สภาพชายหาด อ่าวบางละมุง จ.ชลบุรี [10 มี.ค.2563]

ชายหาดแถบอ่าวบางละมุงบริเวณนี้อยู่ถัดจากท่าเรือแหลมฉบังไปทางทิศใต้เพียง 3 กิโลเมตร ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการต่อขยายท่าเรือเฟสที่ 3 สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณนี้ปรากฏอยู่ในรายงาน EIA ?!?!

Beachlover

March 12, 2020

ด่วน!!! ความคืบหน้าโครงการป้องกันชายฝั่ง ชายหาดมหาราช สงขลา [5 มี.ค.2563]

ด่วน!!! รายงาน(เกือบ)สด ชายหาดมหาราช สงขลา ความคืบหน้าล่าสุดในวันนี้ (5 มี.ค.2563) มีการตอกเข็มเกือบตลอดทั้งแนวก่อสร้าง เทปูนชั้นบนสุดของกำแพง หล่อคอนกรีตในบางตำแหน่ง และมีการนำเสาเข็มมาวางเป็นจุดๆกระจายตลอดแนวก่อสร้าง Beach lover ได้นำเสนอการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดมหาราช จ.สงขลา โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 จำนวน 5 เรื่อง ติดตามย้อนหลังได้จาก  https://beachlover.net/ความคืบหน้า-มหาราช/ https://beachlover.net/google-earth-หาดมหาราช-สงขลา/ https://beachlover.net/ตอกเข็มแล้ว-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/ใกล้แล้ว-หาดมหาราช/ แม้ไร้ซึ่งความจำเป็น เราก็จะ “ขลิบ” ชายหาดมหาราชด้วยกำแพงกันคลื่น ในมูลค่า 151.72 ล้านบาทต่อกิโลเมตร กันจริงใช่ไหม ?!?!?

Beachlover

March 6, 2020

กำแพงกันคลื่นหาดหัวหิน ละงู จ.สตูล ยังสบายดี [1มี.ค.2563]

ทีมงาน beach lover และ เครือข่าย Beach for life ได้ลงสำรวจกำแพงกันคลื่น ณ หาดหัวหิน อ.ละงู จ.สตูล อีกครั้ง พบว่า ส่วนปลายสุดของกำแพงกันคลื่น (ทิศใต้) ยังคงมีร่องรอยการกัดเซาะเข้ามาถึงถนน เหมือนในช่วงเดือน พ.ย.2562 ที่ผ่านมา และพบว่ากำแพงกันคลื่นที่ยาวตลอดแนวชายหาดตั้งแต่หาดบางศิลาจนถึงหาดหัวหินนั้น “ยังสบายดี”

Beachlover

March 4, 2020

ข้อห่วงกังวลจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชิงโค สงขลา [26ก.พ.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/Beach-for-life สถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ครั้งที่ 1 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีภายใต้แผนงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ(งบพัฒนา) โดยมีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาวิจัยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งในห้องปฏิบัติการและทำการทดลองเชิงปฏิบัติในสถานที่  2) เพื่อพัฒนาโครงการบูรณะชายฝั่งจังหวัดสงขลา (Songkhla Model) เพื่อให้เป็นพื้นที่สาธิตและนำไปขยายผล  3) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ(GIS) เพื่อการบูรณะชายฝั่งทะเล จังหวัดสงขลา  4) เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการบูรณะชายฝั่งทะเลของจังหวัดสงขลา 5) เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดอื่นๆ ด้วย  โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีลักษณะการดำเนินการ โดยการวางโดมทะเล ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยทำการวางโดมทะเลห่างจากฝั่ง 500 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลต่ำสุด โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ วางห่างกันเป็นระยะทาง 100 เมตร ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยโดมจำนวน 19 กลุ่มย่อย ห่างกันตั้งแต่ 20-50 เมตร เพื่อลดพลังงานของคลื่นที่เข้ามาปะทะร้อยละ 52 โดยรูปแบบการจัดวางแต่ละกลุ่มแตกต่างกันขึ้นกับทิศทางของคลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะ การประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการนี้  Beach for life มีข้อสังเกตและข้อห่วงกังวลหลายประการต่อการดำเนินโครงการนี้  1. Beach for life มีความเห็นว่า โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้น มีลักษณะ/รูปแบบโครงการเป็นการดำเนินการวางโดมทะเลใต้นำ เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งโดมทะเลดังกล่าวนั้นมีหน้าที่เพื่อสลายพลังงานคลื่นที่เข้ามาปะทะ จึงถือได้ว่าโดมทะเลนั้น เป็นโครงสร้างเขื่อนกันคลื่น หรือ Breakwater ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดให้โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นทุกขนาด […]

Beachlover

March 4, 2020

ก้อนน้ำมันลอยเกลื่อนหน้าหาดแพรกเมือง นครศรีธรรมราช [4มี.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/onenews31 ก้อนน้ำมันมหาศาล ลอยเกลื่อนหน้าหาดแพรกเมือง หัวไทร นครศรีธรรมราช ล่าสุด ‘สนธิรัตน์’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บินด่วนตรวจแท่นขุดเจาะกลางอ่าวไทย เบื้องต้นยังหาที่มาไม่ได้ ด้านเจ้าท่าภูมิภาคสาขานครศรีธรรมราชขอความร่วมมือชาวประมงแจ้งเบาะแส

Beachlover

March 4, 2020

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดหัวหิน สตูล ครั้งที่ 4 [1มี.ค.2563]

วันนี้น้องๆเยาวชนกลุ่มสองล้อ จ.สตูล ร่วมกับเครือข่ายกลุ่ม beach for life และอาสาสมัคร ได้ร่วมกันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชายหาด รวมถึงได้มีการพูดคุยถึงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของชายหาดหัวหินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ณ ตำแหน่ง ที่อยู่ใกล้กับปลายกำแพงกันคลื่นที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ (ดูเพิ่มเติมจากโพส https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ละงู/) สำหรับหาดหัวหิน น้องๆได้ทำการติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ตำแหน่ง ตลอดความยาวชายหาดธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่เกือบ 1 กิโลเมตร (ดูเพิ่มเติมจากโพส https://beachlover.net/หาดหัวหิน-ละงู-จ-สตูล-3-พ-ย-2562/) ด้วยวิธี Water level เดียวกันกับเครือข่าย Beach for life และบันทึกข้อมูลผ่าน application BMON บน Smartphone ทั้งข้อมูลระดับ มุมลาดเอียงชายหาด และภาพถ่าย 4 ทิศ ในแต่ละตำแหน่งที่สำรวจ

Beachlover

March 3, 2020

ชวนไปดู Beach Zoning รัฐปีนัง มาเลเซีย

บันทึกการเดินทางโดย : Beach for life (https://www.facebook.com/Beach-for-life) พวกเรา Beach for life เดินทางไปรัฐปีนัง ประเทศมาเลเชีย ตั้งใจไปศึกษา เยี่ยมชมเมืองเก่า จอร์จทาวน์  เเละชายหาดบาตูเฟอริงกิ ของรัฐปีนัง เมื่อพูดถึง ชายหาดบาตู เฟอริงกิ (Batu Ferringgi Beach) หลายคนที่เคยไปปีนังคงรู้จัก เเละได้ยินชื่อเสียงหาดเเห่งนี้กันอยู่บ้าง ชายหาดบาตูเฟอริกิ เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงเเห่งหนึ่งของรัฐปีนัง มียาวตลอดแนวชายฝั่งประมาณ 3 กิโลเมตร มีโรงเเรมเเละร้านอาหารอยู่ตลอดเเนวชายหาด เเละจุดเด่นสำคัญของหาดบาตูเฟอริงกิ คือ กีฬาทางน้ำ ที่ที่นี่มีกีฬาทางน้ำหลายรูปแบบให้ได้เลือกเล่น เช่น บานานาโบ๊ท เจสสกี เรือใบ เเละพาราชู้ด เป็นต้น ตลอดทั้งวันของชายหาดบาตู เฟอริงกิ คล้าคลั่งไปด้วยผู้คนทั้งท้องถิ่น เเละนักท่องเที่ยว ที่มาเล่นกีฬาทางน้ำเเละ พักผ่อนหย่อนใจริมชายหาดแน่นนอนว่า มาเที่ยวแบบพวกเรา Beach for life คงไม่ได้มาชมทะเล และชายหาดสวยๆเพียงอย่างเดียว ที่หาดบาตูเฟอริงกิแห่งนี้มีความน่าสนใจในเรื่องของการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่ง หรือ Beach Zoning Beach Zoning เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล (Coastal Zone management) โดยการจัดทำ Beach Zoning นั้น เป็นการจำกัดการมองภาพชายหาดในระดับพื้นที่ […]

Beachlover

February 24, 2020

ติดตามการกัดเซาะชายฝั่งหาดท้ายเหมือง พังงา [19ก.พ.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ระบบหาดย่อย A๑๐ – PNA (หาดท้ายเหมือง) ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โครงการลดผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยวิธีการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand Fence) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เป็นมาตรการแบบอ่อนและสอดคล้องกับธรรมชาติ และสำรวจแนวชายฝั่งโดยการรังวัดภาคตัดขวางชายหาด (Beach Profile) เพื่อเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่ง โดยแบ่งการเก็บข้อมูลเป็น ๑๓ แนว (ตั้งฉากกับชายฝั่ง) ตลอดแนวโครงการฯ แต่ละแนว ห่างกัน ๒๐ ม. และเก็บข้อมูลทุกๆ ๕ ม. ผลปรากฏตลอดแนวมีการเพิ่มขึ้นของตะกอนทรายโดยเฉลี่ยประมาณ ๘๕-๙๐ ซม.

Beachlover

February 19, 2020

ชายหาดเกาะ Cock Burn ทะเลพม่า

ชายหาดเกาะ Cock Burn ทะเลพม่า หนึ่งในเกาะฝั่งอันดามันที่พม่าเปิดสัมปทานให้มีการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวได้ สามารถเข้าถึงได้ทางเรือเพียง 90 นาที จากท่าเทียบเรือ อ.เมือง จ.ระนอง รอบๆเกาะมีแนวปะการัง แม้ไม่ได้สวยงามมากแต่มีปลาหลากหลายชนิดให้ได้ชม บนเกาะไม่มีน้ำจืด และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นี่อาจคล้ายภาพอดีตของชายหาดท่องเที่ยวในประเทศไทยบางแห่ง เมื่อ 40 ปีที่แล้ว น้ำทะเลไล่ shed สีสันสวยงาม หาดทรายขาวละเอียด นุ่มเท้ามาก

Beachlover

February 17, 2020

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวางแผน ปักไม้ไผ่ รวม 15.85 กิโลเมตร ปี 2563 [17ก.พ.2563]

ปีนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวางแผนปักไม้ไผ่ ความยาวรวม 15.85 กิโลเมตร งบประมาณรวม 63.4 ล้านบาท สำหรับ 4 พื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี จันทบุรี และสมุทรปราการ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยว่า 3 นิ้ว โดยปักตามแบบที่กำหนดนี้ ตกกิโลเมตรละ 4 ล้านบาท เท่าที่เห็นเชิงประจักษ์ยังพบหลายพื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดการตกทับถมของตะกอนเลนตามที่กรมฯตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์  คำถามสำคัญคือ ได้มีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือไม่อย่างไร เหตุใดจึงมั่นใจได้ว่า ทั้ง 4 โครงการที่กำลังเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2563 นี้จะบรรลุวัตถุประสงค์

Beachlover

February 17, 2020
1 72 73 74 91