดชะอำใต้มีความคึกคักมากกว่าด้วยร้านอาหาร ร่มเตียงผ้าใบ เรียกได้ว่าหากเป็นช่วงวันหยุดยาวก็แทบจะไม่มีที่ให้จอดรถกันเลยทีเดียว ในขณะที่หาดชะอำเหนือนั้นนักท่องเที่ยวจะบางตากว่า แต่หลังจากที่มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได พร้อมงานปรับภูมิทัศน์ โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ดำเนินการโครงการนี้บริเวณหาดชะอำใต้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 ด้วยงบประมาณ 226.437 ล้านบาท รวมระยะทางตามแนวชายฝั่งกว่า 3 กิโลเมตร หาดชะอำใต้ก็ซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชายหาดชะอำเหนือที่ถัดขึ้นไปเพียงลานคอนกรีตคั่น ยามน้ำขึ้น หาดชะอำใต้นั้นไม่มีชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่นหลงเหลืออยู่พอให้ลงเล่นได้เลย นอกจากนั้นในบางช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูงและคลื่นแรง ยังไม่สามารถนั่งเล่นบนขั้นบันไดประชิดชายน้ำได้ด้วยเนื่องจากคลื่นจะวิ่งปะทะกำแพงแล้วกระเซ็นหรือกระโจนเข้ามายังพื้นที่ด้านใน ในขณะที่หาดชะอำเหนือนั้นยังคงมีชายหาดให้ใช้ประโยชน์ได้แม้ยามน้ำขึ้นสูงสุด และไม่เกิดปรากฏการณ์น้ำกระเซ็นข้ามเนื่องจากไม่มีโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงเกิดการย้าย Demand ของนักท่องเที่ยวจากฝั่งใต้ไปยังฝั่งเหนืออย่างเห็นได้ชัด เหล่านี้… เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลกระทบจากโครงการนี้โดยตรง เหล่านี้… เป็นสิ่งที่ต้องแลกกับการอยู่รอดปลอดภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง? เหล่านี้… คือสิ่งที่เราต้องยอมรับเพราะไม่มีทางเลือกอื่น? หรือ… […]

Beachlover

January 6, 2025

หาดม่วงงามหลังคำพิพากษาศาลปกครอง

Beach Lover ขอพาชมชายหาดม่วงงาม จ.สงขลา ที่ศาลปกครอง จ.สงขลาได้พิพากษาคดีจบไปเมื่อ 11:55 ของวันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567 โดยมีคำสั่งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองรื้อถอนโครงสร้างเสาเข็มที่ตอกลงไปบนชายหาดเมื่อปี 2563 ขึ้นมาทั้งหมด พร้อมปรับสภาพชายหาดให้เหมือนเดิม รวมถึงยกเลิกโครงการกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดหาดม่วงงามทั้งหมด ติดตามอ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้จาก https://beachlover.net/beach-case-muang-ngam-25dec2024/ Beach Lover พาชมชายหาดม่วงงาม จ.สงขลา วันที่ 25 ธันวาคม 2567 ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นช่วงที่อาจสร้างความเสียหายต่อชายหาดม่วงงามได้มากที่สุด พบว่าคลื่นลมที่รุนแรงนั้นซัดขยะรวมถึงเศษกิ่งไม้ต้นไม้มาเกยเกลื่อนชายหาดเป็นจำนวนมาก ไม่พบต้นไม้ล้ม ไม่พบร่องรอยการกัดเซาะถนน พบชายหาดกว้างกว่า 40 เมตร เกือบตลอดทั้งแนว หากชาวบ้านม่วงงามไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องการดำเนินงานของรัฐต่อศาลปกครองสงขลาเมื่อต้นปี 2563 … ในวันนี้ เราคงได้ยืนอยู่บนกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กมูลค่าสองร้อยกว่าล้านบาทเป็นแน่แล้ว

Beachlover

December 27, 2024

ศาลปกครองสงขลา นั่งพิจารณาคดีครั้งเเรก ชี้กำแพงกันคลื่นหาดม่วงงามไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ที่มา: https://www.facebook.com/CommunityresourcecentreThailand วันที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 14.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสงขลา ศาลนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งเเรก ในคดี น.ส.เปรมชนัน บำรุงวงค์, นายพิสัน แก้วมณี, นางจรรยพร บูรณะ, นายวีระพงศ์ เด็นมุหมัดซอและ และนายวิโรจน์ สนตอน รวม 5 คน เป็นผู้ฟ้องคดี กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมเจ้าท่า และ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาสงขลา ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1-3 ตามลำดับ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องศาลปกครองสงขลา ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ระงับการดำเนินโครงการกำแพงกันคลื่น เนื่องจากเห็นว่า พื้นที่หาดม่วงงามตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นหาดสมดุลย์ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชายหาดทำให้เกิดการกัดเซาะท้ายโครงการ ทั้งนี้ ศาลปกครองสงขลารับคดีไว้พิจารณา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส.3/2563 […]

Beachlover

December 19, 2024

สำรวจพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นปราณบุรี

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง Beach Lover ขอพาเดินเท้าสำรวจกำแพงกันคลื่นขั้นแบบบันไดบางส่วนของชายหาดปากน้ำปราณนี้ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2567 พบร่องรอยของคลื่นกระโจนข้าม พร้อมทิ้งความเสียหายไว้เช่น ร่องรอยของแผ่นพื้นที่กระเทาะแตกออกเนื่องจากแรงของคลื่นที่ตกกระทบบนพื้นด้านหลังจากแรงกระแทกของคลื่นข้ามกำแพง โครงสร้างบางส่วนของของลานกิจกรรมพังเสียหาย ทรายและน้ำเค็มซัดข้ามสันกำแพงจนต้นไม้และหญ้าที่ปลูกไว้ตายไปบ้าง ทรายกระเซ็นข้ามมาปิดทับแผ่นพื้นแบบตัวหนอนบนลานจอดรถ เป็นต้น

Beachlover

December 10, 2024

สำรวจหาดม่วงงามยามต้นมรสุม

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดม่วงงามไปแล้วหลายครั้ง รวมถึงรายละเอียดของคดีฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชนที่เกิดขึ้นบนชายหาดม่วงงาม สามารถค้นหาได้จาก Search icon มุมขวาบน โดยใช้คำค้นหาว่า “ม่วงงาม” ช่วงต้นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนพฤศจิกายน 2567 Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจชายหาดม่วงงามอีกรอบ บริเวณที่อาจเป็นพื้นที่โครงการกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีสภาพตามรูป โดยภาพรวม ไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองตั้งใจจะก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดระยะที่ 1 และ 2 ระยะทาง 1.71 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 138 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2563 นอกจากภาพถ่ายแล้ว ชาวบ้านม่วงงามยังได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามในพื้นที่โครงการผ่านระบบติดตามชายหาด (Beach MONitoring system, BMON) (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ BMON ได้ที่ https://bmon.net/) ภายใต้โครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองที่ได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2563 จนถึง 2567 โดยได้ทำการสำรวจรูปตัดชายหาด (Beach profile) […]

Beachlover

December 3, 2024

ติดตามงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล บริเวณชายฝั่ง หมู่ที่ 3, 4 และ 5 ต.ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเล ติดตามโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายฝั่ง หมู่ที่ 3, 4 และ 5 ต.ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา วันที่ 5 กันยายน 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สทช.5) โดยเจ้าหน้าที่ สอช. ลงพื้นที่ติดตามโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองโครงการฯ และได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ 2566 บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายฝั่ง หมู่ที่ 3 ,4 และ 5 ต.ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา ระยะที่ 5 ระยะทาง 506 เมตร ดำเนินโครงการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จากการตรวจสอบพบว่าโครงการฯ มีดำเนินการไปแล้ว 70% โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเทพื้นคอนกรีตและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณด้านหลังโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่ง โดยชายหาดมีหน้ากว้าง 7-12 เมตร ทั้งนี้ สทช.5 โดย […]

Beachlover

September 13, 2024

พาชมงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได อ่าวบางละมุง

กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้ มีทั้งส่วนที่สร้างเสร็จแล้ว และกำลังดำเนินงานอยู่ บริเวณพื้นที่ของ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง และรอยต่อไปทางทิศใต้ยังศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลกรและสวัสดิการตำรวจ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โครงสร้างที่แล้วเสร็จ รวมถึงโครงสร้างที่กำลังสร้างอยู่นี้ มีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได จากการเดินเท้าสำรวจพบว่าโครงสร้างดังกล่าววางทับลงไปบนชายหาดเกือบทั้งหมด แทบไม่หลงเหลือพื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพงแล้ว พร้อมมีการปรับภูมิทัศน์ด้านบน ทำเป็นทางเดินสาธารณะและมีการปลูกต้นไม้ประดับ เท่าที่ทราบ โครงสร้างดังกล่าวเป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนรายละเอียดอื่นๆเช่น งบประมาณ ระยะทาง Beach Lover ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต จะนำมาเสนอในครั้งถัดๆไป

Beachlover

August 11, 2024
1 2 19