ติดตามสภาพชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ 31 ส.ค.2562

ทีมอาสาสมัคร​ Beach​ For​ Life​ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดทุกเดือน​ อาสาสมัครติดตามสภาพชายหาด ลงพื้นที่สำรวจรูปตัดชายหาดบริเวณหาดเก้าเส้ง หลังจากกรมเจ้าท่าเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ใช้ตามปกติ หลังปิดเพื่อเติมทรายมาปีกว่าๆ เดิมชายหาดบริเวณนี้เป็นหาดที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนเเรง เเละมีกำเเพงกันคลื่นเเบบหินทิ้งป้องกันไว้ ลักษณะรูปตัดชายหาดดังเส้นสีดำ เเต่หลังจากกรมเจ้าท่าเติมทรายเเละเปิดพื้นปัจจุบัน มีพื้นชายหาดเพิ่มขึ้นหาดทรายกว้างขึ้น มากกว่า 150 เมตร เเละมีลักษณะรูปตัดชายหาดดังรูป(เส้นสีน้ำเงิน) การติดตามสภาพชายหาดโดยระบบอาสาสมัคร มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทำให้หาดสมิหลา มีข้อมูลการเปลี่ยนเเปลงชายหาด ต่อไปจากนี้เราจะติดตามได้ว่าหลังเติมทรายเสร็จชายหาดเปลี่ยนเเปลงไปอย่างไร ท่านใดสนใจเป็นอาสาสมัครติดต่อได้ทางเพจ Beach For Life.

Beachlover

September 4, 2019

ร่วมกันจับตากำแพงกันคลื่นทั่วประเทศไทยไปกับพลเมืองสงขลา [4 ก.ย.2562]

Citizen Watch : จับตากำเเพงกันคลื่น Beach for life (https://www.facebook.com/Beach-for-life) ทำเเคมเปญนี้ขึ้นมา เนื่องจากตั้งเเต่ปี 2556 กำเเพงกันคลื่นซึ่งเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปเเบบหนึ่งถูกถอดออกจากโครงการที่ต้องทำประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) กำเเพงกันคลื่นคือโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ตั้งอยู่บนชายหาด มักพบในรูปเเบบเป็นกองหินทิ้ง หินใส่ตระเเกรง เเบบคั่นบันไดที่ทำจากคอนกรีต เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จากการติดตามของกลุ่ม Beach for life นักวิชาการ เเละภาคพลเมือง เราพบเห็นปรากฎการณ์ “การระบาดของกำเเพงกันคลื่นบนชายหาดทั่วประเทศไทย”เราจึงอยากทำข้อมูลการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบนชายหาดในประเทศไทย อยากชวนพลเมืองไทย ร่วมกันภาพถ่ายป้ายโครงการ การดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกัน พื้นที่ชายหาดที่ได้รับความเสียหายจากโครงการนี้ 3-4 ภาพ เเล้วส่งเข้ามายังกล่องข้อความเพจ Beach for life (https://www.facebook.com/Beach-for-life) เพื่อให้เราได้ทำข้อมูลต่อไป  

Beachlover

September 4, 2019

ติดตามโครงการแนวไม้ไผ่สร้างแผ่นดินที่ทะเลจันทบุรี [3 ก.ย.2562]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๒ กรม ทช. โดยกองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ชายฝั่ง ต.เกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ และ ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี เพื่อติดตามสภาพแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลนมีความยาวแนวปักไม้ไผ่ประมาณ ๑๐ กม. ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ผลการสำรวจพบว่าชายฝั่งบริเวณนี้มีลักษณะทางกายภาพเป็นหาดโคลน ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งปี ๒๕๖๐ นอกจากนี้ยังพบการเริ่มสะสมตัวของตะกอนบริเวณหลังแนวไม้ไผ่ สภาพแนวไม้ไผ่ของ ต.เกาะเปริด คงเหลือร้อยละ ๗๐ ของจำนวนไม้ไผ่ทั้งหมด ส่วนบริเวณ ต.บางชัน ดีกว่าหน่อยเหลือร้อยละ ๘๐

Beachlover

September 4, 2019

ทะเลอันดามันคลื่นลมแรง สูงกว่า 3 เมตรซัดเข้าฝั่ง หวั่นทะเลเซาะหาดหาย [1 ก.ย.2562]

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/south/1650695 ทะเลพังงาคลื่นลมแรงสูงกว่า 3 เมตร จากอิทธิพลพายุโพดุล ประกอบกับมรสุมที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันพัดเข้าหาชายหาดบางเนียง อ.ตะกั่วป่า สร้างความเสียหาย พร้อมปักธงแดงเตือนห้ามลงเล่นน้ำ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2562 ภาพมุมสูงเผยให้เห็นคลื่นลมแรงพัดเข้าหาชายหาดบางเนียง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา หลังจากเกิดคลื่นขนาดใหญ่สูงประมาณ 3 เมตร จากอิทธิพลพายุโพดุล ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน โดยจะเห็นว่าคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าถล่มตลอดแนวชายฝั่ง ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต รวมถึงร้านอาหารริมชายหาด ได้รับผลกระทบจากคลื่นที่พัดเข้ามากัดเซาะริมชายหาดที่ผู้ประกอบการลงเสาไม้ และวางถุงทรายกั้นคลื่นไว้ได้รับความเสียหายเป็นระยะทางยาวลึกเข้ามาจนถึงแนวเขตประมาณ 50 เมตร ทางผู้ประกอบการโรงแรมได้นำตาข่ายมาขึงกั้นเป็นแนวยาว เพื่อกันน้ำทะเลที่สาดเข้ามาถึงโรงแรม รีสอร์ต เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่าที่ทำได้ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาด ทำให้ผนังกันคลื่นได้รับความเสียหายซ้ำซากทุกปี แต่ก็ยังไม่สามารถหาทางป้องกันได้ เนื่องจากความแรงของกระแสคลื่นช่วงมรสุม ประกอบกับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรง ยิ่งทำให้คลื่นทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และซัดมากระแทกเขื่อนจนเกิดเสียงดัง ซึ่งทางโรงแรม รีสอร์ตหรูย่านแหล่งท่องเที่ยวเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ต้องขึ้นธงแดง พร้อมประกาศเตือนนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลโดยเด็ดขาด ขณะที่ชายหาดอื่นๆ พบมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือเบื้องต้น หากมีผู้ประสบภัยโดนคลื่นซัดออกสู่ทะเล ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงาได้สั่งการให้ทุกพื้นที่ เฝ้าระวัง ติดตาม ปริมาณน้ำฝนสะสม […]

Beachlover

September 2, 2019

รูปตัดชายหาดชลาทัศน์ ก่อนและหลังเติมทราย [31 ส.ค.2562]

กรมเจ้าท่ากำลังดำเนินการเติมทรายชายหาดเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ณ บริเวณหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ จ.สงขลา ตั้งแต่ชุมชนเก้าเส้งถึงสนามกีฬาติณสูลานนท์ระยะทางเกือบ 5 กิโลเมตร โดยเริ่มมาตั้งแต่ มิถุนายน 2559 ด้วยงบประมาณ 269,600,000 บาท จวบจนถึงปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ โดยมีการปรับเปลี่ยนวิธีการไปเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้น (ติดตามได้จากโพสเก่าๆ) ทีมเยาวชนสงขลานำโดย กลุ่ม Beach for life ได้ทำการติดตามสถานการณ์ชายหาดบริเวณนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงก่อนการเติมทรายจวบจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะทางชายหาดชลาทัศน์-สมิหลา ตั้งแต่ชุมชนเก้าเส้งจนถึงแหลมสนอ่อน ยาว 7.8 กิโลเมตร เป็นประจำเกือบทุกเดือน ในเดือนนี้ (กลางเดือนสิงหาคม 2562) กรมเจ้าท่าได้เปิดพื้นที่บางส่วนที่ดำเนินการสำเร็จแล้วให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ทีมเยาวชนและเครือข่ายจึงได้เข้าสำรวจข้อมูลในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ณ ตำแหน่งที่เคยมีการกัดเซาะสูงสุดและมีกำแพงหินป้องกันชายฝั่ง พบว่า ชายหาดมีความกว้างมากขึ้นกว่า 110 เมตร มีระดับสันชายหาดเฉลี่ยสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 2.5 เมตร หากพิจารณาเฉพาะข้อมูล 1 หน้าตัดที่มี คำนวณต่อความยาวชายหาด 1 เมตร พบว่าใช้ทรายประมาณ 320 ลูกบาศก์เมตร โดยทรายที่นำมาเติมบริเวณนี้ได้ถูกลำเลียงผ่านท่อมาจากเรือที่สูบตะกอนจากใต้ทะเลโซนใกล้กับหาดสมิหลา […]

Beachlover

September 1, 2019

การกระจายตัวของขนาดเม็ดทรายบริเวณชายหาดชะอำ

Click ที่ชื่อเรื่องจะนำไปสู่บทความวิชาการฉบับเต็มภาษาไทย การกระจายตัวของขนาดเม็ดทรายบริเวณชายหาดชะอำ   บทคัดย่อ การศึกษาด้านตะกอนชายฝั่งทะเลในประเทศไทยนับว่ามีอย่างจำกัด โดยทั่วไปเป็นการศึกษาในขั้นตอนความเหมาะสมเพื่อ วางแผนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล และการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยดำเนินการสำรวจในระยะเวลาสั้นๆ ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการเคลื่อนตัวของตะกอนมีอิทธิพลมาจากคลื่น การทราบถึงความสัมพันธ์นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาด้านวิศวกรรมชายฝั่งทะเลในเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกันตะกอนทรายต่อไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การ กระจายตัวของตะกอนทรายบริเวณชายหาด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายกับระยะห่างจาก ชายฝั่ง โดยการเก็บตัวอย่างทรายจำนวน 100 ตัวอย่าง ใน 10 แนวสำรวจ บริเวณชายหาดชะอำใต้ จ.เพชรบุรี มาทดสอบใน ห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า บริเวณแนวคลื่นแตกตัวซึ่งมีลักษณะรูปตัดชายหาดเป็นแอ่งนั้น มีขนาดเฉลี่ยของตะกอน ทรายสูงกว่าบริเวณอื่นในทุกแนวสำรวจ และแนวโน้มขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายจะลดลงเมื่อระยะห่างจากฝั่งมากขึ้น ผลการ ศึกษานี้เป็นแนวทางเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในด้านวิศวกรรมชายฝั่ง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต่อไป

Beachlover

August 31, 2019

โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น บ่อตรุ จ.สงขลา [30 ส.ค. 2562]

ภาพและข่าวจากเครือข่าย Beach for life ชายหาดบ้านบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กำลังมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นริมชายหาด เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยกรมเจ้าท่า งบประมาณในการก่อสร้าง 37,400,000 บาท หากโครงการก่อสร้างมีแล้วเสร็จอาจเกิดผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงในพื้นที่ท้ายโครงสร้าง ซึ่งจะต้องติดตามผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป  

Beachlover

August 30, 2019

โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเกาะลันตา [30 ส.ค. 2562]

ข่าวและภาพจากเครือข่าย beach for life หาดพระเเอะ ต.ศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ กรมโยธาธิการเเละผังเมือง กำลังดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ริมชายหาดพระเเอะ ความยาวกำเเพงกันคลื่น 400 เมตร งบประมาณ 45,755,742 บาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง

Beachlover

August 30, 2019

แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย … ยิ่งแก้-ยิ่งพัง?

บทความนี้เคยถูกเผยแพร่ในเวบ TCIJ แล้วเมื่อ 16 ส.ค.2562 (https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9314) แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย … ยิ่งแก้-ยิ่งพัง? ประเทศไทยมี ‘โครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ’ แต่น่าแปลกไหมที่โครงสร้างเหล่านั้นกลับเป็นต้นเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งเสียเอง พบบางแห่งกลับมีโครงสร้างป้องกันทับซ้อนกันในพื้นที่เดียวกัน บางแห่งป้องกันได้เฉพาะพื้นที่แต่ไปสร้างปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ใกล้เคียงถัดไป พบในต่างประเทศนอกเหนือจากใช้โครงสร้างป้องกันแล้ว หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับมาตรการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไทยเผชิญภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 705 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลประเทศไทยใน 23 จังหวัด กำลังเผชิญกับภัยจากการกัดเซาะประมาณ 705 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 22% ของชายฝั่งทะเลรวมกันทั้งหมดประมาณ 3,151 กิโลเมตร [1] โดยมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ยิ่งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานริมชายฝั่งทะเลมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้การเข้าถึงชายฝั่งทะเลนั้นยิ่งง่าย ส่งเสริมให้เกิดการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเลเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะเฉพาะของชายฝั่งทะเลที่เป็นรอยต่อระหว่างผืนน้ำทะเล ผืนดิน และอากาศ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งบนบกและในน้ำ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของตะกอนบนชายหาดทั้งหาดหิน หาดโคลน และหาดทราย ทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล สำหรับประเทศไทยมีใช้ผลประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่งรวมมูลค่าถึง 7.5 ล้านล้านบาทต่อปี จากชายฝั่งทะเลกว่า 3,151 กิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเลกว่า 323,490 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 60% ของพื้นที่ทางบก […]

Beachlover

August 30, 2019

ทุ่นกักขยะที่คลองสำโรง ทะเลสงขลา [30 ส.ค.2562]

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ 30 สิงหาคม 2562 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสำนักงานบริหาร ทช.ที่๖ (สงขลา) ร่วมกับ ชุมชนชายฝั่งบ้านเก้าเส้ง อ.เมือง จ.สงขลา เก็บขยะบริเวณที่ติดตั้งทุ่นกักขยะ (Boom) ผลการจัดเก็บได้ขยะ ๗๙ กก. ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติก และขวดพลาสติก ทั้งนี้ จากการดำเนินการติดตั้งทุ่นกักขยะในระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่า ขยะบริเวณคลองสำโรง ชุมชนเก้าเส้ง มีปริมาณที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลให้ลดปัญหาขยะทะเลที่จะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยได้เป็นอย่างดี

Beachlover

August 30, 2019
1 73 74 75 81