หาดพัทยา น่าเที่ยวแค่ไหน

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของการเติมทรายชายหาดพัทยาไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/เติมทราย-พัทยา/ และ https://beachlover.net/บทเรียน-เติมทราย-พัทยา/ กระนั้นก็ตามทุกครั้งที่ฝนตกหนัก งานเติมทรายชายหาดพัทยาก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก น้ำฝนไหลบ่าทะลักลงสู่ชายหาดจนกัดเซาะเป็นร่องลึก หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องขุดทรายและขนทรายมาปิดบาดแผลนี้เป็นประจำ ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอไปแล้ว https://beachlover.net/ฝนตกหนัก-พัทยา-หาดพัง/และ https://beachlover.net/หาดพัทยา-18-ต-ค-2562/ หาดพัทยาก็ไม่ต่างจากหาดท่องเที่ยวในระดับ International tourism beaches อื่นๆในช่วง COVID-19 ที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยจากภัยคุกคามนี้ https://beachlover.net/หาดพัทยา-covid19/ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์เติมทรายชายหาดพัทยาในเดือนกันยายน 2563 พบทรายที่ถูกเติมแล้วเสร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2562 ด้วยงบประมาณ 420 ล้านบาท โดยกรมเจ้าท่านั้น ยังคงสภาพดี หาดยังกว้างมากกว่า 50 เมตร ยกเว้นยามฝนตกหนักที่ยังคงมีปัญหาตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว แม้เป็นช่วงเย็น แต่พบว่าชายหาดเงียบสงบ มีผู้ใช้ชายหาดอย่างบางตา แม้ร่มเตียงชายหาดที่ถูกกางเพื่อทำมาค้าขายลดลงไปจากเดิมมากกว่าครึ่ง แต่ก็พบว่าแทบไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการเลย รถราสามารถหาที่จอดได้ง่ายริมถนนสายเลียบทะเลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้คนที่เคยเดินขวักไขว่แทบจะชนกัน ภาษาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่โหวกเหวกโวยวาย บัดนี้ภาพเหล่านั้นได้หายไปจนหมดสิ้น ชายหาดพัทยายาว 2.8 กิโลเมตร ได้กลับมาเป็นของคนไทยอีกครั้ง แต่ราคาที่ต้องจ่ายคือแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ธุรกิจที่ต้องปิดตัว […]

Beachlover

September 11, 2020

บ่อคณฑี โดมิโน่ตัวแรก ล้มทั้งกระดาน!

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลอง (Jetty) ระบายน้ำของกรมชลประทาน ณ บ้านบ่อคณฑี ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเพื่อป้องกันทรายไม่ให้ไหลมาปิดปากร่องน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี 2527 ความยาว 75 เมตร โดยกรมชลประทาน เนื่องจากในช่วงเวลานั้น กรมใช้คลองสายนี้เป็นคลองระบายน้ำออกทะเล จากพื้นที่ชลประทานแถบนั้น Beach Lover ได้นำเสนอไปหลายครั้งแล้วถึงผลกระทบของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) ซึ่งจะกีดขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนเลียบชายฝั่ง ซึ่งในพื้นที่ อ.ปากพนัง มีทิศเคลื่อนที่จากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ โครงสร้างนี้จึงส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อชายหาดทางทิศเหนือของโครงสร้าง โดยพบว่าเกิดการกัดเซาะไปถึง 87.7 เมตร ระหว่างปี 2517-2538 ในปี 2527 ชาวบ้านได้ทําหนังสือเรียกร้องไปที่สำนักงานชลประทานที่ 11 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชแจ้งให้ทราบถึงการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง ซึ่งได้ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ของชาวบ้าน ทางเจ้าหน้าที่กรมชลประทานจึงได้เสนอแนะ ให้ทางส่วนราชการจังหวัดติดตามดูแลปัญหาการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง หลังจากนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่กรมชลประทาน และกรมเจ้าท่า ได้เข้ามาแก้ปัญหาในพื้นที่โดยการสร้างโครงสร้างรอดักทรายรูปตัวทีต่อยาวจากปากคลองระบายน้ำบ่อคณฑีไปจำนวน 19 ตัว และรูปตัวไออีก 4 ตัว รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเสร็จในปี 2543 หลังจากนั้น ชายหาดของ อ.ปากพนัง […]

Beachlover

September 9, 2020

แก้แบบ แก้โครงสร้างกันอีกรอบ @ The Regent Cha-Am

ในปี 2558 กรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี โดยมีการถมทรายชายหาดกว้าง 50 เมตร โดยฝังถุงทรายไว้ที่ระยะห่างฝั่งประมาณ 25 เมตร ตามรูปแบบที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ออกแบบไว้เมื่อตุลาคม 2556 และส่งมอบให้กรมเจ้าท่าไปดำเนินการต่อ โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จไปเมื่อ พ.ย.2560 ปรากฏว่าหลังก่อสร้างแล้วเสร็จไปเพียง 1 ปี ทรายที่เสริมไว้ถูกพัดพาหายไปอย่างรวดเร็วจนถึงแนวถุงทรายที่เคยมีทรายปกคลุมอยู่ ถุงทรายเริ่มเกิดความเสียหายและก่อให้เกิดทัศนียภาพไม่สวยงาม โรงแรมรีเจ้นท์ชะอำบีชรีสอร์ท ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานนี้โดยตรง พบว่าเกิดอันตรายต่อผู้มาพักที่โรงแรมตลอดจนผู้ใช้ชายหาดอื่นๆ แขกมาเข้าพักลดน้อยลงเพราะชายหาดหน้าโรงแรมไม่สวยงาม ลงเล่นน้ำไม่ได้ จึงมีหนังสือถึงกรมเจ้าท่าขอให้พิจารณาตามข้อเสนอ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ (1) ทำการรื้อถุงทรายหน้าโรงแรมออกทั้งหมด (2) ทำการย้ายหัวหาดตามแบบแก้ไขของกรมเจ้าท่าในส่วนของทิศเหนือขยับขึ้นมาจนสุดแนวรั้วของโรงแรมรีเจ้นท์ ชาเล่ต์ และ (3) โรงแรมทราบดีถึงผลกระทบที่อาจตามมาจากข้อเสนอนี้ตามข้อ 1 และ 2 และยอมรับในการที่น้ำทะเลจะรุกเข้ามาถึงแนวกำแพงหรือแนวเขตที่ดินของกำแพงได้ กรมเจ้าท่าได้พิจารณาแล้วจึงทำการออกแบบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ด้วยการรื้อถุงทรายแนวกันชนเดิมหน้าโรงแรมออกทั้งหมด แล้วนำมาเรียงเป็นแนวกันชนบริเวณชายฝั่งริมรั้วโรงแรม ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้หารือกับโรงแรมแล้วว่าเหมาะสม และได้สร้างหัวหาด (Headland) สองตำแหน่งห่างกันประมาณ 800 เมตร โดยหัวหาดนี้สร้างโดยใช้ถุงทรายวาง ส่วนที่ประชิดชายน้ำสร้างเป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นผิวด้านบนเททับด้วยโพลี่ยูรีเทนเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการรับแรงดึง พร้อมการถมทรายด้านบน […]

Beachlover

September 4, 2020

หาดช่วงมรสุมและปลอดมรสุม…แตกต่างกันอย่างไร

กฎข้อที่หนึ่ง: ชายหาดมีฤดูกาล สิ่งปลูกสร้างถาวรใดๆที่ตั้งประชิดฝั่งควรคำนึงถึงประเด็นนี้เป็นสำคัญ ปล่อยให้คลื่นลมได้มีพื้นที่เพื่อการ Exercise ยามมรสุมบ้าง ช่วงคลื่นลมสงบชายหาดจะกว้าง ส่วนในช่วงฤดูมรสุมชายหาดจะแคบลง บางส่วนของชายหาดอาจถูกกัดเซาะเนื่องจากช่วงมรสุมระดับน้ำทะเลจะยกตัวสูงขึ้นกว่าฤดูกาลปกติ คลื่นจะนำเอามวลทรายหน้าหาดออกไปทับถมนอกชายฝั่ง จากนั้นช่วงปลอดมรสุมชายหาดจะกลับมาเหมือนเดิมก่อนมรสุม และวนเวียนแบบนี้เป็นวัฏจักรตราบเท่าที่สมดุลชายหาดไม่ถูกแทรกแซง https://beachlover.net/ชายหาดมีฤดูกาล/ ภาพบ้านที่ถูกคลื่นกัดเซาะเสียหายเมื่อต้นปี และบ้านเดิมยามปลอดมรสุม ณ ชายทะเลทุ่งประดู่ หมู่ 2 ต.ทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ สื่อสารประเด็นนี้ได้ดี จริงอยู่ที่เราย่อมมีสิทธิที่จะปลูกสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ของตนเอง แต่ความจริงอีกประการหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เรามิอาจคาดเดาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้อย่างแม่นยำนัก รวมถึงธรรมชาติเองก็มีการเปลี่ยนแปลงสมดุลอยู่ตลอดเวลา หากเราไม่เข้าใจว่าชายหาดมีฤดูกาลแล้วเข้าไปพัฒนาพื้นที่ริมชายหาดมากจนเกินไป ในช่วงฤดูมรสุมอาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ มนุษย์ควรตระหนักถึงประเด็นนี้และไม่เข้าไปรุกล้ำพื้นที่ชายหาดมากจนเกินไป เพื่อเปิดพื้นที่ให้กระบวนการชายฝั่งได้ปรับสมดุลตามธรรมชาติ ชายหาดบริเวณนี้มีแผนสร้างกำแพงกันคลื่นความยาว 1.2 กิโลเมตร แต่ผู้รับเหมาทิ้งงานไปหลังสร้างแล้วเสร็จ 400 เมตร ทางกรมเจ้าท่าในฐานะเจ้าของงานได้ตั้งงบประมาณต่อเนื่องในปี 2564 ในชื่อ “โครงการปรับปรุงกำแพงหินทิ้งป้องกันการกัดเซาะ ม.2” จำนวน 15 ล้านบาท ระหว่างนี้คงมีมาตรการต่างๆลงไปเพื่อบรรเทาปัญหาทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยทาง Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

Beachlover

September 2, 2020

หาดชลาทัศน์ ยามนี้ … ยังสบายดีอยู่ไหม

หาดสมิหลา-ชลาทัศน์ ชายหาดทรายขาวยาว 7.8 กิโลเมตร ใจกลางเมืองสงขลา มีความพยายามเพื่อป้องกันชายฝั่งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 ทั้งกระสอบเล็กใหญ่ ยางรถยนต์ รอดักทราย กำแพงกันคลื่นแบบหิ้งทิ้ง กำแพงกันคลื่นแบบกระสอบทรายขนาดใหญ่ รวมถึงการเติมทรายชายหาดจำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ประสบผลสำเร็จ มีทั้งที่ล้มเหลว มีทั้งที่นำเรื่องขึ้นสู่ชั้นศาลเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดี [https://beachlover.net/คดีสมิหลาชลาทัศน์/] และมีทั้งรอคอยการดำเนินการต่อของผู้รับเหมา ติดตามได้จากโพสเก่าๆในสถานการณ์ชายฝั่งทะเล [https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์/ และ https://beachlover.net/กระสอบทราย-ชลาทัศน์/ และ https://beachlover.net/ความคืบหน้างานเติมทราย/ และ https://beachlover.net/สภาพหาดสมิหลา-สิงหาคม/ และ https://beachlover.net/รูปตัดชายหาด-ชลาทัศน์/ และ https://beachlover.net/ไร้เรือดูดทราย-แหลมสน/ รวมถึง VDO Clip https://www.youtube.com/watch?v=WSG2DrtvW6c และ https://www.youtube.com/watch?v=rhLpm1_kB2g ] Beach Lover ได้ติดตามพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2563 พบชายหาดทางตอนใต้ที่ผ่านการเติมทรายชายหาดไปแล้วบางส่วนตัดเป็นหน้าผาชัน โดยมีระดับแตกต่างกันไปตามแต่ละบริเวณ โดยมีระยะตัดแนวดิ่งที่มากที่สุดถึง 1.8 เมตร ตามภาพ พบร่องรอยน้ำกัดเซาะทรายบริเวณนี้เป็นร่องลึกในหลายตำแหน่ง พบว่าทรายที่ทางกรมเจ้าท่าลำเลียงมาจากแหลมสนอ่อนเพื่อมาเติมให้กับชายหาดชลาทัศน์บริเวณนี้นั้น มีการแยกชั้นของวัสดุที่ปะปนมากับทรายอย่างชัดเจน โดยวัสดุที่หนักว่าอย่างดินเหนียวจะแยกชั้นกันกับทรายและจมอยู่ด้านล่าง นอกจากนั้นยังพบว่ามีปริมาณเปลือกหอยปะปนอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลให้หาดที่นำทรายคุณสมบัติแบบนี้มาเติมนั้นตัดเป็นหน้าผาชัน ส่วนทางทิศเหนือ พบท่อเหล็กที่เคยใช้ลำเลียงทรายมาจากแหลมสนอ่อนวางระเกะระกะอยู่ตลอดแนว และพบรถแบคโฮบนโป๊ะจอดอยู่ริมชายหาด ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วใน https://beachlover.net/อะไร-ยังไง-หาดชลาทัศน์/ โดยบริเวณใกล้กันนี้พบทรายคุณสมบัติค่อนข้างดี ไม่เกิดการตัดเป็นหน้าผาชันและไม่แยกตัวเป็นชั้นอย่างชายหาดทางทิศใต้ งานเติมทรายชายหาดชลาทัศน์ โดยกรมเจ้าท่า […]

Beachlover

September 1, 2020

บางมะรวด … ปากน้ำที่กรมเจ้าท่าต้องปวดหัว

ปากน้ำบางมะรวด อยู่ใน อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี บริเวณปากน้ำมีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) จำนวน 1 คู่ (ไม่ทราบปีที่สร้าง) เพื่อป้องกันทรายมาปิดปากร่องน้ำ บรรเทาปัญหาอุปสรรคต่อการสัญจรเข้าออกของเรือ แต่หลังจากก่อสร้าง พบทรายปริมาณมหาศาลไหลมาปิดปากร่องน้ำเป็นประจำ สังเกตได้จากภาพถ่ายดาวเทียมในหลายช่วงเวลา ซึ่งหมายความว่า Jetty ที่กรมเจ้าท่าสร้างไว้นั้นขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เดิมได้ ทางกรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาขุดลอกปากร่องมาแล้วหลายครั้ง ภาพด้านล่างคือตัวอย่างผลงานการขุดลอกร่องน้ำบางมะรวดที่กรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาบริษัท Wealthworking ด้วยงบประมาณ 37.750 ล้านบาท (ไม่ทราบปีที่ขุด) Beach Lover ได้ลงสำรวจปากร่องน้ำบางมะรวดในเดือนสิงหาคม 2563 พบการเปิดปากร่องน้ำใหม่ทางฝั่งซ้ายของร่องน้ำเดิม เนื่องจากร่องน้ำเดิมที่มี Jetty นั้นปิดค่อนข้างถาวร การสัญจรเข้าออกปากแม่น้ำจึงใช้ผ่านช่องทางนี้แทน น่าตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดการคาดการณ์ปริมาณตะกอนทรายชายฝั่งและตะกอนที่มากับแม่น้ำบางมะรวดจึงผิดไปเพี้ยนไปอย่างมากมาย จนส่งผลให้ Jetty ขาดประสิทธิภาพและไม่บรรลุวัตถุประสงค์ หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างกรมเจ้าท่าจะดำเนินการแก้ไขเรื่องราวนี้อย่างไร … โปรดติดตาม

Beachlover

August 29, 2020

ความคืบหน้างานสร้างกำแพงกันคลื่นหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว

ชายฝั่งทะเลแถบบ้านบ่ออิฐ เกาะแต้ว เรื่อยมาทางทิศเหนือถึงเขารูปช้าง เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ แต่เดิมมีเพียงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นด้านทิศเหนือของปากน้ำเพื่อป้องกันการกัดเซาะเพียง 4 ตัว แต่เนื่องจากผลกระทบของโครงสร้างนั้นนำมาซึ่งผลกระทบชิ่งแบบเป็นโดมิโน่ของชายหาดส่วนถัดไป อีกทั้งหน่วยงานรับผิดชอบเลือกที่จะสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ จึงเกิดโครงสร้างทั้งเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย กำแพงกันคลื่นประชิดฝั่ง ต่อเนื่องยาวไปทางทิศเหนือจวบจนถึงปัจจุบัน มีเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 18  ตัว รอดักทราย 3 ตัว และกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนวยาวประมาณ 8.5 กิโลเมตร ริมถนนหมายเลข สข3004 และแน่นอนว่า ชายหาดด้านถัดไปของตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างตัวสุดท้าย ซึ่งสำหรับบริเวณนี้คือปลายกำแพงกันคลื่น ย่อมเกิดการกัดเซาะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมโครงสร้างประกอบอื่นๆเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 โดยทาง Beach Lover ได้เคยนำเสนอไปเมื่อกลางปี 2562 ในช่วงที่โครงการเพิ่งริเริ่มก่อสร้าง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นนี้อย่างต่อเนื่อง พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึง สิงหาคม 2563 ตามรูป […]

Beachlover

August 25, 2020

งานขุดลอกปากร่องน้ำบางสะพาน

[ภาพเมื่อ: 17 ส.ค. 2563] งานขุดลอกปากร่องน้ำริมทะเลถือเป็นภารกิจสำคัญของกรมเจ้าท่าเพื่อการดูแลร่องน้ำเดินเรือทั่วประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Beach lover ได้ลงสำรวจพื้นที่ปากคลองบางสะพาน ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ พบงานขุดลอกปากร่องน้ำภายในระยะเวลา 60 วัน รวมปริมาตรทราย 50,000 ลบ.ม. โดยไม่มีรายละเอียดของงบประมาณ รวมถึงวันที่เริ่มและสิ้นสุดการดำเนินงาน การที่ตะกอนทรายไหลมาปิดปากร่องน้ำจนเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นเฉพาะบางฤดูกาล แล้วปากแม่น้ำก็จะกลับมาเปิดเองตามกระบวนการทางธรรมชาติ ในอดีตกรมเจ้าท่าใช้วิธีการขุดลอกปากร่องน้ำแบบที่เห็นในภาพนี้กับทุกปากร่องน้ำที่เกิดปัญหา ระยะต่อมา กรมเจ้าท่าได้สร้างโครงสร้างป้องกันปากร่องน้ำที่เรียกว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) บริเวณร่องน้ำชายทะเลหลายแห่ง เพื่อบรรเทาปัญหาทรายปิดปากร่อง กระนั้นก็ตาม ตัวโครงสร้าง Jetty นี้ ได้ส่งผลกระทบให้พื้นที่ถัดๆไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากโพสเก่าๆหมวดสถานการณ์ฯ และคดีชายหาดสะกอม) เป็นเรื่องน่าคิดต่อ ว่าคุ้มกันหรือไม่ หากกรมเจ้าท่ากลับมาใช้วิธีการขุดลอกแบบเดิมทดแทนการสร้าง Jetty ซึ่งก็จะไม่ส่งผลให้ชายหาดในพื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะจนเป็นเหตุให้ต้องสร้างโครงสร้างป้องกันชายหาดต่อไปเรื่อยๆ หรือเราควรสร้าง Jetty ปริเวณปากร่องน้ำชายทะเลทั่วประเทศเพื่อลดภาระการขุดลอกร่องน้ำของกรมเจ้าท่า โดยยอมแลกกับความพังพินาศของชายหาดข้างเคียง

Beachlover

August 18, 2020

ถนนเลียบทะเลปานาเระ หายไปไหน?!?

[ภาพเมื่อ 9 ส.ค.2563] ใครผ่านไปผ่านมาแถบปานาเระ จ.ปัตตานี จะพบถนนเลียบทะเลที่ขาดลงในระยะประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำปานาเระ ที่มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง 4 ตัว (ปัจจุบันหลงเหลือเพียง 1 ตัว) ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ตามจริงแล้วหากถนนไม่ขาดลง เราสามารถใช้เส้นทางนี้วิ่งจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชีได้เลย Beach Lover ได้เคยลงพื้นที่สำรวจบริเวณนี้แล้วเมื่อสองปีก่อน จนถึงวันนี้พบว่ายังไม่มีการซ่อมแซม หรือสร้างถนนเส้นนี้ใหม่แต่อย่างใด หากสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณนี้จากภาพถ่ายดาวเทียม Google earth พบว่า ตำแหน่งที่ถนนเส้นนี้ประชิดชายหาดมากที่สุด ก็ยังห่างจากแนวระดับน้ำประมาณ 70 เมตร (สังเกตจากภาพ ก.พ.2005) โดยเริ่มพบการกัดเซาะของถนนนี้อย่างชัดเจนจากภาพถ่ายเดือน ม.ค.ปี 2011 ซึ่งอาจเกิดการกัดเซาะก่อนหน้านั้นแต่ไม่ปรากฏหลักฐานจากภาพถ่ายเพราะไม่มีภาพถ่ายในช่วงระหว่าง 2005-2011 คาดว่าการกัดเซาะถนนเส้นนี้เกิดจากผลกระทบของโครงสร้าง Jetty และเขื่อนกันคลื่นทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ที่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ถัดๆไปทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2011 (ภาพ ส.ค.2011) พบการไหลของทรายจากฝั่งตะวันออกมาปิดปากร่องน้ำปานาเระแม้จะมีโครงสร้างป้องกันอย่าง Jetty แล้วก็ตาม และไหลล้นข้ามร่องน้ำมาตามธรรมชาติจวบจนถึงปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือเข้าออก แม้หน่วยงานที่รับผิดชอบจะขุดลอกอย่างไร ก็ไม่เท่าทันกับสถานการณ์ทรายที่ล้นมาปิดปากร่องน้ำ […]

Beachlover

August 12, 2020

เปิดภาพมุมสูงกำแพงกันคลื่นที่กำลังก่อสร้างใน 7 พื้นที่

[ภาพเมื่อ: ก.ค.2563] Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจกำแพงกันคลื่นตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนที่เผยให้เห็นถึงการระบาดของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งประเภท “กำแพงกันคลื่น” (Seawall) ที่เริ่มพบการระบาดหนักหลังปี 2556 เนื่องจากถือเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) (ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จาก https://beachlover.net/ประกาศ-eia-2555/ และ https://beachlover.net/ประกาศกระทรวงทรัพยากร-2/ ) ในร่างงบประมาณประจำปี 2564 นี้ รัฐ ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไว้ใน 3 กรม จาก 3 กระทรวง รวม 1,735,484,800 บาท (ศึกษาเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/) โดยทั้ง 80 โครงการในปี 2564 จาก 3 กรมนั้น เกือบทั้งหมดเป็นโครงสร้างกำแพงกันคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน […]

Beachlover

August 5, 2020
1 7 8 9