Elastocoast (อีกแล้ว) บนกำแพงกันคลื่น สงขลา

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/)

Beach Lover เคยพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดชะอำ บริเวณทิศใต้ติดกับหน้าชายหาดของโรงแรม Vala โรงแรมระดับ Small Luxury Hotels ในเครือ The Regent Cha Am (https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/) กำแพงกันคลื่นแบบ Elastocoast ณ หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/elastocoast-หาดกระทิงลาย-ยังสบายดี/) และ โครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/หัวหาด-elastocoast-หาดพัทยา/)

วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท

ภาพเมื่อ ตุลาคม 2565

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการนี้ไปแล้วหลายครั้ง เช่น https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ และ https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/ และ https://beachlover.net/ตาข่ายลดการกัดเซาะ-derosion-lattice-แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย/ สามารถค้นเพิ่มเติมได้จาก Search icon มุมขวาของ Website

ภาพเมื่อ ตุลาคม 2565

พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงนั้นวางทับลงไปบนชายหาดทั้งหมดจนไม่หลงเหลือชายหาดให้เห็นเลยแม้ยามน้ำลง ส่วนด้านบนกรมเจ้าท่าได้ทำการปรับภูมิทัศน์โดยการทำป้ายชื่อสถานที่ว่า “เกาะแต้ว” ขนาดใหญ่สูงประมาณ 3-4 เมตร วางอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นหันด้านหน้าป้ายออกสู่ถนน

นอกจากนั้นได้ทำทางเดินเท้าสองรูปแบบ แบบแรกอยู่ประชิดกับกำแพงกันคลื่นหินเรียงใช้ Elastocoast เททับด้านบน และถัดมาด้านในเป็นการปูด้วยอิฐบล็อครูปหกเหลี่ยม ไม่พบการปลูกต้นไม้หรือแม้แต่การปรับภูมิทัศน์ด้วยองค์ประกอบโครงการอื่นๆเลย แม้กระทั่งไฟแสงสว่างก็ไม่มีให้เห็นตลอดทั้งแนว

ภาพเมื่อ ตุลาคม 2565

จากที่ Beach Lover ได้เคยพาชมโครงสร้าง Elastocoast ไปก่อนหน้านี้ กรมเจ้าท่าจะใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เป็นการเททับผิวด้านบนและด้านหน้าของโครงสร้าง แต่การนำมาใช้เป็นผิวทางเดินแบบนี้เพิ่งเคยพบครั้งแรกในโครงการนี้

ภาพเมื่อ ตุลาคม 2565

เป็นไปได้มากว่า หากน้ำกระเซ็นข้ามมาถึงบริเวณทางเดินที่ลาดด้วย Elastocoast หรือแม้กระทั่งฝนตก จะส่งผลให้เกิดการลื่นไถลแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในทุกโครงสร้างที่ใช้ Elastocoast มาก่อนหน้านี้

ภาพเมื่อ ตุลาคม 2565