เศรษฐกิจสีน้ำเงิน “Blue Economy” คืออะไร

การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าอย่าง ยั่งยืนหรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” หรือ Blue Economy ที่ผ่านมามีความพยายามขับเคลื่อนแนวคิด Blue Economy เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่พัฒนาบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน (https://tdri.or.th/2020/09/blue-economy-thailand/) Beach Lover ขอพาสำรวจนิยามของ Blue Economy จากที่ต่างๆเพื่อใช้เป็นแนวอ้างอิงทางทฤษฎี ดังนี้ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (http://www.seafdec.or.th/knowledge/blue-economy/) แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน  กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ด้านบนนั้นเป็นนิยามที่หน่วยงานในประเทศไทยได้เผยแพร่ไว้ ทั้งนี้ยังมีอีกหลายนิยามที่หน่วยงานต่างประเทศได้ให้ไว้ เป็นต้นว่า ธนาคารโลก (World Bank) เศรษฐกิจสีน้ำเงินหมายถึง “การใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างงาน โดยคำนึงถึงการรักษาสุขภาพของระบบนิเวศทางทะเล” สหประชาชาติ (UN) ได้นิยามเศรษฐกิจสีน้ำเงินไว้มื่อเร็ว ๆ นี้ว่า เป็นเศรษฐกิจที่ครอบคลุมภาคเศรษฐกิจและนโยบายที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ซึ่งร่วมกันกำหนดว่า การใช้ทรัพยากรทางทะเลนั้นยั่งยืนหรือไม่ ความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจสีน้ำเงินคือ การทำความเข้าใจและการจัดการ อย่างดียิ่งในหลาย ๆ ด้านของความยั่งยืนของมหาสมุทร ตั้งแต่การประมงแบบยั่งยืน ไปจนถึงสุขภาพของระบบนิเวศ และการป้องกันมลพิษ ประการที่สอง เศรษฐกิจสีน้ำเงิน […]

Beachlover

June 10, 2024

Blue Economy คีย์ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวทางทะเล

ที่มา: https://tdri.or.th/2020/09/blue-economy-thailand/ [เผยแพร่ใน กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 10 กันยายน 2563] COVID-19 ส่งผลให้นานาประเทศต้องระงับกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรค การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบบั่นทอนเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปิดตัวลงในหลายพื้นที่ส่งผลต่อการจ้างงานและรายได้ของประชาชน แต่ท่ามกลางความตกต่ำของเศรษฐกิจพบว่า COVID-19 กลับสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทิศทางที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน เช่น การ Work From Home หรือการประชุมออนไลน์ ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรูปการประหยัดการเดินทางและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เป็นการลดต้นทุนด้านสถานที่ และการเดินทางให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ (ลด Transaction Cost) การทำธุรกรรมทางการเงิน Internet Banking หรือ e-commerce ที่ช่วยลดค่าโสหุ้ยต่างๆ เป็นการประหยัดทรัพยากรของประเทศทำให้แรงงานและปัจจัยการผลิตสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางอื่นมากขึ้น เพียงแต่ในช่วงการปรับตัวเข้าสู่สังคม New Normal จะทำให้เกิดการว่างงานขึ้นและ รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการจุนเจือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกลด การว่างงาน และถ่ายโอนทรัพยากรเข้าสู่กิจการใหม่ของสังคม New Normal อีกครั้ง นอกจากการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตสู่สังคม New Normal เป็นการสร้างโอกาสให้สังคมสามารถตักตวงประโยชน์จากการเป็นสังคมดิจิทัล ยังพบว่าการลดลงของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลได้ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างเห็นได้ชัด การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลทำให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้นและการลดลงของกิจกรรมทางทะเล ภายหลังการที่ประเทศไทยประกาศ Lockdown ประมาณ 1-2 […]

Beachlover

September 12, 2020