กำแพงกันคลื่น ชายหาดพยูน จ.ระยอง [พ.ค.2562]

กำแพงกันคลื่นชายหาดพยูน จ.ระยอง ยาวประมาณ 800 เมตร ช่วงที่ลงพื้นที่สำรวจ (พ.ค.2562) สภาพยังอยู่ดี  สร้างโดยใช้ท่อซีเมนต์วางซ้อนกันสองชั้น  ทำทางขึ้นลงหาดเป็นระยะๆ จากภาพเห็นได้ชัดเจนว่ากำแพงถูกสร้างล้ำลงบนชายหาด ส่งผลให้ยามน้ำขึ้นคลื่นวิ่งเข้ามาปะทะกำแพงโดยตรงและไม่เหลือพื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพง   ไม่ทราบเจ้าของโครงการและงบประมาณที่ใช้ พิกัด 725312.42mE   1402144.80mN  

Beachlover

July 8, 2019

ขยะปากแม่น้ำท่าจีน [8 ก.ค.2562]

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRT วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ กรม ทช. โดยสำนักงานบริหาร ทช.ที่๓ (สมุทรสาคร) พร้อมด้วยกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล จ.สมุทรสาคร เก็บขยะบริเวณทุ่นกักขยะ (Boom) ในพื้นที่ ๕ จุดได้แก่ คลองกรอกโพ อ.กระทุ่มแบน / คลองมหาชัย / คลองหลวง / คลองโกรกกรากใน และปากแม่น้ำท่าจีน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สามารถจัดเก็บและคัดแยกได้ ๒๕๑ กก. ขยะที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะประเภททั่วไปได้แก่ ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก และ ขวดแก้ว เป็นต้น

Beachlover

July 8, 2019

คดีสะกอม จ.สงขลา

โครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จ.สงขลา  สภาพทั่วไปของพื้นที่ ชายหาดบริเวณปากร่องน้ำสะกอมเดิมมีลักษณะเป็นหาดสองชั้น คือมีสันทรายซึ่งเป็นปากทางเข้าร่องน้ำอยู่ด้านนอก เลี้ยวไปตามทิศทางการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่ง (ใต้ไปเหนือหรือขวาไปซ้ายในรูปที่ 1) และมีชายหาดด้านในอีกชั้นหนึ่ง ในบางช่วงเวลาปากน้ำจะปิดเนื่องมาจากตะกอนทรายตกทับถมบริเวณปากร่องน้ำ ต้องทำการขุดสันทรายให้เปิดเพื่อการเข้าออกของเรือ ส่วนบริเวณชายหาดนั้นในอดีตใช้เพื่อเป็นที่จอดเรือ ขนถ่ายผลผลิตทางการประมง หาหอยเสียบ ทำการประมงริมชายฝั่ง ตลอดจนการพักผ่อนหย่อนใจ ข้อเท็จจริงของโครงการที่เกิดขึ้น โครงการประกอบตัวเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ 2 ตัว และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบหินทิ้ง 4 ตัว มีตำแหน่งที่ตั้งดังรูปที่ 2 ใน ต.สะกอม อ.จะนะ สร้างเสร็จเมื่อปี 2541   ประเด็นเชิงกายภาพ เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) นั้นถือเป็นโครงสร้างชายฝั่งทะเลที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ชายหาดข้างเคียงรุนแรงที่สุด ด้วยขนาดที่ใหญ่และยาวออกไปนอกชายฝั่งมาก จึงเป็นการรบกวนการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่งมากกว่าโครงสร้างแบบอื่นๆ  โดยปกติแล้วทางด้านท้ายน้ำ (ทิศตะวันตกของปากร่อง    หรือทางซ้ายของปากร่องน้ำสะกอม) จะมีการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพราะเป็นที่ทราบแน่นอนอยู่แล้วว่าจะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งจากอิทธิพลของเขื่อนกันทรายและคลื่อนปากร่องน้ำ โดยในกรณีนี้ได้เลือกสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบหินทิ้งจำนวน 4 ตัว เมื่อสุดเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้าย  ชายหาดเกิดการเว้าแหว่งตามทิศทางของคลื่นเลี้ยวเบนไปจากการปะทะโครงสร้าง  ชายหาดจึงค่อยๆพังทลายลงอย่างต่อเนื่อง แสดงภาพจำลองดังรูปที่ 3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นและสถานการณ์ของพื้นที่ หลังการก่อสร้างไม่นานชายหาดด้านทิศตะวันตกของปากน้ำสะกอม ตั้งแต่ปลายเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้ายถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง โดยในปีแรกกัดเซาะไปกว่า […]

Beachlover

July 6, 2019

คดีสมิหลา-ชลาทัศน์ จ.สงขลา

โครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ เขตเทศบาลนครสงขลา สภาพทั่วไปของพื้นที่ ชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา เป็นชายหาดทรายยาวประมาณ 7.8 กิโลเมตร ตั้งแต่หัวนายแรงถึงแหลมสนอ่อน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสงขลาและละแวกใกล้เคียง พื้นที่นี้มีจุดเริ่มต้นการกัดเซาะชายฝั่งมาตั้งแต่ปลายปี   2545 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีความพยายามใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมรูปแบบต่างๆเพื่อป้องกันชายฝั่งมาตลอด แต่ยิ่งส่งผลให้การกัดเซาะนั้นขยายตัวลุกลามไปทางพื้นที่ด้านทิศเหนือของชายหาด จากระยะกัดเซาะเพียงไม่กี่สิบเมตร ปัจจุบันมีโครงสร้างป้องกันแบบกำแพงหินทิ้งและกำแพงกระสอบทรายยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ข้อเท็จจริงของโครงการที่เกิดขึ้น โครงการป้องกันชายหาดฯได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงประมาณ มิถุนายน 2558 โดยใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งเป็นแท่งคอนกรีตต่อกันเป็นแนวยาวรวม 48 เมตรต่อ 1 แถว รวม 17 แถว ตลอดความยาวชายหาด 1.1 กิโลเมตร พร้อมการถมทรายเสริมเพื่อเพิ่มความกว้างชายหาดไปอีก 30-50 เมตร ตลอดแนว  รวมใช้ทรายประมาณ 144,000 ลูกบาศก์เมตร งบประมาณรวม 17.5 ล้านบาท โดยแยกการดำเนินงานเป็น 2 เฟส ตามรูปที่ 1  มีกำหนดแล้วเสร็จปลายตุลาคม 2558 ประเด็นเชิงกายภาพ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งในโครงการนี้เป็นรูปแบบที่ไม่ปรากฎว่ามีการใช้งานมาก่อนทั้งในไทยและต่างประเทศ วัสดุที่ใช้มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมสำหรับโครงสร้างที่ต้องทนรับแรงคลื่นและน้ำทะเล […]

Beachlover

July 5, 2019

คดีอ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์

โครงการเขื่อนกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพื้นที่ชายฝั่งอ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ สภาพทั่วไปของพื้นที่ ชายหาดบริเวณอ่าวน้อยมีลักษณะเป็นหาดกระเปาะ (pocket beach) ขนาดเล็กยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร วางแนวเหนือใต้อยู่ระหว่างเขาคั่นกระไดและเขาตาม่องล่าย ซึ่งมีหน้าที่เป็นปราการป้องกันคลื่นลมตามธรรมชาติได้ส่วนหนึ่ง ชายหาดค่อนข้างมีความสมดุลในตัวเอง หากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะเป็นไปเพียงช่วงเวลาสั้นๆในฤดูมรสุมเท่านั้น หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่สมดุลเดิมตราบเท่าที่ไม่มีการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก สภาพของชายหาดแสดงดังรูปที่ 1 ด้านทิศใต้เป็นชุมชนและมีสะพานปลา  ชาวบ้านใช้ชายหาดเพื่อการจอดเรือและเป็นท่าขึ้นลงสัตว์น้ำ มีกำแพงกันคลื่นสูง 1 เมตรของเดิมอยู่ โซนกลางของหาดเป็นพื้นที่เอกชนทั้งที่ยังรกร้างและมีการปลูกสร้างบ้านเรือนและรีสอร์ทแล้ว และส่วนเหนือสุดเป็นที่เอกชนแต่ยังรกร้างและปลายสุดเป็นวัดอ่าวน้อยซึ่งอยู่ติดกับหัวเขาคั่นกระได ข้อเท็จจริงของโครงการที่เกิดขึ้น กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดยาวตลอดแนว 1.1 กิโลเมตรโดยแบ่งออกเป็น 3 เฟส มีลักษณะแสดงดังรูปที่ 2 โดยมีการปรับภูมิทัศน์ด้านหลังกำแพงเพื่อทำสันกำแพงและพื้นที่เอนกประสงค์รองรับการท่องเที่ยว ประเด็นเชิงกายภาพ จากรายงานการศึกษาของเจ้าของงานเองพบว่าแม้ไม่มีโครงการนี้ในอีก 25 ปี ชายหาดทางตอนใต้ที่เป็นชุมชนนั้นจะไม่มีการกัดเซาะใดๆ ส่วนทางทิศเหนือติดกับวัดอ่าวน้อยนั้นจะมีการกัดเซาะเพียง 0.8 ม./ปี เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากจัดเป็นชายหาดที่ยังคงมีเสถียรภาพ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่าโครงการนี้แทบไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้างเลย เมื่อพิจารณารูปแบบโครงสร้างที่นำมาใช้ นับว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับความกว้างของชายหาดอ่าวน้อย เนื่องจากว่าโครงสร้างกำแพงนี้ จะวางทับไปบนชายหาดโดยกินพื้นที่ความกว้างชายหาดเกือบทั้งหมด จากแบบรายละเอียดโครงสร้างกำแพงพบว่ามีการถมทะเลบางส่วนเนื่องจากโครงสร้างยื่นล้ำลงไปในทะเล และเมื่อระดับน้ำลงต่ำสุดก็ยังพบว่ามีบางส่วนของโครงสร้างอยู่ใต้น้ำ นั่นหมายความว่ายามน้ำขึ้นโครงสร้างบางส่วนจะจมอยู่ใต้น้ำและจะไม่สามารถเดินบนชายหาด หรือแม้แต่กระทั่งมองเห็นชายหาดได้ โดยจะสามารถเดินและมองเห็นหาดทรายเฉพาะยามน้ำลงเท่านั้น ทั้งที่ก่อนจะมีการก่อสร้างชายหาดอาจหดสั้นลงบ้างในบางฤดูกาล แต่ในทุกฤดูกาล ยังมีหาดทรายให้เห็นและเดินเล่นได้ […]

Beachlover

July 5, 2019

ขยะทะเล หาดเจ้าไหม จ.ตรัง [5 ก.ค.2562]

ที่มาข่าว: Facebook ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานทางทะเล จ.ตรัง ปฏิบัติการ Beach Clean Up ที่หาดเจ้าไหม จ.ตรัง ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในวันที่ 5 ก.ค.2562 พบขยะพลาติกนำมาเป็นอันดับหนึ่งเช่นเดิม จากตารางที่ทางศูนย์เก็บข้อมูลดังภาพประกอบ   ขยะทะเลบางส่วนมาจากทะเล และกิจกรรมบนชายหาด และบางส่วนมาจากแม่น้ำที่ไหลลงทะเล เราควรร่วมมือกันลดการทิ้งขยะในที่สาธารณะแม้จะไม่ใช่การทิ้งลงทะเลและชายหาดโดยตรง เพราะขยะบก ขยะแม่น้ำ ขยะชายหาด และขยะทะเล ….มันคือเรื่องเดียวกัน          

Beachlover

July 5, 2019

น้ำสกปรกไหลลงทะเล ณ หาดจอมเทียน [5ก.ค.2562]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog เช้าวันนี้ (5 กค. 2562) ประชาชนพบการทิ้งน้ำสกปรกลงทะเลจอมเทียน พิกัดตรงข้ามร้านอาหารปูเป็น จุดนี้มีปัญหามาหลายครั้ง ล่วงเลยมาหลายปีเมื่อไม่นานนี้ มีการออกข่าวใหญ่ ว่าเทศบาลนาจอมเทียนจะปิดจุดทิ้งน้ำสกปรกลงทะเลทั้งหมด น้ำฝนหรือน้ำเสียต้องไม่ไหลผ่านท่อระบายน้ำ เพราะไม่มีระบบบำบัด แต่ทำไมยังปล่อยน้ำสกปรกอีก??? พัทยาและสัตหีบ คือพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม หน่วยงานท้องถิ่น มีหน้าที่ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แต่บทบาทในทางปฏิบัติกลับเป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมเสียเอง

Beachlover

July 5, 2019
1 89 90 91 92